การเสด็จประพาสของร 5 มีผลประโยชน์อะไรบ้าง

การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างประเทศในทวีปยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสานสัมพันธไมตรีแก่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เพื่อให้ประเทศที่พระองค์เสด็จประพาสเหล่านั้นมองเห็นว่าประเทศสยามเป็นประเทศที่มีการพัฒนาตนเองและไม่ได้ล้าหลังป่าเถื่อน และเพื่อโอกาสในการร่วมกันแก้ไขปัญหาความมั่นคงและส่งเสริมความเป็นเอกราชของประเทศสยาม แม้จะอยู่ในช่วงท่ามกลางยุคล่าอาณานิคมก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมีมูลเหตุมาจากกรณีพิพาทระหว่างสยามกับฝรั่งเศสในเหตุการณ์วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 หรือในปี พ.ศ. 2436 ที่ทำให้สยามเสียดินแดนมากที่สุดเท่าที่มีการเสียดินแดนให้แก่ชาติตะวันตก ผลจากการเสด็จพระราชดำเนินดังกล่าวนั้นทำให้พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่มาจากทวีปเอเชียที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรปอย่างจริงจังโดยทรงรู้จักแฝงแนวความคิดจิตวิทยาและการปฏิบัติตามธรรมเนียมยุโรปอีกด้วย
สำหรับประเทศที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินจากทั้งสองครั้ง มีดังต่อไปนี้
สหราชอาณาจักร
ฝรั่งเศส
เบลเยียม
เยอรมนี
อิตาลี
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เดนมาร์ก
เชโกสโลวาเกีย
สวิตเซอร์แลนด์
จักรวรรดิรัสเซีย
สำหรับรายละเอียดแต่ละครั้ง มีดังต่อไปนี้

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มการเสด็จเยือนต่างประเทศทั้งในทวีปเอเชียและยุโรปทั้งอย่างเป็นทางการและเป็นการส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศด้วยพระราชประสงค์เช่นเดียวกับพระราชบิดา คือ เสด็จไปเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศกับการเสด็จไปรักษาพระวรกายของพระองค์ มิเพียงแต่เท่านั้นยังทรงขยายเส้นทางไปสู่อินโดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา และทุกครั้งยังมีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จเคียงคู่เสมอ

ในระยะเวลา 9 ปีแห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จประพาสต่างประเทศรวม 4 ครั้ง ดังนี้

การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 1 ในปีที่ 5 ของการครองราชสมบัติ พ.ศ. 2472 ระหว่างวันที่ 31กรกฎาคม- 11 สิงหาคม พ.ศ.2472 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสิงคโปร์ ชวา และบาหลี ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของประเทศอังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้เพื่อเจริญทางพระราชไมตรีและทอดพระเนตรภูมิสถานบ้านเมืองและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศเหล่านั้น

การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 2 ในปีที่ 6 ของการครองราชสมบัติ ระหว่าง พ.ศ. 2473 ระหว่างวันที่ 6เมษายน –8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน (เฉพาะส่วนที่เป็นประเทศเวียดนาม และกัมพูชาปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของประเทศฝรั่งเศส เพื่อเจริญพระราชไมตรีและก้าวข้ามจากความบาดหมางทั้งกับเจ้านายพื้นเมืองเดิมและสร้างสัมพันธภาพที่ดีเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูต

-การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 3 ในปีที่ 7 ของการครองราชสมบัติ ระหว่างวันที่ 6 เมษายน – 28 กันยายน พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา การเสด็จฯครั้งนี้นอกจากเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศแล้วยังเพื่อรักษาพระเนตรที่สหรัฐอเมริกาด้วย เป็นเวลานานถึง 3 เดือนเต็ม และในพระราชวโรกาสที่เสด็จฯถึงกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่28 เมษายน พ.ศ. 2474 นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์นิวยอร์ค ไทม์ แสดงพระราชประสงค์จะทรงจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์ และพระราชทานอำนาจนั้นแก่ราษฎรในการปกครองประเทศในรูปแบบเทศบาลขึ้นก่อนเพื่อเป็นฐานก้าวไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในโอกาสต่อไป

4 ในปีที่ 8-9 ของการครองราชสมบัติ และ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 แล้ว ทั้งสองพระองค์เสด็จประพาสยุโรป 9 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี (นครรัฐวาติกัน) อังกฤษ เดนมาร์ก เยอรมนี เบลเยี่ยม เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี และสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ และเพื่อทรงรักษาพระเนตรอีกครั้งในประเทศอังกฤษ จนกระทั่งถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477ซึ่งเป็นวันสละราชสมบัติ ณ ประเทศอังกฤษ

อาจกล่าวได้ว่าการเสด็จประพาสต่างประเทศ ทั้ง 4 ครั้งในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นไปเพื่อการเจริญสัมพันธไมตรี การทอดพระเนตรความเจริญของต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ในการพัฒนาประเทศสยามสืบต่อจากการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 อนึ่ง การเสด็จไปรักษาพระสุขภาพ โดยการผ่าตัดพระเนตรครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาในพ.ศ. 2474 และรักษาพระเนตรครั้งที่ 2 และรักษาพระทนต์ในประเทศอังกฤษ พ.ศ.2476

ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของทั้งสองพระองค์ในต่างประเทศสะท้อนให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเคียงข้างกันทั้งในยามสุขและยามทุกข์ ทั้งการเสด็จประพาสในประเทศ ภูมิภาคต่างๆทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484

บทที่ 5: การเสด็จพระราชดำเนินเยือนเดนมาร์กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 มิ.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 20 พ.ย. 2565

| 32,399 view

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 ซึ่งทำให้ทรงสามารถสร้างพันธมิตรทางการทูตกับมหาอำนาจตะวันตกและเสริมสร้างความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์ในยุโรป นอกจากนี้ ทรงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศตะวันตกเนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์จากเอเชียพระองค์แรกที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกับกษัตริย์ยุโรปได้อย่างคล่องแคล่วโดยไม่ต้องใช้ล่าม

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2440

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จประพาสยุโรปด้วยเรือหลวง ”มหาจักรี” ในปี พ.ศ. 2440 โดยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 เรือหลวงได้เข้าเทียบท่ากรุงโคเปนเฮเกนพร้อมกับเรือรบ Helgoland และ Tordenskjold ของเดนมาร์ก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องแบบจอมพลและประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูล Order of the Elephant ของเดนมาร์ก ทั้งนี้ ในขบวนเสด็จประกอบด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช รวมทั้งสมาชิกในพระราชวงศ์และข้าราชบริพารอีกจำนวนมาก โดยในการเสด็จประพาสเดนมาร์กครั้งนี้ทรงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากสมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 ซึ่งทรงจัดให้ประทับที่พระราชวัง Amalienborg ด้วย

ระหว่างการประทับที่เดนมาร์ก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยือนสถานที่ต่างๆ ในกรุงโคเปนเฮเกนและเกาะซีแลนด์ เช่น โรงงาน Royal Danish Porcelain หรือ Royal Copenhagen ในปัจจุบัน โดยทรงซื้อเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากกลับไปยังสยาม นอกจากนี้ ทรงได้เยี่ยมชมพระราชวัง Frederiksborg พระราชวัง Fredenborg สวน Tivoli พิพิธภัณฑ์รูปปั้นและประติมากรรมสลักหินอ่อน Thorvaldsen และโรงเบียร์ Carlsberg ซึ่งได้ทอดพระเนตรกระบวนการหมักดอกฮ็อปส์และมอลท์ รวมทั้งการหมักและการเก็บรักษาเบียร์ นอกจากนี้ ทรงได้ประทับล่องเรือ “Dannebrog” ร่วมกับพระราชวงศ์เดนมาร์กไปยังเมือง Helsingør ด้วย

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2450

ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เยือนเดนมาร์กเป็นครั้งที่ 2 ด้วยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2450 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและเดนมาร์กแนบแน่นยิ่งขึ้น โดยทรงได้รับการต้อนรับจากสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 8 ให้ประทับที่พระราชวัง Bernstorff

ในระหว่างการเสด็จฯ เยือนเดนมาร์กครั้งนี้ ได้เสด็จฯ ไปยังเมือง Roskilde และเยี่ยมชมวิหาร Roskilde Cathedral ซึ่งเป็นสถานที่ฝังพระศพเก่าแก่ของกษัตริย์และราชินีแห่งเดนมาร์ก โดยทรงวัดส่วนสูงบน “เสาวิหารหลวง” ร่วมกับพระมหากษัตริย์เดนมาร์กในอดีต นอกจากนี้ ได้เสด็จฯ ไปเยือนที่พำนักของ Andreas du Plessis de Richelieu และ H.N. Andersen โดยมีสมาชิกในครอบครัวของบุคคลทั้งสองเฝ้าฯ รับเสด็จ

ในวันสุดท้ายของการเสด็จฯ เยือนเดนมาร์ก ได้ทรงล่องเรือไปยังคาบสมุทร Jutland และทรงหยุดประทับที่เมือง Aarhus ก่อนจะทรงล่องเรือต่อไปยังท่าเรือเมือง Frederikshavn และประทับรถไฟไปยังเมือง Skagen ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือสุดของคาบสมุทร Jutland โดยเสด็จฯ ถึงเมือง Skagen ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 และเสด็จฯ เยือนแหลมเกรเนนซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเดนมาร์กและทรงปักธงช้างเผือกไว้ที่แหลมดังกล่าว ต่อมาได้พระราชทานธงช้างเผือกดังกล่าวให้แก่เมือง Skagen เป็นของขวัญ

ในโอกาสรำลึกวันครบรอบ 100 ปี ของการเสด็จประพาสเมือง Skagen ในปี พ.ศ. 2550  สโมสรไลออนส์เดนมาร์กและประเทศไทยร่วมกับ พญ. คุณหญิงอัมพร สุคนธมาน ที่ปรึกษากิตติศักดิ์สโมสรไลออนส์กรุงเทพ ได้จัดสร้างองค์หล่อพระบรมรูปทรงม้าสัมฤทธิ์เพื่อจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมือง Skagen โดยเป็นองค์หล่อจำลองของพระบรมรูปทรงม้าที่ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม หลังจากนั้น พระบรมรูปทรงม้าสัมฤทธิ์จำลองดังกล่าวได้ถูกย้ายไปประดิษฐานที่อาคาร Asia House ณ กรุงโคเปนเฮเกนจนถึงทุกวันนี้ โดยชุมชนไทยในเดนมาร์กและนักท่องเที่ยวชาวไทยจะเดินทางไปสักการะพระบรมรูปทรงม้าดังกล่าวเนื่องในโอกาสสำคัญ เช่น วันปิยมหาราช เป็นประจำทุกปี

 แหล่งข้อมูลและภาพ: 1) หนังสือ “A Tale of Two Kingdoms” จัดพิมพ์โดยบริษัท อีสเอเชียติก (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2539

2) หนังสือ Admiralen, Kongen & Kaptajnen, Danskere i Elefanternes Rige จัดพิมพ์โดยบริษัท Høst & Søn ในเดนมาร์กเมื่อปี พ.ศ. 2541

3) https://aarhuswiki.dk/wiki/Kong_Chulalongkorns_bes%C3%B8g_i_Aarhus_i_1907

4) https://scandasia.com/2547-the-exhibition-celebrating-100-years-of-king-rama-v-visit-denmark/

5) http://thai-dansk.dk/indvielse%20Kong%20Chulalongkorns%20rytterstatue.htm

6) www.kanalfrederikshavn.dk

7) www.siraphisut.com

การเสด็จประพาสของร 5 มีผลประโยชน์อะไรบ้าง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ถึงท่าเรือด่านศุลกากรกรุงโคเปนเฮเกนเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2440

การเสด็จประพาสของร 5 มีผลประโยชน์อะไรบ้าง

สมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 ทรงให้การต้อนรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเสด็จประพาสเดนมาร์กเมื่อปี พ.ศ. 2440

การเสด็จประพาสของร 5 มีผลประโยชน์อะไรบ้าง

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ รัชการที่ 5 และรัชการที่ 9 ทรงวัดส่วนสูงบน “เสาวิหารหลวง” ในวิหาร Roskilde Cathedral ร่วมกับพระมหากษัตริย์เดนมาร์กในอดีต

การเสด็จประพาสของร 5 มีผลประโยชน์อะไรบ้าง

ในการเสด็จประพาสเดนมาร์กครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการต้อนรับจากสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 8 และพระราชวงศ์เดนมาร์กเมื่อเสด็จฯ ถึงสถานีรถไฟใจกลางกรุงโคเปนเฮเกน ก่อนที่จะเสด็จฯ ไปยังพระราชวัง Amalienborg โดยรถม้า

การเสด็จประพาสของร 5 มีผลประโยชน์อะไรบ้าง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปักธงช้างเผือกที่แหลมเกรเนนซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเดนมาร์กเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2450

การเสด็จประพาสของร 5 มีผลประโยชน์อะไรบ้าง

ธงช้างเผือกเมื่อครั้งที่ได้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เมือง Skagen เมื่อปี พ.ศ. 2550

การเสด็จประพาสของร 5 มีผลประโยชน์อะไรบ้าง

สถานเอกอัครราชทูตฯ และชุมชนไทยในเดนมาร์กร่วมสักการะพระบรมรูปทรงม้าที่อาคาร Asia House เนื่องในโอกาสวันปิยมหาราช ปี 2562

การเสด็จประพาสของรัชกาลที่ 5 มีผลประโยชน์อะไรบ้าง

สำหรับการเสด็จประพาสยุโรปในครั้งนั้น นอกเหนือไปจากการเรียนรู้ความเจริญก้าวหน้าของโลกตะวันตกเพื่อนำมาปรับปรุงบ้านเมืองแล้ว วัตถุประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การสร้าง “ภาพลักษณ์” ของ “ความศิวิไลซ์” ของไทยในการรับรู้ของมหาอำนาจและสาธารณชนในประเทศชาติตะวันตก แม้ว่าในทางการเจรจาอาจจะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติทางการเมือง ...

ในการเสด็จประพาสของรัชกาลที่ 5 มีจุดมุ่งหมายใด

การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างประเทศในทวีปยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสานสัมพันธไมตรีแก่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เพื่อให้ประเทศที่พระองค์เสด็จประพาสเหล่านั้นมองเห็นว่าประเทศ ...

การเสด็จประพาสต่างประเทศของรัชกาลที่ 5 ก่อให้เกิดผลดีต่อชาติอย่างไร

การเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรปด้วยพระองค์เองในครั้งนั้น เปรียบเสมือนท่านทรงใช้ตนเองเป็นสื่อบุคคล อีกทางหนึ่ง เป็นการประชาสัมพันธ์ประเทศ ให้ต่างประเทศจดจำและยอมรับสยามในฐานะชาติที่มีความศิวิไลซ์ มากกว่าที่เขาได้พบได้อ่านจากบันทึกของคนที่เดินทางเข้ามาในสยามหรือภาพเขียนในยุคนั้น ส่งผลให้ไม่เพียงแต่เฉพาะคนในระดับสูงของยุโรป ...

ร.5 เด็จประพาสกี่ครั้ง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 ซึ่งทำให้ทรงสามารถสร้างพันธมิตรทางการทูตกับมหาอำนาจตะวันตกและเสริมสร้างความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์ในยุโรป นอกจากนี้ ทรงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศตะวันตกเนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์จากเอเชียพระองค์แรกที่ ...