ข้อใดเป็น คํา สมาส ทุก คํา O-NET 2559

อธิบายคำเฉลยข้อสอบ o-net ปี ๒๕๖๑ ข้อ ๖๑. ข้อใดเป็นคำสมาสทุกคำ คำตอบคือข้อใดจ๊ะ ..........🎷🎷🎷 เฉลย ๕. ลิขสิทธิ์ ...

Posted by สนทนาปัญหาภาษาไทย โดย ดรัณพัชร์ ๒๕๖๐ on Saturday, February 9, 2019



ข้อใดเป็น คํา สมาส ทุก คํา O-NET 2559

http://www.citizenship-aei.org/wp-content/uploads/Testing.jpg

ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ ๑ – ๕

ก. โบราณว่าเป็นข้าจอมกษัตริย์
ข. ราชสวัสดิ์ต้องเพียรเรียนรักษา
ค. ท่านกำหนดจดไว้ในตำรา
ง. มีมาแต่โบราณช้านานครัน
๑. ข้อใดมีเสียงสระประสม
        ๑. ข้อ ก        ๒. ข้อ ข
        ๓. ข้อ ค        ๔. ข้อ ง
เฉลย. ข้อ  ข.
สระประสมตามหลักภาษาศาสตร์ มี 3 เสียง คือ เอีย  เอือ  อัว ข้อ ข. มีคำว่า “เพียร  เรียน”
๒. ข้อใดมีคำที่ออกเสียงอักษรควบ
      ๑. ข้อ ก            ๒. ข้อ ข
      ๓. ข้อ ค           ๔. ข้อ ง
เฉลย ข้อ ๔
อักษรควบ คือ คำที่ออกเสียงพยัญชนะต้นควบกับ อักษร “ร, ล, ว” ข้อที่ ๔ คือคำว่า “ครัน”
๓. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ ๕ เสียง
๑. ข้อ ก ๒. ข้อ ข
๓. ข้อ ค ๔. ข้อ ง
เฉลย ข้อ ๒
ก. โบราณว่าเป็นข้าจอมกษัตริย์ (สามัญ โท สามัญ โท สามัญ เอก เอก)ขาดเสียงตรี และจัตวา
ข. ราชสวัสดิ์ต้องเพียรเรียนรักษา(โท เอก เอก โท สามัญ สามัญ ตรี  จัตวา) ครบทุกเสียง
ค. ท่านกำหนดจดไว้ในตำรา(โท สามัญ เอก เอก ตรี สามัญ สามัญ สามัญ) ขาดเสียงจัตวา
ง. มีมาแต่โบราณช้านานครัน(สามัญ สามัญ เอก สามัญ สามัญ ตรี สามัญ สามัญ) ขาดเสียงจัตวา
๔. ข้อใดมีอักษรต่ำน้อยที่สุด (ไม่นับอักษรที่ซ้ำกัน)
๑. ข้อ ก ๒. ข้อ ข
๓. ข้อ ค ๔. ข้อ ง
เฉลย ข้อ ๑ ในข้อนี้ เขาต้องการถามพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรต่ำน้อยที่สุดโดยไม่นับเสียงซ้ำ วิเคราะห์ได้ดังนี้
ข้อ ๑ ร.ว
ข้อ ๒ ร ช ว พ
ข้อ ๓ ท น ว ร
ข้อ ๔ ม ร ช น ค
๕. ข้อใดมีอักษรนำ
๑. ข้อ ก และ ข ๒. ข้อ ข และ ค
๓. ข้อ ค และ ง ๔. ข้อ ง และ ก
เฉลยข้อ ๒
ข. มีคำว่า สวัสดิ์ (อักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว)     ค. มีคำว่า  “หนด”(ห. นำอักษรต่ำเดี่ยว)
๖. คำในข้อใดมีตัวสะกดมาตราเดียวกับ“เหตุผล” ทุกคำ

๑. พุดตานถอดถอนมลพิษ              ๒. มดเท็จคิดสั้นจัดการ

๓. ผลัดเวรบทกลอนโทษทัณฑ์                          ๔. สวดมนต์จุดอ่อนทรัพย์สิน

เฉลย ข้อ ๓

เนื่องจาก “เหตุผล” มีตัวสะกดมาตราแม่ กด และแม่ กน ตามลำดับ

ข้อ ๑ คำว่า มลพิษ ไม่ใช่ เพราะสะกดด้วยแม่ กน และแม่กด

ข้อ ๒ คำว่า มดเท็จ ไม่ใช่ เพราะสะกดด้วยแม่ กดทั้งสองพยางค์

ข้อ ๔ คำว่า ทรัพย์สิน ไม่ใช่ เพราะสะกดด้วยแม่ กบ และแม่กน

๗. คำซ้ำในข้อใดต้องใช้เป็นคำซ้ำเสมอ

๑. คนงานใหม่ขยันเป็นพักๆเอาแน่ไม่ได้

๒. นักเรียนอนุบาลหกล้มหัวเข่าแตกเลือดไหลซิบๆ

๓. งานนี้ถึงจะได้เงินเดือนน้อยก็ทำไปพลางๆก่อนแล้วกัน

๔. ถ้าเราวางแผนให้ดีตั้งแต่แรกๆโครงการนี้ก็คงสำเร็จไปแล้ว

เฉลย ข้อ ๑

เหตุเพราะว่า หากไม่ใช่เป็นคำซ้ำ จะไม่ได้ความหมาย หรือ ความหมายอาจเปลี่ยนไปก็ได้  วิธีการคิดคือ ให้ลองอ่านและพิจารณาเอาเครื่องหมายไม้ยมกออกดูว่าได้ความหมายหรือไม่ หรือความหมายเปลี่ยนไปหรือไม่

๘. ข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ

๑. ซ้ำซ้อน ซ่อนรูป ซักฟอก        ๒. ถ่องแท้ ถี่ถ้วน ถากถาง

๓. บีบคั้น เบียดเบียน เบาความ     ๔. แปรผัน เป่าหู โปรยปราย

เฉลย ข้อ ๒

ข้อ ๑ คำว่า “ซ่อนรูป” เป็นคำประสม

ข้อ ๓ คำว่า “เบาความ” เป็นคำประสม

ข้อ ๔ คำว่า “เป่าหู” เป็นคำประสม

๙. ข้อความต่อไปนี้ส่วนใดมีคำประสมทั้ง ๒ ส่วน

๑) บริเวณสวนกว้างขวาง / ๒) มีสนามที่ได้รับการดูแลจากเทศบาลเมือง /

๓) มีประติมากรรมเป็นรูปเทพธิดาแสนงาม / ๔) มุมหนึ่งมีนาฬิกาแดดคอย

บอกเวลา

๑. ส่วนที่ ๑ และ ๔                   ๒. ส่วนที่ ๒ และ ๓

๓. ส่วนที่ ๑ และ ๓                  ๔. ส่วนที่ ๒ และ ๔

เฉลย ข้อ ๔

ส่วนที่ ๒ คำประสม คือคำว่า  “เทศบาลเมือง”

ส่วนที่ ๔ คำประสมคือคำว่า  “นาฬิกาแดด”

๑๐. ข้อใดมีคำประสมทุกคำ

๑. คำขาด คำคม คำราม              ๒. เดินแต้ม เดินรถ เดินสะพัด

๓. น้ำป่า น้ำไหล น้ำมือ             ๔. ติดลม ติดใจ ติดขัด

เฉลย ข้อ ๒

ข้อ ๑ คำว่า “คำราม” เป็น คำมูล

ข้อ ๓ คำว่า “น้ำไหล” เป็น กลุ่มคำ

ข้อ ๔ คำว่า “ติดขัด” เป็น คำซ้อน

๑๑. ข้อใดไม่มีคำสมาส

๑. วิสุทธโยธามาตย์เจ้า กรมขวา
๒. หนึ่งชื่อราชโยธา เทพซ้าย
๓. ตำแหน่งศักดิ์ยศถา เสถียรที่
๔. คุมพยุหยาตราย้าย ย่างเข้าตามสถาน
เฉลยข้อ 3

เหตุผล ข้อ 3 ไม่มีคำสมาส คำว่า “ศักดิ์ยศถา” ดูคล้ายคำสมาส แต่ไม่ใช่ เป็นการเรียงคำ

เท่านั้น

ข้อ 1 “โยธามาตย์” เป็นคำสมาส

ข้อ 2 “ราชโยธา” เป็นคำสมาส

ข้อ 4 “พยุหยาตรา” เป็นคำสมาส

๑๒. ข้อใดมีคำสมาสที่มีการสร้างคำต่างกับข้ออื่น

๑. ขับคเชนทร์สาวก้าว ส่ายเสื้องเทาทาง

๒. สถานที่พุทธบาทสร้าง สืบไว้แสวงบุญ

๓. สุธารสรับพระเต้า เครื่องต้นไปตาม

๔. โดยเสด็จดำเนินแคล้ว คลาดคล้อยบทจร

เฉลยข้อ 1

เหตุผล ข้อ 1 คำว่า “คเชนทร์” เป็นคำสมาสแบบมีสนธิซึ่งต่างกับข้ออื่น

ข้อ 2 “พุทธบาท” เป็นคำสมาสแบบไม่มีสนธิ

ข้อ 3 “สุธารส” เป็นคำสมาสแบบไม่มีสนธิ

ข้อ 4 “บทจร” เป็นคำสมาสแบบไม่มีสนธิ

๑๓. ข้อใดสะกดถูกทุกคำ

๑. เขากินอาหารมังสวิรัตทุกวันพุธมาสามปีแล้ว

๒. ที่ปากทางเข้าหมู่บ้านมียามรักษาการอยู่ตลอดเวลา

๓. คนที่ซื้อทองรูปพรรณต้องจ่ายเงินค่ากำเหน็จด้วย

๔. เพื่อนเห็นเขานั่งหลับจึงถามว่าเข้าฌานถึงชั้นไหนแล้ว

เฉลยข้อ 3

เหตุผล ข้อ 3 คำว่า “กำเหน็จ” สะกดถูกต้อง หมายถึง ค่าจ้างทำเครื่องเงินหรือทองรูปพรรณ

ข้อ 1 คำว่า “มังสวิรัต” สะกดผิด ที่ถูกคือ “มังสวิรัติ” เพราะ วิรัติ หมายถึงงดเว้น,เลิก

ข้อ 2 คำว่า “รักษาการ” สะกดผิด ที่ถูกคือ “รักษาการณ์” หมายถึง เฝ้าดูแลเหตุการณ์

ข้อ 4 คำว่า “เข้าฌาณ” สะกดผิด ที่ถูกคือ “เข้าฌาน” ฌาน หมายถึงภาวะที่จิตสงบแน่วแน่
๑๔. ข้อใดมีคำสะกดผิด
๑. ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืดเรียกว่าดาวประกายพรึก

๒. ในสวนสาธารณะมีคนมาออกกำลังกายกันอยู่ประปราย

๓. กระบะที่ลงรักแบบญี่ปุ่นและจีนเรียกว่าเครื่องกำมะลอ

๔. ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทุกครอบครัวต้องกระเบียดกระเสียน

เฉลยข้อ 4

เหตุผล ข้อ 4 คำว่า “กระเบียดกระเสียน” สะกดผิด ที่ถูกคือ “กระเบียดกระเสียร”

หมายถึง พยายามใช้อย่างจำกัดจำเขี่ย



 ใช้ข้อความในพจนานุกรมต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ ๑๕-๑๖



๑๕. มีคำที่เป็นคำตั้งหรือแม่คำกี่คำ

๑. ๓ คำ         ๒. ๔ คำ         ๓. ๕ คำ         ๔. ๖ คำ

เฉลยข้อ3

เหตุผล ข้อ 3 มีคำตั้ง หรือ แมค่ ำ 5 คำ คอื จวัก จอ1 จอ2 จ่อ 1 จ่อ 2 คำตั้ง หมายถึงคำที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมาย ในการทำพจนานุกรม

๑๖. มีคำที่ระบุว่าใช้เฉพาะแห่งกี่คำ

๑. ๑ คำ         ๒. ๒ คำ         ๓. ๓ คำ         ๔. ๔ คำ

เฉลยข้อ 2

เหตุผล ข้อ 2 มี 2 คำ คือ จ่อคิว (ปาก) และจ่อ2 (ถิ่น-อีสาน) เพราะ (ปาก) และ

(ถิ่น) ในพจนานุกรมระบุว่าเป็นคำบอกลักษณะของคำที่ใช้เฉพาะแห่ง

๑๗. คำภาษาอังกฤษในข้อใดใช้คำไทยแทนไม่ได้

๑. จินดาทำข้อสอบหลายวิชาจนรู้สึกเบลอร์ไปหมด

๒. จิตราเป็นดีไซเนอร์ประจำห้องเสื้อที่มีชื่อเสียง

๓. จินตนาไปหาหมอเพื่อใช้แสงเลเซอร์รักษาผิวหน้า

๔. จิตรลดาเป็นวิสัญญีแพทย์ระดับอินเตอร์ของโรงพยาบาลนี้

เฉลยข้อ 3

เหตุผล ข้อ 3 คำว่า “เลเซอร์” ไม่มีคำไทยใช้

ข้อ 1 คำว่า “เบลอร์” ใช้คำว่า งุนงง แทนได้

ข้อ 2 คำว่า “ดีไซเนอร์” ใช้คำว่า นักออกแบบ แทนได้

ข้อ 4 คำว่า “อินเตอร์” ใช้คำว่า สากล แทนได้
๑๘. ข้อใดเป็นคำศัพท์บัญญัติจากคำภาษาอังกฤษทุกคำ

๑. จุลทรรศน์ จุลินทรีย์ จุลกฐิน         ๒. สังคม สังเคราะห์ สังโยค

๓. สมมาตร สมมุติฐาน สมเพช          ๔. วิกฤตการณ์ วิจัย วิสัยทัศน์
เฉลยข้อ 4

เหตุผล ข้อ 4 คำว่า “วิกฤตการณ์” บัญญัติศัพท์มาจาก crisis “วิจัย” บัญญัติมา

จาก research “วิสัยทัศน์” บัญญัติศัพท์มาจาก vision

ข้อ 1 คำว่า “จุลกฐิน” ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอังกฤษ เป็นคำสมาส

ข้อ 2 คำว่า “สังโยค” ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอังกฤษเป็นคำที่มาจาก

ภาษาบาลี-สันสกฤต

ข้อ 3 คำว่า”สมเพช” ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอังกฤษเป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต

๑๙. ข้อใดไม่มีคำยืมภาษาบาลีสันสกฤต

ก. วันจะจรจากน้องสิบสองค่ำ

ข. พอจวนย่ำรุ่งเร่งออกจากท่า

ค. รำลึกถึงดวงจันทร์ครรไลลา

ง. พี่ตั้งตาแลแลตามแพราย
๑. ข้อ ก และ ข         ๒. ข้อ ก และ ค
๓. ข้อ ข และ ง          ๔. ข้อ ค และ ง

เฉลยข้อ 3

เหตุผล ข้อ 3 เพราะข้อ ข และ ง ทุกคำเป็นคำไทย

ข้อ 1 ข้อ ก มีคำว่า “จร” เป็นคำยืม

ข้อ 2 ข้อ ก มีคำว่า “จร” เป็นคำยืม ข้อ ค มีคำว่า “จันทร์” เป็นคำยืม

ข้อ 4 ข้อ ค มีคำว่า “จันทร์” เป็นคำยืม

๒๐. ข้อใดใช้คำลักษณนามไม่ถูกต้อง

๑. เขาสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของหน่วยงานได้ครบทุกข้อ

๒. นักวิชาการเสนอข้อคิดเห็นไว้ในบทสรุปของรายงานหลายประการ

๓. รัฐบาลมีปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไขหลายเรื่อง

๔. คณะกรรมการกำลังพิจารณาคำขวัญที่ส่งเข้าประกวด ๕๐ บท

เฉลยข้อ 4

เหตุผล ข้อ 4 คำขวัญ ต้องใช้ลักษณะนามว่า “คำขวัญ”ตามข้อกำหนดของราชบัณฑิตยสถาน

ข้อ 1 เงื่อนไข ใช้ลักษณะนามว่า “ข้อ” ถูกต้อง

ข้อ 2 ข้อคิดเห็น ใช้ลักษณะนามว่า “ประการ” ถูกต้อง

ข้อ 3 ปัญหา ใช้ลักษณะนามว่า “เรื่อง” ถูกต้อง