มิ น ส เต ริ ล minstrel เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ใด

ดนตรีคือเสียงทีประกอบกันเป็นทำนองเพลง เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตามทำนองเพลง” จากข้อความดังกล่าวพอจะสรุปได้ว่า ดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะที่ช่วยกระตุ้นให้มนุษย์เกิดความรู้สึก โดยอาศัยเสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ไปสู่ผู้ฟัง นักปราชญ์ยังได้กล่าวไว้อีกว่า “ดนตรีเป็นภาษาสากลของมนุษยชาติ เกิดขึ้นจากธรรมชาติ และมนุษย์ได้นำมาดัดแปลงแก้ไขให้ประณีตงดงามไพเราะเมื่อฟังดนตรีแล้วทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ” ฉะนั้นไม่น่าจะเป็นชนชาติใดก็สามารถรับรู้ถึงอรรถรสของดนตรีได้

มิ น ส เต ริ ล minstrel เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ใด
มิ น ส เต ริ ล minstrel เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ใด



ดนตรีเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับมนุษย์ ในยุคแรกๆ เรารู้จักการร้องรำตามธรรมชาติเพื่อแสดงความรู้สึกตาง ๆ รู้จักการปรบมือ ตีเกราะเคาะไม้ การกระทำเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นต้นกำเนิดของสิ่งที่เรียกว่าดนตรีอย่างแท้จริง จนกระทั่งมีการพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน เรามีเพลงประเภทตางๆ เช่นเพลงพื้นเมือง เพลงลูกทุ่ง เพลงูลกกรุง หรือเพลงคลาสสิกดนตรีหรือบทเพลงดังกล่าวนี้ทำใหผู้ฟังมีชีวิตชีวา ร่าเริงแจ่มใส สนุกสนาน และเกิดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ รวมไปถึงเพลงที่ใช้ในการปลุกใจให้ประชาชนเกิดความรักชาติรักบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง หรือจะเป็นบทเพลงเห่กล่อม(Cradle Song) ที่มีในทุกเชื้อชาติทุกภาษา แม้แต่เสียงธรรมชาติด่างๆ เช่น เสียงนกร้อง เสียงน้ำตก เสียงคลื่น หากได้ฟังแล้วเกิดความสุขก็ถือว่าเสียงเหล่านี้คือเสียงของดนตรีชนิดหนึ่งด้วย เช่นกัน


ความสำคัญของดนตรีต่อสังคม


ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิจิตรศิลป์ เป็นสิ่งที่มนุษย์ในสังคมประดิษฐ์ขึ้นซึ่งแต่ละวัฒนธรรมก็จะคิดและพัฒนาดนตรีเพื่อนำมาใช้สมองต่อจุดประสงค์ของตนเอง ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเช่นเดียวกันความเชื่อทางศาสนา ศีลธรรม กฎหมาย และประเพณี

มิ น ส เต ริ ล minstrel เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ใด
ความสำคัญของดนตรีต่อสังคมนั้นอาจมองเห็นไม่ชัดเจน ไม่เหมือนวรรณกรรมและจิตรกรรมที่มีรูปแบบชัดเจน ภาพของชีวิตที่อยู่รอบข้างเรานั้นดูเหมือนจริงและชัดเจนกว่าดนตรี เนื่องจากดนตรีเป็นเรื่องของเสียง เป็นนามธรรม เป็นศิลปะที่อยู่ในเวลาทั้งที่ผ่านมาในอดีต ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย หลายคนอาจจะเคยคิดว่าศิลปะของเสียงเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลจากชีวิตมนุษย์แต่แท้ที่จริงแล้วดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของสังคม แม้แต่สังคมคนป่าและสังคมดึกดำบรรพ์แต่โบราณกาลกลุ่มชนเหล่านี้ใช้ดนตรึในการแสดงออกถึงอารมณ์ของตน เช่น แสดงออกถึงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะในการสู้รบ ความสำเร็จในการล่าสัตว์ แสดงออกถึงความรักความอ่อนโยนต่อบุคคลที่เขารัก ศิลปะของดนตรีจึงเริ่มต้นด้วยการแสดงออกทางอารมณ์และจากประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสังคม ดังนั้นมนุษย์จึงไม่สามารถแยกดนตรีออกจากชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่แสดงออกในพิธีทางศาสนาในงานเทศกาลหรือพิธีการต่างๆในสังคมของคนพื้นเมือง ดนตรีการเต้นระบำหรือนาฏศิลป์ แสดงให้เห็นถึงความหมายที่แท้จริงของดนตรีที่มีต่อสังค
ในการเต้นระบำหรือนาฏศิลป์ ดนตรีทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบจังหวะในการเคลื่อนไหวรางกายและเป็นส่วนสนับสนุนในการแสดงออกของอารมณ์ พื้นฐานของการสนองตอบต่ออารมณ์โดยการเด้นระบำหรือนาฏศิลป์นั้นเหมือนกันทั่วโลก แต่ดนตรีและท่าทางการเคลื่อนไหวจะต่างกันในแต่ละประเทศ นอกจากนี้การเต้นระบำหรือนาฏศิลป์ยังสะท้อนให้เห็นถึงยุคต่างๆ ในประวัติศาสตร์ และสภาพชีวิตสังคมเมืองและสังคมในชนบท ซึ่งการแสดงทั้งสองอย่างนี้จะขาดดนตรีไม่ได้

ดนตรีได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาล และงานรื่นเริงต่างๆ เพราะดนตรีมีส่วนช่วยให้งานนั้นสนุกสนานและเป็นที่น่าประทับใจ เช่น การเดินขบวนของวงโยธวาทิต ก่อให้เกิดบรรยากาศที่เร้าใจแจะปลุกใจ ส่วนพิธีกรรมทางศาสนาก็เกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดกับดนตรี มนุษย์ร้องเพลงสวดวิงวอนขอความเมตตาปรานีจากพระผู้เป็นเจ้า ส่วนเพลงพื้นเมืองก็จะสัมพันธ์กับกิจกรรมทางสังคมมากกว่าที่เป็นรูปแบบของศิลปะ

โดยทั่วไปในแต่ละสังคม วัฒนธรรมจะเป็นผู้กำหนดการแสดงออกทางดนตรีของตนเอง เช่น สังคม

ตะวันตก ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิจิตรศิลป์ซึ่งจัดเป็นประเภทเดียวกับวรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม

และสถาปัตยกรรม แต่ในสังคมอื่นอาจไม่ใช่ เช่น ในสังคมอินเดีย การร้องเพลงถูกใช้เพื่อก่อให้เกิดพลัง

ในการสู้รบ และเวลาออกล่าสัตว์หรือใช้รักษาคนป่วย


วัฒนธรรมกับความเชื่อที่มีต่อดนตรี

ในสมัยโบราณมีความเชื่อกันว่าดนตรี คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถติดต่อสื่อสารกับวิญญาณและใช้ขับไล่สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ได้ เสียงดนตรียังสามารถสร้างความกล้าหาญ เมื่อได้ฟังแล้วมีความฮึกเหิมในการสู้รบ เสียงตีเกราะเคาะไม้ของคนป่าก็แสดงถึงกิจกรรมของแต่ละเผ่าที่มีการเล่นเครื่องดนตรีที่เก่าแกและ โบราณ


ดนตรีไม่ว่าจะเป็นดนตรีชนิดใดประเภทใด ล้วนแล้วแต่มีวิธีการกำเนิดคล้ายๆ กันนับเป็นเวลาหลายพันปีดนตรีส่วนผู้ใหญ่ที่ได้ยิน มักมีรากฐานมาจากดนตรีพื้นเมือง(Folk Music) หรือเพลงในศาสนพิธี (Ritual Music) เช่นเพลงเพื่อประกอบพิธีการทางศาสนาของชาวฮินดู และกรีกโบราณซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศที่มีอารยธรรมที่เก่าแก่กว่า เช่น อียิปต์ ซีเรีย         


ชาวกรีกโบราณได้ค้นพบศาสตร์เบื้องต้นของเสียงดนตรี (Acoustics) มากกว่า ๒๐๐๐ ปีมาแล้วโดยพีทากอรัส (Pythagoras) นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งได้ค้นพบลักษณะเสียงแบบต่างๆ ทีเกิดขึ้นตามสัดส่วนของเครื่องดนตรี โดยทำการทดสอบการสั่นของสายเครื่องดนตรีที่ขึงตึงไว้ และได้แบ่งเสียงที่แตกต่างกันนั้นแล้วจัดเป็นมาตราเสียงดนตรี ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์ผลงานเพลงที่มีรูปแบบทำนองและองค์ประกอบของดนตรี จากความเชื่อของมนุษย์ในเรื่องต่างๆ ก่อนจะมาสร้างสรรค์งานดนตรีที่เป็นมรดกตกทอดทางด้านศิลปะมาจนถึงปัจจุบัน มีตัวอย่างข้อความที่แสดงถึงความเชื่อของแต่ละวัฒนธรรม ดังนี้

มิ น ส เต ริ ล minstrel เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ใด

วัฒนธรรมของกรีกโบราณ เชื่อวาบุคคลที่ทำหน้าที่ขับร้องเพลงและบรรเลงเครื่องดนตรีเพื่อขับกล่อมผู้คนหรือทีเรียกว่า “มินสเตริล” เป็นผู้ที่พระเจ้ามีความโปรดปรานและถือเป็นทูตสวรรค์เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดคำสั่งสอนของพระเจ้าในรูปแบบของการขับร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี

วัฒนธรรมของชาวยิวโบราณ เชื่อว่า “จูบาล” ซึ่งเป็นทายาทของอาดัมผู้ซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกของโลกนั้นเป็นคนที่สร้างเครื่องดนตรีคือ พิณฮาร์พและออร์แกน เพื่อใช้ในการบรรเลงวัฒนธรรมของชาวจีน เชื่อว่าบันไดเสียงหรือทำนองเพลงของชาวจีนได้มาจากการเลียนแบบ

เสียงร้องของนกฟีนิกซ์

วัฒนธรรมของคนไทยภาคกลาง เชื่อว่าเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ของไทยเป็นเพลงศักดิ์สิทธิ์ สามารถใช้เป็นเพลงอัญเชิญเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มายังมณฑลพิธีได้

วัฒนธรรมของคนไทยภาคเหนือ เชื่อว่าเสียงกลองและฆ้องเป็นเสียงที่ศักดิ์สิทธิ์ ใช้ตีเพื่อประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น แห่พระพุทธรูป แห่งานปอยหลวง (งานบุญใหญ่)

วัฒนธรรมของคนไทยภาคอีสาน เชื่อว่าเสียงแคนสามารถติดต่อสื่อสารกับเทพบนสวรรค์โดยเปรียบแคนเป็นเสมือนม้าให้เทพใช้เดินทางลงมายังสถานประกอบพิธีกรรมในการลำ (ขับร้อง)เพื่อรักษาโรคต่างๆ

วัฒนธรรมของคนไทยภาคใต้ เชื่อว่าปี่กาหลอเป็นปี่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้เป่าในพิธีกรรมงานศพและงานบวช โดยต้องพันสายสิญจน์ไว้ที่ปากลำโพงของปี่ขณะเป่าประกอบในพิธี

ด้วยความเชื่อเหล่านี้จึงปรากฏผลงานดนตรีที่มีการสร้างสรรค์ออกมาแตกต่างกันตามแต่ละวัฒนธรรม

องค์ประกอบของดนตรี


ดนตรีเป็นศิลปะที่ต้องอาศัยเสียงเพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึก ผู้ฟังไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องเสียงได้เหมือนศิลปะแขนงอื่นๆ มนุษย์เราต้องอาศัยการฟังโดยใช้หูเท่านั้นจึงจะสามารถรับรู้และซาบซึ้งถึงความไพเราะของเสียงที่เกิดจากบทเพลงต่างๆ ได้ โดยบทเพลงต่างๆ จะต้องอาศัยองค์ประกอบซึ่งเป็นส่วนสำคัญของดนตรี และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ดนตรีเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ดนตรีประกอบไปด้วยส่วนสำคัญต่างๆ คือ

(๑) จังหวะ (Rhythm) คือ การจัดเรียงของเสียงหรือความเงียบซึ่งมีความสั้นยาวต่างกัน กำหนดโดยจังหวะตบ (Beat) หรือจังหวะที่สม่ำเสมอ นอกจากนั้นแล้วจังหวะของดนตรียังมีทั้งจังหวะที่เน้นหนักหรือเบา สั้นหรือยาว ซึ่งอัตราจังหวะต่างๆ นี้จะให้ความรู้สึกและอารมณ์เพลงที่ต่างกันด้วย

(๒) ทำนอง (Melody) คือ เสียงที่จัดให้เข้ากับจังหวะเป็นระดับเสียงสูง หรือต่ำต่อเนื่องกันไปตามแนวนอน ทำนองมีหลากหลายลักษณะแตกต่างกันออกไป คล้ายกับภาษาพูด ดนตรีจึงเป็นภาษาดนตรีที่ประกอบเป็นประโยคเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ประพันธ์ดนตรี ดังนั้นการที่จะทำความเข้าใจบทเพลงจะต้องจำได้ว่าทำนองมีลักษณะอย่างไร

(๓) เสียงประสาน (Harmony) คือ องค์ประกอบของดนตรีที่เกิดจากการผสมผสานของเสียงที่มากกว่า ๑ เสียงที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน เสียงประสานเป็นองค์ประกอบของดนตรีที่สล้บซับซ้อนกว่าจังหวะและทำนอง แนวคิดเรื่องการประสานเสียงที่สำคัญคือ คอร์ด (Chords) ได้แก่ กลุ่มของเสียงตั้งแต่๓ เสียงขึ้นไป มาจัดเรียงกันตามแนวตั้งโดยมีทั้งความกลมกลืนและไม่กลมกลืน การนำเสียงตั้งแต่ ๒ เสียงขึ้นไปมาเล่นพร้อมกันจะเกิดการผสมของเสียงซึ่งผลที่เกิดขึ้นจะได้ทั้งเสียงที่กลมกลืนกันและไม่กลมกลืนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางระยะห่างของเสียงในแนวตั้ง เสียงที่กลมกลืนจะทำให้รู้สึกสบายหู ส่วนเสียงที่ไม่กลมกลืนกันจะทำให้รู้สึกขัดหู ตึงเครียด ในการประสานเสียงมักจะมีการให้คอร์ดที่กลมกลืนและไม่ กลมกลืน กัน

(๔) รูปแบบ (Form) รูปแบบของเพลงเป็นโครงสร้างที่ทำให้ดนตรีมีความหมายในลักษณะของเสียงกับเวลา รูปแบบช่วยทำให้ดนตรีมีความต่อเนื่องสัมพันธ์ และทำให้มีความเป็นหนึ่ง รูปแบบอาจประกอบไปด้วยทำนองหลัก ทำนองรอง มีความสั้นยาวที่ต่างกันมีการซ้ำทำนองหลักและทำนองรองซึ่งจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่บทเพลง

(๕) สีสันของเสียง (Tone Color) คือ คุณสมบัติของเสียงเครื่องดนตรีรวมทั้งเสียงร้องของมนุษย์ซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นลักษณะเฉพาะของเสียงที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันซึ่งแม้จะมีระดับเสียงเดียวกันแต่เมื่อใช้เครื่องดนตรีต่างชนิดกันก็จะให้คุณลักษณะหรืออารมณ์ของเสียงที่แตกต่างกันออกไป เช่น เสียงของไวโอลินจะแตกต่างจากเสียงเปียโน หรือทรัมเป็ต