ประเภทของความเสี่ยงมีอะไรบ้าง

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

                การระบุความเสี่ยง คือการระบุหรือว่าคาดการณ์เดาเหตุการณ์ที่เป็นเชิงลบซึ่งจะทำให้องค์กรเสียคุณค่าหรือขัดขวางทำให้องค์กรทำงานไม่บรรลุผล สาเหตุไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กรควรควบคุมได้ เช่น วัฒนธรรมโครงสร้างองค์กร บุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ และสถานที่ภายนอก เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม สามารถแก้ปัญหาได้ถ้ารู้วิธีดำเนินการ เรียกว่าสร้างแบบแผนหรือสร้างแนวกำหนด
            ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการคือความเสี่ยงของการสูญเสียอันเป็นผลมาจากกระบวนการภายใน บุคลากร ระบบ หรือเหตุการณ์ภายนอกที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือล้มเหลว ซึ่งอาจขัดขวางการดำเนินธุรกิจ ความสูญเสียอาจเป็นทางการเงินโดยตรงหรือโดยอ้อม ตัวอย่างเช่น พนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมไม่ดีอาจสูญเสียโอกาสในการขาย หรือชื่อเสียงของบริษัทโดยทางอ้อมอาจได้รับผลกระทบจากการบริการลูกค้าที่ไม่ดี ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการสามารถอ้างถึงทั้งความเสี่ยงในการดำเนินงานขององค์กรและการจัดการกระบวนการที่ใช้เมื่อดำเนินการ ฝึกอบรม และการบังคับใช้นโยบาย 

การบริหารความเสี่ยง คือ กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ 

ความเสี่ยงจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
          1) ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)
          2) ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk : FR)
          3) ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk : OR)
          4) ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย และข้อกำหนดผูกพันองค์กร (Compliance Risk : CR)


ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factor)
          ปัจจัยความเสี่ยง หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อใดและจะเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกำหนดมาตรการความเสี่ยง ในภายหลังได้อย่างถูกต้อง

ปัจจัยความเสี่ยงพิจารณาได้จาก
          1) ปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย ฯลฯ
          2) ปัจจัยภายใน เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในองค์กร ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ ระบบการทำงาน ฯลฯ


การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
          การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact)
          1) โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง
          2) ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิด เหตุการณ์ความเสี่ยง
          3) ระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึง สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก


การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
          การบริหารความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการให้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงหรือผลกระทบของความเสียหายจากเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ซึ่งการจัดการความเสี่ยงมีหลายวิธีดังนี้
          1) การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่คุ้มค่า ในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยง
          2) การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
          3) การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Sharing) เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป
          4) เลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมากและหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการ/กิจกรรมนั้น


การควบคุม (Control)
          การควบคุม หมายถึง นโยบาย แนวทาง หรือขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งกระทำเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้การดำเนินบรรลุวัตถุประสงค์ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
          1) การควบคุมเพื่อการป้องกัน (Preventive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง และข้อผิดพลาดตั้งแต่แรก
          2) การควบคุมเพื่อให้ตรวจพบ (Detective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อค้นพบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว
          3) การควบคุมโดยการชี้แนะ (Directive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
          4) การควบคุมเพื่อการแก้ไข (Corrective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องหรือเพื่อหาวิธีการแก้ไขไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคต

ที่มา : เว็บไซต์ การบริหารความเสี่ยง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ


แนวทางการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (PDF)

การบริหารความเสี่ยงคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในตามแนวทางข้างต้น โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง และ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการ/ควบคุม

Types of risk มีอะไรบ้าง

ประเภทของความเสี่ยงทางธุรกิจ (Types of Business Risk).
1. ความเสี่ยงด้านวิบัติภัย (Hazard Risk) ... .
2. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) ... .
3. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ... .
4. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ(Operational Risk).

ระดับความเสี่ยงมีกี่ระดับ

ระดับความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึง สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากการประเมินโอกาสและ ผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อยและน้อยมาก

ความเสี่ยงภายใน มีอะไรบ้าง

1. ปัจจัยภายในได้แก่ # Operational Risk เป็นปัจจัยความเสี่ยงในเรื่องของการปฏิบัติงาน เช่น ระบบ คอมพิวเตอร์ขัดข้อง ระบบข้อมูลไม่ถูกต้อง สภาวะแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เป็นต้น # Human Resource Risk ความเสี่ยงด้านบุคลากร เช่น รับพนักงานไม่ทันกับ การทำงาน พนักงานมีความรู้และความสามารถไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน หรือขาดการ

การบริหารความเสี่ยงในองค์การประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง แบ่งออกได้ 8 องค์ประกอบคือ สภาพแวดล้อมภายในองค์กร การกำหนดวัตถุปะสงค์ การบ่งชี้เหตุการณ์ การประเมินความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม ข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร และการติดตาม