ปริมาณใดมีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที

อัตราเร็วและความเร็ว

ในขณะที่วัตถุมีการเคลื่อนที่  ได้ระยะทางและการกระจัดในเวลาเดียวกัน  และต้องใช้เวลาในการเคลื่อนที่  จึงทำให้เกิดปริมาณสัมพันธ์ขึ้นของอัตราเร็วและความเร็วโดย อัตราเร็ว  คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นเป็นปริมาณสเกลลาร์ หน่วยในระบบเอสไอ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาทีอัตราเร็วขณะหนึ่ง คือ อัตราเร็วในช่วยเวลาสั้น ๆ หรือ อัตราเร็วที่ปรากฏขณะนั้น อัตราเร็วคงที่ หมายถึง วัตถุที่เคลื่อนที่มีอัตราเร็วสม่ำเสมอตลอดการเคลื่อนที่ไม่ว่าจะวัดอัตราเร็ว. ณ ตำแหน่งใดจะมีค่าเท่ากันตลอดการเคลื่อนที่ แต่ถ้าหากเป็นระยะทางทั้งหมดใน 1 หน่วยเวลา เรียกว่า อัตราเร็วเฉลี่ย

ปริมาณใดมีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที

และ ความเร็ว คือ การขจัดในหนึ่งหน่วยเวลา เป็นปริมาณเวคเตอร์ หน่วยเป็น เมตร/วินาที ความเร็วคือขนาดของการกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ใช้หน่วยเดียวกับอัตราเร็วความเร็วขณะหนึ่ง คือความเร็วที่ปรากฏขณะนั้น หรือความเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ จากสูตร

ปริมาณใดมีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที

การคำนวณหาปริมาณต่างๆของอัตราเร็ว                                                                                   

1. การหาอัตราเร็ว เมื่อกำหนดระยะทางและเวลาในการเคลื่อนที่.คำนวณหาอัตราเร็วโดยการใช้สูตร 

ปริมาณใดมีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที

ปริมาณใดมีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที

        2. การคำนวณหาอัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่ง คำนวณหาได้จาก ความชันของเส้นสัมผัส ณ ตำแหน่งที่หาอัตราเร็ว 

ตัวอย่าง หนูคุ้กกี้ขับรถยนต์ออกจากบ้านไปยังที่ทำงานระยะทาง 25 กิโลเมตรใช้เวลา 16 นาทีแล้วเดินทางไปศูนย์การค้นระยะทาง 8 กิโลเมตรใช้เวลา 15 นาที จงหาอัตราในการขับรถในแต่ละช่วง และอัตราเร็วเฉลี่ยของหนูคุ้กกี้         

ตอบ   หนูคุ้กกี้ขับรถยนต์โดยมีอัตราเร็วเป็น 26.4 เมตร/วินาที, อัตราเร็วช่วงหลังเป็น 8.89 เมตร/วินาที  และอัตราเร็วเฉลี่ยเป็น 12.2 เมตร/วินาที                                                                                                                 

ตัวอย่าง หนูบันนี่ปั่นรถจักรยานไปทางทิศใต้ในระยะทาง 150 เมตร ใช้เวลา 20 วินาที แล้วปั่นไปทางทิศเหนือ 60 เมตร ใช้เวลา 10 วินาที จงหาความเร็วในการปั่นจักรยานหนูดี
ตอบ หนูดีปั่นจักรยานไปทางทิศใต้  3 เมตรต่อวินาที                                      

    การหาอัตราเร็ว อัตราเร็วเฉลี่ย และความเร็วเฉลี่ยมีความสำคัญในชีวิตประจำวันพอสมควร หากเราต้องการทราบว่ายานพหานะเดินทางในระยะหนึ่งและใช้เวลาหนึ่งช่วงเราต้องการทราบอัตราเร็วในแต่ละช่วงของยานพหานะเพื่อทราบข้อมูลในการเดินทางหรือระยะเวลาที่ใช้ เราควรรู้ไว้เป็นความรู้รอบตัวเป็นการสร้างเหตุและผล

ปริมาณใดมีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที

ข้อสังเกต อัตราเร็วต่างจากความเร็วอย่างไร อัตราเร็ว คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นเปริมาณสเกลลาร์ หน่วยในระบบเอสไอ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที ส่วน ความเร็ว คือ ขนาดของการกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ใช้หน่วยเดียวกับอัตราเร็ว ความแตกต่างระหว่าง อัตราเร่ง และ ความเร่ง? ความเร่ง คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของความเร็ว เป็นปริมาณเวกเตอร์อัตราเร็ว หมายถึง ขนาดของความเร่ง เป็นเพียงแค่ปริมาณไม่มีทิศทาง (ปริมาณสเกล่า) ในทำนองเดียวกัน หากเทียบกับคำว่า ความเร็ว กับ อัตราเร็ว ความเร็ว หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงการกระจัดอัตราเร็ว หมายถึง ขนาดของความเร็ว

ปัจจุบันระบบการวัดทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับและให้ตกลงใช้ร่วมกันทั่วโลกคือระบบหน่วยเอสไอ (International System of Units หรือ SI units) หน่วยเอสไอ เป็นหน่วยวัดรูปแบบใหม่ของระบบเมตริก (metric system) ที่จัดทำขึ้นในที่ประชุม CGPM (General Conference on Weights and Measures) เมื่อปี ค.ศ.1960 (ตัวย่อ SI มาจากภาษาฝรั่งเศส Système International d’Unités) ระบบหน่วยเอสไอ นิยมใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลกทั้งในวงการค้าและวงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ดังนั้นสถาบัน National Institute of Standards and Technology (NIST) ของสหรัฐอเมริกาจึงได้จัดทำคู่มือแนะนำการใช้ระบบหน่วย SI อย่างถูกต้องและเป็นสากล “Guide for the use of the International System Units (SI)” ฉบับปรับปรุงปี ค.ศ.2008 ในปัจจุบันหน่วย SI ประกอบด้วย 2 กลุ่ม (class) คือ หน่วยฐานเอสไอ (SI base units) และหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ () ส่วนหน่วยเสริม (supplementary units) 2 ประเภทคือ เรเดียน (radian) เป็นหน่วยของมุมระนาบ และสตีเรเดียน (steradian) เป็นหน่วยของมุมตัน จัดอยู่ในกลุ่มหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ การใช้หน่วยเอสไอได้อย่างถูกต้องจำเป็นต้องเรียนรู้กฎ กติกาและรูปแบบของการใช้ หน่วยอนุพัทธ์เอสไอและคำนำหน้าหน่วยในระบบเอสไอ () ที่จะใช้ร่วมกับหน่วยฐานในระบบหน่วยเอสไอ

 

 

1. หน่วยเอสไอ (SI Unit) 

1.1  หน่วยฐานเอสไอ (SI base units) เป็นหน่วยการวัดพื้นฐานของหน่วยวัดอื่นๆ ทั้งหมดซึ่งสามารถสอบกลับได้ (traceability) หน่วยฐานทั้ง 7 หน่วย ดังแสดงในตารางที่ 1.1

ตารางที่ 1.1 หน่วยฐานเอสไอ (SI base units)

ปริมาณชื่อหน่วยตัวย่อความยาวเมตร (meter)mมวลกิโลกรัม (kilogram)kgเวลาวินาที (second)sกระแสไฟฟ้าแอมแปร์ (ampere)Aอุณหภูมิเคลวิน (kelvin)Kความเข้มของการส่องสว่างแคนเดลา (candela)cdปริมาณของสารโมล (mole)mol

1.2 หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ (SI derived units) หน่วยอนุพัทธ์เกิดจากการพิสูจน์ทางพีชคณิตระหว่างหน่วยฐานเอสไอหรือระหว่างหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ ตัวย่อของหน่วยอนุพัทธ์เอสไอได้มาจากการกระทำทางคณิตศาสตร์โดยการคูณและการหาร

ตารางที่ 1.2 แสดงตัวอย่างหน่วยอนุพัทธ์เอสไอที่เกี่ยวเนื่องกับหน่วยฐาน

ปริมาณ (derived quantity)หน่วยอนุพัทธ์ตัวย่อพื้นที่ (area)ตารางเมตรm2ปริมาตร (volume)ลูกบาศก์เมตรm3อัตราเร็ว, ความเร็ว (speed, velocity)เมตรต่อวินาทีm·s-1ความเร่ง (acceleration)เมตรต่อวินาทีกำลังสองm·s-2เลขคลื่น (wave number)reciprocal meterm-1ความหนาแน่น (density)กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตรkg·m-3ความหนาแน่นกระแส (current density)แอมแปร์ต่อลูกบาศก์เมตรA·m-3ความแรงสนามไฟฟ้า (electric field strength)โวลต์ต่อเมตรV·m-1ความเข้มแสง (luminance)แคนเดลาต่อตารางเมตรcd·m–2ความเข้มข้นเชิงปริมาณสาร (amount of substance concentration)โมลต่อลูกบาศก์เมตรmol·m-3

หน่วยอนุพัทธ์เอสไอที่มีชื่อหน่วยเฉพาะและมีสัญลักษณ์เฉพาะ แสดงในตารางที่ 1.3

ตารางที่ 1.3 หน่วยอนุพัทธ์ที่มีสัญลักษณ์เฉพาะ

ปริมาณชื่อหน่วยเฉพาะสัญลักษณ์เฉพาะสัญลักษณ์แสดงไม่เป็นหน่วย SIสัญลักษณ์แสดงเป็นหน่วย SIมุมระนาบ (plane angle)เรเดียนradm/mมุมตัน (solid angle)สตีเรเดียนsrm2/m2ความถี่ (frequency)เฮิรตซ์Hz1/sแรง (force)นิวตันNkg·m/s2ความดัน (pressure)พาสคัลPaN/m2kg·m×s2พลังงาน หรืองาน (energy or work)จูลJN×mkg·m2/s2กำลังไฟฟ้า (power)วัตต์WJ/skg·m2/s3ประจุไฟฟ้า (electric charge)คูลอมบ์CA·sศักย์ไฟฟ้า (electric potential)โวลต์VW/Akg·m2/A·s3ความจุ (capacitance)ฟารัดFC/Vm-2kg-1s4A2ความต้านทานไฟฟ้า (electric resistance)โอห์มWV/Am2kg/s3A2การนำไฟฟ้า (conductance)ซีเมนส์S1/W, A/Vs3A2/m2kgฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux)เวเบอร์WbV×sm2kgs-2A-1ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux density)เทสลาTWb/m2kg/s2Aความเหนี่ยวนำ (inductance)เฮนรีHWb/Am2kg/s2A2อุณหภูมิ (temperature)เซลเซียส°CKฟลักซ์ส่องสว่าง (luminous flux)ลูเมนlmcd×srcdความสว่าง (illuminance)ลักซ์lxlm/m2m-2·cd

1.3 คำนำหน้าหน่วยในระบบเอสไอ (SI prefixes) คือสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาวางไว้หน้าหน่วย มีจุดประสงค์เพื่อให้การแสดงปริมาณมีความกะทัดรัดมากขึ้น สัญลักษณ์เหล่านี้จะเข้าไปคู่กับหน่วย จึงมีผลเท่ากับการเพิ่มหรือลดขนาดของหน่วยนั้น ดังแสดงในตารางที่ 1.4

ตารางที่ 1.4 คำนำหน้าหน่วยแสดงปริมาณตัวเลข

คำนำหน้าสัญลักษณ์แฟกเตอร์คำนำหน้าสัญลักษณ์แฟกเตอร์เดซิ (deci)d10-1เดคา (deca)da10เซนติ (centi)c10-2เฮกโต (hecto)h102มิลลิ (milli)m10-3กิโล (kilo)k103ไมโคร (micro)μ10-6เมกะ (mega)M106นาโน (nano)n10-9จิกะ (giga)G109พิโก (pico)p10-12เทระ (tera)T1012เฟมโต (femto)f10-15เพตะ (peta)P1015อัตโต (atto)a10-18เอกซะ (exa)E1018เซปโต (zepto)z10-21เซตตะ (zetta)Z1021ยอกโต (yocto)y10-24ยอตตะ (yotta)Y1024

1.4 ข้อแนะนำวิธีการเขียนหน่วยวัดระบบหน่วยเอสไอ

สำหรับข้อแนะนำเพื่อให้ผู้อ่านสามารถใช้รูปแบบและวิธีการเขียนของหน่วยวัดระบบหน่วยเอสไอ (SI units) ได้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล ตัวอย่างการใช้ที่ไม่ถูกต้องซึ่งพบเห็นบ่อยๆ ดังนี้

1. สัญลักษณ์ของหน่วยจะต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กตัวตรง

  • ความยาว มีหน่วยเป็นเมตร (meter) ใช้สัญลักษณ์ m
  • มวล มีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kilogram) ใช้สัญลักษณ์ kg
  • เวลา มีหน่วยเป็นวินาที (second) ใช้สัญลักษณ์ s
  • ปริมาณสาร มีหน่วยเป็นโมล (mole) ใช้สัญลักษณ์ mol

ยกเว้นสัญลักษณ์ที่ย่อมาจากชื่อบุคคล ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่

  • กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นแอมแปร์ (Ampere) ใช้สัญลักษณ์ A
  • อุณหภูมิ มีหน่วยเป็นเคลวิน (Kelvin) ใช้สัญลักษณ์ K
  • ความดัน มีหน่วยเป็นปาสคาล (Pascal) ใช้สัญลักษณ์ Pa
  • ความต่างศักย์ มีหน่วยเป็นโวลต์ (Volt) ใช้สัญลักษณ์ V

ข้อยกเว้น หน่วยลิตร ให้ใช้ L (พิมพ์ใหญ่) เพื่อไม่ให้สับสนกับเลขหนึ่ง “1” หรือตัวไอ “I”

2. กรณีเขียนหน่วยเป็นภาษาอังกฤษสัญลักษณ์ของหน่วยจะมีรูปเป็นเอกพจน์เสมอ

  • การเขียนที่ถูกต้อง = 75 cm
  • การเขียนที่ไม่ถูกต้อง = 75 cms

3. สัญลักษณ์หน่วยจะถือว่ามีความหมายเชิงคณิตศาสตร์ไม่ใช่ตัวย่อ จึงไม่ลงท้ายด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ยกเว้นกรณีที่สัญลักษณ์หน่วยนั้นลงท้ายประโยคในการเขียนภาษาอังกฤษ

  • การเขียนที่ถูกต้อง 20 mm, 10 kg, 75 cm
  • การเขียนที่ไม่ถูกต้อง 20 mm., 10 kg., 75 cm.

4. สัญลักษณ์ของหน่วยที่ได้มาจากการคูณกันของหน่วยสองหน่วยจะเชื่อมกันด้วยจุดกลาง (ไม่ใช่จุดล่าง) หรือเว้นวรรคโดยไม่แยกบรรทัด

  • การเขียนที่ถูกต้อง N×m หรือ N m
  • การเขียนที่ไม่ถูกต้อง N.m

5. สัญลักษณ์ของหน่วยที่ได้มาจากการหารกันจะเชื่อมกันด้วยเครื่องหมายทับ (/) หรือยกกำลังด้วยเลขติดลบ โดยให้ใช้เครื่องหมายทับได้เพียงครั้งเดียว

  • การเขียนที่ถูกต้อง m/s2 หรือ m×s-2
  • การเขียนที่ไม่ถูกต้อง m/s/s

6. ไม่ควรนำสัญลักษณ์ของหน่วยและชื่อของหน่วยมาเขียนรวมกันและไม่มีการดำเนินการทางคณิตศาสตร์กับชื่อของหน่วย

ปริมาณในข้อใดมีหน่วยเป็น เมตร/วินาที

เมตรต่อวินาที (อังกฤษ: meter per second หรือย่อว่า m/s) เป็นหน่วยเอสไอ ของทั้งความเร็วและอัตราเร็วที่เป็นสเกลาร์ และเวกเตอร์ เป็นค่าของระยะทางวัดเป็นเมตรเทียบกับเวลาเป็นวินาที สัญลักษณ์นิยมเขียนในรูปภาษาอังกฤษว่า m/s หรือ m s.

เหตุใดความเร็วจึงมีหน่วยเป็น m / s

1.4 ความเร็ว (velocity) เนื่องจากการกระจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ความเร็วจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ โดยหน่วยของความเร็ว คือ เมตรต่อวินาที (m / s) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ “ V ”

โวลต์ มีหน่วยเป็นอะไร

โวลต์คือหน่วยที่ใช้เรียกเพื่อบอกขนาดของแรงดันไฟฟ้าในบ้าน เช่น 220 V หมายถึง ขนาดของแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลต์ (ประเทศไทยใช้ไฟระบบนี้) 1 โวลต์ (V) = 1,000 มิลลิโวลต์ (mV)

M เท่ากับกี่นาที

ตารางเปรียบเทียบ 1 เมตร เท่ากับ 5.559402E-11 นาทีแสง 2 เมตร เท่ากับ 1.1118804E-10 นาทีแสง 3 เมตร เท่ากับ 1.6678206E-10 นาทีแสง