วิธีวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของอะไร

1.) วิธีการทางวิทยาศาสตร์คืออะไร?

วิธีการทางวิทยาศาสตร์  (Scientific  Method)  หมายถึง การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีกระบวนการที่เป็นแบบแผนมีขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติตามได้ โดยขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญและสามารถทำให้ผู้คนได้ฝึกการสังเกตและมีความละเอียด รอบคอบ มากขึ้น

2.) วิธีทางวิทยาศาสตร์มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง?

มี 5 ขั้นตอน

2.1ตั้งปัญหา
พยายามตั้งปัญหาให้ชัดเจน เมื่อมีปัญหา หรือข้อข้องใจใดๆ เกิดขึ้น ว่าเป็นปัญหาเรื่องอะไร มีประเด็นปัญหาที่สำคัญอะไรบ้าง ก่อนที่จะดำเนินการค้นหาคำตอบ ต้องเข้าใจปัญหาให้ชัดเจนก่อน

2.2 เก็บรวบรวมข้อมูล หรือข้อเท็จจริง
เมื่อเข้าใจปัญหาแล้ว ต้องรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ปัญหานั้น ๆ เพื่อนำไปสู่การ แก้ปัญหาตัวอย่าง ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

2.3 สร้างสมมติฐาน
หลังจากได้ข้อมูลต่าง ๆแล้วตั้งสมมตฐาน คือ คิดหาทางเลือกไว้ว่า ทางเลือกไหนน่าจะเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง โดยอาศัยการ พิจารณาจากข้อมูลต่าง ๆที่รวบรวมไว้ก่อนที่จะทดลองค้นหาความจริงต่อไป
สมมติฐานที่ดี ควรสามารถอธิบายปัญหาต่าง ๆ ได้ชัดเจนและแน่นอน สมมติฐานที่ตั้งขึ้นในการแก้ปัญหาต่าง ๆมีข้อสำคัญอยู่ 2 ข้อ
1.สมมติฐานที่ดีต้องสามารถอธิบายถึงปัญหาต่าง ๆได้ชัดเจนและแน่นอน โดยอธิบายและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆที่ได้จากการสังเกต
2.สมมติฐานที่ดีต้องทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาและข้อมูลต่าง ๆอันก่อให้เกิดปัญหาอันใหม่หรือข้อมูลใหม่ที่แจ่ม ชัดมากขึ้น

2.4 ทดลองพิสูจน์
เมื่อกำหนดสมมติฐาน หรือกำหนดคำตอบไว้แล้วต้องทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ทุกคำตอบว่า คำตอบใดถูกต้องเป็นจริงเพื่อเป็นการทดสอบหาเหตุผล สมมติฐานที่ตั้งนั้น
การตรวจสอบสมมติฐาน กระทำได้โดย ทำการทดลองที่มีการควบคุม (Control experiment) กลุ่มควบคุม (Controlled group) คือกลุ่มที่ไม่มีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องแต่มีไว้เป็นตัวเปรียบเทียบกับกลุ่ม ทดลอง (Experiment group)
สิ่งที่ต้องควบคุมให้เหมือนกัน คือสิ่งที่เราไม่ต้องการศึกษาสิ่งที่ต้องการศึกษาจะให้แตกต่างกันเราเรียกว่าตัวแปร (Voriables)

2.5 สรุปผล
เมื่อกำหนดปัญหารวบรวมข้อมูล ตั้งสมมติฐาน และทดลองพิสูจน์แล้วก็นำผลที่ได้จากการทดลองมาสรุปผลการทดลองเพื่อ พิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้อง แล้วตั้งกฏเกณฑ์ สูตร และกฏวิทยาศาสตร์ขึ้นไว้สำหรับใช้ต่อไป

3.) ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาอย่างไรและมีกี่สาขา?

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยเราทำตามขั้นตอนเหล่านั้นก็จะเกิดความรู้ขึ้นได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีอยู่ 5 สาขา ประกอบไปด้วย ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ดาราศาสตร์ แต่ความคิดของแต่ละคนทำให้วิทยาศาสตร์ไม่มีที่สิ้นสุดจึงมีการแตกแขนงออกไป มากมายหลากหลายรูปแบบ

4.) องค์ประกอบของวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง?

          4.1 ข้อเท็จจริง (Fact)
4.2 หลักการ (Principle)
4.3 แนวคิด (Concept)
4.4 สมมติฐาน (Hypothesis)
4.5 ทฤษฎี (Theory)
4.6 กฎ (Law)
5.) ปัจจัยใดเป็นตัวกระตุ้นทำให้วิทยาศาสตร์สาขาใหม่เพิ่มขึ้น?

เพราะความคิดของแต่ละคนแตกต่างกัน และด้วยการสังเกตความอยากรู้อยากเห็นจึงเกิดสิ่งใหม่ๆเข้ามาอยู่เสมอ และผู้คนก็มีคิดค้นทฤษฎีและกฎใหม่ๆได้ตลอดเวลาจึงทำให้วิทยาศาสตร์เกิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

6.) วิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร?

วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนผลผลิตต่างๆ เพื่อใช้อำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก พร้อมกันนั้นเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญมากที่จะให้การศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

         วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือ การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีกระบวนการที่เป็นแบบแผนมีขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติตามได้ โดยขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญของนักวิทยาศาสตร์

         ประโยชน์ของวิธีการทางวิทยาศาสตร์  คือ ทำให้การลำดับวิธีการทางวิทยาศาสตร์มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและง่ายต่อการทดลองหาข้อเท็จจริงต่างๆ

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 

ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1.         1.การกำหนดปัญหา   ปัญหาเกิดจากการสังเกต โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย ประกอบกับความช่างคิดช่างสงสัย สัมผัสโดยตรงกับเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อค้นหาข้อมูล และบันทึกข้อมูลที่ได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งการกำหนดปัญหาต้องมีความชัดเจนและสัมพันธ์กับความรู้ ซึ่งต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์
  2.         2.การตั้งสมมมิตฐาน   การคิดหาคำตอบล่วงหน้า  ก่อนจะกระทำการทดลองโดยอาศัยการสังเกต  ความรู้  ปละประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน คำตอบที่คิดหาล่วงหน้านี้ยังไม่เป็นหลักการ สมมติฐานหรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้ามักกล่าวไว้เป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม
  3.         3.การตรวจสอบสมมติฐาน   การดำเนินการตรวจสอบสมมติฐาน โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลทั้งจากการสำรวจ การทดลอง หรือวิธีการอื่นๆ ประกอบกัน
  4.         4.การวิเคราะห์ข้อมูล   การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ศึกษาค้นคว้า ทดลอง หรือการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงมาวิเคราะห์ผล
  5.         5. การสรุปผลการทดลอง   การสรุปผลการทดลอง เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดจากการนำเอาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์ผลและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเพื่อนำมาอธิบาย และตรวจสอบดูว่าสมมติฐานที่ตั้งขึ้นถูกต้องหรือไม่

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาอย่างไร

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยการสังเกต การตั้งปัญหา การตั้งสมมติฐาน ออกแบบการทดลอง และสรุปผลการทดลอง แล้วนำความรู้ที่ได้มาตั้งเป็นกฎเกณฑ์หรือทฤษฏีเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาค้นคว้า

วิธีการทางวิทยาศาสตร์คืออะไร มีอะไรบ้าง

เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แสวงหาความรู้ แก้ปัญหา โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1. สังเกตและระบุปัญหา 2. ตั้งสมมุติฐาน 3. ทาการทดลองหรือทดสอบสมมติฐาน 4. เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 5. สรุปผลการทดลอง

วิธีวิทยาศาสตร์ (Scientific method) เป็นเรื่องของอะไร

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ (อังกฤษ: scientific method) หรือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) เป็นหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบและเสาะหาความรู้ใหม่แบบวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักฐานทางกายภาพ นักวิทยาศาสตร์เสนอความเชื่อใหม่เกี่ยวกับโลกในรูปของทฤษฎีที่ผ่านขั้นตอนของ การสังเกต, การตั้งสมมติฐาน, และการอนุมาน ผลการทำนาย ...

วิธีการทางวิทยาศาสตร์มีความสําคัญอย่างไรกับโครงงานวิทยาศาสตร์

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ หรือหาความจริง หรือใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือในทุก ๆ ศาสตร์ จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคำถาม และเพื่อแก้ปัญหา

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ขั้นตอนใดสำคัญที่สุด

การสังเกตเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกตเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาหรือข้อสงสัย ซึ่งจะนำไปสู่การหาคำตอบหรือความรู้ต่าง ๆ การฝึกการสังเกตบ่อย ๆ จะทำให้สังเกตได้เร็ว สังเกตได้ถูกต้อง มีความชำนาญในการสังเกตทำให้ได้ข้อมูลที่ใช้หาคำตอบได้