Supermarket มีรูปแบบการจัดเก็บสินค้าแบบใด

“แผนผังร้านค้า” การวางแผนผังร้านค้าที่ดีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดการร้านค้าปลีกให้มีประสิทธิภาพ และเป็นการบริหารพื้นที่ภายในร้านให้มีประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายให้กับสินค้าทุกกลุ่มภายในร้าน

ประโยชน์ของการวางผังร้านที่ดี

Show
  • ดึงดูดลูกค้าเข้าร้านได้มากขึ้น
  • เพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้า
  • เพิ่มโอกาสในการขายเนื่องจากลูกค้าใช้เวลาอยู่ในร้านนานขึ้น
  • ลดความสูญเสียที่เกิดจากการจัดเก็บสินค้า

เทคนิค 5 ประการในการวางแผนผังร้านค้า

  1. ความกว้างทางเดินระหว่างชั้น ประมาณ 60-90 ซม. และความกว้างระหว่างตู้แช่กับชั้นวางควรกว้าง 90-120 ซม.
  2. ชั้นกลางร้านควรสูงไม่เกิน 150 ซม. และชั้นวางริมผนังควรสูง 180 ซม.
  3. ตำแหน่งตู้แช่ควรอยู้ด้านหลังร้าน และมองเห็นได้ชัดเจน
  4. แคชเชียร์ควรอยู่บริเวณที่มองเห็นได้ทั่วร้าน และมีทางเข้าออกทางเดียว
  5. ควรวางแผนผังร้านโดยแยกของกินออกจากของใช้

Supermarket มีรูปแบบการจัดเก็บสินค้าแบบใด

Supermarket มีรูปแบบการจัดเก็บสินค้าแบบใด

“การจัดเรียงสินค้า” การจัดเรียงสินค้าที่ดี ต้องคำนึงความสะดวกสบายของลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าแต่ละกลุ่มต่อเนื่องกัน เป็นการใช้พื้นที่แต่ละชั้นวางให้เป็นประโยชน์ และสร้างยอดขายสูงสุดให้ร้านค้า

ประโยชน์ของการวางผังร้านที่ดี

  • เกิดความต่อเนื่องในการเลือกซื้อสินค้า เพิ่มโอกาสในการขาย
  • ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการจัดเรียง ทำให้สามารถเพิ่มสินค้าใหม่ๆเข้ามาขายในร้าน
  • ทำให้ทราบอัตราการขายสินค้า เพื่อเพิ่ม-ลดจำนวนขาในการจัดเรียงให้เกิดประโยชน์และสร้าง ยอดขายสูงสุด
  • ตรวจสอบปริมาณสินค้าคงเหลือได้ง่าย

เทคนิค 5 ประการในการวางแผนผังร้านค้า

  1. แบ่งสินค้าให้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน โดยจัดเรียงลงมาในแนวดิ่ง
  2. จัดเรียงสินค้าสัมพันธ์และต่อเนื่องกัน
  3. สินค้าขายดีวางระดับสายตา และสินค้าราคาแพงควรวางใกล้แคชเชียร์
  4. สินค้าชิ้นเล็ก น้ำหนักเบาควรจัดเรียงด้านบน สินค้าน้ำหนักมากขนาดใหญ่ควรจัดเรียงด้านล่าง
  5. ไม่ควรเรียงสินค้าประเภทของใช้และสารเคมีปนกับสินค้าประเภทอาหาร

Supermarket มีรูปแบบการจัดเก็บสินค้าแบบใด

หลักการจัดวางสินค้าบนชั้นวางสินค้า

หลักการจัดวางสินค้าบนชั้นวางสินค้า

มีนาคม 27, 2014

Supermarket มีรูปแบบการจัดเก็บสินค้าแบบใด

Supermarket มีรูปแบบการจัดเก็บสินค้าแบบใด

ชั้นวาง ซุปเปอร์มาร์เก็ต แบบมินิมาร์ท ตัวต้น แผ่นหลังเจาะรู มีชั้นวาง 1 ด้าน มีให้เลือก 2 สี คือ แดง และน้ำเงิน มี 4 ชั้น รับน้ำหนักได้ชั้นละ 25-35 กิโลกรัม

ร้านขายสินค้าส่วนใหญ่มักจะมีผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของกิจการเอง หรือบางร้านอาจมีการจ้างพนักงานขายของโดยเฉพาะเพื่อทำหน้าที่คอยแนะนำให้คำอธิบายต่างๆ แก่ลูกค้า หากเป็นร้านขนาดใหญ่มีสินค้าหลายชนิดย่อมทำให้ต้องมีพนักงานขายจำนวนมาก การจัดตกแต่งร้านค้าจึงมีความสำคัญมาก ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

  1. แสงสว่างภายในร้าน หากเราเข้าไปในร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นร้านลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ เช่น 7-Eleven เราจะเห็นได้ว่ามีความสว่างทั่วทั้งร้านจากแสงไฟฟ้าที่ร้านได้ติดเอาไว้ แสงสว่างธรรมชาติ หรือแสงแดดมักไม่เพียงพอและทำความเสียหายให้แก่สินค้า ดังนั้นการใช้แสงไฟฟ้า แม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงแต่ก็จูงใจลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าได้มากกว่าร้านที่ดูมืดๆ หากสินค้าตัวใดต้องการให้ลูกค้าสนใจเป็นพิเศษควรใช้สปอร์ตไลท์ส่องเรียกความสนใจแสงไฟ ภายในร้านควรเลือกใช้แสงจากหลอดฟลูโอเรสเซนท์ แต่ก่อนตัดสินใจเรื่องแสงสว่างควรรู้ว่าค่าไฟฟ้าจะเป็นสักเท่าไหร่ และใช้ไฟฟ้ากี่ดวงถึงจะคุ้มค่ากับการขายสินค้าด้วย
  2. การตกแต่งสีภายนอกและภายในร้าน นอกจากการทาสีร้านค้าให้สดใสสว่างสวยงามแล้ว สีของบรรจุภัณฑ์และตัวสินค้าก็สามารถนำมาตกแต่งให้ร้านค้าดูดีขึ้นได้ จะต้องจัดชั้นวางโดยให้ผู้คนเห็นสินค้า ชัดเจนและสวยงาม แต่ก็ไม่ควรนำสินค้าที่ต่างชนิดกันแต่สีเดียวกันมาวางไว้รวมกัน เพราะจะทำให้ดูเหมือนกันไปหมด จึงควรแยกสินค้าที่มีสีสรรเหมือนกัน แต่ต่างชนิดกันเรียงไว้ต่อๆ กัน เพื่อให้เห็นความแตกต่าง
  3. การจัดวางสินค้าบริเวณทางเข้าร้าน บริเวณใกล้ ๆ ทางเข้าร้านเป็นที่เหมาะสำหรับจัดวางสินค้าที่ต้องการเสนอขายเป็นพิเศษ เพราะเป็นที่ที่ลูกค้าทุกคนต้องเดินผ่านเข้าออก การจัดสินค้าไว้บริเวณนี้จึงทำให้สะดุดตา โดยเฉพาะบริเวณเคาน์เตอร์ชำระเงินที่ลูกค้าเข้าแถวรอที่จะชำระเงิน ควรหาของชิ้นเล็กๆ ที่ลูกค้าอาจลืมซื้อมาจัดวางไว้
  4. การจัดหมวดหมู่ของสินค้า ควรจัดสินค้าที่มีการใช้สอยที่คล้ายคลึงกันหรือใช้ร่วมกัน วางไว้บริเวณเดียวกัน เช่น น้ำดื่ม เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม เครื่องใช้ในครัว ขนมปังสดและเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว เสื้อผ้า เครื่องใช้เด็กอ่อน เป็นต้น
  5. การติดป้ายบอกประเภทของสินค้า เพื่อให้รู้ว่าสินค้าอยู่ที่ใด เป็นการติดป้ายบอกชนิดของสินค้าตามที่จัดไว้เป็นหมวดหมู่ สะดวกในการค้นหาสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ อาจจะติดไว้ตามผนังห้อง หรือกึ่งกลางเหนือชั้นวางของ สินค้าใดวาง ณ จุดใด ก็ควรวางอยู่เป็นประจำ และไม่ควรเปลี่ยนแปลงที่วางสินค้าบ่อยเกินไป เพราะอาจจะทำให้ลูกค้าเสียเวลาค้นหาในครั้งต่อไปที่แวะเข้ามาซื้อสินค้าที่ร้าน
  6. การติดป้ายราคาสินค้า ในปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจในรายละเอียดของสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทั้งรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ชื่อสินค้า วันผลิตและวันหมดอายุ คำแนะนำการใช้งานสินค้า ดังนั้นจะต้องติดป้ายบอกราคาเพิ่มให้กับตัวสินค้าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดลงไปด้วย โดยต้องติดราคาบอกไว้บนตัวสินค้าทุกชิ้นให้ ชัดเจนพอที่ลูกค้าและพนักงานเก็บเงินจะอ่านได้ ยกเว้นสินค้าบางประเภทที่ขายเป็นจำนวนมาก เช่น เบียร์หรือเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม มักจะติดราคาในรูปแบบของแผ่นป้ายหรือโปสเตอร์ เป็นการช่วยประหยัดแรงงานและเวลาได้ หากเป็นสินค้าประเภทเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อกัน อาจจะติดราคาไว้ที่ชั้นวางสินค้าจะช่วยให้ลูกค้าเห็นและเปรียบเทียบราคากันได้ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาและแรงงานในการติดราคาใหม่เมื่อสินค้ามีราคาเปลี่ยนแปลง แต่ก็เป็นการให้ประโยชน์และรายละเอียดเพิ่มเติมรวมถึงความสะดวกให้กับลูกค้า อีกทั้งยังเป็นการสะดวกในการคิดราคาสินค้าอีกด้วย

การจัดวางสินค้าบน ชั้นวางสินค้า เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีสำคัญในการจูงใจลูกค้าให้เลือกซื้อสินค้า เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้า ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

  1. ความพึงพอใจของลูกค้า
  2. จัดสินค้าไว้ในบริเวณที่เราจะขาย
  3. จัดสินค้าไว้ในระดับสายตาให้มากที่สุด
  4. จัดสินค้าด้านหน้าบนชั้นวางสินค้าให้เต็มอยู่เสมอ
  5. ชั้นวาง สามารถปรับระดับตามขนาดของสินค้าได้
  6. การใช้กล่องหนุนสินค้าให้ดูงดงามแม้จะมีสินค้าไม่มากนัก
  7. สินค้ามาก่อนต้องขายก่อน เนื่องจากเราต้องขายสินค้าเก่าก่อนสินค้าใหม่เสมอ ควรวางสินค้ามาก่อนไว้แถวหน้า และทำสินค้าที่มาก่อนให้ดูสดใสสะอาดเหมือนสินค้าใหม่อยู่เสมอ
  8. ความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ผงซักฟอกมีหลายยี่ห้อ และหลายขนาด ควรจัดให้เป็นระเบียบสะดวกในการเปรียบเทียบของลูกค้า ดังนั้นสินค้าที่เหมือนกันควรเอาไว้ด้วยกัน ควรจัดตามแนวนอน และอยู่ในระดับเดียวกัน
  9. ป้องกันหลีกเลี่ยงการรั่วไหลของสินค้า โดยการจัดวางผังทางเดินภายในร้านให้ลูกค้าเดินไปมาได้สะดวก แต่ก็มีข้อเสีย คือ สินค้าบางอย่างอาจบุบสลายหรือชำรุดหรืออาจถูกขโมยได้ง่าย โดยในแต่ละปีห้างสรรพสินค้าและร้านค้าโดยทั่วไปมักมีสินค้าขาดหายจากการถูกลักขโมยเป็นมูลค่านับแสนบาท

สินค้าที่สูญหายเพราะถูกหยิบฉวยและเหตุอื่นๆ เรียกว่าการรั่วไหลของสินค้า เจ้าของกิจการจะต้องมีมาตรการมาควบคุมการรั่วไหลให้มากที่สุดการจัดวางสินค้า จึงต้องเป็นไปในแนวทางที่เป็นการป้องกันการรั่วไหลได้ด้วย คือ หยิบก็ง่าย หายก็รู้ สินค้าที่บุบหรือชำรุด ใกล้หมดอายุควรจัดเป็นสินค้าลดราคาพิเศษ ล้างสต็อกด้วยการจัดแยกขายไว้ต่างหาก