หน้าที่ของผู้รักษาเงินสดย่อย

ระบบเงินสดย่อยที่นิยมใช้คือ Impress System  โดยจะมีการกำหนดวงเงินสดย่อยไว้ในจำนวนที่เหมาะสม และวงเงินนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แต่จะเปลี่ยนเฉพาะเมื่อมีการเพิ่มหรือลดวงเงินสดย่อย เท่านั้น

การบันทึกบัญชีมีดังนี้
            1. การตั้งวงเงินสดย่อย

                        Dr. เงินสดย่อย                            XX                               

                                                Cr. เงินฝากธนาคาร                       XX
2. การเบิกจ่ายเงินสดย่อย

เมื่อมีการจ่ายเงินสดย่อยพนักงานผู้รับผิดชอบจะให้ผู้รับเงินลงนามไว้ในสมุดทะเบียน

เงินสดย่อย  และเมื่อผู้รับเงินนำเงินไปจ่ายเรียบร้อยแล้วก็ให้นำหลักฐานการจ่ายเงิน  เช่น  ใบเสร็จรับเงิน  มามอบให้แก่ผู้รักษาเงินสดย่อย  สมุดทะเบียนเงินสดย่อยนี้ถือเป็นสมุดบันทึกรายการขั้นต้น 

3. การเบิกชดเชยเงินสดย่อย
                  เมื่อผู้รักษาเงินสดย่อยนำใบสำคัญมาเบิกชดเชยเงินสดย่อย

            Dr. ค่าเครื่องเขียน                        200

                    ค่าไปรษณีย์                             150

                    ค่าพาหนะ                                100

                    ค่ารับรอง                                 250

                        Cr. เงินฝากธนาคาร                       700

ผู้รักษาเงินสดย่อยเบิกชดเชยเงินสด ได้เขียนเช็คให้เรียบร้อยแล้ว


    เมื่อมีการเพิ่มวงเงินสดย่อย (จะบันทึกบัญชีเหมือนตอนตั้งวงเงินสดย่อย)

         Dr.  เงินสดย่อย                           XX

                     Cr.  เงินฝากธนาคาร                      XX


   เมื่อมีการลดวงเงินสดย่อย ผู้รักษาเงินสดย่อยต้องนำเงินส่งคืนเจ้าหน้าที่การเงิน การบันทึกบัญชี

เป็นดังนี้  

Dr.  เงินฝากธนาคาร                      XX

            Cr.  เงินสดย่อย                           XX

กรณีที่ ณ วันปิดบัญชี ยังมีค่าใช้จ่ายที่ผู้รักษาเงินสดย่อย ยังไม่ได้ขอเบิกชดเชย  (การที่มีค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้เบิกชดเชย หมายความว่า มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้วกิจการยังไม่ได้บันทึกบัญชี  ดังนั้นจึงต้องมีการบันทึกรายการปรับปรุง ในสมุดรายวันทั่วไป
            สมมติมีค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้เบิกชดเชย 2 รายการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม  คือ ค่าสาธารณูปโภค

500 บาท และค่าพาหนะ 300 บาท      

Dr.    ค่าสาธารณูปโภค                  500

         ค่าพาหนะ                          300

            Cr. เงินสดย่อย                            800

         บันทึกปรับปรุงค่าใช้จ่ายเงินสดย่อยที่ยังไม่ได้เบิกชดเชย

ต้นปีถัดไป เมื่อผู้รักษาเงินสดนำใบสำคัญจ่ายค่าใช้จ่ายมาเบิกชดเชยเงินสดย่อย จะบันทึกบัญชีได

ดังนี้

                        Dr.  เงินสดย่อย                           800      

Cr. เงินฝากธนาคาร                       800

            มีบางครั้งเมื่อนำหลักฐานใบสำคัญทั้งหมดมารวมกับเงินสดย่อยที่คงเหลืออยู่ในมือแล้ว  จะไม่เท่ากับบัญชีเงินสดย่อย  และเมื่อได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าหลักฐานตามใบสำคัญถูกต้อง  ดังนี้  แสดงว่าจำนวนเงินสดย่อยคงเหลือในมือไม่ถูกต้อง  อันอาจเนื่องมาจากจ่ายเงินหรือทอนเงินผิดน้อยไปหรือมากไปก็ได้  ในกรณีที่มีเงินเกินบัญชีหรือขาดบัญชีเกิดขึ้นเช่นนี้  ก็ต้องเปิดบัญชีขึ้นอีกบัญชีหนึ่ง  คือ “บัญชีเงินเกินและขาดบัญชี”  ( Cash  Over  and  Short  Account )

            ถ้าเป็นกรณีเงินขาดบัญชี  การบันทึกรายการบัญชีตอนเบิกชดเชย  คือ

                        Dr.  ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ                      XX

                               ภาษีซื้อ                               XX

                               เงินเกินและขาดบัญชี              XX

                                    Cr.  เงินฝากธนาคาร                      XX       

            ถ้าเป็นกรณีเงินเกินบัญชี  การบันทึกรายการบัญชีตอนเบิกชดเชย  คือ

                        Dr.  ค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ            XX

                               ภาษีซื้อ                               XX

                                    Cr.  เงินเกินและขาดบัญชี               XX

       เงินฝากธนาคาร                     XX       

วิธีการเงินสดย่อยอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า Fluctuation  Fund  System  หรือเงินสดย่อยระบบไม่จำกัดวงเงิน  วิธีนี้ต้องบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงินสดย่อย  และเมื่อเบิกชดเชยวงเงินสดย่อย  ก็ไม่จำเป็นต้องเบิกชดเชยเท่ากับใบสำคัญที่ได้จ่ายไป  อาจเบิกชดเชยเท่ากับ  สูงกว่า  หรือต่ำกว่า  ใบสำคัญก็ได้

หน้าที่หลักของผู้รักษาเงินสดย่อยมีอะไรบ้าง

ผู้รักษาเงินสดย่อยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องบัญชีแต่อย่างใด (แต่ควรเป็นผู้มีความระมัดระวังดีพอควร) ผู้รักษาเงินสดย่อยจะเบิกชดเชยเงินสดย่อยตามยอดค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไปทั้งหมด ระบบเงินสดย่อยทำให้สามารถตรวจสอบยอดเงินสดคงเหลือ และค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไปแล้วได้ตลอดเวลา ทำให้แน่ใจได้ว่าไม่มีการหลงลืมรายการใดรายการหนึ่ง

Petty Cash มีอะไรบ้าง

เงินสดย่อย คืออะไร ? เงินสดย่อย (Petty cash) หมายถึง รายการเงินสดชนิดหนึ่งของกิจการ ที่กำหนดวงเงินจำนวนหนึ่งขึ้นมาถือไว้เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ภายในกิจการ เช่น รายจ่ายค่าพาหนะ การเดินทาง ค่าไปรษณียกร เป็นต้น

Petty Cash ทำยังไง

ระบบเงินสดย่อย (Petty Cash).
ใบสำคัญจ่าย.
ใบเบิกเงินสดย่อย.
ใบสรุปเบิกเงินสดย่อย.
เอกสารประกอบ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สำเนาใบกำกับภาษี บิลเงินสด บัตรประชาชน เป็นต้น.
นำเอกสาร ข้อ 1-4 ไปบันทึกบัญชี ทำเช็ค ลงนามอนุมัติ จ่ายเช็ค แล้วเก็บเข้าแฟ้ม.

ผู้ที่มีหน้าที่ในการบันทึกสมุดเงินสดย่อยคือใคร

ผู้รักษาเงินสดย่อยมีหน้าที่ดังนี้ 1. เก็บรักษาเงินสดย่อยไว้ เมื่อมีผู้มาขอเบิกก็จะจ่ายเงินตามหลักฐานนั้น 2. บันทึกการจ่ายเงินในสมุดเงินสดย่อย เพื่อเป็นการบันทึกช่วยจำว่าได้จ่ายอะไรไปบ้าง