เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในหมายถึง

          ก็หวังว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ให้กับคนเล่นรถรุ่นใหม่ๆ กันไม่มากก็น้อย เอาเป็นว่า BoxzaRacing ยังมีอีกหลายเรื่องที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องยนต์อีกมาก ซึ่งก่อนจะก้าวข้ามไปปรับแต่ง ก็ควรเข้าใจพื้นฐานการทำงานก่อน แม้ว่าในทางการใช้งานของคนทั่วไปไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร แต่ในทางเชิงช่างหรือวิศวกรรมคำว่าพื้นฐานถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะกำหนดให้ทุกคนเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน อยู่ที่ใครจะแม่นกว่า และปรับเอาไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า นั่นหมายความว่า จะได้ความแรงมากกว่าเท่านั้นเอง  

2. หลักการเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน

เครื่องยนต์ฮอนด้า วีเทค ตระกูล เค  (Honda V-TEC K Series)

            หลักการเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในของเครื่องยนต์ลูกสูบ ถ้าคุณใส่น้ำมันเชื้อเพลิงเล็กน้อย ลงในกระป๋องเล็ก ๆ ปิดฝา และจุดไฟใส่ในกระป๋อง ผลก็คือเกิดการระเบิดของน้ำมันเชื้อเพลิงในกระป๋อง การระเบิดคือการขยายตัวอย่างรุนแรงของเชื้อเพลิง มันเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถนำประโยชน์มาประยุกต์สร้างเครื่องยนต์ ถ้าคุณสามารถทำให้มันเกิดการระเบิดอย่างเป็นวัฏจักรได้ ให้มันเกิดการระเบิดหลาย ๆ ครั้งเช่น 100 ครั้งต่อนาที และถ้าคุณสามารถควบคุมพลังงานที่ออกมาได้นี้มาเป็นแรงในการหมุนของล้อได้ นี้ก็จะเป็นแก่นเนื้อหาของเครื่องยนต์ในรถยนต์

รูปที่ 1 ภายเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน

Nicolas August Otto

            รถยนต์ในปัจจุบันเกือบทั้งหมดจะใช้ เครื่องยนต์วัฏจักรการทำงานแบบ 4 จังหวะ ที่เปลี่ยนพลังงานการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงไปเป็นการเคลื่อนที่ วัฏจักรการทำงาน 4 จังหวะนี้ เราจะรู้จักรกันในชื่อของ “วัฏจักรออตโต (Otto cycle)” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นิโคลัส ออตโต ผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องยนต์ประเภทนี้สำเร็จในปี พ.ศ. 2410

วัฏจักรออตโต เครื่องยนต์หมุน 2 รอบ จะได้งาน 1 ครั้ง ขั้นตอนจะมีดังนี้
วิดีโอการทำงานเครื่องยนต์วัฏจักรออตโต 4 จังหวะ
http://www.youtube.com/watch?v=O9tfIfwlmz8&feature=related

1.            จังหวะดูด (Intake) ลูกสูบเริ่มต้นที่จุดสูงสุด เลื่อนลงมาขณะเดียวกันวาล์วไอดี (Intake valve) จะเปิด และวาล์วไอเสีย (Exhaust valve) ปิด ดูดส่วนผสมเชื้อเพลิง และอากาศที่เรียกว่า “ไอดี” เข้ามาในกระบอกสูบ ลูกสูบจะเลื่อนลงจนถึงจุดต่ำสุด นี้คือจังหวะดูด  

2.            จังหวะอัด (Compression) ลูกสูบเคลื่อนที่จากจุดต่ำสุดขึ้นไป วาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย จะไม่เปิด ลูกสูบเลื่อนขึ้นจนถึงจุดสูงสุดเพื่อทำการอัดส่วนผสมไอดีให้มีปริมาตรที่เล็กลง และจะเกิดความดันภายในห้องเผาไหม้จากการอัด นี้คือจังหวะอัด

3.            จังหวะระเบิด, ได้งาน (Combustion) หรือจังหวะเผาไหม้ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นสูงสุดแล้ว วาล์วไอดี และไอเสียยังปิดอยู่ หัวเทียนจะทำการจุดระเบิดไอดีที่มีความดันเกิดจากจังหวะอัด เกิดการระเบิดภายในห้องเผาไหม้อย่างรุนแรง ถีบให้ลูกสูบเลื่อนลง จังหวะนี้คือจังหวะที่นำไปใช้งานในการเคลื่อนที่ของรถยนต์ เป็นจังหวะเดียวที่ได้งานในจำนวน 4 จังหวะ

4.            จังหวะคายไอเสีย (Exhaust) ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น ขณะเดียวกันวาล์วไอเสียจะเปิด ขับไล่ไอเสียออกจากกระบอกสูบ วาล์วไอดียังคงปิดอยู่ นี้คือจังหวะคาย

เมื่อทำงานถึงวัฏจักรที่ 4 ต่อไปก็จะ วนกลับมาทำงานในวัฏจักรที่ 1 ต่อไปวนเวียนเช่นนี้จนกระทั่งดับเครื่องยนต์

            ลูกสูบ (Piston) ที่อยู่ในกระบอกสูบ (Cylinder) ลูกสูบจะวิ่งขึ้นลงทำงาน จะต่อกับเพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) โดยมีตัวเชื่อมต่อคือ ก้านสูบ (Connecting rod) เพลาข้อเหวี่ยงจะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานจากการระเบิด ไปเป็น การหมุน (พลังงานความร้อน ไปเป็น พลังงานกล)

ข้อน่าสังเกต การเคลื่อนที่ของลูกสูบภายในกระบอกสูบเป็นการเคลื่อนที่ขึ้นลง เป็นเส้นตรง แต่จะถูกแปลงไปเป็นการหมุนโดยมีเพลาข้อเหวี่ยงเป็นตัวแปลงให้เป็นการหมุนของเพลา เพื่อขับเคลื่อนยานยนต์


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

เครื่องยนต์ที่ใช้กับรถยนต์เป็นประเภทเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในคือ การเผาไหม้จะเกิดขึ้นภายในเครื่องยนต์ เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในมี 2 ประเภทคือ เครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยประกายไฟและเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยการอัดเครื่องยนต์ทั้ง 2 ประเภทมีข้อแตกต่างกันดังนี้

1. ชนิดของนํ้ามันเชื้อเพสิงที่ใช้

2. วิธีที่นํ้ามันเชื้อเพลิงเข้าสู่กระบอกสูบ

3. วิธีที่นํ้ามันเชื้อเพลิงจุดระเบิด

เครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยประกายไฟใช้นํ้ามันเชื้อเพลิงที่ระเหยกลายเป็นไอได้ง่าย เช่น แก๊สโซลีนหรือแก๊สโซฮอล์ (gasohol) นํ้ามันเชื้อเพลิงผสมกับอากาศก่อนที่จะเข้ากระบอกสูบ ส่วนผสมหรือไอดีจะถูกอัดตัวในจังหวะอัด แล้วเกิดประกายไฟที่หัวเทียน เริ่มการจุดระเบิดเผาไหม้ ไอดี

สำหรับเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยการอัด นํ้ามันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้าผสมกับอากาศ หลังจากที่อากาศไหลเข้ากระบอกสูบแล้ว จะมีอากาศเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่ถูกดูดเข้ากระบอกสูบ อากาศจะถูกอัดในจังหวะอัดจนมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 538°c (1000°F) หรือสูงกว่านี้ หลังจากนั้น นํ้ามันดีเซลซึ่งเป็นนํ้ามันเบาจะถูกฉีดเข้ากระบอกสูบและสัมผัสกับอากาศร้อน และเริ่มการจุดระเบิดเผาไหม้นํ้ามันเชื้อเพลิง

ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยประกายไฟจะใช้หัวเทียนในการจุดระเบิดและอาจเรียกว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ส่วนเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยการอัดจะใช้ความร้อนของอากาศที่เกิดจากการอัดช่วยในการจุดระเบิด และอาจเรียกว่าเครื่องยนต์ดีเซล

เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน มีอะไรบ้าง

เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน คือ การเผาไหม้จะเกิดขึ้นภายในเครื่องยนต์ เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในมี 2 ประเภทคือ เครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยประกายไฟและเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยการอัดเครื่องยนต์ ทั้ง 2 ประเภทมีข้อแตกต่างกันดังนี้ 1. ชนิดของนํ้ามันเชื้อเพสิงที่ใช้ 2. วิธีที่นํ้ามันเชื้อเพลิงเข้าสู่กระบอกสูบ

เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในทุกเครื่องต้องทำงานกี่จังหวะใน 1 กลวัตร

การทำงาน 4 จังหวะได้แก่ ดูด อัด ระเบิด และคาย แต่ละจังหวะใช้การทำงานเคลื่อนที่ของลูกสูบหนึ่งครั้ง ซึ่งหมายความว่าหนึ่งรอบการทำงานต้องใช้การหมุนเพลาข้อเหวี่ยงสองรอบ

เครื่องยนต์สันดาปภายนอกกับเครื่องยนต์สันดาปภายในแตกต่างกันอย่างไร

เครื่องยนต์สันดาปภายในจะแตกต่างจากเครื่องยนต์สันดาปภายนอก เช่น เครื่องยนต์ไอน้ำ หรือสเตอร์ลิง ซึ่งพลังงานขับเคลื่อนจะเกิดขึ้นที่ด้านนอกเท่านั้น และเครื่องยนต์แบบนี้จะให้กำลังน้อย ควบคุมยากเพราะใช้ความร้อนภายนอกเป็นต้นกำเนิดพลังงาน แต่แม้ว่าจะให้ความร้อนสูงเพียงใดกำลังก็จะไม่สูงตามแต่ตรงกันข้ามจะด้อยลงเพราะความร้อนที่ ...

รถสันดาปคืออะไร

เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้พลังงานมาจากเซลล์เชื้อเพลิง (FUEL CELL) โดยเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากภายนอก มีความจุพลังงานจำเพาะที่สูงกว่าแบทเตอรีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะเป็นคำตอบของพลังงานสะอาดในอนาคต มีข้อจำกัด คือ สถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (HYDROGEN FUEL STATION) ยังมีน้อยมาก