ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ประโยชน์

ดาวเทียม LANDSAT



ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ประโยชน์
Landsat-8

ดาวเทียม LANDSAT-1 ส่งขึ้นสู่ วงโคจรเมื่อปี 2515 นับเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของโลก พัฒนาโดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Aeronauticsand Space Administration-NASA)ต่อมาโครงการนี้ได้โอน กิจการให้  EOSAT ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเพื่อดำเนินการเชิงพาณิชย์ปัจจุบันดาวเทียมดวงที่ยังคงปฏิบัติการอยู่ คือดาวเทียม LANDSAT-7 ระบบเก็บข้อมูลที่สำคัญของดาวเทียม LANDSAT มี 2 ระบบคือ ระบบ MSS (Multispectral Scanner) มี 4 ช่วงคลื่นคือ แบนด์ 4 และ 5 ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ ทางน้ำ ถนน แหล่งชุมชน การใช้ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงของพืชพรรณ ป่าไม้ พื้นที่เพาะปลูก แบนด์  6 และ 7  ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างพื้นดินกับพื้นน้ำพื้นที่น้ำท่วม ธรณีสัณฐานและธรณีโครงสร้าง ข้อมูล MSS 1 ภาพ ครอบคลุมพื้นที่ 185 X 185 ตารางกิโลเมตร มีรายละเอียดข้อมูล (resolution) 80 X 80 เมตร อีกระบบหนึ่งที่ได้รับการปรับปรุงให้ไดร้ ายละเอียดดีกว่า MSS คือ ระบบ TM (Thematic Mapper) มีการบันทึกข้อมูลใน 7 ช่วงคลื่น โดยช่วงคลื่นที่ 1-3หรือ แบนด์ 1-3 เหมาะสำหรับใช้ในการทำแผนที่บริเวณชายฝั่ง และจำแนกความแตกต่างระหว่างดินกับพืชพรรณ แบนด์ 4 ใช้กำหนดปริมาณของมวล ชีวภาพ (biomass) และจำแนกแหล่งน้ำแบนด์ 5 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความชื้นของดิน ความแตกต่างระหว่างเมฆกับหิมะ แบนด์ 6 ให้หาแหล่งความร้อน แบนด์ 7 ใช้จำแนกชนิดของหิน และการทำแผนที่แสดงบริเวณ hydrothermal มีรายละเอียด ข้อมูล 30 X 30 เมตร (ยกเว้นแบนด์ 6 มีรายละเอียด 120 X 120 เมตร) ดาวเทียมLANDSAT-7 ได้ถูกส่งขึ้นปฎิบัติงานเมื่อ 15 เมษายน2542 โดยมีระบบบันทึกข้อมูลที่เรียกว่า ETM+ (Enhance Thematic Mapper Plus) วึ่งเป็นระบบที่พัฒนาจากTM โดย ในแบนด์ 6 ช่วงคลื่นความร้อน ได้รับการพัฒนาให้มีรายละเอียดสูงถึง 60 เมตร และได้เพิ่ม แบนด์ Panchromatic รายละเอียด15 เมตร เข้าไปอีก 1 แบนด์
ปัจจุบัน ดาวเทียม LANDSAT 8 เริ่มปฏิบัติการวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ภายใต้การบริหารจัดการของ USGS โคจรสูงเหนือพื้นโลก 705 กิโลเมตร โดยมีทั้งหมด 11 แบนด์



ดาวเทียม SPOT


ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ประโยชน์




ดาวเทียม SPOT (Le System Probatoire d’ Observation de la Terre) อยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันอวกาศแห่งชาติฝรั่งเศส ร่วมกับประเทศในกลุ่มยุโรปอุปกรณ์บันทึกข้อมูลของดาวเทียม SPOTประกอบด้วย High Resolution Visible(HRV) จำนวน 2 กล้อง คือระบบหลายช่วงคลื่น (Multispectral Mode) มี 3 ช่วงคลื่น ให้รายละเอียด 20x 20 เมตร และระบบช่วงคลื่นเดียว (Panchromatic Mode) ให้รายละเอียด 10 x 10 เมตร สมรรถนะของHRV ที่สำคัญประการหนึ่งคือสามารถถ่ายภาพแนวเฉียงและนำมาศึกษาในลักษณะ 3 มิติได้ซึ่งให้รายละเอียดได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้อมูลจากดาวเทียม SPOT สามารถนำไปใช้ศึกษาพื้นที่ปา่ การทำแผนที่การใช้ที่ดินธรณีวิทยา อุทกวิทยา แหล่งน้ำ สมุทรศาสตร์และชายฝั่ง การพังทลายและการตกตะกอน การติดตามการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม และมลภาวะการขยายตัวเมืองและการตั้งถิ่นฐาน ส่วนดาวเทียม SPOT-3 และ 4 จะใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูล ซึ่งเป็น Charged CoupledDevice (CCD) ที่ทำในฝรั่งเศส และจะเพิ่มอีก 1 ช่วงคลื่นในอินฟราเรดใกล้เพื่อประโยชน์ในการติดตามพืชเกษตร โดยมีรายละเอียดของภาพ20 x 20 เมตร มี 4 ช่วงคลื่น คลา้ ยกับระบบMSS ของดาวเทียม LANDSAT ช่วงคลื่นขาวดำในดาวเทียม SPOT-1 และ 2 จะแทนที่ด้วยช่วงคลื่น 0.61– 0.68 ไมครอน ซึ่งมีรายละเอียด 10 x 10 เมตร นอกจากนี้ในSPOT-3 และ 4 จะมีอุปกรณ์ใหม่ คือVEGETATION ให้ข้อมูล เกี่ยวกับพืชพรรณ 1 x 1 กิโลเมตร ใน 4 ช่วงคลื่นเหมือนHRV



ดาวเทียม MOS-1 (MOS-1A และMOS-1B)
ดาวเทียม MOS-1 (Marine  Observation Satellite) อยู่ในความรับผิดชอบขององคก์ ารพัฒนาอวกาศแห่งชาติญี่ปุ่น (National Space Development Agency-NASDA) มีอุปกรณ์บันทึกข้อมูล3 ระบบ คือ
1) Multispectral Electronic Self Scanning  Radiometer(MESSR) มี 4 ช่วงคลื่น ให้รายละเอียด 50x 50 เมตร ใช้สำรวจทรัพยากรเช่นเดียวกับข้อมูล MSS ของดาวเทียม LANDSAT
2) Visible and Thermal Infrared Radiometer (VTIR) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกับอุณหภูมิต่างๆ ในทะเลอันเป็นประโยชน์ต่อการประมง และข้อมูลการปกคลุมขอเมฆและไอน้ำ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพยากรณ์อากาศ
3) Microwave Scanning Radiometer (MSR) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณไอน้ำ ปริมาณน้ำ ลมทะเล การแผ่ปกคลุมของหิมะ และน้ำแข็งในทะเล



ดาวเทียม ERS
ดาวเทียม ERS-1 (European Remote Sensing Satellite) พัฒนาโดยองคก์ารอวกาศแห่งยุโรป (European Space Agency – ESA) และได้ส่งขึ้นไปโคจรเป็นผลสำเร็จเมื่อ 17 กรกฎาคม 2534 มีคุณสมบัติพิเศษในการบันทึกข้อมูลแบบ active sensor คือ เรดาร์ สามารถถ่ายภาพทะลุเมฆและวัตถุบางชนิดได้ สามารถบันทึกข้อมูลในเวลากลางคืนได้และในทุกสภาพอากาศ บันทึกข้อมูลในช่วงคลื่นไมโครเวฟ คือ 1 มิลลิเมตร ถึง 1เมตร และความถี่ 300 ถึง 0.3 GHz ด้วยช่วงคลื่น C band มีรายละเอียดของภาพ 25 x25 เมตร การสะท้อนช่วงคลื่นของข้อมูลจากดาวเทียม ERS-1 จะขึ้นกับคุณสมบัติความเรียบและความขรุขระของผิวหน้าวัตถุเป็นสำคัญยิ่งเรียบจะใหค้ ่าการสะท้อนต่ำ ขณะที่ความขรุขระจะให้ค่าสะท้อนสูงขึ้นตามส่วน แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณามุมตกกระทบ (incident angle)ขณะที่บันทึกข้อมูลด้วย ปัจจุบันดาวเทียมชุดนี้ปฏิบัติการอยู่ 2 ดวง คือ ERS-1 และ ERS-2
ดาวเทียม JERS-1
องค์การพัฒนาอวกาศแห่งชาติญี่ปุ่น(NASDA) ได้พัฒนาโครงการระบบดาวเทียมที่ถ่ายภาพทะลุเมฆไดโดยใช้เรดาร์ ชื่อว่าดาวเทียมJERS-1 (Japanese Earth Resources Satellite) ส่งขึ้นไปสู่โคจรเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2535 นับเป็นดาวเทียมรุ่นใหม่ที่มีสมรรถนะสูง โดยมีอุปกรณ์ถ่ายภาพทะลุเมฆที่เรียกว่า Synthetic Aperture Radar (SAR) แล้วยังมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Optical Sensors (OPS) ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ใช้ CCD ในการรับแสงสะท้อนจากผิวโลกแยกออกเป็น 4 ช่วงคลื่น ตั้งแต่ช่วงคลื่นที่ตามองเห็น จนถึงช่วงคลื่นอินฟราเรด โดยมีรายละเอียดของภาพถึง 18 x 24 เมตรและสามารถถ่ายภาพในระบบสามมิติตามแนวโคจรได้ด้วย ดาวเทียม NOAA เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ โคจรอยู่เหนือพื้นผิวโลก 830 กิโลเมตร มีอุปกรณ์ถ่ายภาพระบบ AVHRR, HIRS/2, SSUและ MSU ระบบ AVHRR ถ่ายภาพในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น และช่วงคลื่นอินฟราเรดความร้อนให้รายละเอียดข้อมูล 1 x 1 กิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ 3,000 x 6,000 ตารางกิโลเมตร ประโยชน์ที่ได้รับคือใช้ในการสำรวจด้านอตุนิยมวิทยา, สมุทรศาสตร์และอุทกศาสตร์

ดาวเทียม IRS



ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ประโยชน์



ดาวเทียมชุด IRS (Indian Remote Sensing Satellite) เป็นดาวเทียมเพื่อการสำรวจทรัพยากร ของประเทศอินเดีย โดยดาวเทียมดวงแรกในชุดนี้ ซึ่งได้แก่ IRS-1A ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2531 ต่อมา วันที่ 29 สิงหาคม2534 ดาวเทียมดวงที่สอง คือ IRS-1B ก็ได้ส่งขึ้นสู่งวงโคจร โดยมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับดวงแรก หลังจากนั้นในวันที่ 15 ตุลาคม 2538อินเดียก็ได้ส่งดาวเทียมดวงที่3  ของชุดนี้ คือIRS-P2 ขึ้นสู่วงโคจร และตามด้วยดาวเทียมดวงที่4 และ5 คือ IRS-1C เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2538 และ IRS-1D เมื่อ 29 กันยายน 2540 สำหรับข้อมูลดาวเทียมที่นำข้อมูลมาใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ดาวเทียม IRS-1C,1D ซึ่งมีอุปกรณ์ ที่สำคัญ ได้แก่ ระบบ LISS-III บันทึกข้อมูล ช่วงคลื่นตามองเห็นและอินฟราเรดรวม 4 ช่วงคลื่น รายละเอียด 23.5 เมตร ระบบ Panchromatic รายละเอียด 5.8 เมตร และ ระบบ WiFSรายละเอียด 188 เมตร โดยบันทึกข้อมูลในช่วงคลื่นตามองเห็น และอินฟราเรด



ดาวเทียม RADARSAT
ดาวเทียม RADARSAT เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของประเทศแคนาดาโดยองค์การอวกาศแคนาดา(Canadian Space Agency : CSA) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2538 ติดตั้งเครื่องมือบันทึกข้อมูลในระบบเรดาร์ (SAR) ช่วงคลื่น C-band-HH สามารถบันทึกข้อมูลในลักษณะต่างๆ 7 รูปแบบ โดยใช้รายละเอียดของข้อมูลแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ 10 เมตร ถึง 100เมตร ครอบคลุมพื้นที่เป็นแนวกว้างตั้งแต่ 45 ถึง500 กิโลเมตร นอกเหนือจากดาวเทียมที่กล่าวมาแล้วยังมีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติอีกหลายดวงซึ่งพัฒนาโดยประเทศต่างๆ พอจะ รวบรวมได้ ดังนี้
Advanced Earth Observing Satellite (ADEOS) ที่พัฒนาโดยความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ประโยชน์ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเรือนกระจก (greenhouse effect) และโอโซนในบรรยากาศ เป็นต้น


COSMOS ซึ่งเป็นดาวเทียมของประเทศรัสเซีย ใช้ในการสำรวจด้านมลพิษจากน้ำมัน (oil pollution), ติดตามน้ำแข็ง และสภาพภูมิศาสตร์

EOS-A, EOS-Alt และ EOS-Chem เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก ซึ่งพัฒนาขึ้นจากโครงการthe Earth Observation System(EOS) ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก

GOES (Geostationary Operational Environment Satellite) เป็นดาวเทียมของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ให้รายละเอียดของข้อมูลสูงถึง1x1 กิโลเมตร ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น และ8x8 กิโลเมตร ในช่วงคลื่นอินฟราเรด


The Atmospheric Explorer Missions (AEM-1, -2 และ –3) เป็นดาวเทียมขนาดเล็กและใช้ทำงานในระยะเวลาสั้นAEM-1 รู้จักกันในชื่อ Heat Capacity Mapping Mission (HCMM),AEM-2 รู้จักกันในชื่อ Stratospheric Aerosol and Gas Experiment (SAGE) และ AEM-3 รู้จักกันในชื่อ Magsat เป็นดาวเทียมของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก
Space Shuttle เป็นยานกระสวยอวกาศ ที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การ NASA ใช้สำหรับนำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร, ซ่อมแซมดาวเทียมที่ขัดข้อง และนำดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งานกลับสู่พื้นโลก กระสวยอวกาศ มีอยู่หลายลำ เช่น Discovery, Atlantis และ Columbia Television Infrared Observation Satellite (TIROS) พัฒนาโดยความร่วมมือระหว่างองค์การ NASA และกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เป็นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรแล้ว 10 ดวงระหว่างปี พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2508


ดาวเทียม NOAA 



ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ประโยชน์



NOAA  เป็นชื่อที่ใช้เรียกดาวเทียมขององค์กร NOAA ของสหรัฐ (ชื่อดาวเทียมคือ Advanced Television Infrared Observation Satellite ย่อเป็น TIROS-N หรือ ATN) ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจอุตุนิยมวิทยา ที่มีวงโคจรในแนวเหนือใต้ ดาวเทียมในชุดนี้จะทำงานพร้อมกัน 2 ดวง เพื่อให้ได้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในบริเวณต่างๆ ทุก 6 ชั่วโมง ดวงหนึ่งจะตัดแนวเส้นศูนย์สูตรจากเหนือลงใต้เวลา 7.30 น. (เรียก morining orbit มีระดับวงโคจรที่ 830 กม.) อีกดวงจะตัดแนวเส้นศูนย์สูตรจากเหนือลงใต้เวลา 13.40 น.(เรียก afternoon orbit มีระดับวงโคจรที่ 870 กม.)
ดาวเทียม NOAA นอกจากจะบันทึกภาพของลักษณะอากาศแล้ว ยังมีเครื่องมือวัดโปรตอน อิออนบวก และความหนาแน่นของอิเล็กตรอนฟลักซ์ที่มาจากดวงอาทิตย์ด้วย



ดาวเทียมรายละเอียดสูงสุด


ดาวเทียม QuickBird



ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ประโยชน์




ดาวเทียม QuickBird ผลิตโดยบริษัท Ball Aerospace &Technologies Corp. และถูกปล่อย สู่อวกาศ ในเดือนตุลาคม 2001 จากฐานใน California ดาวเทียม QuickBird เคลื่อนที่รอบๆ โลก ในระยะทาง 450 กิโลเมตรจากพื้นโลก และทำมุม 98 องศา กับวงโคจรของดวงอาทิตย์ และสามารถถ่ายภาพได้ในวงกว้าง 16.5 กิโลเมตร ซึ่งกว้างกว่าดาวเทียมพาณิชย์ดวงอื่นๆ ถึง 2 – 10 เท่า ภาพจากดาวเทียม QuickBird จะสามารถแสดงรายละเอียดได้มากกว่าดาวเทียมพาณิชย์ดวงอื่นๆ โดยมีรายละเอียด 61 เซนติเมตร ในระบบภาพขาวดำและ 2.44 เมตรในระบบภาพสี ลักษณะทั่วไปของดาวเทียม QuickBird

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร มีอะไรบ้าง

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก.
ดาวเทียม LANDSAT. ... .
ดาวเทียม SPOT (Satellites Pour l'Observation de la Terre) ... .
ดาวเทียม MOS (Marine Observation Satellite) ... .
ดาวเทียม ERS (European Remote Sensing Satellite) ... .
ดาวเทียม ENVISAT (Environmental Satellite) ... .
ดาวเทียม JERS (Japanese Earth Resources Satellite).

หน้าที่ของดาวเทียมสํารวจทรัพยากรคืออะไร

ใช้สำรวจทรัพยากรทั้งภายในประเทศ ซึ่งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน แสดงความประสงค์นำข้อมูลดาวเทียมธีออสไปใช้ประโยชน์ในการสำรวจหาข้อมูล และใช้ทำแผนที่ในภารกิจที่รับผิดชอบ เช่น เช่น การสำรวจหาชนิดของพืชผลการเกษตร, การประเมินหาผลผลิตการเกษตร, การสำรวจหาพื้นที่ป่าไม้, การสำรวจหาพื้นที่ป่าถูกบุกรุกทำลาย, การสำรวจหาพื้นที่ป่า ...

ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงแผนที่ภูมิประเทศให้ถูกต้องและทันสมัยการทำแผนที่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน เส้นทางคมนาคม แผนที่ผังเมือง เพื่อการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย

ดาวเทียมสำรวจถูกนำมาประยุกต์ใช้ในด้านใด

ด้านการใช้ที่ดิน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน จัดทำแผนที่แสดงขอบเขตการใช้ที่ดิน ด้านธรณีวิทยา การจัดทำ แผนที่ธรณีวิทยาธรณีโครงสร้างของประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสนับสนุนในการพัฒนาประเทศด้านอื่น ๆ เช่น การหาแหล่งแร่ แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาล การสร้างเขื่อน เป็นต้น