การประเมินความเสี่ยงแบบ asset-based

แนวโน้มของการบริหารความเสี่ยงของโลกในอนาคตเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการตั้งรับเป็นกระบวนการเชิงรุกมากขึ้น แทนที่จะคอยเก็บรวบรวมข้อมูลที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและเชื่อว่ารูปแบบของความเสี่ยงในอนาคตจะเหมือนกับอดีต นักบริหารความเสี่ยงในกิจการต่างๆ จะหันมาตั้งสมมติฐานว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดสิ่งใดขึ้นบ้างในอนาคต และหากแนวโน้มนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดแล้ว กิจการยังจะสามารถยอมรับได้ และคอยตั้งรับอยู่เหมือนเดิม หรือเปลี่ยนจากการตั้งรับเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงในเชิงรุกแทน  เพื่อเกิดประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงอย่างแท้จริง

Show

การที่จะปรับระดับการบริหารความเสี่ยงจากเชิงรับเป็นเชิงรุกได้ กิจการต้องหันมามองภาพของความเสี่ยงในระดับที่เป็นความไม่แน่นอนมากขึ้น ด้วยการตะหนักว่าความเสี่ยงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนขึ้น

การค้นหาความเสี่ยงบนการสร้างฉากทัศน์ (Scenario-Based Risk Assessment) เป็นการอาศัยประสบการณ์ในอดีตเป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานหรือสถานการณ์ปกติ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการมองความเสี่ยงด้วยมุมที่ซับซ้อนขึ้น นักบริหารความเสี่ยงที่พยายามจะก้าวไปให้ถึง แนวคิดเชิงรุกนี้ จึงต้องมีความระมัดระวังอย่างมากในกระบวนการของการพัฒนาฉากทัศน์ (Scenario Generation) เพื่อให้มั่นใจว่าฉากทัศน์ที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้อง สมเหตุสมผล และสามารถสื่อสารให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน

แนวคิดในการดำเนินงานที่อิงอยู่บนฉากทัศน์หรือ (Scenario-Based) นี้อาจจะเรียกอีกอย่างว่า Mark-to-Future (MtF) เป็นการวัดและบริหารความเสี่ยงด้วยสมมติฐานที่หลากหลายและให้ความยืดหยุ่นในการคิดความเสี่ยงที่อาจจะกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการ ที่มีหลายมุมมองแทนการกำหนดและยึดติดอยู่บนสมมติฐานเพียงอย่างเดียว (Certainty) เช่น ค่า Value–at-Risk : VaR ที่ใช้ตัวเลขความสูญเสียในอดีตเป็นตัวกำหนดเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้

การค้นหาและประเมินความสูญเสียด้วยฉากทัศน์ (Scenario-Based Risk Assessment) จะทำให้กิจการได้สถานการณ์ที่หลากหลายที่จะนำไปใช้เป็นข้อมูลในการสร้างการแจกแจงของความเสี่ยงเพื่อหาสถานการณ์ที่มีความน่าจะเป็นมากที่สุด และหาสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด รวมทั้งเพิ่มความแม่นยำในการประเมินความเสี่ยงมากขึ้น แทนที่จะเชื่อมั่นในการวัดความเสี่ยงด้วยสถิติอย่างเดียว

การนำเอาฉากทัศน์ในอนาคตมาใช้ยังสามารถแบ่งออกได้หลายรูปแบบ เช่น

(1)   Statistical Scenario : เป็นการอ้างอิงตัวเลขสถิติในอดีตในการประเมินอนาคต

(2)   Worst-case Scenario : เป็นการมองอนาคตเฉพาะภาพที่เลวร้ายที่สุด

(3)   Sensitivity Scenario : เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปรเพื่อประเมินผลกระทบที่อาจจะแตกต่างกัน

ลักษณะพิเศษของการค้นหาและประเมินความเสี่ยงบนสมมติฐานของฉากทัศน์ในอนาคต ได้แก่

การเปลี่ยนแนวคิดจากการมองความเสี่ยงเป็นประเภทความเสี่ยงด้านตลาดด้านเครดิต ดานการเงิน ด้านปฏิบัติการ และด้านการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เป็นการค้นหาและประเมินความเสี่ยงร่วม โดยสนใจที่ผลกระทบที่เกิดกับธุรกิจเป็นหลัก โดยแต่ละฉากทัศน์ (Scenario) จะต้องครอบคลุมประเภทความเสี่ยงต่างๆ อย่างครบด้าน และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงแต่ละประเภทได้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเข้าใจและรับรู้ภาพของอนาคตที่สอดคล้องกันได้

5 คำถามเพื่อนำสู่การค้นหาความเสี่ยง

เมื่อกิจการสามารถตัดสินใจได้แล้ว่าจะใช้รูปแบบของฉากทัศน์แบบใดใน 3 รูปแบบที่กล่าวมาแล้ว ก็ดำเนินการในการพัฒนาต่อไปได้ง่าย แต่ถ้ายังไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างชัดเจนจากการตอบคำถามพื้นฐาน 5 คำถาม ต่อไปนี้

คำถาม 1: จุดประสงค์ของการสร้างฉากทัศน์ คืออะไร

การนำเอาข้อมูลของการวิเคราะห์ความเสี่ยงฉากทัศน์ไปใช้มีความสำคัญเพราะจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการตัดสินใจสร้างฉากทัศน์แต่แรก  ฉากทัศน์บางกรณีต้องการให้เป็นข้อมูลในการหาความสูญเสียสูงสุดแต่บางกิจกาต้องการเห็นฉากทัศน์ที่นำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ

คำถามที่ 2 ปัจจัยความเสี่ยงใดบ้างที่ต้องการให้รวมอยู่ในฉากทัศน์

การจัดทำรายการ (list) ของปัจจัยความเสี่ยงที่จะกระทบต่อมูลค่าของกิจการ มูลค่าของพอร์ต (Portfolio Values) เป็นการล่วงหน้าจะช่วยในการค้นหาและวิเคราะห์ความเสี่ยงผ่านการสร้างฉากทัศน์ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งที่มาของความเสี่ยง และผลผลิตและผลลัพธ์ของการดำเนินงานของกิจการจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาแบบจำลองฉากทัศน์

คำถามที่ 3 กรณีที่มีปัจจัยความเสี่ยงหลายปัจจัย

จำเป็นต้องมีการรวมเป็นกลุ่มหรือเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมก่อนการนำไปใช้ในการสร้างฉากทัศน์หรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการดำเนินการจะดำเนินการอย่างไร

นอกเหนือจากการจัดทำรายการของปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญแล้ว อาจจะต้องมีการให้นิยามอย่างชัดเจนด้วยว่า เกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ที่ให้มีความเบี่ยงเบนได้เป็นอย่างไร จนทำให้ขาดการมุ่งเน้น

คำถามที่ 4 กระบวนการใดที่เหมาะสมที่สุดในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยความเสี่ยงแต่ละปัจจัย

ปัจจัยความเสี่ยงที่มีการปรับปรุงแล้วแต่ปัจจัยอาจจะต้องใช้เทคนิคการสร้างฉากทัศน์ที่แตกต่างกันออกไป หรืออาจจะใช้วิธีการเดียวกันได้ อย่างเช่น ปัจจัยความเสี่ยงที่มีข้อมูลสถิติย้อนหลังหลังอย่างพอเพียง อาจจะอาศัยสถิติในอดีตเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างฉากทัศน์ก็ได้  แต่บางปัจจัยความเสี่ยงอาจจะไม่เคยมีข้อมูลในอดีตช่วยสนับสนุน หรือข้อมูลสนับสนุนอาจจะใช้การไม่ได้ทั้งหมด  ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องประเมินส่วนนี้ให้ชัดเจน

คำถามที่ 5 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกันทางเทคนิคกรอบเวลา (Time Sensitiveness)

เป็นประเด็นปัญหาทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับภาคปฏิบัติ ซึ่งต้องพิจารณาให้รองรับและสอดคล้องกับแนวทางเชิงกลยุทธ์และนโยบายระดับองค์กร เพื่อไม่ให้ฉากทัศน์ที่สร้างเป็นระดับปฎิบัติอย่างเดียว หรือเป็นระดับบนอย่างเดียว และละเลยในภาคปฏิบัติ

การตอบคำถาม 5 ประเด็นที่กล่าวมานี้เป็นเพียงขั้นตอนแรกในกระบวนการพัฒนาฉากทัศน์เพื่อช่วยในการระบุและประเมินความเสี่ยงในอนาคต เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าจะต้องมีความยืดหยุ่นของระบบและความกว้างของขอบเขตที่พิจารณาให้ชัดเจนในระดับหนึ่ง

กรอบการดำเนินงาน

ในการเริ่มดำเนินงานจริงจะต้องเริ่มจาก

(1)   การกำหนดชื่อของฉากทัศน์ว่ากำลังพิจารณาประเด็นเรื่องใด และมีระดับของการพิจารณากี่ชั้น แต่ละชั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการใด มีใครเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง

(2)   สร้างคำอธิบายที่ขยายความจากชื่อของฉากทัศน์ และรายละเอียดของกิจกรรมย่อยในแต่ละกระบวนการเรียงตามลำดับ ก่อน-หลัง

(3)   ประเมินระดับความเสี่ยง ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจ

(4)   กิจกรรมการควบคุมที่มีอยู่

(5)   ระดับความเสี่ยงที่หลงเหลือ

(6)   เรียงลำดับความเสี่ยงในแต่ละฉากทัศน์ เทียบกับสถานะความเสี่ยงเกิดจริงในปัจจุบัน

(7)   กำหนดความเสี่ยงเป้าหมายที่องค์กรต้องการไปถึงและยอมรับได้ จุดที่จะใช้ในการตรวจจับเพื่อส่งสัญญาณล่วงหน้า

ตัวอย่างของฉากทัศน์ที่นำมาใช้ในการระบุและประเมินความเสี่ยง ได้แก่

(1)   การก่อการร้าย

(2)   อากาศเป็นพิษ มลภาวะทางอากาศ สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย

(3)   ฝุ่นละออง

(4)   การโจมตีด้วยวัตถุระเบิด

(5)   การผิดนัดและไม่สามารถปฏิบัติได้ตามเงื่อนไข

(6)   ความปลอดภัยของสินทรัพย์

(7)   การหยุดชะงักของกระบวนการดำเนินธุรกิจ

(8)   แผ่นดินไหว

(9)   ดินโคลนถล่ม

(10) น้ำท่วมในวงกว้าง ระดับสูง

(11) การติดต่อสื่อสารล้มเหลว เครือข่ายติดต่อไม่ได้

(12)  บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ

(13)  อัคคีภัย

 

สนใจเชิญบรรยายหัวข้อนี้ติดต่อ [email protected]

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

กรกฎาคม 15, 2011 - Posted by Chiraporn Sumetheeprasit | Scenario Based Analysis | กรอบการบริหารความเสี่ยง, การกำกับการปฏิบัติ, การควบคุมภายใน, ความเสี่ยง บริหารความเสี่ยง, ความเสี่ยงครบวงจร, บูรณาการความเสี่ยง, Compliance, ERM, Governance, GRC, Risk, Scenario