วิจิตรศิลป์ เป็นอะไรได้บ้าง

3. กลุ่มสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์

��������������� คณะที่เปิดสอนในกลุ่มสาขาวิชานี้ ��ได้แก่คณะวิจิตรศิลป์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์คระมัณฑนศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์คณะโบราณคดีคณะมนุษยศาสตร์

สาขาวิชาที่เปิดสอน�� ได้แก่ทัศนศิลป์นิเทศศิลป์นฤมิตศิลป์นาฎศิลป์ดุริยางคศิลป์ศิลป์ไทยศิลปภาพถ่ายศิลปะประยุกต์ประวัติศาสตร์ศิลปะการออกแบบเครื่องเคลือบดินเผาจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์มานุษยดุริยางวิทยา

��������������� ความรู้พื้นฐานมีความรู้ดีในวิชาภาษาไทยสังคมศึกษาภาษาอังกฤษคณิตศาสตร์ศิลปะ�� ดนตรี (ทั้งภาคทฤษฏี และปฏิบัติ)

��������������� บุคลิกภาพที่เหมาะสมมีความสามารถและถนัดทางศิลปะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์รักอิสระ�� ไม่ชอบเลียนแบบใครรักความสวยงามและธรรมชาติมีความละเอียดอ่อน

��������������� ลักษณะอาชีพ��� เป็นงานเกี่ยวกับศิลปประดิษฐ์เสนอแนวคิดด้านศิลปะเป็นการแสดงออกเฉพาะบุคคลในด้านศิลปะแขนงต่าง ๆ

��������������� ตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา�� ช่างศิลป์ช่างภาพนักแต่งเพลงนักปฎิมากรจิตรกรมัณฑนากรนักออกแบบเจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษานักวิชาการครู-อาจารย์ฯลฯ

คำถามที่มักจะเจอบ่อยๆ สำหรับสาขาวิชานี้คือ
แต่ละที่ต่างกันยังไง?
เรียนที่ไหนถึงจะดี?
จบมาทำอะไรได้บ้าง?

จะโม้ให้ฟัง
=====================================================
สาขานิเทศศิลป์, ออกแบบสื่อสาร, นฤมิตศิลป์ (สาขาเรขศิลป์), วิจิตรศิลป์ สาขาการออกแบบ สาขาทั้งหมดที่กล่าวมาอาจจะเรียกรวมๆว่าพาณิชยศิลป์ (Commercial Arts) ความหมายก็คือศิลปะเชิงพานิชย์หน่ะเอง

=====================================================
ชีวิตในมหาลัย

สำหรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ก็จะคล้ายๆกันทุกที่
ในช่วงปีต้นๆของการเรียน จะต้องเรียน วิชาพื้นฐานทฤษฎีศิลปะ, การออกแบบ, ทฤษฎีสี, วาดเส้น และวิชานอกคณะได้แก่พวกสังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

แต่พอขึ้นปีสองปีสาม แต่ละสถาบันก็จะเริ่มมีการสอนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งก็แล้วแต่หลักสูตร และความเป็นมาเบื้องหลังของอาจารย์ที่นั่น

แต่พอถึงปีสุดท้าย นักศึกษาทุกๆที่ ก็จะต้องทำอะไรที่คล้ายๆกันอย่างหนึ่งคือต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ / ศิลปนิพนธ์ หรือที่เรียกว่า Art Thesis ซึ่งจะเป็นการประมวลความรู้ที่เราเรียนมาตลอดระยะเวลาสี่ปีว่าเราสามารถทำงานจริงได้ขนาดไหน

สำหรับระยะเวลาการทำ Thesis ก็กินเวลาทั้งเทอม คือทั้งเทอมทำไอ้นี่อย่างเดียว ไม่ต้องไปทำอย่างอื่นเลย จะต้องคอยสอบกับคณะกรรมการดเป็นระยะๆ ตั้งแต่เลือกหัวข้อที่จะทำด้วยตัวเอง

คือพอจบปั๊บจะต้องมีหนังสือเล่มหนาๆเล่มนึงกับผลงานที่จะต้องเอาไปจัดนิทรรศการให้คนทั่วไปดู

สำหรับคำถามที่ว่าจบไปแล้วสามารถไปทำอะไรได้บ้าง คำตอบมีดังนี้ครับ พี่จะเอาเฉพาะอาชีพที่ตรงกับสาขาวิชาเท่านั้นนะ ส่วนใครจบไปจะแหกคอกไปทำอย่างอื่นก็ได้ เอาไว้เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังอย่างละเอียดต่อไป

ย้อนกลับมาว่าเรียนยากมั๊ย
คือถ้าน้องเป็นคนที่มีใจรักศิลปะ รักสวยรักงาม มีเทสต์ในการเลือกของใช้ส่วนตัว ช่างสังเกต ชอบขีดๆเขียนๆ วาดรูปเล่น ชอบคิดอะไรใหม่ๆ ชอบคอมฯ ชอบงานออกแบบ หรืออ่านหนังสือ Wall Paper / Surface / Art4D นั่นแหละ น้องเรียนได้แน่ๆ

การเรียนที่ว่ายากไม่ยากขึ้นอยู่กับผู้เรียน สาขาวิชาสายอาชีพแบบนี้ไม่ค่อยมีการสอบ มีแต่การทำงานส่ง ผลงาน ไอเดีย และความขยันจะเป็นตัววัดว่าเราจะเรียนรอดป่าว

=====================================================

อาชีพหล่ะ ทำไรได้มั่ง

เมื่อกี้ติดค้างยังไม่ได้เล่าให้ฟังว่า จบสายนิเทศศิลป์มาทำไรได้เยอะแยะ ซึ่งพี่จะแยกแยะตามอาชีพต่างๆได้ดังนี้

1. Graphic Designer หรือเรียกว่า “นักออกแบบกราฟฟิก”
นักออกแบบกราฟฟิก ก้อสามารถแยกย่อยออกได้อีกคือ

1.1.Web Graphic Designer ชื่อบอกกันโต้งๆว่าออกแบบเวบ
นักออกแบบเวบ ก็มีสองลักษณะ คือทำอยู่กับบริษัทที่นักออกแบบเป็นใหญ่ อันนี้ก็จะรุ่ง อย่างเช่นบริษัท Ogilvy One + Ogilvy Interactive ในเครือ Ogilvy เอเยนซี่ยักษ์ใหญ่ แต่ถ้าไปอยู่บริษัทที่โปรแกรมเมอร์เป็นใหญ่ ก็จะไม่รุ่ง งานออกแบบก็จะเละ ไม่เป็นโล้เป็นพาย ชีวิตนักออกแบบจะอับเฉา ยิ่งถ้าไปอยู่ประจำตามเวบธุรกิจ ขายของยิ่งไปกันใหญ่ ยกเว้นว่าจะ
สู้จริงๆ ลักษณะการทำงานก็จะออกแบบเวบเพจ และทำสื่อมัลติมีเดีย อินเตอร์แอคทีฟต่างๆ

1.2.Advertising Graphic Designer Graphic Unit เป็นนักออกแบบกราฟฟิกที่ต้องอยู่กับสินค้านานชนิด ทำงานได้ทุกอย่างทุกประเภท ตั้งแต่งานออกแบบ สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ ไดเรกเมล์ บิลบอร์ด ยันออกแบบบูท สินค้าที่ระลึก หรือบรรจุภัณฑ์ อยู่กับบริษัทโฆษณามีข้อดีคือ เงินเดือนเยอะ และข้อสำคัญ มีเวทีให้คุณประกวดงาน ถ้าดังได้รางวัลจาก Cannes กับ D&AD ก็รับรองว่าจะไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องเงินเดือนอีกต่อไป แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบริษัทที่เข้าไปทำด้วยว่า ส่งเสริมเรื่องนี้หรือเปล่า

1.3.Graphic Designer / Artist ประจำ Graphic House
นักออกแบบประจำกราฟฟิกเฮาส์ ซึ่งลักษณะการทำงานจะคล้ายๆกับทำอยู่กับเอเยนซี่ แต่จะทำอะไรได้อิสระขึ้น ได้ทดลองทำอะไรที่มันส์ๆได้ กราฟฟิกเฮาส์ที่ดังๆก็ได้แก่
Blind, Color Party, G49 ที่เป็นเครือของ A49 ซึ่งเป็นเจ้าของนิตยสาร Art 4D อีกพวกนึงที่อาจจะอยู่ในกลุ่มนี้ได้ ก็ได้แก่นักออกแบบที่อยู่ประจำนิตยสาร ซึ่งที่ดังๆก็ได้แก่ DNA, DAY BED, aDAY, Art 4D หรือเครืออมรินพริ้นติ้ง

1.4.Graphic Designer ประจำบริษัท หรือหน่วยงานต่างๆ
อันนี้ก็จะกร่อยหน่อยนึงถ้าเลือกทำ แต่ถ้าอยู่กับฝรั่งก็เงินเดือนดี แต่ก็ยังแห้วอยู่ดี เพราะพวกเราจะไม่มีทางโตได้ในบริษัทเหล่านี้

2. Art Director
หรือผู้กำกับศิลป์ หรือจะเรียกว่านักออกแบบ นักคิดโฆษณาก็ได้ พวกเขาเหล่านี้อยู่ตามบริษัทโฆษณาชื่อดัง คอยคิดโฆษณาประหลาดๆแหวกแนว เป็นต้นว่าโฆษณา โซเคน หรือหนอนยูนิฟ กรีนที ลักษณะงานคือจะนั่งคิดโฆษณา คิดหนังโฆษณา และจะทำงานร่วมกับก๊อบปี้ไรท์เตอร์ ใครที่เข้าใจว่า เรียนนิเทศถึงจะทำงานคิดโฆษณาก็ให้คิดใหม่นะครับ เพราะพวกนิเทศเค้าจะเป็นก๊อบปี้ไรท์เตอร์ (Copy Writer) คือคิดคำพูดในโฆษณา หรือคิดโฆณาวิทยุ คิดบทพูด

เป็นอาชีพที่เงินดี แต่ทำงานหนักยิ่งกว่าวัวควาย กลับบ้านเลยเที่ยงคืนบ่อยๆ ต้องไปคุมผู้กำกับถ่ายหนัง ดูคนตัดต่ออีกสารพัด หน้าที่กว่าจะออกเป็นโฆษณาเรื่องนึง ที่คนอยากเป็นกันเยอะเพราะเงินเดือน กับมีเวทีให้ประกวดงานโฆษณาอย่าง Cannes กับ D&AD

3. Animator
นักออกแบบอนิเมชั่น ที่ฮิตๆอยากจะเป็นกันเยอะแยะ แต่น้องเอ๋ย รู้ป่าวว่า Nemo เรื่องนึง ใช้คนกี่คน แต่ถ้าชอบก็เอาเลย ถ้าเก่งเมื่อไหร่ รับรองรุ่ง ลักษณะงานก็จะคล้ายงานโฆษณา แต่โหดกว่า ไม่ค่อยได้กลับบ้าน แต่ถ้าเขียนการ์ตูนเก่ง ชอบคอม ก็ลุยเลย ค่าตอบเแทนของอาชีพนี้จัดว่าสูงเอาการ สตูดิโอที่ดังๆก็รู้ๆกันอยู่คือ กันตนา กับ Imaginmax ถ้าเรียนด้านนี้โดยตรงก็ที่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.รังสิต ภาควิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต ดังสุด เครื่องมือพร้อมสุด

4. Motion Graphic Designer
จริงๆ พวกนี้ก็จัดอยู่ในกลุ่มทำเวบกับอนิเมเตอร์ เรียกว่าคนที่จบภาพยนตร์ ลาดกระบังมาจะทำงานได้ตรงกว่า แต่ถ้าเราเรียนแล้วชอบทางนี้ เราก็ทำได้เหมือนกันนะ เฮาส์ที่ดังๆก็ได้แก่ ฟีโนมีนา และแมชชิ่ง สตูดิโอ

5. Environmental Graphic Designer
งงอ่ะดิ ว่าทำอะไรกันหน่ะอาชีพนี้ มีด้วยหรอ ก็นักออกแบบกราฟฟิกในนิทรรศการ หรือป้ายสัญลักษณ์ต่างๆแหละ เป็นต้นว่าป้ายธนาคาร หรือถ้าห้างสักห้างจะเปิดตัว ก็ต้องออกแบบกราฟฟิกในอาคาร และนอกอาคาร นักออกแบบพวกนี้จะทำ interior+exterior graphic อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นวัตถุสามมิติ
อันนี้รวมถึงนักออกแบบนิทรรศการด้วยนะ แต่อาชีพนี้ที่มีสอนตรงๆก็ที่ศิลปกรรมฯ จุฬา ภาควิชานิทรรศการศิลป์ สำหรับบริษัทที่ดังๆก็ได้แก่ Urban Graphic,G49

6. Illustrator / Digital Artist
นักออกแบบภาพประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเพื่อหนังสือ นิทาน นิยาย หรือหน้าปกนิตยสาร โดยมากจะทำงานแบบศิลปิน ไม่สังกัดบริษัทไหน โดยมากจะผ่านงานมาแล้วหลายปี
และต้องมีทักษะและสไตล์ที่โดดเด่นพอ จึงจะมีงานเรื่อยๆ

7. Visualizer / Digital Artist
คล้ายกับข้อหก แต่จะเน้นมาทางด้านตกแต่งภาพมากกว่า
หรือจะเรียกอีกอย่างว่า Retoucher ก็ได้ ลักษณะการทำงานก็คือจะมีหน้าที่ตกแต่งภาพ ตามที่กราฟฟิก หรืออาร์ตไดเรกเตอร์จากบริษัทโฆษณา กำหนดมา ทำโปสเตอร์หนัง ทำภาพประกอบหนังสือ โดยพวกนี้จะเป็นเซียนเหนือเซียน Photoshop และ Illustrator โดยตรง ค่าตอบแทนจัดว่าสูงมาก แต่ต้องแลกกับการอดหลับอดนอน โดยจะทำงานอยู่นบริษัททำรีทัชที่มีชื่อเสียงได้แก่ Illusion, remix, Zone Retouch เป็นต้น

8. อาชีพนักออกแบบอิสระ หรือเรียกว่า Freelance Designer ซึ่งนักออกแบบที่ทำงานประจำในบริษัทก็ สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้ ถ้าคิดว่าเวลานอนมีเยอะเกินไป เรียกว่าถ้าทำได้ก็มีแต่ได้กับได้ครับ นอกจากนี้แล้ว นักออกแบบกราฟฟิก สามารถผันตัวเองไปทำอย่สอื่นที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและการออกแบบได้อีก เช่น นักถ่ายภาพ นักออกแบบนิทรรศการและเวที สไตล์ลิสต์ นักออกแบบแฟชั่น นักออกแบบเครื่องประดับ หรีอศิลปินและจิตรกรอิสระเป็นต้น

ที่กล่าวมาก็พอจะสรุปได้คร่าวๆว่า ถ้าพ่อแม่ ลุงป้าน้าอาทวดยายตาย่าเหลนถามว่า จบไป ทำอะไรกิน ก็จะได้สาธยายให้เค้าฟังได้ รวมๆจัดว่าค่าตอบแทนวิชาชีพใช้ได้-ดีมากๆ(ดีจนน่าตกใจ ถ้าได้เป็นอาร์ตไดเรกเตอร์ดังๆ) ไม่ตกงานแน่ๆ แถมรับงานได้อีก อันนี้ก็เป็นข้อได้เปรียบของคนที่เรียนสายวิชาชีพ อย่างน้อยก็อุ่นใจว่าสามารถทำงานได้ด้วยตัวคนเดียว เพราะมี Skill ติดตัว

=====================================================
จะไปเรียนได้ที่ไหนบ้างเนี่ยยยยย

พี่จะแนะนำโดยยึดจาก อัตราการสอบเข้า ความฮิต และผลงานของบัณฑิตรุ่นพี่ๆนะ และบวกกับประสบการณ์ที่ทำงานอยู่ในบริษัทโฆษณา ไม่ได้มีเจตนาจะชี้นำ หรือค่อนแคะสถาบันไหนนะครับ เพราะต้องยอมรับเรื่องวงการการศึกษาบ้านเราที่ปาวๆว่า ทุกมหาลัยเท่ากันๆ อย่าไปเชื่อ โม้มากๆ พวกผู้ใหญ่พยายยามทำให้ทุกมหาลัยและค่าของปริญญาห่วยเท่ากัน ไม่ใช่ดีเท่ากัน
เอาหล่ะ เข้าเรื่องดีก่าว่าเรียนไหนดี

– คณะมัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ศิลปากร : สอบดรออิ้งกะออกแบบนิเทศ ที่ต้องผ่านห้าสิบทั้งสองวิชา ถ้าตำกว่าแม้วิชาใดวิชาหนึงก็กินแห้ว อดเข้า

– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ลาดกระบัง : สอบความถนัดทางนิเทศศิลป์ มีเกณฑ์ขั้นต่ำนะจำไม่ได้ว่าห้ามต่ำกว่าเท่าไหร่ สังกัดคณะถาปัด แต่เรียนสี่ปี และไม่มีอะไรเกี่ยวกับถาปัด เพียงแต่อยู่ในสังกัด (สมัยก่อน มีเรียนร่วมกับพวกถาปัด แต่ปัจจุบันแยกกันอยู่ แยกกันบริหาร)

– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ บางมด : น้องใหม่ มาแรง เป็นอินเตอร์นะ (เรียน 5 ป๊)
ในปี 2551 จะมีเปิดภาควิชามีเดียอาร์ต (รับตรงอย่างเดียว)
เรียนที่ มจธ.วิทยาเขตบางขุนเทียน

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ สาขาการออกแบบเรขศิลป์ จุฬาฯ :มีชื่อภาษษอังกฤษว่า Creative Arts สอบทฤษฎีนฤมิตศิลป์ ปฏิบัตินฤมิตศิลป์ พ่วงด้วยคณิตศาสตร์อีกวิชานึง แต่ไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำ รับน้อยไปหน่อย แค่ 25 – 28 คนต่อปี
เป็นคณะที่เข้าไปเรียนรวมตอนปีหนึ่ง แล้วค่อยเลือกเมเจอร์ตอนปีสอง มีGraphic Fashion Ceramics Exhibitions ให้เลือเรียน

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชาการออกแบบสื่อสาร มศว ประสานมิตร : สอบตรงอย่างเดียว ยื่น Portfolio ที่ต้องมีงานออกแบบนะ ไม่ใช่พอร์ตประเภทรางวัลมารยาทงาม ประกวดเรียงความดีเด่น และสอบข้อเขียน

– คณะครุศาสตร์ สาขาศิลปศึกษา จุฬาฯ : อย่าเพิ่งร้องจ๊ากว่าต้องเป็นคุนคู มีเป็นแค่ไม่ถึงสิบเปอร์เซนต์หรอก สอบวัดแวว กับความรู้ความถนัดทางศิลป์ ที่รวมเอาทฤษฎีกะปฏิบัติเข้าด้วยกัน
Paradox ก้อเกิดขึ้นที่นี่ พี่ป๊อด โมเดิร์นด๊อกก็ด้วยยยย เอ๊ะ ไม่เกี่ยวกับออกแบบนี่หว่า

– คณะวิจิตรศิลป์ สาขาการออกแบบ ม.เชียงใหม่ : น้องใหม่ของวงการออกแบบทางเหนือ ปีนี้สอบใช้ คะแนนนฤมิตสอบ น่าเรียนเหมือนกันนะ บรรยากาศดีมากๆ

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ม.ขอนแก่น : ใช้ข้อสอบลาดกระบัง ที่นี่เค้าก็ดังนะ คนในวงการก็แยะ

– คณะศิลปกรรมฯภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ม.กรุงเทพ ม.รังสิต ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คอมพิวเตอร์อาร์ต
เอแบค สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์(อินเตอร์) พวกนี้เจ๋งหมด
เรื่องอุปกรณ์ ความพร้อมของสถานที่ ชนะมอของรัฐทุกที่แบบไม่เห็นฝุ่น เรื่องวิชาการก็เทียบเท่า เด็กจบมาก็เก่ง ถ้าตัดค่านิยมทิ้งไปก็โอเคเลยแหละที่จะเข้าไปเรียน

=====================================================

แนะนำสถานที่ติว+เรื่องอื่นๆ ใครกำลังงงๆลองเข้ามาอ่านดูค่ะเผื่อจะช่วยได้

เรื่องติวจะติวอะไรก็แล้วแต่ที่น้องจะเรียนในคณะมัณฑนศิลป์นะคะ มีที่เรียนที่พอจะแนะนำให้ได้ดังนี้

1.ติวกับพี่เชษฐ์ อยู่ในซอยข้างภัทราวดีเธียร์เตอร์ วังหลัง เดินเข้าซอยไปค่ะจะเห็นอาคารพาณิชย์ทาสีเจ็บๆ (ไม่รู้ว่าทาสีใหม่หรือยังนะ) นั่นแหล่ะค่ะเข้าไปคุยกับพี่เค้าดู

2.ตึกป๋า อยู่ติดกับแฟลตมหาวงษ์ อยู่ในซอย พอลงสะพานปิ่นเกล้ามาฝั่งธนแล้วให้ชิดขวาเตรียมกลับรถแล้วไป U-Turn ใต้สะพานปิ่นเกล้า ขับตรงไปเรื่อยๆ ผ่าน 7-11 ไปหน่อยจะเจอร้านขายหูฉลาม ซอยที่อยู่ติดกับร้านขายหูฉลามนั่นแหล่ะ เข้าไปเป็นซอยตันสุดซอยจะเห็นศาลพระภูมิ ตึกป๋าอยู่ตรงนั้นค่ะ

3.ติวกับรุ่นพี่ที่เค้านั่งติวน้องๆอยู่ในบริเวณของมหาลัย ได้แก่ มัณฑนศิลป์จะอยู่สวนแก้ว หรือหน้าอาคารศูนย์รวมคณะโบราณคดี ถ้าเป็นสถาปัตย์ก็อยู่หน้าคณะสถาปัตย์ ถ้าเป็นจิตรกรรมก็อยู่หน้ายูเนี่ยน(โรงอาหารนั่นเอง!) กับหน้าคณะจิตรกรรม ถูกใจใครก็ถามดูว่าเราจะติวอะไร พี่สอนมั้ย คิดเท่าไหร่ จะถามคำถามลองภูมิอะไรก็ว่าไปแต่อย่าให้เค้ารู้ เดี๋ยวมีเคือง..นอกนั้นเรื่องเวลาเรียนก็แล้วแต่จะตกลงกับพี่ที่สอน

4.สถานที่ติวอื่นๆที่คงจะหาไม่ยากถ้าจะพยายาม ย้ำ! ถ้าพยายาม….

5.แนะนำอะไรดีๆให้ ขอให้ขยันๆกันนะคะ ขอคนเอาจริงหน่อยนะ ไม่ใช่อยากจะเข้าเพราะมันดังหรือจะมาทำตัวเด่นอะไรก็แล้วแต่ เพราะมันแย่งที่นั่งคนที่อยากเรียนจริงๆจ้ะ

ส่วนเรื่องว่าจะมีสอบตรงมั้ย สอบเมื่อไหร่ มีติว7วันมั้ย
ตอบ มีทุกอย่างที่ว่ามาข้างบนนี่

จะอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร ก็ต้องคอยติดตามเอาจากหน้าเว็บของคณะ หรือถ้าสะดวกก็มามหาลัยเลยก็ได้ช่วง ต้นตุลา หรือก่อนหน้านั้นหน่อยสัก1-2อาทิตย์ เพราะจะสอบประมาณตุลาฯ ถ้าเค้าไม่มีเลื่อนหรืออะไรจุกจิกก็ประมาณนั้น ค่าเรียนก็ไม่น่าเกิน 700 หรือ 777 ก็แล้วแต่ อันนี้ไม่รู้แฮะ

เรื่องการสอบขอให้ติดตามกันดีๆนะคะ แค่เรื่องการจำวันสอบผิดแล้วทำให้เราพลาดสอบเนี่ยมันไม่ควรเกิดขึ้นนะคะ โอกาสมันก็พลาดกันได้ง่ายๆนะ แค่เรื่องจำผิดจำถูก แล้วก็เรื่องสุขภาพกับการเตรียมอุปกรณ์ไม่ครบ ไม่พอ อย่ากลัวใครจะมองเราว่าบ้าหอบฟาง หอบมาทั้งกองแต่เอ็นฯติดได้ 100 เต็มใครจะว่าอะไรก็ช่างมันแต่ ตู ติด เว้ย! อะไรแบบนั้น…

ติดตามกันดีๆนะเรื่องวัน เวลาสอบ ดูให้ดี โอกาสมีน้อยต้องคว้ามาให้ได้….สู้โว้ย!

ปล.พี่อยู่ตอบให้ปีสุดท้ายแล้วนา ใครช่วยที ช่วยตอบคำถามต่อๆกันไปแล้วกันนะคะ เข้าใจว่าบางทีน้องก็ไม่รู้จะไปหาข้อมูลจากไหน (ถามคนในแหล่ะง่ายสุด) .. (คิดแบบนี้กันใช่มะ)
อ้อ ลืมบอกไป ใครที่จะติวกับรุ่นพี่ที่สวนแก้วตามที่ความคิดเห็นที่ 1 บอกไปก็คือ วันเสาร์ – อาทิตย์นะคะ
ส่วนที่อื่นๆเอาให้แน่ๆเลยก็เสาร์-อาทิตย์เช่นกัน แต่เรียนจริงๆก็คงจะมีวันธรรมดาให้เลือกเช่นกันจ้า

**ล่าสุด เรื่องการสอบปีการศึกษา 2551 นี้ การรับเข้าจะไม่มีการสอบรอบ 2 นะคะ ไม่มีโควต้า ไม่มีการรับเพิ่ม การคัดเลือกจะเป็นการรับคนที่มีคะแนนสูงสุดจากบนลงล่างให้ครบจำนวนคนค่ะ ต้องทำคะแนนแข่งกันให้ดีๆ มีโอกาสครั้งเดียวเท่านั้น สำหรับผู้ที่จะเข้าเรียนปีนี้นะคะ **
ปล.ถ้าข้อมูลมีการผิดพลาด คาดว่าคงจะไม่ผิดไปจากนี้มากมายค่ะ

คำอธิบายเกี่ยวกับคณะมัณฑนศิลป์ ว่าเราเรียนอะไรกันบ้างแบบพอสังเขปนะคะ
คณะมัณฑนศิลป์ = การออกแบบ
มี 6 ภาควิชา
1.ออกแบบตกแต่งภายใน
2.ออกแบบนิเทศศิลป์
3.ออกแบบประยุกต์ศิลป์
4.ออกแบบผลิตภัณฑ์
5.ออกแบบเครื่องเคลือบ
6.ออกแบบเครื่องประดับ
7.ออกแบบเครื่องแต่งกาย *** เพิ่งมี
—— ตกแต่งภายใน = ออกแบบจัดสถานที่ ออกแบบร้าน / ห้อง ฯลฯ ที่เป็นลักษณะอยู่ในตัวอาคารน่ะค่ะ
เช่น ออกแบบร้านอาหารไทยในต่างแดน ออกแบบห้องสมุดเคลื่อนที่ ฯลฯ ( ในความคิดพี่ตกแต่งยากโคตร!)
——–ออกแบบนิเทศศิลป์ = กราฟฟิคต่างๆ ทุกอย่างเลย ทั้งอนิเมชั่น ภาพยนตร์ หนังสือ โฆษณา เซ็บไซด์ ฯลฯ
เช่น ภาพประกอบหนังสือ คอมมิค บิลบอร์ด(ป้ายโฆษณาใหญ่ๆที่มันพังลงมาทับคนตายตอนฝนตกหนักๆอ่ะ)โปสเตอร์ แพ๊คเกจ เลขนศิลป์สิ่งแวดล้อม(ได้แก่พวกป้ายต่างๆ Pictogram = คนตัวดำๆที่แสดงว่าเป็นห้องน้ำหญิง-ชายอ่ะแหล่ะ หรือจะเป็นป้ายเหลืองๆที่ชอบแขวนกันบนรถส่วนตัวว่า Child in Car เป็นต้น(เป็นต้นนะ- -*))
———ออกแบบผลิตภัณฑ์ = ออกแบบเครื่องใช้ของใช้ทั้งหลายทั้งปวงที่สามารถจะออกแบบเอามาทำมาหากินได้…. ตั้งแต่นาฬิกาข้อมือยันช้อนส้อม ไม้แขวนเสื้อก็ไม่เว้น…ออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย สะดวก สวยงาม ดูดี เพิ่มหรือลด แก้ไขส่วนบกพร่องของผลิตภัณ์ หรือสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อตอบสนองความสะดวก
เช่น นาฬิกาข้อมือเก็บขยะได้ (เอาเปลือกลูกอมยัดลงไปได้) หรือนาฬิกาที่เป็น Thum Drive ในตัว (สะกดผิดขออภัย อังกฤษไม่ปึ้ก) ไปจนถังขยะรูปร่างหน้าตาแปลกๆ ที่มันทำอะไรแปลกๆได้ (ถ้างงก็อ่านแล้วปล่อยไปไม่ต้องคิดตามนะเดี๋ยวไมเกรนจะถามหา)
———-ออกแบบประยุกต์ศิลป์ศึกษา ใกล้เคียงกับจิตรกรรมมากที่สุด พี่ไม่รู้เรื่องที่สุด และมีคำอธิบายน้อยที่สุดเพราะพี่ไม่รู้นั่นเอง….จบข่าว
ไม่รู้จะว่าไง นึกภาพเอา จิตรกรรม + ออกแบบ = ประยุกต์ดูแล้วกัน ( ????? )
————เครื่องเคลือบ = เซรามิก
เช่น ออกแบบกาน้ำชาแฟนซี แต่เราก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้งานด้วยว่ากาน้ำชามันเป็นยังไง มีพวย ถ้าเป็นกาน้ำชาตรงด้านในพวยจะเป็นเหมือนตะแกรงกรองใบชามั้ย? อะไรพวกนั้น…..
———เครื่องประดับ = จิวเวลรี่ ก็เครื่องประดับอ่ะ ..
เช่น กำไล สร้อย(ตั้งแต่คอลงไปจนถึงนิ้วเท้า..)ต่างหู แว่นตา อูยยย~~ อะไรก็ได้ทีมันไว้ประดับบนตัวเราให้เราแบกมันมาทุกวันน่ะ

ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
1. เลขนศิลป์สิ่งแวดล้อม (Environmental Graphics Design)
– ภาพบนผนังและกำแพง (Graphic Wall)
– ระบบป้ายสัญลักษณ์ (Signage System)
– การออกแบบจัดที่แสดงและนิทรรศการ (Display and Exhibition Design
2.การออกแบบเลขนศิลป์สิ่งพิมพ์ (Printing Graphics Design)
– การออกแบบเครื่องหมายและสัญลักษณ์ (Sign, Symbol)
– การออกแบบตัวอักษร (Lettering Design)
– การออกแบบหนังสือต่างๆ (Book Design)
3.การออกแบบเลขนศิลป์เคลื่อนไหว (Motion Graphic Design)
– อนิเมชั่นสองมิติ หรือ สามมิติ (2-D or 3-D Animation)
– ภาพยนตร์ หรือ วิดีโอ (Film or Video)

มัณฑนศิลป์จะสอบวิชาเฉพาะ คือ
วาดเส้นมัณฑนศิลป์ + วิชาออกแบบประจำภาควิชาที่เราอยากจะเข้าค่ะ
แล้วปีนี้ไม่รู้เค้าเปลี่ยนอะไรหรือเปล่านะคะ
ส่วนวิชาเฉพาะก็ ไทย อังกฤษ สังคม เลข วิทย์(ไม่แน่ใจวิทย์ตัวไหน ขึ้นอยู่กับภาควิชาที่จะเข้าด้วยค่ะ เพราะบางภาคก็ไม่ต้องใช้เลขหรือวิทย์

แฟชั่น หาดูงานตัวอย่างได้จากการ เซิร์ทหาในgoogleนะคะ ใส่คีย์เวิร์ดตามนี้นะ Fashion Illustration และมีเว็บรูปถ่าย เราสามารถดูสีสัน ดูอารมณ์ของเค้าได้ค่ะ ที่ http://www.istockphoto.com ใส่คีย์เวิร์ดว่า Fashion แล้วจะมีรูปขึ้นมาให้ดูเยอะเลยค่ะ ส่วนที่เป็น Illustration ที่หาใน google เราสามารถจดจำ ลอกเลียนในขั้นต้น เพื่อศึกษาเรื่องการเลือกใช้สี การเขียน Charactor (บุคคลิกของคน คนรูปร่างหน้าตาแบบไหน ใส่เสื้อผ้าแบบไหน ให้ดูแล้ววิเคราะห์เอาเองนะคะ ประกอบกับข้อมูลที่ติวมาหรือที่หามาจากเว็บต่างๆที่เชื่อถือได้ค่ะ)
ถ้าเรามีเวลาพอที่จะออกแบบตัวการ์ตูนที่มีรูปร่างลักษณะเฉพาะของเราเองได้จะดีมากๆ
ดูเรื่องการใช้สีให้ดี การจัดองค์ประกอบด้วยค่ะ
ที่สำคัญ เวลาทำข้อสอบต้องตีโจทย์ให้แตก ให้ความสำคัญกับสิ่งที่โจทย์กำหนด แล้ววิเคราะห์ดูความต้องการว่าเค้าต้องการเสื้อผ้าลักษณะแบบไหน?
จริงๆแล้ว วิธีการพวกนี้ก้เอาไปใช้ได้กับทุกวิชาแหล่ะค่ะ
สู้ๆ มีปัญหาอะไรก็โทรมาถามได้นะ 083 8974308 แต่โทรศัพท์คุณภาพแย่หน่อย อาจจะปิดๆเปิดๆนะคะ

แนะนำเรื่องหอพักค่ะ

เซรามิก จิวเวลรี่ ส่วนใหญ่จะอยู่นครปฐมค่ะ
แนะนำว่าอยู่หอนอกจะดีกว่าเพราะเราทำกิจกรรมเยอะมากต้องกลับดึก หรือเวลาต้องอยู่ทำงานดึกๆที่ต้องใช้ช็อบของมหาลัยก็ต้องกลับดึก ถึงดึกมาก มันจะเลยเวลาปิดหอของหอในน่ะค่ะ จะลำบาก แถมหอในอยู่ห้องนิดเดียวแต่อัดไปถึง 4-5คนแน่ะค่ะ ถ้าอยู่หอนอกก็สบายๆ แต่เรื่องอันตรายต่างๆก็ต้องระวังเอาเองหน่อยน่ะค่ะ เรื่องขโมยหรือระวังตัวเวลากลับหอ
ประยุกต์ศิลป์ เห็นเพื่อนอยู่หอตรงปิ่นเกล้าอ่ะค่ะ คงจะมีเรียนที่นครปฐมซัก 2 วัน หรือ 3 วัน นอกนั้นที่เหลือก็เรียน กทม ก็เลยไป – กลับเอา
นิเทศศิลป์ อินทีเรีย โปรดักซ์ 3ภาคนี้อยู่กทมเป็นส่วนใหญ่ค่ะ แนะนำว่าอยู่ กทมดีกว่า ไปเรียนนครปฐมแค่ 1- 2 วันเท่านั้นเอง ไม่เต็มวันซะด้วยซ้ำค่ะ แล้วพออยู่ปี 3 ก็ไม่ต้องไปนครปฐมเป็นการถาวร ถ้าไม่ได้ลงวิชาตัวไหนที่ต้องเรียนที่นครปฐมค่ะ
ปล.มีคิวรถตู้อยู่แถวๆเซ็นปิ่น นั่งรถ ครึ่ง – ไม่ถึงชั่วโมงก็ถึงหน้ามหาลัยที่นครปฐมแล้วล่ะค่ะ

อยากทราบว่าคณะมัณฑนศิลป์ที่สอนอยู่ศิลปากรที่ไหนกันค่ะ?

คณะมัณฑนศิลป์ อยู่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระค่ะ รวมทั้งคณะจิตรกรรมฯ สถาปัตย์ฯ โบราณคดีด้วยค่ะ
คณะทางวิชาการต่างๆ เช่นอักษร วิยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะมัณฑนศิลป์ จิตรกรรมฯ และสถาปัตย์บางส่วนก็อยู่ที่ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ด้วยค่ะ
แต่ว่า ดุริยางค์และคณะอื่นๆที่เหลือจะอยู่วิทยาเขตเพชรบุรีค่ะ
การทำงานออกแบบอย่างออกแบบผลิตภัณฑ์ เซรามิก หรือจิวเวลรี่ จะใช้สีน้ำหรือโยเค่น หรือสีอะไรก็ได้ที่ถนัด แต่ต้องไม่ใช่สีสเปรย์ แอร์บรัช หรือที่ใช้ยุ่งยากและรบกวนผู้สอบคนอื่นๆ
แนวข้อสอบ…. เอาเป็นว่าบอกข้อสอบที่เคยสอบมาแล้วกันนะคะ
ออกแบบแผงลอยหน้าโรงหนังแบบพับเก็บได้
จะสอบวิชาอะไรก้แล้วแต่ให้แตกโจทย์มาแบบนี้นะคะ
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบ
ในที่นี้ได้แก่ (คร่าวๆนะคะ)
1.จะต้องพกติดตัวไปไหนมาไหนได้สะดวก
– น้ำหนักเบา
– ขนาดไม่ใหญ่มาก
– มีรูปร่างไม่เกะกะ ไม่เกี่ยวโน่นนี่เวลาเดินทาง
2.ส่วนของดีไซน์
– สีสันเหมาะกับสภาพแวดล้อม หรือสภาพบรรยากาศที่จะตั้งขาย เหมาะกับบุคคล(ทั้งคนขายและคนซื้อ)
– การเลือกใช้วัสดุ ให้เหมาะกับการใช้งาน ราคาถูกหรือแพงก็ขึ้นอยุ่กับว่าต้องออกแบบอะไร แล้วใครเป็นคนซื้อ คนซื้อมีเงินมาก-น้อยแค่ไหนก็ต้องคิดด้วยค่ะ
3.ส่วนสำคัญที่โจทย์บอก
– Concept แนวความคิดหลัก (ที่ใช้สีแบบนี้รูปร่างแบบนี้ เราได้มาจากอะไร? เช่น คน สัตว์ สิ่งของ พืช ฯลฯ และขยายความด้วยค่ะ เช่น สัตว์ ก็คือ ม้า แมว ไข่ ฯลฯ
– Detail รายละเอียดของงาน คือ อธิบายว่าตรงนี้ตรงนั้นเปิดยังไง ใช้ยังไง พูดง่ายๆก็คือวิธีใช้มั้นน่ะแหล่ะค่ะ หรือก็คือ ฟังชั่น
– Rendering ภาพสมบูรณ์ของสิ่งที่เราออกแบบ
– Dimention ภาพแสดงด้านของผลิตภัณฑ์ เป็นรุปแบบอย่างง่าย แสดงด้านหน้า ด้านข้าง และบน หรือด้านหลัง แล้วแต่ว่าความพิเศษของผลิตภัณฑ์ตัวนี้อยู่ด้านบนหรือด้านหลัง
front = ด้านหน้า side = ด้านข้าง top = ด้านบน
(สะกดผิดขออภัยค่ะ ห่างหายไม่ได้ใช้มานาน ลืมหมด)
หลักของการออกแบบที่สำคัญ
**** ต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมาย****
1.วิถีการดำเนินชีวิต
2.รสนิยม
ทั้งการกิน การแต่งตัว การเลือกซื้อของ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับว่า โจทย์ให้เราทำอะไรนะ
3.ฐานะทางการเงิน
4.อาชีพ
ฯลฯ
เพราะหลายๆอย่างการออกแบบต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย ไม่งั้น ออกแบบไปก็ขายไม่ออก ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะลงทุนทำงานเหนื่อยเปล่าอย่าลืมว่าคนเรียนออกแบบ ออกแบบมาต้องขายได้ ต่างจากศิลปินก็ตรงนี้นะคะ ^^
ข้างบนนี้ทุกวิชาจะต้องใช้นะคะ

มีข้อมูลที่ติวที่คิดว่าน่าจะดูเป็นกิจลักษณะ อีก 1 จุด ก็คือ บริเวณหน้าตึกอธิการบดี ข้างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ หรือก็คือ พี่วราวุฒิ ที่ลงโฆษณาอยู่ในบอร์ดคณะนี่แหล่ะค่ะ ใครสนใจก็เดินไปคุยกับพี่เค้าได้ค่ะ

ถ้าจะคุยปรึกษาเรื่องสอบเข้าหรือจะถามอะไรก็โทรมาได้นะคะ ไม่เสียตังนอกจากค่าโทรตามปกติ ^^ 0838974308

โดย ชลาชินี ศุกระรุจิ

=============================================================
Q. อยากรู้เรื่อง…….วิชาสามัญ และ ปฏิบัติ ตอนสอบตรงอ่ะค่ะ
ของ…
– ออกแบบเครื่องประดับ ศิลปากร
– ออกแบบสื่อสาร มศว.
– ออกแบบนิเทศฯ ลาดกระบัง

***มช. กับ มข. รับตรงไม๊คะ?***

ถ้ารับตรองก็รบกวนขอข้อมูลด้วยนะคะ^^

A. วิชาสามัญที่จะสอบออกแบบเครื่องประดับ ศิลปากร จะมีวิชา 01 ภาษาและสังคม 02 วิทย์และคณิต โดยแนวข้อสอบที่ออกส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาที่เรียนในชั้น ม.4 และ ม.5 เป็นหลัก คะแนนที่สอบได้ต้องไม่ตํากว่า 30% (ถ้าตํากว่าก็คือไม่ผ่านถึงแม้ว่าจะทำวิชาปฎิบัติได้เต็มก็ตาม)

วิชาปฏิบัติจะมี 60 วาดเส้นมัณฑนศิลป์ โจทย์ปี 49 ให้ Drawing มือถือกระดาษยับ(ถ้าจำไม่ผิด) ปี 50 Drawing มือถือช้อน ที่สำคัญมากๆๆๆๆๆๆ ให้ฝึก Drawing บนกระดาษ 100ปอนด์หยาบ เพราะตอนสอบต้อง Drawing บนกระดาษนี้ (การลงนําหนักเข้มอ่อนของแสงเงาจะไม่เหมือนกับกระดาษ 80 ปอนด์) วิชา 66 ออกแบบเครื่องประดับ วิชานี้ไม่ทราบว่าแนวข้อสอบเป็นอย่างไร

ออกแบบสื่อสาร ของ มศว วิชาสามัญมีสอบแต่ ภาษาอังกฤษ ปฏิบัติสอบความถนัดทางการเรียน (จะสอบแนวคล้ายกับ Admission นิเทศศิลป์) ออกแบบสื่อสารนี้สิ่งที่คัญที่สุดคือ ต้องยื่น Portfolioโดยคะแนนส่วนนี้คิดเป็น 30% ของคะแนนทั้งหมด
แนวการจัดทำไม่ต้องไปลงทุนทำแพงๆ หรูๆ ให้รวบรวมผลงานที่มีในรอบ 2-3 ปี ทั้งจากฝีมือ และคอม ถ้าเคยได้รับรางวัล หรือประกาศนียบัตร ไม่ว่าจะเป็นการอบรมในด้านที่เกี่ยวข้อง หรือการอบรมในสิ่งที่ดูแล้วเป็นสิ่งที่แสดงถึงความกระตือรือร้นในการใฝ่รู้ของเราก็ให้รวบรวมส่งไป แต่ควรอยู่ระหว่าง 3-4 ปี เวลารวบรวมผลงานต่างๆ ควรจะเรียงลำดับวันเวลาและระบุไว้ด้วย
เพื่อที่คณะกรรมการจะได้ดูพัฒนาการของเรา

ออกแบบนิเทศฯ ลาดกระบัง จะเป็นภาควิชาหนึ่งของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยแยกออกเป็น 3 สาขา 1.นิเทศศิลป์ รับ 30 คน คะแนนสูงสุดปี 50 7999.00 ตําสุด 6530.50
2. ภาพยนตร์ และ วีดีโอ รับ 30 คน คะแนนสูงสุดปี 50 6439.50 ตําสุด 5481.50 3. การถ่ายภาพ รับ 30 คน คะแนนสูงสุดปี 50 6375.25ตําสุด 3954.75 ภาควิชานิเทศศิลป์ ไม่มีรับตรงจะรับจาก Admissionกลางเท่านั้น แต่ปีต่อไปไม่แน่

มช.จะมีรับตรงส่วนหนึ่งและรับจาก Admission กลางส่วนหนึ่ง จะเป็นจำนวนเท่าไรต้องเช็คจากเวบของมหาวิทยาลัยดูอีกที ส่วนของ มข.ไม่ทราบในรายละเอียดต้องเช็คดูจากเวบมหาวิทยาลัย

จะขอเสริมของคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ จุฬาฯ จะแบ่งเป็น 3 สาขาวิชา เรขศิลป์(ก็คือนิเทศศิลป์), แฟชั่นและสิ่งทอ, นิทรรศการศิลป์(เรียนเกี่ยวกับออกแบบ Event) อันนี้ก็จะมีรับทั้งแบบสอบตรงกับ Admission กลาง สอบตรงที่ผ่านมารับ
สาขาละ 4 คน วิชาสามัญที่สอบมี ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ทฤษฎีนฤมิตศิลป์ ข้อสอบจะไม่เหมือนกับที่สอบ Admission โดยข้อสอบจะออกแนววิเคราะห์ซึ่งยากมากๆๆ โดยเฉพาะเด็กสายสามัญ อีกวิชาจะเป็นทักษะนฤมิตศิลป์ ก็สอบปฏิบัติตามที่เลือก สอบตรงจะมีข้อดีคือถ้าสอบได้จะได้เรียนเอกวิชานั้นเลย ไม่เหมือนกับคัดจาก Admission กลาง ต้องปี 2 ถึงเลือกเอกได้โดยคัดจากคะแนนของการเรียนปี 1 ขอเพิ่มเติมข้อมูลนฤมิตศิลป์ จุฬาฯ สอบตรงต้องได้เกรดเฉลี่ย 2.75 ขึ้นไป และต้องยื่น Portfolioเป็น CD แต่งาน Portfolio ไม่มีคะแนนถือเป็นเอกสาร
ประกอบการสมัครและพิจารณาเท่านั้น

คิดว่าคงเป็นประโยชน์กับน้องๆ ไม่มากก็น้อย

==============================================================

ผมขอนำกระทู้บางส่วนของของผู้ใช้นามว่า พี่ยอด ผ่านทาง Weboard artstudio เมื่อประมาณปลายปี 49 ซึ่งปัจจุบันก็มิได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักมาให้น้องๆ ได้อ่านเพื่อเตรียมความพร้อม และขอขอบคุณพี่ยอดไว้ ณ ที่นี้ด้วย

=================================

สำหรับการเตรียมตัว พี่จะขอพูดคร่าวๆละกันนะครับ เอาไว้ไปดูรายละเอียดวิชาสอบกันดีกว่า

การเตรียมตัวเข้าสาขาทางนี้ แน่นอนจะต้องมีวิชาการออกแบบและวาดเส้น ซึ่งวิชาและทักษะดังกล่าว ไม่สามารถวัดได้ว่าคนไหนจะต้องฝึกเท่าไหร่ คนไหนต้องฝึกอีกมาก คนไหนทำไม่สวย อันนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ล้วนๆในการฝึกฝนน้องๆที่จะเข้าสายงานทางนี้ พี่แนะนำเลยว่า website หรือร้านหนังสืออย่าง Asia Book หรือ Kinokuniya เป็นแหล่งความรู้ที่ดีมากๆ ยังมีร้านหนังสือดีๆที่น่าไปดูอีกคือ Basheer ที่ H1 ซอยทองหล่อ เลย Playground เข้าไปอีกหน่อย จริงๆใน Playground ก็มีนะครับ และยิ่งดีเข้าไปอีกที่มีศูนย์การออกแบบที่ Emporium ขึ้นมาอีก แหล่งความรู้เหล่านี้มีอยู่ทั่วไป ขึ้นอยู่ว่าน้องจะเลือกดูหรือเปล่า

และสำหรับน้องที่ไม่มีโอกาสได้ติวกับพี่ๆตามมหาวิทยาลัยหรือตามสถาบันสอนศิลปะ ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ทันเค้าเพราะน้องสามารถหาหนังสือหัดวาดเส้นมาหัดได้เอง ซึ่งมีหนังสือดีๆอยู่หลายเล่ม เมื่อซื้อมาแล้วน้องก็อาศัยการสังเกต หมั่นฝึกฝน และที่สำคัญหาอาจารย์สอนศิลปะเป็นพี่เลี้ยงช่วยดูก็จะดีมากๆ

จริงๆก็ไม่ต้องกลัวมากเพราะในเวบมีอยู่มากมายครับ ลองใช้ Google หาดูสิครับ มีเพียบ……….ที่สำคัญหมั่นหาข้อสอบเก่าๆมาดูและทดลองทำดูครับจะช่วยได้มากๆครับ

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ระบบการสอบและวิชาการสอบ ซึ่งลักษณะการสอบในปัจจุบันจะสามารถแยกออกเป็น 4 กลุ่มคือ

[A] กลุ่มที่สอบปฏิบัติเพียงวิชาเดียว (ความถนัดทางนิเทศศิลป์ ค่าน้ำหนัก 35% เกณฑ์ 40 คะแนน) ได้แก่

– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศิลป์ / ภาพถ่าย / ภาพยนตร์และวิดีโอ พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง

– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ พระจอมเกล้าฯธนบุรี (หลักสูตรนานาชาติ) มีสอบตรง และรับ Admission กลาง

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ม.ขอนแก่น ม.บูรพา ฯลฯ (มีสอบตรง+โควต้า)

ลักษณะข้อสอบ
จะมีข้อย่อยๆแยกออกไปให้ Drawing เขียน StoryBoard ทำ Illustration หรือออกแบบโปสเตอร์และออกแบบลวดลาย
เน้นทักษะ+ไอเดีย และความเร็วในการทำพอสมควร เพราะมีแค่ 3 ชั่วโมงแต่ต้องทำหลายข้อ

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

[B] กลุ่มที่สอบวิชาปฏิบัติสองวิชา รายละเอียดลองดูที่ http://www.decentrance.su.ac.th/คณะมัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ศิลปากร มีสอบตรงเท่านั้น มี 2 รอบ เน้นทักษะมากๆต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นอย่างมาก แบ่งเป็นสองวิชาคือ วาดเส้นมัณฑนศิลป์ และออกแบบนิเทศศิลป์

ลักษณะข้อสอบ
วาดเส้นมัณฑนศิลป์ ให้วาดเส้นหน้าคน หรือมือ หรือของใกล้ตัว บางปีเคยออกให้วาดจากรูปภาพ เน้นทักษะมากๆ ออกแบบนิเทศศิลป์ ให้ออกแบบโปสเตอร์ และโลโก้ หรือออกแบบตัวอักษรประกอบโปสเตอร์ ฯลฯ เน้นทักษะการออกแบบและนำเสนองานมากๆ เกณฑ์อยู่ที่ 50 คะแนนครับ สำหรับ ระดับคะแนนที่ปลอดภัยในการสอบติดคือ 80-85 ขึ้นไปครับ (ได้ค่อนข้างยากครับ โดยเฉพาะ Drawing)

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

[C] กลุ่มที่สอบวิชาปฏิบัติ 1 วิชา และสอบทฤษฎีศิลปะ 1 วิชา
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ จุฬาฯ (มีสอบตรง+โควต้า) ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ มหาสารคาม (มีสอบตรง+โควต้า) ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์

คณะสถาปัตย์ออกแบบ บรรจุภัณฑ์ ม.นเรศวร ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์

คณะวิจิตรศิลป์ สาขาการออกแบบ ม.เชียงใหม่ (มีสอบตรง+โควต้า) ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์

คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบสื่อสาร มศว ประสานมิตร (สอบตรงอย่างเดียว ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎี และ PORTFOLIO)
รายละเอียด http://www.swu.ac.th

ลักษณะข้อสอบ
ปฏิบัตินฤมิตศิลป์ (ค่าน้ำหนัก 20%) 3 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น วาดเส้นสร้างสรรค์ เน้นหน้าคน และมือ หรือของอื่นๆ โดยโจทย์จะเป็นลักษณะใกล้เคียงกับโจทย์ของลูกค้าที่ให้ทำในบริษัทโฆษณา โดยสามารถวาดลักษณะ Surrealism ได้ตามต้องการ แต่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องของแสงเงา และอีกส่วนนึงคือออกแบบ เน้นโจทย์ที่สื่อสารถึงอารมณ์ และเน้นการออกแบบลวดลาย หรือบางครั้งก็มีทั้งโปสเตอร์และภาพประกอบ คล้ายๆลาดกระบัง ทฤษฎีนฤมิตศืลป์ (ค่าน้ำหนัก 15%) มีเนื้อหาที่ต้องอ่านคือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทยและตะวันตก ประวัติศาสตร์การออกแบบ ทฤษฎีการออกแบบ และความรู้ทั้วไปทางแฟชั่น กราฟฟิค โฆษณา คอมพิวเตอร์กราฟฟิค งานนิทรรศการ งานออกแบบภายในและงานออกแบบเซรามิกส์ สามารถหาอ่านเอาได้แต่หลายๆเล่ม เช่นเอาความถนัดสถาปัตย์ + ประวัติศาสตร์ศิลป์

ส่วนแนวข้อสอบตรงของ มศว จะเปลี่ยนไปทุกๆปี เน้นการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญต้องมี PORTFOLIO ด้วยส่วนทฤษฎีศิลปะเน้นคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและอนิเมชั่นด้วยนอกเหนือจากประวัติศาสตร์ศิลป์เล็กๆน้อยๆ

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

[D] กลุ่มที่มีวิชาปฏิบัติและทฤษฎีอยู่ในข้อสอบเดียวกัน
คณะครุศาสตร์ ศิลปะศึกษา จุฬาฯ คือเรียนไปไม่ได้ต้องเป็นครูอย่างเดียวนะครับ ทำงานออกแบบก็ได้ครับไม่ปัญหา จะต่างกับพวกที่เรียนศิลปกรรมก็แค่มีวิชาครูและต้องฝึกสอน และใช้เวลาเรียน 5 ปี ใช้วิชาสอบคือ ความรู้ความถนัดทางศิลป์ ค่าน้ำหนัก 10% รวมกับวิชาความถนัดทางวิชาชีพครูและวิชาเลือกสอบ ANET รวมเป็น 30%

ลักษณะข้อสอบ
แบ่งเป็นทฤษฎี 40-50 ข้อ มีเนื้อหาที่ต้องอ่านคือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทยและตะวันตก ประวัติศาสตร์การออกแบบ ทฤษฎีการออกแบบ และความรู้ทั้วไปทางแฟชั่น กราฟฟิค โฆษณา คอมพิวเตอร์กราฟฟิค งานนิทรรศการ งานออกแบบภายในและงานออกแบบเซรามิกส์ สามารถหาอ่านเอาได้แต่หลายๆเล่ม เช่นเอาความถนัดสถาปัตย์ + ประวัติศาสตร์ศิลป์แต่เน้นของไทย และชอบออกรูปภาพของพระพุทธรูปและเจดีย์และของไทยๆ ตลอดจนรูปของศิลปินดังๆ และมีความรู้ทางจิตรกรรมและความรู้รอบตัวอย่างเช่นศิลปินแห่งชาติสาขาจิตรกรรมด้วย

ส่วนปฏิบัติจะให้ทำบนกระดาษแผ่นเล็กๆมีตั้งแต่วาดเส้น ออกแบบ sketch design หรือออกแบบโปสเตอร์ โลโก้ ฯลฯ

============================================================

Q. นิเทศศิลป์ ลาดกระบังหลักสูตรการเรียนเป็นอย่างไร
จบมาทำงานอะไรได้บ้างคะ

แล้วคณะ(วิทยาลัย)นวัตกรรมสื่อสารสังคมสาขาการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์และมัลติมีเดียของ มศว เรียนเกี่ยวกับอะไร จบมาทำอะไรแล้วเป็นคณะที่เพิ่งเปิดรึเปล่าคะ คือตอนนี้สอบตรงได้คณะนี้กำลังจะรายงานตัว อยากทราบข้อมูลและขอความคิดเห็นเพิ่มด้วย

A. ให้เข้าที่ http://www2.reg.kmitl.ac.th/curriculum/
studyplan.phpfaculty_id=02&dept_id=04&curr_id=34&year=2539

จะเป็น WEB เกี่ยวกับแผนการศึกษา(วิชาที่เรียน) 4 ปี ของภาควิชานิเทศศิลป์ ลาดกระบัง แล้วลองศึกษาดูว่าชอบหรือไม่ แต่ถ้าสนใจด้านแอนิเมชั่นควรเลือกเรียน ภาควิชานิเทศศืลป์ สาขาภาพยนตร์และวิดีโอจะตรงกว่า แถมคะแนน Admission กลางก็ตำกว่า

คณะนวัตกรรมสื่อสารฯ ของ มศว เป็นคณะที่เปิดใหม่เมื่อปี 2550 การเรียนเท่าที่ทราบ เน้นสอนด้านแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย รายละเอียดของหลักสูตรยังไม่เคยเห็นตัวแผนการศึกษา 4 ปีว่าแนวทางการสอนอย่างไรเพราะ WEB ของคณะนี้ไม่อัพเดท อะไรเลยมาเกือบปีเห็นจะได้ จึงไม่สามารถออกความเห็นได้

ถ้าสนใจด้านนี้อยากแนะนำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร ม.ศิลปากร เข้าไปดูรายละเอียดของ
หลักสูตรและแผนการศึกษาที่ http://www.ict.su.ac.th/
education/program/design

ในปี 2551 มจธ.จะเปิดภาควิชาใหม่คือมีเดียอาร์ตสนใจอย่างไรเข้าไปที่ http://www.kmutt.ac.th

===================================================================

Q. ระหว่างนิเทศศิลป์ของรัฐกับเอกชน อย่างม.กรุงเทพเนี่ย มันมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบกว่ากันบ้างรึไม่คะ

A. ปัจจุบันหลักสูตรภาควิชานิเทศศิลป์ในแต่ละมหาวิทยาลัย
โดยหลักใหญ่จะคล้ายกัน จะต่างกันก็ในรายละเอียด เช่นบางที่จะมีวิชาการหลายตัว แต่บางที่จะมีแค่ 2-3 ตัวอันนี้ต้องตรวจดูหลักสูตรจาก WEB คณะของแต่ละมหาวิทยลัย

จบมาแล้วจะทำงานได้กว้างขนาดไหน คงต้องอยู่ที่ตัวน้องเองด้วยว่ามีความสามารถอะไรบ้าง เพราะงานด้านนิเทศศิลป์เดี๋ยวนี้จะวาดมือเก่งอย่างเดียว โดยไม่เป็น Comp เลยไม่ได้ นั้นหมายถึงต้องได้ทั้งงาน 2D (Photoshop, Illustration) , 3D (3D max, Maya) เป็นอย่างน้อย และในทางกลับกันต้องสามารถวาดมือได้ถึงจะเป็นหลักประกันได้ว่าน้องมีงานทำแน่นอน ถ้าได้
ภาษาด้วยจะดีมาก ทำให้เราสามารถรับงานจาก Studio
ต่างชาติได้

ขอขอบคุณ ผู้แต่ง Piphat Hotangkabordee และผู้รวบรวมท่านอื่นไว้ณที่นี้

http://blog.eduzones.com/racchachoengsao/11644

คณะ วิจิตร ศิลป์ ม ช มี สาขา อะไร บ้าง

แบบรายภาคการศึกษา 15,000 บาท.
สาขาวิชาศิลปะไทย.
สาขาวิชาการออกแบบ.
สาขาวิชาศิลปะการดนตรีและการแสดง.
สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์.
สาขาวิชาจิตรกรรม.
สาขาวิชาประติมากรรม.
สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์.

วิจิตรศิลป์มีความหมายว่าอย่างไร

วิจิตรศิลป์ (Fine Art)คือศิลปะที่อ านวยประโยชน์ทางใจที่ ตอบสนอง ความคิด อารมณ์ความรู้สึก ความประทับใจและความ งามเป็นส าคัญ มากกว่าประโยชน์ใช้สอย เช่น - จิตรกรรม (Painting) - ประติมากรรม (Sculpture) - ภาพพิมพ์ (Printmaking, Graphic Art) - ศิลปะเทคนิคผสม (Mixed media)

วิจิตรศิลป์เเบ่งออกเป็นกี่สาขาอะไรบ้าง

ในอดีต วิจิตรศิลป์มีห้าแขนงหลัก ประกอบด้วย จิตรกรรม, ประติมากรรม, สถาปัตยกรรม, ดนตรี และกวีนิพนธ์ กับศิลปะการแสดง ได้แก่ การละครและการเต้นรำ รวมไปถึงภาพต้นแบบเก่าและการวาดเส้นนับว่าเป็นจิตรกรรม เช่นเดียวกับวรรณคดีรูปแบบร้อยแก้ว ที่นับว่าเป็นกวีนิพนธ์ ในปัจจุบัน วิจิตรศิลป์โดยทั่วไปจะรวมถึงรูปแบบที่ทันสมัยด้วย เช่น ...

วิจิตรศิลป์มีประโยชน์อย่างไร

วิจิตรศิลป์ (Fine Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางใจ ที่ มุ่งเน้นความงดงาม และความพึงพอใจ มากกว่าประโยชน์ใช้สอย หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เป็นสำคัญ ศิลปะที่ทำให้เราดูแล้วรู้สึกเพลิดเพลินใจมีความรู้สึกมีคุณค่าทางจิตใจเป็นศิลปะที่เน่นความสวยงาม และความพึงพอใจในงานศิลปะ ...