ใบ งาน วิทยาการคอมพิวเตอร์กับการดำเนินชีวิต

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 วิทยาการคอมพิวเตอร์กับการดำเนินชีวิต

เรื่องที่ 1 วิทยาการคอมพิวเตอร์กับการดำเนินชีวิต

Vdo ตัวอย่าง

https://www.youtube.com/watch?v=8s1GTeamlW4
ถึงนาที ที่ 1.23

ใบงาน 1.1 วิทยาการคอมพิวเตอร์กับการดำเนินชีวิต
https://forms.gle/br7FbndDg4jtc3ta9

เรื่องที่ 2 สื่อดิจิทัลกับการดำเนินชีวิต

สื่อประกอบการสอน
https://drive.google.com/file/d/1LcmnTyq-9vFvoVF6CPjTTBamCbKD_cud/view?usp=sharing

ใบงาน 1.2 ให้นักเรียนสร้างเพื่อสร้างชิ้นงานโดยใช้โปรแกรมที่ตนเองถนัดเพื่อสร้าง infographic เรื่องข้อดี-ข้อเสียของสื่อดิจิทัล

เรื่องที่ 3 ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ใบงาน 1.3 ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
https://forms.gle/1sNaNcmVC37dRPuu7

เรื่องที่ 4 การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ

ใบงาน 1.4 การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เทคโนโลยีการจัดการข้อมูล

ดาวน์โหลดสื่อการสอนได้ที่

เรื่องที่ 5 ข้อมูล

ใบงานที่ 2.1.1 ประเภทของข้อมูล

ใบงาน 2.1.2 ฐานข้อมูล
https://forms.gle/MQLg4nJKjnWPxP2h8

ตัวอย่างข้อมูล csv

แปลงข้อมูลจาก csv เป็น json ได้ที่

ทฤษฎีปิรามิดแห่งความรู้ ของ Yamasaki

ไฮดีโอ ยามาซากิ (Hideo Yamazaki) นักวิชาการการจัดการความรู้ชาวญี่ปุ่น (บูรชัย ศิริมหาสาคร, 2550:22-24) ได้อธิบายนิยามของความรู้ด้วยรูปแบบของปิรามิด ซึ่งแสดง ให้เห็นว่าความรู้มี 4 ประเภทและมีพัฒนาการตามลำดับเป็น 4 ขั้น จากต่ำไปสูง คือ ข้อมูล,สารสนเทศ,ความรู้,ภูมิปัญญา ซึ่งแต่ละระดับ มีความหมายแตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง เป็นฐานของกันและกัน ดังนี้

ใบ งาน วิทยาการคอมพิวเตอร์กับการดำเนินชีวิต

การรวบรวมข้อมูล

รายชื่อ 5/1

รายชื่อ 5/2

รายชื่อ 5/3

รายชื่อ 5/4

ข้อสอบกลางภาค

https://forms.gle/Wok4Vx8QRVEvsGKM7

ข้อสอบปลายภาค

https://forms.gle/M5K1vjGFXDGXQPh7A

ใบ งาน วิทยาการคอมพิวเตอร์กับการดำเนินชีวิต



ep01_วิทยาการคอมพิวเตอร์กับการดำเนินชีวิต

ว32151 เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ม.5

หน่วยที่ 1 วิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศกับการดำเนินชีวิต

หัวข้อที่ 1 วิทยาการคอมพิวเตอร์กับการดำเนินชีวิต

https://www.wpnormandie.fr/wp-content/uploads/2018/10/coding-924920_1280.jpg

วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณทางคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ การศึกษานี้จะนำไปสู่การคิดค้น ทฤษฎ๊ และนวัตกรรมใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของการใช้เทคโนโลยีของคนในสังคม

หัวข้อที่ควรศึกษาเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีดังนี้

เพื่อใช้พัฒนาซอฟต์แวร์ให้ออกมามีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยใช้ภาษาพัฒนาโปรแกรมต่างๆ เช่น ภาษาไพทอน (Python), ภาษาซี (C), ภาษาจาวา (Java)

โดยพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งรูปแบบของเว็บ แอปพลิเคชัน (Web Application), โมบาย แอปพลิเคชัน (Mobile Application), เดสก์ท็อป แอปพลิเคชัน (Desktop Application), เกม (Game) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น Line, Instagram, Photoshop, Google Chrome, Tiktok, ROV, Call of Duty เป็นต้น

https://www.goodworklabs.com/wp-content/uploads/2015/01/week12a2.jpg

การพัฒนาระบบสารสนเทศ ต้องมีขั้นตอนหรือกระบวนการในการพัฒนา คือ "วัฏจักรการพัฒนาระบบ" (System Development Life Cycle : SDLC) ดังนี้

- การวางแผน (Planning)

เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เช่น การวางแผนการดำเนินงาน, การกำหนดเวลา, การกำหนดงบประมาณการลงทุน

- การวิเคราะห์ความต้องการ (Analysis)

เป็นการวิเคราะห์ความต้องการของระบบสารสนเทศที่จะพัฒนา โดยอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสัมภาษณ์, การจัดทำแบบสอบถาม

- การออกแบบ (Design)

เป็นขั้นตอนการออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของระบบสารสนเทศ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการ เช่น การออกแบบฐานข้อมูล, การออกแบบผลลัพธ์ที่ต้องการ

- การพัฒนาระบบ (Development)

เป็นขั้นตอนการพัฒนาหรือสร้างระบบด้วยวิธีการต่างๆ ตามที่ได้ออกแบบไว้ จากนั้นจึงทำการทดสอบว่าสามารถทำงานได้ตรงกับความต้องการหรือมีข้อผิดพลาดอะไรหรือไม่ หากมีข้อผิดพลาดจะต้องทำการแก้ไข หากผ่านการทดสอบแล้วจึงจะสามารถนำไปใช้งานได้

- การติดตั้งระบบ (Implementation)

เป็นขั้นตอนที่นำระบบที่พัฒนาขึ้นไปติดตั้ง และแนะนำวิธีการใช้งานต่างๆ แก่ผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป

- การซ่อมบำรุงระบบ (Mainternance)

เป็นการซ่อมบำรุงตามระยะเวลา หรือตารางที่กำหนด หรือซ่อมบำรุงเมื่อผู้ใช้งานแจ้งถึงปัญหาข้อผิดพลาดต่างๆ ของระบบ หรือผู้ใช้งานต้องการให้ปรับปรุงระบบให้เหมาะสมกับระบบงานของผู้ใช้งาน จึงต้องมีการซ่อมบำรุงจุดบกพร่องเหล่านั้น

2. โครงสร้างและการควบคุมระบบคอมพิวเตอร์

เป็นการเรียนรู้สถาปัตยกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์ (Hardware) และ ซอฟต์แวร์ (Software) เช่น ซอฟต์แวร์ควบคุมสั่งการคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า "ซอฟต์แวร์ระบบ (Operationg System)" โดยโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ

หน่วยรับข้อมูล (Input), หน่วยประมวลผลกลาง (Process), หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output)

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a1/Control_System_Basic_Scheme_1.png

3. การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบบทฤษฎีการสื่อสารข้อมูล โครงสร้าง และโปรโตคอล ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถนำคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มาเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น การส่งรูปภาพระหว่าง Smart Phone ด้วยสัญญาณ Bluetooth, การสนทนาออนไลน์ (Chat), การใช้งานวิดิโอคอล (Video Call),การเชื่อมต่อระหว่าง Smart Phone กับลำโพงผ่าน Bluetooth เป็นต้น

https://www.lg.com/mx/images/AO/features/PH1L-Bluetooth-Compatibility_11082017-D.jpg

4. การนำไปใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย

เป็นการใช้งานด้านสื่อต่างๆ เช่น การออกแบบป้ายโฆษณา, การออกแบบการ์ดอวยพรวันสำคัญต่างๆ, การออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographics), การสร้างคลิปสั้น, การสร้างสื่อโฆษณา, การถ่ายทำภาพยนต์ เป็นต้น

ปัจจุบันมีการนำไปใช้งานด้านการประมวลผลภาพ (Image Processing) เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น การประมวลผลภาพใบหน้า นำไปใช้ในการสแกนใบหน้าเพื่อปลดล็อคโทรศัพท์มือถือ, ตรวจจับวัตถุต่างๆ เป็นต้น

https://visagetechnologies.com/wp-content/uploads/2019/09/Visage-Face-Recognition-banner-1-1.jpg

5. การประยุกต์ใช้งานอย่างชาญฉลาด

เป็นการสร้างระบบสารสนเทศที่มีความชาญฉลาด หรือที่เรียกว่า "ปัญญาประดิษฐ์" (Artificial Intelligence : AI) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีต้นแบบจากมนุษย์ โดยเลียนแบบพฤติกรรมเกี่ยวกับกระบวนการคิดของมนุษย์ โดยในปัจจุบันมีการพัฒนาระบบ AI เพื่อมาช่วยงานต่างๆ มากมาย เช่น หุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยสูงอายุ, หุ่นยนต์ช่วยเหลือแพทย์เพื่อทำการผ่าตัด, หุ่นยนต์ช่วยเหลือด้านการผลิตในโรงงาน เป็นต้น

https://www.thairath.co.th/media/dFQROr7oWzulq5FZXl0CYPHjE5OMNEGhdG4C8N7nnEdJV4TPKwWGldOTWLubpTFHHeI.jpg

6. การคำนวณและการประยุกต์ใช้งานระดับสูง

เป็นการศึกษาค้นคว้าและนำไปใช้เกี่ยวกับหลักการคำนวณของเครื่องคอมพิวเตอร์ และการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานระดับสูงที่มีความยาก เช่น งานด้านชีวภาพ, งานด้านวิทยาศาสตร์, งานด้านมัลติมีเดียระดับสูง เช่น

- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)

โปรแกรมพยากรณ์อากาศ

โปรแกรมแจ้งเตือนภัยธรรมชาติ

- ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES)

โปรแกรมตรวจและวินิจฉัยโรค

โปรแกรมจำแนกองค์ประกอบของสสาร

https://storage.googleapis.com/techsauce-prod/uploads/2018/08/facebook-and-nyu-school-improves-mri.jpg