แนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคตควรจะเป็นอย่างไร

แนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคต

จัดทำโดย
นาย พลวรรธน์ นาคดำ 65209010015
นางสาวธราพร สุนทรวร 65209010011

สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ

เสนอ
ครู อาริยา อุยะพิตัง

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
วิทยาการก้าวหน้าระบบอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีในอนาคต

( 20901 - 2103 )
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

วิทยาลัยเทคนิคหนองคาย

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวิทการก้าวหน้าระบบ
อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีในอนาคต เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้
นักศึกษามีทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งนำมาประยุกต์ใช้
ในการศึกษาและในชีวิตประจำวัน เพื่อจะได้มีการเรียนรู้ใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นการ
สร้างพื้นฐานให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจ ดังนั้นจึงได้จัดทำรายงาน
เพื่อนักศึกษาได้เข้าใจถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ
มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และเพื่อใช้ประกอบการศึกษาและ
ปฏิบัติอย่างถูกวิธี

ทั้งนี้ทางคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์
ต่อผู้ที่ได้มาศึกษาเป็นอย่างดี และทางคณะผู้จัดทำขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วย
ให้รายงานเล่มนี้สำเร็จมา ณ โอกาสนี้

สารบัญ

เนื้อหา หน้า

บทนำ 1
แนวโน้มในด้านบวก 1
แนวโน้มในด้านลบ 2
Technology แห่งโลกอนาคต ที่จะมาเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้ดีขึ้น 3
สรุป 5
เอกสารอ้างอิง 6

หน้า 1

เนื้อหา

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

บทนำ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21
มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มี ความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์
หรือเรียกกว่า เทคโนโลยี เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่าย
ประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไป ใช้ในทางที่ไม่ถูก
ต้องหรือผิดกฎหมาย

แนวโน้มในด้านบวก

• การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่
เชื่อมโยงกันทั่วโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมช่องทางการดำเนิน
ธุรกิจ

• การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่าน
ตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง
เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง

• การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้
สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหา
ตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ

• การพัฒนาระบบสารสนเทศฐานข้อมูลฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้
เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้

• การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่
เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน
หรือ e-citizen

หน้า 2

แนวโน้มในด้านลบ

• ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วน
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิด
ความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา

• การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอก
เลียนแบบ

• การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วง
ละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์

หน้า 3

Technology แห่งโลกอนาคต ที่จะมาเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้ดีขึ้น

5 เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตที่จะมาเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโลกของ
เราให้ดีขึ้นจนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถพลิกรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิต
ของผู้คนในสังคมได้

1 AI แห่งอนาคต

• ระบบปัญญาประดิษฐ์แห่งอนาคตหรือ Future Artificial Intelligence
จะมีส่วนที่เป็นหัวใจหรือสมองของระบบได้แก่ เทคโนโลยีการเรียนรู้ของ
เครื่อง หรือMachine Learning ด้วยเครือข่ายประสาทเทียม ที่เรียกว่า Deep
Neural Network ซึ่งสร้างโดยเลียนแบบเครือข่ายเซลล์ประสาทในสมองของ
มนุษย์ ความสามารถของ AI ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระบบไซเบอร์-ฟิสิคัล ที่ส่งผ่าน
ข้อมูลระหว่างโลกอินเทอร์เน็ตกับโลกจริงทางกายภาพมีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น เช่น รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติไร้คนขับ

2.การเดินทางแบบไร้รอยต่อ

• Mobility-as-a-Service หรือ แมส (Maas) มีการเติบโตแบบก้าว
กระโดดของเทคโนโลยีนี้ในปัจจุบัน ตัวอย่างผู้ให้บริการแมสรายใหญ่ 2 ราย
คือ อูเบอร์ (Uber) ของสหรัฐฯ กับ ตี๊ตี๊ (DiDi) ของจีน ข้อมูลปี พ.ศ.2560 ระบุ
ว่ามูลค่าของบริษัทตี๊ตี๊อยู่ที่ราว 56,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่อูเบอร์
มากกว่าคือ 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่น่าสนใจคือ ตี๊ตี๊ เป็นบริษัทที่โต
อย่างก้าวกระโดดจากการเทคโอเวอร์บริษัทอูเบอร์ในจีน เมื่อปี พ.ศ.2559

3. กายจำลองทดสอบยา

• ในปี พ.ศ.2558 สวทช. เคยกล่าวถึงเทคโลยีการเพาะกลุ่มเซลล์สมอง
ที่เรียกว่า Brain Organoid ที่มีขนาดและรูปร่างคล้ายกับสมองของตัวอ่อน
ในครรภ์อายุ 5 สัปดาห์ มีขนาดเท่าก้อนยางลบดินสอ และส่งถ่ายกระแส
ประสาทได้จริง จึงใช้เป็นโมเดลในการทดลองต่างๆ แก้ปัญหาจริยธรรม
เรื่องการใช้มนุษย์ทดลองยาโดยตรง ไม่เพียงแต่สมองจิ๋ว ยังมีอวัยวะอื่นๆ
อีกหลายอย่างก็เพาะเลี้ยงได้เช่นกัน เรียกรวมๆ ว่าเป็น ออร์แกนอยด์
(Organoid) ที่แปลว่า “อวัยวะเล็กๆ” ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ตรวจ
วิเคราะห์ทดสอบที่สำคัญได้

หน้า 4

4.วัคซีนมะเร็งเฉพาะบุคคล

• การรักษาโรคมะเร็งโดยการฉายรังสี การใช้ยาเคมีบำบัด เป็นการ
รักษาแบบเหมารวม ไม่จำเพาะกับบุคคล แต่ละคนจึงตอบสนองกับยาหรือ
รังสีแตกต่างกันไป นอกจากนี้มักเกิดอาการข้างเคียงรุนแรง และบางครั้งผู้
ป่วยที่หายแล้วก็อาจเป็นมะเร็งเดิมได้อีก

• วงการวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงมีความพยายามที่จะทำวัคซีนหรือ
ยาสำหรับโรคมะเร็งแบบเฉพาะบุคคลขึ้น โดยมีวิธีการคือ เริ่มจากนำเซลล์
ปกติและเซลล์มะเร็งของผู้ป่วยออกมา “อ่านรหัสดีเอ็นเอ” จากนั้น เปรียบ
เทียบรหัสในตำแหน่งต่างๆ เพื่อหาว่ามีตำแหน่งใดที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง โดย
เฉพาะตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีน จากนั้นใช้ซอฟต์แวร์ทางชีว
สารสนเทศ หรือ bioinformatics มาจัดลำดับความสำคัญของส่วนที่
เปลี่ยนแปลงไปนั้น ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นจุดตั้งต้นในการนำมาสร้างเป็น
วัคซีนชนิดพิเศษ เรียกว่า นีโอแอนติเจนวัคซีน (Neoantigen Vaccine) ซึ่ง
อาจจะเป็นสาย RNA หรือ DNA ก็ได้

• จากนั้นจะฉีดวัคซีนดังกล่าวเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย โดยอาจจะใส่
เข้าไปแบบนั้น หรืออาจห่อหุ้มด้วยสารพอลิเมอร์ หรือไลโปโซม (Liposome)
ซึ่งวัคซีนจะไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้จดจำเซลล์มะเร็งได้
ก่อนเริ่มการค้นหาและทำลายเซลล์มะเร็งอย่างจำเพาะ โดยไม่ยุ่งกับเซลล์
ปกติ

5.แบตเตอรี่ลิเทียมยุคหน้า

• ในปี พ.ศ.2561 มูลค่าตลาดของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน สำหรับ
ยานยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อยู่ที่ 36,000 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เติบโตปีละ 13% โดยจีนจะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด แม้จะยังไม่มี
แบตเตอรี่ที่มีคุณสมบัติครบทุกอย่าง แต่ก็มีแบตเตอรี่ที่น่าสนใจหลายแบบ
เช่น – แบตเตอรี่แบบ Solid-state Lithium Ion ที่จุพลังงานได้มากขึ้นเป็น 2
เท่าและมีความปลอดภัยมากขึ้น
– แบตเตอรี่ลิเทียม-แอร์ (Lithium-air) จุพลังงานมากขึ้นถึง 10-100 เท่า
– แบตเตอรี่ลิเทียม-ซัลเฟอร์ (Lithium-sulfur) ที่คนหันมาสนใจกัน เพราะจุ
พลังงานได้มากกว่าแบบลิเทียมไออน 2-4 เท่า แต่ราคาถูกกว่า

หน้า 5

สรุป

ในสังคมสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่าง
มาก คนในสังคมมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง คนทุกระดับอายุ
เกือบทุกอาชีพ มีความต้องการสารสนเทศอยู่ตลอดเวลาใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและเริ่มนำมา
ประยุกต์ใช้ไม่ว่าจะเป็น ระบบปัญญาประดิษฐ์ ยูบิควิตัส การเรียนผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการบริหารประเทศก็ยังมีการตั้งโครงการรัฐบาล
อิเล็กทรอนิกส์ พวกเราที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมสารสนเทศจึงควรเตรียม
ความพร้อมในการปรับตัว เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็น
เครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันไม่ว่าจะ
เป็นการศึกษาหาความรู้การประกอบธุรกิจ การบริหารจัดการ เทคโนโลยี
สารสนเทศ กับงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพักผ่อนและบันเทิง รวมทั้ง
การสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับชีวิตของตนเอง

หน้า 6

เอกสารอ้างอิง

https://www.prosofthcm.com/Article/Detail/16795
http://www.nst3.go.th/?p=18372

เทคโนโลยีในอนาคตจะเป็นยังไง

แนวโน้มเทคโนโลยีแห่งอนาคต!.
1. เครือข่ายมือถือ 5G/6G (Mobile Network 5G/6G) ... .
2. การคำนวณและวิศวกรรมควอนตัม (Quantum Computing & Engineering).
3. เอไอแห่งอนาคต (Future AI) ... .
4. การเดินทางแบบไร้รอยต่อ (Mobility-as-a-Service, Maas) ... .
5. เซลล์แสงอาทิตย์เพอรอฟสไกต์ (Perovskite Solar Cell).

เทคโนโลยี มีผลดีต่อธุรกิจในอนาคตอย่างไร

ผลที่ตามมาจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ คือ ช่วยเปลี่ยนมุมมองในการบริหารจากหน้าที่มาเป็นกระบวนการ ทำให้การผลิตมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เช่น ลดต้นทุนและกระบวนการบริหารจัดการ ลดค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนในการผลิต ช่วยพัฒนา สร้างสรรค์อันเป็นการช่วยเสริมกลยุทธ์ในการบริหารจัดการให้มีความได้เปรียบในตลาดสินค้าและบริการ

เทคโนโลยีการสื่อสารในอนาคต มีอะไรบ้าง

รวม 7 เทคโนโลยีเปลี่ยนอนาคตมนุษย์ในอีก 10 ปีข้างหน้า.
AI พัฒนาไวจนน่าจับตามอง.
Automation จะยกระดับและนำมาใช้อย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น.
Satellite Internet โครงการอินเทอร์เน็ตดาวเทียม.
6G Internet อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง.
Industrial IoT:.
IoT Applications in Agriculture:.

แนวโน้มสําคัญของไอที 5 ประการมีอะไรบ้าง

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ.
การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ ... .
การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ ... .
เครื่องมือในการทำงาน ... .
การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ... .
เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร.