ค่า นิยม เรื่องเพศในปัจจุบัน ของสังคมไทย

ครอบครัวและโรงเรียนเป็นสถาบันหลักของเด็กๆ ในการเรียนรู้เกี่ยวกับบรรทัดฐานต่างๆ ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ๆ เด็กๆ จะได้เรียนรู้วิธีการเข้าสังคม ค่านิยมต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งรวมถึงเรื่องเพศสถานะด้วย

ในความเชื่อของหลายคน โรงเรียนนั้นมีอิทธิพลอย่างสูงในการสร้างค่านิยมเรื่องเพศ และที่ผ่านมานั้นงานวิจัยเชิงประจักษ์ในประเทศไทยยังมีไม่มากพอที่จะสร้างความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับประเด็นนี้

ในปีที่ผ่านมาคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานกิจการสตรี (PCWA) ได้ดำเนินโครงการศึกษา 2 โครงการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และธนาคารโลก เพื่อสร้างงานวิจัยเชิงประจักษ์ในเรื่องของเพศสถานะในระบบการศึกษาไทย โดยมีจุดมุ่งหมายในสนันสนุนหรือกำจัดสมมติฐานต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องกรอบความคิดและอคติทางเพศว่ามีการการเรียนรู้ การสอน การแบ่งปัน หรือ การถ่ายทอดอย่างไรในประเทศไทย

รายงานการศึกษาแรกใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตรวจสอบแบบเรียนและบ่งชี้บทบาททางเพศว่ามีการรับรู้หรือแสดงออกมาในหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างไร ส่วนรายงานการศึกษาที่สองใช้การวิจัยเชิงปริมาณแบบตัดขวาง โดยเน้นไปที่หัวข้อเกี่ยวกับ

(1) การใช้พื้นที่และกีฬา
(2) การเลือกสีและกิจกรรมนอกชั้นเรียน
(3) ความเป็นผู้นำของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง
(4) ความถนัดการรับรู้ทางวิชาการ
(5) ลักษณะนิสัยที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนาที่รับรู้ของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง

จากการศึกษาพบว่าค่านิยมและความเชื่อที่ฝักลึกเกี่ยวกับความแตกต่างทางเพศได้ซึมผ่านไปทั่วระบบของโรงเรียน
 


แม้ว่าเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงที่อายุน้อยว่าในระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษาต้อนต้นยังไม่ได้สร้างอัตลักษณ์ทางเพศอย่างชัดเจน แต่กระนั้นอคติทางเพศในมุมต่างๆ ได้ก่อตัวผ่านวิถีปฏิบัติและหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน ค่านิยมทางสังคมว่าด้วยเรื่อง “ความเป็นชาย” และ “ความเป็นหญิง” นั้นถูกส่งผ่านและสามารถเห็นได้จากทัศนคติและความเชื่อของคุณครู ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ และยังได้รับแรงกระตุ้นเพิ่มเติมจากสื่อ แบบเรียน โรงเรียน และการปฏิบัติของผู้ปกครอง อีกด้วย

ค่านิยมทางเพศที่หยั่งรากลึกจึงเป็นปัจจัยผลักดันความไม่เท่าเทียมกันทางเพศของสังคมในปัจจุบัน แม้ว่าเด็กผู้หญิงไทยมีจำนวนมากกว่าและมีผลการเรียนที่ดีกว่าเด็กผู้ชายในชั้นเรียน แต่ความสำเร็จเหล่านี้ ไม่ได้บ่งบอกหรือช่วยให้เด็กผู้หญิงมีโอกาสการทำงาน หรือ ได้ค่าจ้างที่ดีกว่า รวมไปถึงโอกาสการก้าวหน้าเพื่อเป็นผู้บริหารระดับสูงทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย

ผลการศึกษาที่น่าสนใจและอินโฟกราฟฟิคมีดังนี้

แบบเรียนและหลักสูตร – ในแบบเรียนจำนวน 538 เล่มที่ได้สุ่มเลือกเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า มีการนำเสนอเพศชายในจำนวนที่มากกว่า ทั้งนี้เพศหญิงจะถูกนำเสนอในระดับที่ต่ำกว่าเพศชาย อาทิ บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และ กิจกรรมต่างๆ ผู้ชายจะมีภาพของความเป็นผู้นำและในบทบาทอาชีพต่างๆ (พระราชา นักปรัชญา แพทย์) ในขณะที่ผู้หญิงจะถูกจำกัดด้วยหน้าที่ของภรรยา และบทบาทที่ดูด้อยกว่าในสังคม

ความเป็นผู้นำของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง – ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มความเชื่อที่ว่าเด็กผู้หญิงมีความสามารถโดยธรรมชาติในการเป็นผู้นำด้อยกว่าผู้ชาย เด็กผู้ชายจึงมีภาพของความแน่วแน่ ความกล้าหาญ และ ความมีน้ำใจ ในขณะที่เด็กผู้หญิงจะถูกมองว่าเป็นคนประณีประนอม ละเอียดอ่อน และยืดหยุ่น

ความถนัดทางวิชาการ – ในขณะที่คุณครูอาจแสดงออกมาว่าเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงไม่มีความแตกต่างโดยกำเนิดในด้านความถนัด หรือ ความสามารถต่างๆ แต่เด็กผู้หญิงยังคงถูกมองว่ามีความสามารถในการเรียนรู้ด้อยกว่าเด็กผู้ชายในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ลักษณะนิสัยที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนาของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง – คุณครูคนไทยคาดหวังว่าเด็กผู้หญิงจะต้องมี ‘ความประพฤติที่เหมาะสม’ และแสดงออกอย่าง ‘สุภาพ’ อย่างที่สังคมไทยคาดหวังให้เป็น ในขณะที่เด็กผู้ชายสามารถเล่นคึกคะนอง พูดจาด้วยคำหยาบคาย หรือแสดงออกอย่างก้าวร้าวได้ในบางครั้ง

ทั้งหมดนี้จึงเกิดเป็นคำถามที่ว่า เราเติบโตมาในแบบที่เราได้รับการสั่งสอนในโรงเรียนหรือไม่? เนื่องจากโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะที่สุดในการปลูกฝังเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศ ฉะนั้นแล้วเราจะต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งใดบ้าง?

เราเชื่อว่าเจตจำนงทางการเมืองนั้นคือปัจจัยสำคัญ ในขณะเดียวกัน การอบรมครูผู้สอนและการปรับปรุงแบบเรียนก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการขจัดวิธีการนำเสนอภาพของเพศชายและเพศหญิงที่ไม่เท่าเทียม ทั้งนี้ บุคลากรทุกคนของโรงเรียนควรให้ความร่วมมือ พร้อมดำเนินโครงการอบรมผู้ปกครองเพื่อช่วยให้โรงเรียนเป็นสถานที่ๆ มีความเท่าเทียมกันทางเพศอย่างสมบุรณ์

เอเชียเป็นหนึ่งในหลายพื้นที่รอบโลกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมทางเพศสภาพ และเราเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในหลายๆประเทศ แต่เราก็ได้ยินหลายๆคนที่ยังแย้งว่าความหลากหลายทางเพศเป็นแนวคิด “ตะวันตก” หรือขัดต่อ “วัฒนธรรมอันดีงาม” ของชาวเอเชีย วันนี้ เราจึงจะมาตอบคำถามพบได้บ่อยเรื่องความหลากหลายทางเพศกัน

 

  1. แต่รักร่วมเพศมันขัดกับ“วัฒนธรรมอันดีงาม”ของเอเชียนะ

 

ถ้าดูหลายๆประเทศตอนนี้ละก็ คนยอมรับเรื่องรักร่วมเพศเยอะกว่าที่คุณคิดนะ

 

ศาลฮ่องกงและไต้หวันรับรองสิทธิของคู่สมรสเพศเดียวกันแล้ว เหลือรอลุ้นแค่ว่ากฎหมายจะผ่านหรือไม่เท่านั้น ส่วนอินเดียก็ยกเลิกกฎหมายที่ลงโทษการมีเพศสัมพันธ์ในเพศเดียวกัน หลายๆ จังหวัดในญี่ปุ่นยอมรับคู่สมรสเพศเดียวกันอย่างเท่าเทียมกับคู่สมรสข้ามเพศในหลายๆเรื่อง แม้แต่ไทยเราก็กำลังมีการร่างกฎหมายรับรองการสมรสของคนเพศเดียวกัน

 

“วัฒนธรรมอันดีงาม”, “จารีตประเพณี”, และ “ค่านิยมของสังคม” ไม่ใช่เหตุผลในการละเมิดสิทธิผู้อื่นได้ ต่อให้คนส่วนใหญ่ในสังคมเห็นด้วย สหประชาชาติก็เคยประกาศไว้แล้วเมื่อปี 2010 ว่า  “เมื่อใดที่วัฒนธรรมและสิทธิมนุษยชนขัดกัน สิทธิมนุษยชนต้องคงอยู่เสมอไป”

 

  1. คู่รักร่วมเพศมีลูกไม่ได้ อย่างนี้มันก็ผิดธรรมชาติน่ะสิ

 

คู่รักต่างเพศที่ไม่มีลูกก็มีถมไป ไม่ว่าจะไม่พร้อมทางเศรษฐกิจ เป็นหมัน หรือไม่อยากมีเอง แต่คนกลุ่มนั้นก็ไม่เคยถูกสังคมตีตราว่าผิดธรรมชาติแต่อย่างใด

 

สิทธิมนุษยชนไม่ใช่สิ่งที่จะขาดตอนได้แค่เพราะคนๆ นั้นจะไม่มีลูก กลับกัน มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกได้ว่าจะมีลูกหรือไม่ เมื่อไหร่ หรือกี่คน

 

  1. โดยกฎหมายน่ะ คำว่า “สมรส” มันใช้ได้เฉพาะคู่ที่เป็นผู้หญิงกับผู้ชายนะ

 

แค่เพราะกฎหมายไม่รองรับการแต่งงานในเพศเดียวกัน ก็ไม่ได้แปลว่ามันจะเป็นใบอนุญาตไปเบียดเบียนคนรักเพศเดียวกันได้ กฎหมายระหว่างประเทศระบุชัดเจนถึงการห้ามเลือกปฎิบัติต่อบุคคลเพราะเพศสภาพของคนนั้นๆโดยกฎดังกล่าวไม่ได้พูดถึงการแต่งงานแต่อย่างใด

 

ดังนั้น แค่เพราะประเทศของคุณไม่รับรองการสมรสในเพศเดียวกัน ไม่ได้แปลว่าจะสามารถนำกฎหมายนั้นมาตีความเพื่อกลั่นแกล้งทำร้ายผู้แตกต่างทางเพศได้อยู่ดี

 

  1. รัฐไม่มีสิทธิ์มาก้าวก่ายจารีตของสังคมนะ

 

ขอแสดงความเสียใจ แต่สหประชาชาติได้ตกลงร่วมกันไปแล้วว่าความเสมอภาคในฐานะมนุษย์อยู่เหนือทุกจารีตประเพณี ถ้าการมีอยู่ของประเพณีนั้นๆ ทำให้มีผู้เสียหายที่ถูกละเมิดสิทธิของบุคคลนั้น รัฐมีหน้าที่ที่จะเข้าไปช่วยเหลือบุคคลนั้นให้อยู่ได้อย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี แม้จะหมายถึงการลบเลือนจารีตประเพณีนั้นๆ ให้หายไปก็ตาม

 

  1. ทำไมต้องปกป้องกลุ่มพิเศษพวกนั้นกว่าคนอื่นๆ เขาด้วย

 

ผู้มีความหลากหลายทางเพศนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และคนในแต่ละส่วนของสังคมล้วนต้องเผชิญกับปัญหาและการกีดกันที่แตกต่างออกไป ทำให้การปกป้องคนเหล่านั้นต้องใช้วิธีพิเศษที่ทำขึ้นเพื่อปัญหาแต่ละกลุ่มโดยเฉพาะ

 

การศึกษาของเราพบว่าผู้มีความหลากหลายทางเพศยังเข้าไม่ถึงสิทธิ์อีกมากมายในหลายๆ ประเทศ หรือแม้กระทั่งต้องตกอยู่ในอันตรายๆทุกๆวัน ดังนั้นการมีวิธีเพื่อปกป้องคนเหล่านี้ที่ถูกพัฒนาเพื่อคนกลุ่มนี้ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาได้รับสิทธิพิเศษ แต่เป็นหนึ่งในกระบวนการเพื่อทำให้ทุกภาคส่วนของสังคมสามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนได้อย่างเท่าเทียม

 

  1. ครอบครัวรักร่วมเพศจะเลี้ยงลูกดีๆได้หรือ

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กๆในครอบครัวรักร่วมเพศไม่เคยมาจากการมีผู้ปกครองเพศเดียวกัน แต่มาจากการที่สังคมชอบกลั่นแกล้งเด็กที่มาจากครอบครัวรักร่วมเพศ

 

โลกของเรามีลักษณะของครอบครัวมากมายหลายชนิด แต่สังคมกลับถือว่าครอบครัวที่มีพ่อเป็นผู้ชายและแม่เป็นผู้หญิงเท่านั้นที่ปกติ ทั้งที่ครอบครัวชนิดอื่นๆเหล่านั้นก็เลี้ยงดูลูกๆของพวกเขาออกมาได้สมบูรณ์เช่นเดียวกัน

 

การศึกษาหลายๆ ครั้งแสดงให้เห็นแล้วว่าครอบครัวรักร่วมเพศไม่ได้มีความเสี่ยงหรืออันตรายต่อเด็กมากไปกว่าครอบครัวต่างเพศแต่อย่างใด ดังนั้น การกีดกันว่าคนกลุ่มหนึ่งไม่ควรจะเป็นผู้ปกครองเด็กแค่เพราะเพศสภาพที่แตกต่างจึงถือเป็นการเลือกปฏิบัติที่อันตราย

 

  1. ทำไมบางโรงเรียนถึงสอนเรื่องเพศศึกษาร่วมกับเพศสภาพด้วย

 

การศึกษาเรื่องเพศ เพศสัมพันธ์ การเจริญพันธุ์ และเพศสภาพมีส่วนสำคัญในการทำให้เด็กโตขึ้นมามีสุขภาพกายและจิตที่ดี ซึ่งการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะจัดให้เด็กๆอย่างทั่วถึง การปิดกั้นข้อมูลในเรื่องดังกล่าวจะนำไปสู่ความไม่เข้าใจที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกและกลั่นแกล้งในโรงเรียน และทำให้เด็กโตขึ้นมามีทัศนคติที่เป็นภัยต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ

 

นอกจากนี้ สหประชาชาติเคยประกาศไว้แล้วให้เพศศึกษาเป็นหนึ่งในหลักสูตรภาคบังคับและสามารถเข้าถึงได้โดยเยาวชนนอกระบบการศึกษาด้วย

ค่านิยมในเรื่องเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย คือข้อใด

2. ค่านิยมทางเพศที่ดีของสังคมไทย 2.1 หญิงไทยมักจะรักนวลสงวนตัว ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน 2.2 ชายไทยไม่ควรส าส่อนทางเพศเพราะอาจเกิดผลเสียโดยการติดโรค 2.3 ชายไทยมีความรับผิดชอบต่อเพศหญิง ไม่หลอกลวง ไม่ข่มเหงน ้าใจ 2.4 ชายไทยรับผิดชอบต่อครอบครัว Page 10 193 Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University ...

ค่านิยมทางเพศของไทยมีอะไรบ้าง

2. ค่านิยมทางเพศ พบว่า 1) ค่านิยมเรื่องรักนวลสงวนตัวของหญิงวัยรุ่น คิดว่าเป็นเรื่องล้าสมัยการถูกเนื้อต้องตัว และการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดา 2) ค่านิยมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจจึงไม่ป้องกัน และ 3) ค่านิยมในการคุมกำเนิด ส่วนใหญ่คิดว่าฝ่ายชายเคยมีประสบการณ์ทางเพศมาก่อน จึงขึ้น ...

ข้อใด คือค่านิยมในเรื่องเพศที่ไม่ถูกต้องในสังคมไทย

ค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง 1.1 การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศหรือการไม่ให้ความรู้เรื่องเพศแก่ บุตรหลานโดยคิดว่าเป็นเรื่อง หยาบคาย หรือน่าอาย 1.2การไม่สนับสนุนหรือส่งเสริมให้บุคคลในสังคมพูดคุยกันในเรื่องเพศ อย่าง เปิดเผย 1.3 การยกย่องให้เพศชายเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง 1.4 การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสโดยถือว่าเพศชายไม่ผิด

ใดเป็นค่านิยมทางเพศในอดีตของสังคมไทย

ตัวอย่างค่านิยมทางเพศในอดีต (1) ผู้หญิงต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ผู้หญิงต้องถูกกดขี่ข่มเหงด้วยความไม่เสมอภาคทางเพศ (2) ผู้ชายมักเป็นใหญ่ในบ้าน และมีอำนาจในการตัดสินใจทุกอย่าง ส่วนผู้หญิงมีหน้าที่เพียงแค่ดูแลบ้านและบุตรเท่านั้น