สถิติความเครียดของคนไทย 2565

กระทรวงสาธารณสุขและองค์การยูนิเซฟเปิดตัวรายงานฉบับใหม่เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ระบบและบริการสนับสนุนทางจิตใจและจิตสังคมสำหรับเด็กและวัยรุ่นในประเทศไทย

  • พร้อมใช้งานใน:
  • English
  • ไทย

กรุงเทพฯ 31 สิงหาคม 2565 – รายงานการศึกษาล่าสุดของยูนิเซฟซึ่งเผยแพร่วานนี้ระบุว่า ประเทศไทยต้องเร่งจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อยกระดับคุณภาพและความรวดเร็วของบริการสุขภาพจิตสำหรับเด็กและวัยรุ่น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ พัฒนาการ และอนาคตของพวกเขา

รายงาน การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ระบบและบริการสนับสนุนทางจิตใจและจิตสังคมสำหรับเด็กและวัยรุ่นในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ฉบับประเทศไทย ซึ่งจัดทำโดยยูนิเซฟ กรมสุขภาพจิต สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และสถาบันเบอร์เน็ต ประเทศออสเตรเลีย  ระบุว่า วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน และเด็กไทยอายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์

ปัจจุบัน การฆ่าตัวตายคือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสามของวัยรุ่นไทย โดยการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนทั่วโลกในส่วนของประเทศไทยเมื่อปี 2564 (2021 Global School-based Student Health Survey) พบว่า ร้อยละ 17.6 ของวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

ในงานเปิดตัวรายงานฉบับนี้ซึ่งจัดขึ้นที่กระทรวงสาธารณสุขเมื่อวานนี้ นางคยองซอน คิม ผู้อำนวยการ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า “ข้อมูลดังกล่าวน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงกว่าคือมันอาจเป็นเพียงเศษเสี้ยวของปัญหาที่ใหญ่ยิ่งกว่า เด็กและวัยรุ่นหลายล้านคนในประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต ทั้งโรคเครียด โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากปัจจัยมากมาย เช่น ความรุนแรง การถูกกลั่นแกล้ง ความโดดเดี่ยว ความไม่แน่นอน รวมทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  แต่น่าเสียดายที่ปัญหาดังกล่าวมักถูกบดบังเอาไว้ เนื่องจากการตีตราทางสังคมและการเข้าไม่ถึงข้อมูล การคัดกรอง การสนับสนุน ตลอดจนบริการด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสม”

ปัญหาสุขภาพจิตอาจก่อผลกระทบรุนแรงในระยะยาวต่อสุขภาพ การเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งเป็นการจำกัดความสามารถของพวกเขาในการพัฒนาตัวเองอย่างเต็มศักยภาพ

รายงานการศึกษาดังกล่าวระบุว่า แม้ประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะในเชิงนโยบายและกฎหมาย รวมทั้งบริการบำบัดรักษา แต่ก็ยังมีช่องว่างที่สำคัญ เช่น การขาดงบประมาณ การขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจำนวนจิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่ยังมีไม่เพียงพอในแต่ละหน่วยงาน

รายงานการศึกษาดังกล่าวระบุด้วยว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยต้องกำหนดวิสัยทัศน์และแผนงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตายของเด็กและวัยรุ่นที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  นอกจากนั้น ต้องเร่งจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทั้งในด้านการศึกษา สวัสดิการสังคม และกระบวนการยุติธรรม เพื่อสร้างหลักประกันให้เด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ได้มีสุขภาพจิตที่ดี และได้รับการสนับสนุน การดูแล และบริการที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการในเวลาที่เหมาะสมและทันท่วงที

“เรากำลังทำให้ทั้งสังคมตกอยู่ในความเสี่ยง หากเราไม่ดูแลสุขภาพจิตใจของเด็กและวัยรุ่นอย่างเหมาะสม” นาง คิม กล่าวเสริม “สิ่งที่เราต้องเร่งดำเนินการคือการกำหนดให้การมีระบบสนับสนุนทางจิตใจที่ครบวงจรเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อป้องกันความสูญเสียของประเทศทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ  ยูนิเซฟมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและทุกหน่วยงานในประเทศไทย เพื่อสร้างหลักประกันให้ระบบสนับสนุนทางจิตใจสอดคล้องกับความต้องการและเข้าถึงเด็กและวัยรุ่นก่อนที่จะสายเกินไป”

ดาวน์โหลดรายงานการศึกษาได้ ที่นี่

ที่อยู่ติดต่อสื่อ

ณัฐฐา กีนะพันธ์

Communication Officer

องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย

อีเมล: [email protected]

สิรินยา วัฒนสุขชัย

องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย

อีเมล: [email protected]

ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตได้ร่วมกันจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อลดปัญหาการตีตราทางสังคมและเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มเยาวชนและพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเฉพาะแคมเปญ ฟัง x เล่า = ความสุข (The Sound of Happiness) และโอกาสพักใจมีได้ทุกวัน (Every Day is Mind Day)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.unicef.or.th/mindday

ดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลความรู้สำหรับเยาวชนและผู้ดูแลในแคมเปญ “โอกาสพักใจมีได้ทุกวัน” ได้ที่ https://bit.ly/minddaytoolkit

นักศึกษาไทยเกือบ 1 ใน 3 เครียดสูง เหตุพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพรอบด้าน กระตุ้นจิตตกไบโพลาร์-ซึมเศร้าพุ่ง 40% เสี่ยงฆ่าตัวตายเพิ่ม! สสส. - จุฬาฯ - อว. สานพลังพัฒนานวัตกรรม “เพื่อนช่วยเพื่อน Health-me Buddy” ระบบฐานข้อมูลนิสิต เฝ้าระวัง-สร้างสุขภาวะเชิงรุกในรั้วมหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2565 ที่โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ ดร.ลัทธจิตร มีรักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวเปิดการประชุมแนวทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสุขภาวะในประเทศไทยว่า ข้อมูลโรคซึมเศร้า โดยองค์การอนามัยโลก ช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 พบคนทั่วโลกเป็นโรคซึมเศร้า 300 ล้านคน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสถิติการฆ่าตัวตายต่อประชากร 1 แสนคน สูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากยุโรป ไทยสูญเสียจากการฆ่าตัวตายเฉลี่ย 6 คนต่อประชากร 1 แสนคน วิกฤตโควิดยิ่งทำให้มีแนวโน้มความเครียดสะสมสูงขึ้น อว. สานพลัง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมครั้งนี้ เพื่อเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย 15 แห่ง ขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีตามบริบทมหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม ช่วยบรรเทาปัญหาด้านสุขภาพจิตในกลุ่มเสี่ยง

สถิติความเครียดของคนไทย 2565

นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. กล่าวว่า สสส. ให้ความสำคัญต่อการสร้างองค์กรสุขภาวะ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะในวัยเรียนระดับมหาวิทยาลัย ที่กำลังจะเข้าสู่วัยทำงาน หากขาดการจัดการความสมดุลระหว่างชีวิตประจำวันและการเรียน มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ สาเหตุนำไปสู่ความเครียดสะสม ซึมเศร้า หากไม่ได้รับการฟื้นฟูจิตใจที่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว เสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องเร่งสานพลังความร่วมมือขับเคลื่อน 2 แนวทาง 1.ระบบฐานข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพของนิสิต นักศึกษาในไทย 2.แนวทางเฝ้าระวังหรือป้องกันแบบเชิงรุก พัฒนานวัตกรรมกลไกเพื่อนช่วยเพื่อน (Health-me Buddy) ที่ผ่านการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญด้านร่างกายและจิตวิทยา มุ่งผลักดันนโยบายสุขภาวะในระดับอุดมศึกษาไทยให้เกิดเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเป็นสถานศึกษาต้นแบบองค์กรสุขภาวะ

ดร.ศิริเชษฐ์ สังขะมาน ที่ปรึกษาโครงการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดย สสส. กล่าวว่า ผลสำรวจ 7 พฤติกรรมสุขภาพของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี 9,050 คน จากมหาวิทยาลัย 15 แห่งทั่วประเทศ 1.พฤติกรรมเนือยนิ่งและการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม 1 ใน 4 คน เผชิญกับภาวะผอมและมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ 2.พฤติกรรมการใช้ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบสูบบุหรี่ภายในมหาวิทยาลัย 40% ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง 9% ขับขี่ยานพาหนะขณะมึนเมา 15% 3.พฤติกรรมทางเพศ 1 ใน 4 ใช้ถุงยางอนามัย 46.6% ไม่ป้องกัน 5% 4.ภาระทางการเงิน ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ 40% มีภาระหนี้สินค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าที่พักอาศัย 

ดร.ศิริเชษฐ์ กล่าวต่อว่า พฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงเรื่องที่ 5 ความรุนแรงและการล่วงละเมิด พบนักศึกษาที่เคยโดนทำร้ายจิตใจ 10% อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีสัดส่วนสูงสุด 6.ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียน พบความเครียดสูงสุดถึง ร้อยละ 20% รองลงมาคือ ปัญหาทางการเงิน 11.5% ความรู้สึกวิตกกังวล 10.7% คิดถึงบ้าน 9.3% ปัญหาการนอนหลับ 7.9% ไม่มีสมาธิ ร้อยละ 7.7% เสพติดสื่อสังคมออนไลน์และเกม 5% 7.ประเด็นสุขภาพจิต รู้สึกซึมเศร้าบ่อยครั้งถึงตลอดเวลา 30% ในจำนวนนี้เป็นโรคไบโพลาร์ 40% โรคซึมเศร้า 4.3% ที่น่ากังวลคือ คิดฆ่าตัวตายบ่อยครั้ง 4% ลงมือทำร้ายร่างกายแล้ว 12% ลงมือทำร้ายร่างกายตนเองบ่อยครั้งถึงตลอดเวลาถึง 1.3%