ข้อดี ของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการอ่านโดยใช้ความคิด พิจารณาสิ่งที่อ่านอย่างมีเหตุผล สามารถเข้าใจความคิดของผู้เขียน แยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น สรุปเรื่องราวที่อ่านได้ ตลอดจนลงความเห็น ประเมิน ตัดสินสิ่งที่อ่านได้โดยใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้อ่าน


การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึงการพิจารณาสิ่งที่อ่านอย่างทะลุ ปรุโปร่ง เพื่อค้นหาความหมาย ข้อสมมุติฐาน เหตุผล และกลวิธีในการนำเสนอของผู้เขียน ผู้อ่านที่อ่านอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ต้องพยายามเรียนรู้ว่าข้อเขียนนั้นสื่อความหมายและสร้างความสนใจอย่างไร ผู้เขียนเสนอประเด็นโต้แย้งและเหตุผลทั้งในลักษณะที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและไม่ชัดเจน อย่างไรบ้าง การเรียนรู้ที่จะเป็นผู้อ่านที่มีความคิดวิเคราะห์วิจารณ์นั้น ผู้อ่านต้องตั้งสมมุติฐานว่า การสื่อสารในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นข้อเขียนหรือภาพวาดล้วนเป็นสิ่งแทนการแสดงออกทั้งสิ้น ข้อเขียนทั้งหลายไม่ใช่สิ่งที่ถูกพูดถึง แต่มันคือตัวแทนของสิ่งเราที่พูดถึง การเรียนรู้ที่จะเป็นผู้อ่านวิเคราะห์วิจารณ์ หมายถึงการนำทักษะที่จำเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์และตีความเพื่อให้สามารถอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการสื่อสารอันหลากหลายนี้ได้อย่างฉลาด


ในการอ่านวิเคราะห์วิจารณ์ผู้อ่านต้องพิจารณาสิ่งที่อ่านทุกตอนตลอดจน กระบวนการนำเสนอข้อเขียนนั้นๆด้วยความรอบคอบ ตระหนักถึงบริบทของการสร้างสรรค์ข้อเขียนทุกชิ้น ทั้งนี้เพราะในการเขียนนั้นเนื้อหาทุกตอน ทุกชั้นจะถูกนำมาหลอมรวมเข้าด้วยกันด้วยกระบวนการเขียนที่ทำให้ส่วนต่างๆมีความกลมกลืนเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด 


การอ่านวิเคราะห์วิจารณ์ คือการเรียนรู้ที่จะจำแนกชนิดของข้อเขียนและ วิธีที่ผู้เขียนใช้ในการสร้างความหมาย เข้าใจกลวิธีและข้อสมมุติฐานของข้อเขียน เข้าใจลักษณะการสะท้อนสังคมของข้อเขียนนั้น และมองเห็นความเหมือน ความต่างของข้อเขียนนั้นกับข้อเขียนอื่นๆ 


กระบวนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการทำงานของสายตากับสมอง เริ่มด้วยการรับภาพจากตา สมองก็จะทำหน้าที่แปลความหมายโดยอาศัยความรู้ และประสบการณ์เดิมมาช่วยในการคิด พิจารณาตัดสินใจเรื่องที่อ่าน

            สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือที่เป็นปัญหาก็คือ เมื่อเด็กเหล่านี้เข้าเรียนชั้นอนุบาลหรือชั้นประถมซึ่งต้องอ่านหนังสือเป็นประโยค พวกเขาจะคิดว่าตัวเองรู้เรื่องหมดแล้ว จึงอ่านแบบเร็วๆลักษณะเช่นนี้จึงเรียกว่าอาการอ่านหนังสือเร็วเกินไป เด็กเหล่านี้จะอ่านหนังสือผ่านๆเท่านั้น ในเรื่องของการอ่านหนังสือช้าๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปนี้ไม่มีใครเทียบขงจื้อได้ขงจื้อจะอ่านหนังสือช้าๆ และละเอียดเป็นอย่างยิ่ง เล่ากันว่าในขณะที่ท่านอ่านเชือกที่ใช้มัดชี่ไม้ไผ่ที่ทำเป็นหนังสือขาดแล้วขาดอีก จนต้องผู้ใหม่มากว่าสามครั้งนักวิชาการที่เคยศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประวัติของท่าน เคยวิเคราะห์ออกมาว่า เคล็ดลับที่ทำให้ท่านมีสมองแจ่มใสและฉลาดหลักแหลม จนกลายเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่เป็นเพราะการอ่านหนังสือช้าๆนี่เอง ตัวท่านเองก็เคยสั่งสอนลูกศิษย์เอาไว้เช่นกัน ว่า”จงอ่านระหว่างคำ”ซึ่งหมายถึงการอ่านให้ช้าๆอย่างละเอียดเพื่อค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ในตัวหนังสือนั้นเอง

ความหมาย
 หมายถึง  การอ่านที่ผู้อ่านนำเอาวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ  มาใช้ในการรับสารจากการอ่าน ทั้งนี้  เพื่อประเมินสิ่งที่อ่าน และ ตัดสินใจว่าสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอมีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่  เพียงใด การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะการอ่านขั้นสูง  ที่ผู้อ่านจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์วิจารณ์ในขั้นสูงต่อไป  ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของข้อมูลข่าวสารเช่นในปัจจุบัน  ทั้งนี้เพราะจะช่วยให้ผู้อ่านรู้จักวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเลือกรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล

ลำดับขั้นการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
๑.  จำความหมายของคำ  ข้อความ  หรือประโยค
๒.  เข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่าน  สรุปมโนทัศน์ของเรื่อง  เรียงลำดับเหตุการณ์  หรือ  เล่าเรื่องได้
๓.  นำเหตุการณ์และถ้อยคำ หรือ ประโยคที่ได้จากการอ่านไปเทียบเคียงหรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
๔.  วิเคราะห์แยกแยะรายละเอียดของเนื้อเรื่อง  เช่น  บุคลิกภาพของตัวละคร  หรือ ลักษณะพิเศษที่ทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญของเรื่อง
๕.  สังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับสถานการณ์  คติ  สำนวน  สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง
๖.  ประเมินค่า  พิจารณาตัดสินข้อเท็จจริง  หรือข้อคิดเห็น  รวมทั้งคุณค่าเหตุผล  และ  ความประทับใจที่ได้รับจากการอ่าน

หลักปฏิบัติในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
๑.  นั่งในท่าสบาย  ลำตัวตรง
๒.  กะระยะสายตาห่างจากหนังสือประมาณ  ๑  ฟุต
๓.  ไม่เอียงคอ  หรี่ตา  หรือส่ายหน้าตามบรรทัด
๔.  ไม่ทำปากขมุบขมิบ  หรือออกเสียงขณะอ่าน
๕.  กวาดสายตาตลอดบรรทัด  ไม่มองย้อนกลับ
๖.  ไม่ใช้นิ้วชี้ตามตัวอักษร
๗.  มีสมาธิและปฏิบัติตามลำดับขั้นการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
การอ่านงานเขียนโดยทั่วไปนั้น   ต้องรู้จักคิด พิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณต้องอาศัยการวิเคราะห์เป็นพื้นฐาน ผนวกกับการประเมินค่าเรื่องที่เราอ่านอีกขั้นหนึ่ง คือ สามารถวิจารณ์เรื่องนั้น แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล วิเคราะห์ถ้อยคำ ประโยค วิเคราะห์ทรรศนะของผู้แต่งและเนื้อหาได้

ข้อดี ของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
  
ข้อดี ของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
  
ข้อดี ของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
  
ข้อดี ของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...