ผู้เยาว์มีความสามารถในการใช้สิทธิ/นิติกรรมใดบ้าง

เด็ก ซึ่งเป็นผู้เยาว์ หลายคนคงสงสัยว่าผู้เยาว์มีผลอย่างไรที่แตกต่างกับเด็กทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน  ตามกฎหมายแล้วเด็กที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ถือว่าเป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ยังต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย  หลายท่านอาจจะยังไม่เข้าใจว่า ผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายคืออะไร  ไม่น่าเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตประจำวัน  แต่แท้จริงแล้วหากเด็กที่โตหน่อยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ระดับวัยรุ่นแล้วจะมีการทำนิติกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีกฎหมายเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง  คงจะสงสัยอีกว่าลูกโตมาจนแต่งงานแล้วยังไม่เคยทำนิติกรรมใด ๆ เลย 

นิติกรรม คือ การกระทำที่มีผลทางกฎหมาย ทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างกัน เช่น การซื้ออาหาร ซื้อเสื้อผ้า  รองเท้า  ขนม ขึ้นรถแท๊กซี่ ต่าง ๆ  ล้วนแต่เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นมีโอกาสเกี่ยวข้องกับผู้เยาว์ทั้งสิ้น ซึ่งตามกฎหมายให้สิทธิผูเยาว์นั้นสามารถทำได้หากเป็นการกระทำสมแก่ฐานะของเด็กนั้น และเป็นการกระทำอันจำเป็นในการดำรงชีพ แต่หากการกระทำใดที่ไม่สมควรเกินแก่ฐานะของเด็กนั้นเองแล้วการกระทำนั้นจะเป็นโมฆียะ หมายความว่าจะสามารถถูกบอกเลิกสัญญาได้ เช่น  เด็กเป็นลูกคนรวยเป็นที่รู้จักในสังคมแต่ไม่มีเงินเป็นของตนเอง การซื้อของต้องเป็นของพ่อแม่ เมื่อคนขายรู้ว่าพ่อแม่เด็กมีความสามารถที่จะซื้อรถคันนั้นได้ จึงได้ขายรถหรูให้เด็กขับกลับบ้านเช่นนี้ สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆียะ พ่อแม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อบอกเลิกสัญญาก็ต้องนำของไปคืนผู้ขาย หากมีการสึกหรอก็ต้องชดใช้ความเสียหายในส่วนนั้นไป ค่ารถที่ต้องจ่ายก็เป็นหนี้ของเด็กไม่ใช่หนี้ของพ่อแม่ต้องรับภาระมาจ่ายเงินให้แทน

ในทางกลับกันเด็กผู้เยาว์อาจได้รับมรดกทรัพย์สิน หรือจากการให้ของบิดามารดาจนเป็นเศรษฐีได้  แล้วเด็กสามารถทำพินัยกรรมได้หรือไม่  ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น ทำพินัยกรรม การรับรองบุตรว่าเป็นบุตรของตนเอง เป็นต้น

กฎหมายยังกำหนดให้เด็กอายุมากกว่า 17 ปีสามารถบรรลุนิติภาวะ ทำนิติกรรมได้เองโดยการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองก่อน เด็กนั้นก็จะบรรลุนิติภาวะได้

ในกรณีที่เด็กได้ทรัพย์สินมาไม่ว่าจากมรดก หรือจากการให้ของพ่อแม่แล้วกลายเป็นทรัพย์สินของเด็กไปนั้น กรณีที่เด็กมีอสังหาริมทรัพย์ หรือพ่อแม่จะจำหน่าย บ้าน ที่ดิน ของผู้เยาว์นั้น จะกระทำการเองมิได้ต้องขออนุญาตจากศาล เพื่อศาลได้ให้ความเห็นชอบ เป็นการป้องกันทรัพย์สินของเด็กตามกฎหมาย

นอกจากการขายอสังหาริมทรัพย์แล้ว กฎหมายยังกำหนดอีกว่าการกระทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ พ่อแม่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตเสียก่อน

มาตรา 1574 นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มา ซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจาก ทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)
(7) ให้กู้ยืมเงิน
(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อ การกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่ รับการให้โดยเสน่หา
(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับ ชำระหนี้ หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3)
(12) ประนีประนอมยอมความ
(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

ดังนั้นกรณีพ่อแม่จะให้ทรัพย์สินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต้องขออนุญาตศาลตามข้างต้นแล้วควรวางแผนให้รอบขอบถึงอนาคตว่าจะมีการกระทำใด ๆ ที่จะต้องขออนุญาตศาลหรือไม่ หรือยังไม่โอนให้แก่เด็กจนกว่าเด็กจะบรรลุนิติภาวะเสียก่อนจะเป็นประโยชน์มากกว่า

        ตามปกติแล้วผู้เยาว์จะทำนิติกรรมต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแล้ว จะทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ แต่มีนิติกรรมบางประเภทที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ตามลำพังตนเอง และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมเหล่านี้มีดังนี้คือ
        1. นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือนิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง (มาตรา 22)
                1.1 นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง เช่น นาย ก. มอบเงินให้เด็กชาย ข. ผู้เยาว์ 20,000 บาท โดยไม่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน เด็กชาย ข. สามารถทำสัญญารับเงินจำนวนนี้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม เพราะสัญญาให้เงินนี้ผู้เยาว์เป็นผู้ได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียว ผู้เยาว์ไม่เสียประโยชน์เลย แต่ถ้าสัญญานี้มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันแล้ว ผู้เยาว์ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน เช่น นาย ก. ให้เงินเด็กชาย ข. โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อนาย ก. แก่ชรา เด็กชาย ข. ต้องมาเลี้ยงดูนาย ก. เช่นนี้ถ้าเด็กชาย ข. ต้องการรับเงินนั้น จะต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน
                1.2 นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น เด็กชาย  ข. ผู้เยาว์เป็นหนี้นาย ก. อยู่ 10,000 บาท ต่อมานาย ก. ต้องการจะปลดหนี้รายนี้ให้เด็กชายข. ซึ่งจะทำให้หนี้รายนี้ระงับสิ้นไป สัญญาปลดหนี้รายนี้เด็กชาย ข.ไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม เพราะเป็นสัญญาที่ทำให้เด็กชาย ข. หลุดพ้นจากการที่จะต้องชำระหนี้ให้กับนาย ก.
        2. นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว (มาตรา 23) นิติกรรมเช่นนี้ผู้เยาว์ทำได้เองโดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม เช่น การรับรองบุตร
        ตัวอย่าง ผู้เยาว์อายุ 19 ปีมีบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน ผู้เยาว์จดทะเบียนรับรองบุตรคนนี้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม
        3. นิติกรรมซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูป และจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควรของผู้เยาว์
        ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร (มาตรา 24) เช่น ผู้เยาว์เป็นนักเรียนต้องซื้อเครื่องเขียนแบบเรียน ต้องซื้อเสื้อผ้า รองเท้าเพื่อใส่ไปโรงเรียน การซื้อเช่นนี้เป็นการสมแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์ และเป็นการจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร แต่ถ้าผู้เยาว์ต้องการซื้อรถยนต์เพื่อขับไปโรงเรียน ถ้าเป็นสิ่งที่เกินฐานะและเกินความ จำเป็นแล้ว ผู้เยาว์จะต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน
        4. ผู้เยาว์ทำพินัยกรรม
        ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม (มาตรา 25) ถ้าผู้เยาว์ทำพินัยกรรมโดยมีอายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ พินัยกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ (มาตรา 1703)
        5. ผู้เยาว์ประกอบธรุกิจการค้าหรือทำสัญญาเป็นลูกจ้าง
        ในกรณีผู้เยาว์ประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานนั้นต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 27)

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้ไหม

มาตรา๒๑“ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้อง ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม ก่อน การใด ๆ ทีผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความ ยินยอมเช่นว่านันเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติ ไว้เป็นอย่างอืน” Page 9 9 ผู้เยาว์ทํานิติกรรมได้ ๒ ทาง (๑) ทําด้วยตนเองโดยได้รับความ ยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (๒) ทําโดยผู้แทนโดยชอบธรรม เป็นผู้ทําแทน

ทำไมผู้เยาว์จึงถูกจำกัดสิทธิ์ในการทำนิติกรรม

ผู้เยาว์ ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เป็นผู้ที่ยังอ่อนในด้านสติปัญญา ความคิด และร่างกาย ผู้เยาว์ไม่สามารถทำนิติกรรมได้ตามลำพังตนเอง เพราะขาดความรู้ ความชำนาญ ถ้าปล่อยให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมได้ตามลำพังตนเองแล้ว อาจจะทำให้ผู้อื่นซึ่งมีความรู้ ความสามารถดีกว่าทำการเอาเปรียบได้ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เยาว์

ผู้เยาว์สามารถทำอะไรได้บ้าง โดยที่ไม่เป็นโมฆียะ

อย่างไรก็ตาม ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมบางอย่างได้เองโดยไม่ต้องขอความยินยอม และไม่ตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ ก. ทำนิติกรรมเพียงเพื่อจะได้สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เป็นคุณต่อผู้เยาว์ฝ่ายเดียว เช่น รับการให้โดยสเน่หา ข. ทำนิติกรรมซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น สมรส

ผู้เยาว์สามารถรับรองบุตรได้ไหม

ศาลฎีกาเคยตีความไปในทางคุ้มครองสิทธิของบุตรผู้เยาว์ว่า หากบุตรผู้เยาว์ถึงแก่ความตายแล้ว มีผลเสมือนว่าบุตรผู้เยาว์ไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ซึ่งบิดาสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลอนุญาตให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรได้