การเขียนเพื่อการสื่อสาร สรุป

1. การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึก ความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จ รับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น

2. ลักษณะผู้เขียน ผู้เขียนนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิด ของผู้เขียนเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดการเขียนขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวถึง ลักษณะของผู้เขียน ได้ดังนี้
1) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และจินตนาการ
2) มีความรอบรู้ เพราะความรู้เปรียบเสมือนวัตถุดิบ
3) เลือกเนื้อหาและใช้ภาษาได้ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการใช้ภาษา
4) หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็น ที่จะทำให้ผู้อื่นหรือตัวเองเดือดร้อน
5) ลักษณะท่าทาง ผู้เขียนนอกจากมีความคิด ความรู้ และความสามารถบุคลิกลักษณะ ท่าทางในการนั่ง การวางมือ การจับปากกาดินสอ ผู้เขียนต้องเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพของผู้เขียนเอง
6) ลายมือของผู้เขียน เขียนให้ถูกต้อง เป็นระเบียบ สะอาดและชัดเจน
7) จรรยาบรรณผู้เขียน หมายถึง มารยาท เช่น การให้เกียรตินักเขียนโดยลงชื่อเจ้าของผลงานที่เราลอกหรือเอาแนวคิดของ เขามาทุกครั้ง

การเขียน คือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์ที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝน การเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ เครื่องมือในการเขียนเช่น ดินสอ ปากกา สี พู่กัน กระดาษ กระดาน ฯลฯ การเขียนจะต้องเขียนเป็นภาษา ซึ่งอาจเขียนเป็นภาษาเดียวหรือหลายภาษาก็ได้

ความหมายและความสำคัญของการเขียน

การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด เรื่องราว ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆไปสู้ผู้อื่นโดยใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด

การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ เพื่อสื่อไปยังผู้รับได้อย่างกว้างไกล นอกจากนั้นการเขียนยังมีคุณค่าในการบันทึกเป็นข้อมูลหลักฐานให้ศึกษาได้ยาวนาน

.

จุดประสงค์ของการเขียน

การเขียนทั่วไปมีจุดประสงค์ดังนี้
01. เพื่อบอกเล่าเรื่องราว เช่น เหตุการณ์ ประสบการณ์ ประวัติ ฯลฯ

02. เพื่ออธิบายความหรือคำ เช่น การออกกำลังกาย การทำอาหาร คำนิยามต่างๆ ฯลฯ

03. เพื่อโฆษณาจูงใจ เช่น โฆษณาสินค้า ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ ฯลฯ

04. เพื่อปลุกใจ เช่น บทความ สารคดี เพลงปลุกใจ ฯลฯ

05. เพื่อแสดงความคิดเห็น

06. เพื่อสร้างจินตนาการ เช่น เรื่องสั้น นิยาย นวนิยาย ฯลฯ

07. เพื่อล้อเลียน เช่น บทความการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ

08. เพื่อประกาศแจ้งให้ทราบ เช่น ประกาศของทางราชการ ประกาศรับสมัครงาน ฯลฯ

09. เพื่อวิเคราะห์ เช่น การเขียนวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมือง วิเคราะห์วรรณกรรม ฯลฯ

10. เพื่อวิจารณ์ เช่น วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล วิจารณ์ภาพยนตร์ วิจารณ์หนังสือ ฯลฯ

11. เพื่อเสนอข่าวสารและเหตุการณ์ที่น่าสนใจ

12. เพื่อกิจธุระต่างๆ เช่น จดหมาย ธนาณัติ การกรอกแบบรายการ ฯลฯ

จุดประสงค์ของการเขียนคือสิ่งที่ผู้เขียนต้องคำนึงว่า ในการเขียนงานเขียนแต่ละครั้งนั้นต้องการเขียนเพื่อสื่อเรื่องใด โดยผู้เขียนต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งหลักการเขียนประกอบการเขียน เพื่อให้การเขียนเพื่อการสื่อสารนั้นๆบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

.

หลักการเขียน

เนื่องจากหลักการเขียนเป็นทักษะที่ต้องเอาใจใส่ฝึกฝนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ และป้องกันความผิดพลาด ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้หลักในการเขียน ดังต่อไปนี้

1. มีความถูกต้อง คือ ข้อมูลถูกต้อง ใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ

2. มีความชัดเจน คือ ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน รวมถึงประโยคและถ้อยคำสำนวน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์

3. มีความกระชับและเรียบง่าย คือ รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำธรรมดาเข้าใจง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อให้ได้ใจความชัดเจน กระชับ ไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย

4. มีความประทับใจ โดยการใช้คำให้เกิดภาพพจน์ อารมณ์และความรู้สึกประทับใจ มีความหมายลึกซึ้งกินใจ ชวนติดตามให้อ่าน

5. มีความไพเราะทางภาษา คือ ใช้ภาษาสุภาพ มีความประณีตทั้งสำนวนภาษาและลักษณะเนื้อหา อ่านแล้วไม่รู้สึกขัดเขิน

การเขียนจดหมาย ข่าว ประกาศและแจ้งความ 

     การเขียนจดหมายเป็นการสื่อสารโดยตรงระหว่างบุคคลหรือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ  ช่วย ทำให้ระยะทางไกลเป็นใกล้ เพราะไม่ว่าบุคคลหรือหน่วยงานจะห่างไกลกันแค่ไหนก็สามารถใช้จดหมายส่งข่าว คราวและแจ้งความประสงค์ได้ตามความต้องการ การส่งสารหรือ ข้อความในจดหมายต้องเขียนให้แจ่มแจ้งชัดเจน เพื่อจะได้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย

องค์ประกอบและรูปแบบของจดหมาย

     ผู้เขียนคงเคยเขียนจดหมายหรืออ่านจดหมายมาบ้างแล้ว คงจะสังเกตเห็นว่าจดหมาย นั้นไม่ว่าประเภทใด จะต้องประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

     ๑. ที่อยู่ของผู้เขียน เริ่มกึ่งกลางหน้าระหว่างเส้นคั่นหน้ากับริมของขอบกระดาษ

     ๒. วัน เดือน ปี ที่เขียนจดหมาย ให้เยื้องมาทางซ้ายของตำแหน่งที่เขียนที่อยู่เล็กน้อย

     ๓. คำขึ้นต้น ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย ๑ นิ้ว

     ๔. เนื้อหา ขึ้นอยู่กับย่อหน้าตามปกติ อาจจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย ๒ นิ้ว

     ๕. คำลงท้ายอยู่แนวเดียวกับที่อยู่ของผู้เขียน

     ๖. ชื่อผู้เขียน อยู่ใต้คำลงท้าย ล้ำเข้าไปเล็กน้อย

ตัวอย่าง รูปแบบการเขียนจดหมายทั่วไป

                                                              ๒.วัน.... เดือน...... ปี........

          ระยะ ๑ นิ้ว                       ๓. คำขึ้นต้น

          ประมาณ ๒ นิ้ว                 ๔. เนื้อหา

          ....................................................................................................................

          ....................................................................................................................

          ....................................................................................................................

 หลักการทั่วไปในการเขียนจดหมาย

     ๑.  หลักการทั่วไปในการเขียนจดหมาย การเขียนจดหมายควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
          ๑.๑ การใช้ถ้อยคำ   จดหมายที่ต้องใช้ถ้อยคำในการเขียนให้ถูกต้องเหมาะสม กับประเภทของจดหมายและผู้รับจดหมายด้วย หลักการใช้ถ้อยคำสำหรับการเขียนจดหมาย มีดังนี้
               ๑.๑.๑ ใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายจดหมายส่วนตัวให้เหมาะสมและถูกต้องตามแบบแผน
                     ๑) การใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายจดหมายส่วนตัว การเขียนจดหมาย ส่วนตัวไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายที่ตายตัว เพียงแต่เลือกใช้ ให้เหมาะสมเท่านั้น คำขึ้นต้นและลงท้ายสำหรับบุคคลทั่วไป มีแนวทางสำหรับเป็นตัวอย่าง ให้เลือกใช้ดังนี้

บุคคลที่ติดต่อ

คำขึ้นต้น

คำลงท้าย

ญาติผู้ใหญ่ เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา

กราบเท้า…ที่เคารพอย่างสูง

กราบเท้าด้วยความเคารพ

ยาย

อย่างสูงหรือกราบมาด้วย

ความเคารพรักอย่างยิ่ง

ญาติลำดับรองลงมา เช่น ลุง ป้า น้า

กราบ......ที่เคารพหรือ

กราบมาด้วยความเคารพ

อา

กราบ.....ที่เคารพอย่างสูง

ด้วยความเคารพ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

พี่หรือญาติชั้นพี่

พี่......ที่รัก

ด้วยความรัก

ถึง......ที่รัก หรือ

รักหรือคิดถึง

.......เพื่อนรัก หรือ

หรือรักและคิดถึง

..........น้องรัก

ครู อาจารย์หรือผู้บังคับบัญชา

กราบเรียน…ที่เคารพอย่างสูง

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ระดับสูง

ผู้บังคับบัญชาระดับใกล้ตัวผู้เขียน

เรียน……..ที่เคารพ

ด้วยความเคารพ

                     ๒) คำขึ้นต้นและคำลงท้ายหนังสือราชการ การใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้าย หนังสือราชการ ต้องเป็นไปตามระเบียบงานสารบรรณของทางราชการ ในที่นี้จะนำเสนอ ดังนี้


ผู้รับหนังสือ

คำขึ้นต้น

คำลงท้าย

ประธานองคมนตรี

นายกรัฐมนตรี
ประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา
ประธานศาลฎีกา
ข้าราชการตำแหน่งอื่นทุกตำแหน่ง 

และบุคคลทั่วไป

พระภิกษุสงฆ์ชั้นพระราชาคณะ
พระภิกษุสงฆ์ที่มิใช่พระราชาคณะ

     นมัสการ

ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

ขอแสดงความนับถือ 

ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
ขอนมัสการด้วยความเคารพ


๑.๑.๒ ใช้ภาษาเขียนให้ถูกกับระดับของจดหมาย โดยทั่วไปแล้วถ้าเขียน
จดหมายส่วนตัวถึงบุคคลที่สนิทสนมกัน ก็จะใช้คำระดับที่ไม่เป็นทางการ แต่ถ้าเขียนจดหมาย ธุรกิจต่าง ๆ ก็ใช้คำระดับที่เป็นทางการ

ตัวอย่าง
           เปรียบเทียบคำระดับที่เป็นทางการกับคำระดับที่ไม่เป็นทางการ

ที่เป็นทางการ
(สำหรับเขียนจดหมายธุรกิจและหนังสือราชการ)

ที่ไม่เป็นทางการ
(สำหรับเขียนจดหมายส่วนตัวถึงผู้ที่คุ้นเคย)

๑. เขาขับขี่รถจักรยานยนต์ไปชมภาพยนตร์
๒. บิดามารดาต้องการให้ข้าพเจ้ามีอาชีพ
   เป็นแพทย์ แต่ข้าพเจ้าต้องการเป็นครูชนบท
๓. หนังสือเล่มนี้คงขายได้หมดในเวลา    อันรวดเร็ว เพราะรวบรวมวาทะสำคัญ ๆ    ของผู้ที่มีชื่อเสียงไว้หลายคน

๑. เขาขี่รถเครื่องไปดูหนัง
๒. พ่อแม่อยากให้ฉันเป็นหมอ แต่ฉันอยากเป็นครูบ้านนอก
๓. หนังสือเล่มนี้มีหวังขายได้เกลี้ยงเพราะรวมคำดังของคนดังไว้หลายคน


               ๑.๑.๓ เขียนโดยใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมา เพื่อให้ผู้รับจดหมายได้ทราบเรื่อง อย่างรวดเร็วและเข้าใจได้ทันทีตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ หากจะต้องปฏิบัติการตาม ความในจดหมายนั้นก็ปฏิบัติได้โดยถูกต้องครบถ้วน
               ๑.๑.๔ เขียนเชิงสร้างสรรค์ คือ เขียนโดยเรียบเรียงถ้อยคำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกแช่มชื่น ชวนอ่าน แสดงน้ำใจที่ดีต่อผู้ได้รับจดหมาย

          ๑.๒ มารยาทในการเขียนจดหมาย
                  ๑)  เลือกกระดาษ ซอง ที่สะอาดเรียบร้อย หากเป็นไปได้ควรใช้กระดาษที่ทำขึ้นเพื่อการเขียนจดหมายโดยตรง แต่ถ้าหาไม่ได้ก็ควรใช้กระดาษที่มีสีสุภาพ กระดาษที่ใช้เขียนควรเป็นกระดาษเต็มแผ่น ไม่ฉีกขาด ไม่ยู่ยี่ยับเยิน ไม่สกปรก
     ซองจดหมายที่ดีที่สุดคือซองที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้น เพราะมีขนาดและ คุณภาพได้มาตรฐาน ซองประเภทนี้มีจำหน่ายตามที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขทุกแห่ง ถ้าหาซองจดหมายของการสื่อแห่งประเทศไม่ได้ ก็อาจเลือกซื้อจากซองที่มีเอกชนทำขึ้นจำหน่าย ซึ่งถ้าเป็นในกรณีหลังนี้ ควรเลือกซองที่มีสีสุภาพ ไม่ควรมีลวดลาย
     ไม่ควรใช้ซองที่มีตราครุฑส่งจดหมายที่มิใช่หนังสือราชการ
     ไม่ควรใช้ซองที่มีขอบซองเป็นลายขาวแดงน้ำเงินสลับกัน ซึ่งเป็นซองสำหรับส่งจดหมายไปรษณีย์อากาศไปยังต่างประเทศ ในการส่งจดหมายในประเทศ
                  ๒)  เขียนหนังสือให้ชัดเจน อ่านง่าย การเขียนตัวอักษรค่อนข้างโตและเว้นช่องไฟค่อนข้างห่าง จะช่วยให้จดหมายนั้นอ่านง่าย
     ไม่ควรเขียนด้วยดินสอดำหรือหมึกสีแดง เพราะถือกันว่าไม่สุภาพ แม้หมึกหรือดินสอสีต่าง ๆ ก็ไม่ควรเขียนจดหมาย สีที่เหมาะสมคือสีน้ำเงินและสีดำ
     ไม่ควรเขียนให้มีตัวผิด ตัวตก ต้องแก้ต้องเติม มีรอยขูดลบขีดฆ่า หรือมีเส้นโยง ข้อความรุงรัง ทำให้ดูสกปรกไม่งามตา
                  ๓)  จะต้องศึกษาให้ถูกต้องถ่องแท้ก่อนว่า ผู้ที่เราจะเขียนจดหมายไปถึงนั้น เป็นใคร มีตำแหน่งหน้าที่อะไร การเขียนข้อความในจดหมายก็ดี การจ่าหน้าซองก็ดี จะต้องระบุตำแหน่งหน้าที่ ชั้นยศของผู้นั้นให้ถูกต้องและต้องสะกดชื่อ นามสกุล ยศ ตำแหน่ง ของผู้นั้นให้ถูกต้องด้วย
                  ๔)  เมื่อเขียนจดหมายเสร็จแล้ว ต้องพับให้เรียบร้อยแล้วบรรจุซอง จ่าหน้าซองให้ถูกต้องครบถ้วน ปิดดวงตราไปรษณียากรให้ครบถ้วนตามราคาและถูกตำแหน่ง ก่อนที่จะนำไปส่ง
                  ๕)  เขียนจ่าหน้าซองจดหมาย
                       ๕.๑) เขียนชื่อ นามสกุลของผู้รับให้ถูกต้อง ชัดเจน อ่านง่าย ถ้าผู้รับเป็นแพทย์ เป็นอาจารย์ หรือมียศตำรวจ ทหาร หรือมีคำนำหน้านามแสดงเกียรติยศหรือฐานันดรศักดิ์ ก็ใช้ถ้อยคำพิเศษเหล่านั้นนำหน้าชื่อ คำนำหน้าชื่อควรเขียนเต็ม ไม่ควรใช้คำย่อ ถ้าทราบตำแหน่งก็ระบุตำแหน่งลงไปด้วย
     ในกรณีที่ไม่ทราบรายละเอียดดังกล่าว ควรใช้คำว่า คุณ นำหน้าชื่อผู้รับในการจ่าหน้าซองจดหมายนั้น
                       ๕.๒) ระบุสถานที่ของผู้รับให้ถูกต้อง ชัดเจนและมีรายละเอียดพอที่บุรุษไปรษณีย์จะนำจดหมายไปส่งได้ไม่ผิดพลาด ระบุเลขที่บ้าน ห้างร้านหรือสำนักงาน ซอย ตรอก ถนน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ (ในกรณีต่างจังหวัด) หรือแขวง เขต (ในกรณีกรุงเทพมหานคร) ที่สำคัญคือจะต้องระบุรหัสไปรษณีย์ถูกต้องทุกครั้ง จดหมายจะถึงผู้รับเร็วขึ้น
     หมายเหตุ การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้จัดทำเอกสารแสดงรหัสไปรษณีย์ของอำเภอและจังหวัด ต่าง ๆ สำหรับแจกจ่ายให้ประชาชน ท่านจะติดต่อขอรับได้จากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขทุกแห่ง
                       ๕.๓) การจ่าหน้าซอง การสื่อสารแห่งประเทศไทย แนะนำให้เขียนนามและที่อยู่ พร้อมด้วยรหัสไปรษณีย์ของผู้ส่งไว้ที่มุมบนด้านซ้ายมือของซองและเขียนชื่อ ผู้รับพร้อมที่อยู่และรหัสไปรษณีย์ไว้ตรงกลาง ดังตัวอย่าง

                   ตัวอย่างการเขียนจ่าหน้าซองจดหมาย

          ชื่อที่อยู่ผู้ฝาก                                              ที่ผนึกตรา

          นายวิศิษฎ์ ดรุณวัต                                       ไปรษณียากร
          ๗๐๘/๑๒๖ ถนนจรัลสนิทวงศ์

          แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

          ๑๐๓๓๐

                              ชื่อและที่อยู่ของผู้รับ
                                  นายสัญญา ทองสะพัก
                                  ๓๖๔/ก/๑ หมู่ที่ ๑ ถนนริมคลองรัดหลวง
                                  ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง
                                  จังหวัดสมุทรปราการ
                                  รหัสไปรษณีย์ ๑๐๑๓๐

  หมายเหตุ การสื่อสารแห่งประเทศไทยมีบริการพิเศษต่าง ๆ ที่จะช่วยป้องกันมิให้ จดหมายสูญหาย หรือช่วยให้จดหมายถึงมือผู้รับได้รวดเร็ว ทันเวลา เช่น บริการ EMS เป็นต้น ผู้สนใจจะใช้บริการต่าง ๆ ดังกล่าว จะต้องไปติดต่อที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข

โดยตรง เพราะจะต้องกรอกแบบรายการบางอย่าง การเขียนข้อความในทำนองที่ว่า “ขอให้ส่งด่วน” ลงบนซองจดหมาย ไม่ทำให้จดหมายถึงเร็วขึ้นแต่อย่างใด