ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

การติดตั้งไฟฟ้างานกล้องวงจรปิด (cctv) สำหรับช่างไฟฟ้า ในคู่มือแบ่งออกเป็น 3 ระดับ และทั้ง 3 ระดับก็จะกล่าวถึงเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ปัจจุบันได้มีหลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน แม้ในสถานศึกษาด้านอาชีวศึกษา หน่วยงานด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน ก็ได้บรรจุหัวข้อเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเข้าไว้ในหลักสูตรทุกสาขาช่าง เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกที่ดีและสามารถปฏิบัติงานได้ โดยแบ่งออกเป็นข้อย่อยดังนี้คือ

Show

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

1.ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ป้องกัน อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดหมาย และมีผลกระทบต่อการทำงานและทำให้ทรัพย์สินเสียหาย คนได้รับบาดเจ็บและอาจถึงเสียชีวิต นับเป็นการสูญเสียอย่างมาก สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุอาจเกิดได้จากปัจจัยหลัก ได้แก่ คน เครื่องมือ-เครื่องจักร สภาพแวดล้อม การป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมีข้อควรปฏิบัติดังนี้ ควรสวมใส่รองเท้าให้ถูกประเภทในการเข้าปฏิบัติงาน การหาเครื่องป้องกันเมื่อเข้าปฏิบัติงานที่มีเศษโลหะ การแต่งกายในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักร การใช้เครื่องมือ-เครื่องจักรให้ถูกประเภทกับการใช้งาน และการใช้เครื่องมือ-เครื่องจักรต้องมีการตรวจสอบว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้หรือไม่ เป็นต้น

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

2.การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า ไฟฟ้ามีประโยชน์มากมาย แต่มีโทษมหันต์ถ้าใช้ไม่ถูกต้อง หรือไม่มีความระมัดระวัง อาจก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพย์สินและถึงแก่ชีวิตได้ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องต้องรู้ถึงความปลอดภัยในการใช้งานเกี่ยวกับไฟฟ้า เพื่อจะได้นำประโยชน์ไปใช้งาน และหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้น เช่น อันตรายของไฟฟ้าต่อร่างกาย เนื่องจากถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายไปสัมผัสถูกตัวนำไฟฟ้าหรือวงจรไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอยู่และร่างกายส่วนอื่น ๆ ติดอยู่หรือสัมผัสอยู่กับพื้นดิน หรือพื้นน้ำ เป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้าทำเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

3.การป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้า (cctv) ตามธรรมชาติของกระแสไฟฟ้าแล้วจะไหลไปตามทางที่เป็นตัวที่ดีถ้ามีทางให้ไหลผ่านหลายทาง ก็มักไหลผ่านไปตามทางที่มีความต้านทานน้อยที่สุดคือ จากคุณสมบัติที่มีตัวนำที่ดีที่สุดนี้เอง หากการป้องที่จะไม่ให้ร่างกายเป็นทางที่มีความต้านทานน้อย มีวิธีป้องกันได้ 2 วิธีดังนี้ จัดให้มีทางที่มีความต้านทานน้อยกว่าความต้านทานของร่างกายให้เป็นทางไหลของกระแสไฟฟ้าโดยการต่อสายดินเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำมาจากโลหะ และอีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้ฉนวนกั้นกระแสไฟฟ้าไว้ไม่ให้ผ่านร่างกายขณะที่ต้องเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

4. การใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย เครื่องใช้ไฟฟ้า กล้องวงจรปิด (cctv) และอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงเครื่องมือต่าง ๆ ได้มีการนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายและใช้กันจนเป็นความเคยชิน ซึ่งถ้าผู้ใช้ขาดความระมัดระวังและไม่มีการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีและให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ฉนั้นต้องมีการทำความเข้าใจในการใช้งานและสิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปด้วยกันเสมอคือการบำรุงรักษาดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้า และควรที่จะเลือกที่มีเครื่องหมายมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ ตรา มอก. เป็นต้น

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

5.การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากไฟฟ้า สิ่งแรกที่ต้องทำการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากไฟฟ้าคือการทำให้หลุดพ้นจากกระแสหรือวงจรไฟฟ้าด้วยความรวดเร็ว และต้องมีความรอบคอบระมัดระวัง เพื่อให้ผู้เคราะห์ร้ายมีโอกาสรอดพ้นจากอันตรายและรวมทั้งผู้ช่วยเหลือก็ไม่เกิดอันตรายด้วย ควรปฏิบัติดังนี้ ไม่ควรแตะต้องตัวผู้เคราะห์ร้ายที่ติดอยู่กับไฟฟ้าด้วยมือเปล่า ตัดทางเดินของกระแสไฟฟ้าด้วยการถอดเต้าเสียบหรือตัดเมนสวิตซ์ และห้ามลงไปในน้ำเด็ดขาดในกรณีที่กระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณที่มีน้ำขังให้หาทางเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้หรือตัดกระแสไฟฟ้าก่อนจะลงไปช่วยผู้ที่ประสบภัยนั้น เป็นต้น

6. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่หลุดพ้นจากกระแสไฟฟ้านั้น และต้องการการปฐมพยาบาล เนื่องจากกระแสไฟฟ้าทำให้ระบบหายใจของผู้ประสบภัยหยุดการทำงาน ต้องรีบช่วยชีวิตโดยเร็ว ด้วยวิธีการให้ลมหายใจทางปาก และ การนวดหัวใจ การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยจากฟ้าควรทำร่วมกันทั้ง 2 วิธี ถึงแม้กำลังนำส่งโรงพยาบาล เมื่อฟื้นขึ้นจากการได้รับการปฐมพยาบาลก็ต้องนอนห้ามลุกนั่ง ยืน หรือเดิน ห้ามดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์เป็นอันขาด จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากแพทย์ที่ทำการรักษาเท่านั้น

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ไฟฟ้ามีทั้งประโยชน์และโทษ ผู้ใช้จำเป็นต้องรู้หลักการใช้ให้ปลอดภัย จึงต้องระมัดระวังไม่ให้ร่างกายไปสัมผัสตัวนำไฟฟ้า เพราะอาจทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายจนทำให้เสียชีวิตได้ จึงต้องมีอุปกรณ์ฉนวนช่วยป้องกันไฟฟ้าในขณะปฏิบัติงาน และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยต้องทำด้วยความรวดเร็วและต้อมีความรอบคอบ การปฐมพยาบาลต้องทำอย่างรีบด่วนและถูกวิธี

         กระแสไฟฟ้า ไม่สามารถมองเห็นได้ทางกายภาพ แต่อันตรายที่เกิดขึ้น อาจจะถึงกับเสียชีวิตและสูญเสียทรัพย์สินทั้งอาคาร ขอให้ทุกท่านที่ต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า ต้องมีความรู้ ความเข้าใจอย่างดีในระบบไฟฟ้า มีสติ มีความรอบคอบ พึงระวังอย่างเต็มที่ เมื่อต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

         ก่อนอื่นขอกล่าวถึง กฎกระทรวงฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ.2558

หมวด 1 บททั่วไป กล่าวโดยสรุป

  • การให้นายจ้างมีข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
  • ให้มีและเก็บผังวงจรไฟฟ้าโดยการรับรองของวิศวกรหรือการไฟฟ้าฯ
  • ให้มีป้ายเตือนอันตรายจากไฟฟ้า
  • ให้มีระยะห่างเพื่อความปลอดภัยตาม มฐ.ติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย ของ วสท.
  • ให้ใส่ PPE ที่เหมาะสมกับลักษณะงานทางไฟฟ้า
  • ให้มีวิศวกร หรือ การไฟฟ้าฯ รับรองเป็นผู้ควบคุมงาน
  • ให้ดูแล ตรวจสอบและบำรุงรักษาบริภัณฑ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าโดยปลอดภัย

หมวด 3 ระบบป้องกันฟ้าผ่า ให้มีระบบป้องกันฟ้าผ่า ตาม วสท. NFPA IEC

หมวด 4 PPE และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

          ทั้งนี้ จป. ทุกท่านยังต้องมีการคำนึงถึงวงจรช่วยชีวิตต่างๆ ด้วย เช่น ระบบแสงสว่างฉุกเฉิน ป้ายทางออกฉุกเฉิน แจ้งเหตุเพลิงไหม้ แจ้งเหตุเตือนภัย ลิฟท์หนีไฟ เป็นต้น ประกอบการพิจารณาอย่างยิ่ง

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) เท่าที่เราเรียนเกี่ยวกับไฟฟ้ามา น่าจะมีเพียงบางส่วนที่น้อยนิดเดียว สำหรับบทความนี้จะมีรายละเอียดหัวข้อที่เกี่ยวข้องคร่าวๆ ดังนี้

ความปลอดภัยเบื้องต้นในการปฏิบัติงานทางไฟฟ้า

1. การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเบื้องต้น เรื่องนี้ จป. ทุกท่านน่าจะทราบเป็นอย่างดี แต่จะทำให้ผู้ร่วมงานท่านพึงระวังและตอกย้ำความปลอดภัยในการส่วมใส่ PPE ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และส่วมใส่ตลอดเวลาในการทำงานได้อย่างไร น่าจะเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับงานในความรับผิดชอบของท่าน

2. หลักการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าด้วย PPE

PPE สำหรับงานไฟฟ้า จึงต้องมีหลักการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า ด้วย PPE ดังนี้

  • ป้องกันด้วยวงจรไฟฟ้า เป็นการต่อวงจรให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน
  • ป้องกันด้วยเครื่องห่อหุ้ม เป็นการใช้ฉนวนเพื่อห่อหุ้มส่วนที่มีกระแสไฟ
  • ป้องกันระยะห่าง เป็นการกั้น หรือ มีระยะห่างเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
  • ป้องกันด้วยอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย PPE เป็นการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย
  • ส่วนบุคคลที่สวมใส่ขณะปฏิบัติงานได้ตามระดับการป้องกันหรือคุณสมบัติของ PPE

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าด้วย PPE ด้วยวิธีการดังนี้

  1. การสวมใส่เครื่องนุ่งห่มทนไฟ หรือ
  2. ใช้เครื่องนุ่งห่มทนไฟเพื่อครอบคลุมส่วนที่มีไฟขณะปฏิบัติงาน หรือ
  3. ทำงานในขอบเขตพื้นที่ป้องกันประกายไฟ หรือ
  4. อยู่ในพื้นที่ที่อาจได้รับอันตราย การบาดเจ็บขณะทำงานได้ หรือ
  5. มีโอกาสสัมผัสกับประกายไฟจากไฟฟ้าที่มีระดับพลังงานสูงกว่าขีดจำกัดการทนทานสำหรับการไหม้ระดับขั้นที่ 2

3. อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ต้องเลือกให้เหมาะสม และเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพราะงานไฟฟ้าเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง หากเลือก PPE ไม่ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะงาน แรงดันไฟฟ้า หรือ PPE ไม่อยู่ในสภาพใช้งานแล้ว อันตรายจะถึงขั้นสูญเสียชีวิตได้

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล 

4 การถูกไฟฟ้าช็อกจากการสัมผัส สามารถแยกแยะตามลักษณะของการสัมผัสได้เป็น 2 แบบคือ

1. การสัมผัสโดยตรง (Direct Contact) คือการที่ส่วนใดๆ ของร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น การสัมผัสสายไฟฟ้าที่ฉนวนชำรุด ทำให้เกิดการสัมผัสกับส่วนที่มีไฟของสายไฟฟ้าหรือ การที่เด็กมีเอาโลหะใดๆ แหย่เข้าไปที่เต้ารับไฟฟ้าทำให้เกิดการสัมผัสโดยตรง

 

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

การป้องกันอันตรายจากการสัมผัสโดยตรง

1. การตรวจสอบความเป็นฉนวนของส่วนที่นำกระแสไฟฟ้า ในส่วนของสายไฟฟ้า ว่าฉนวนของสายไฟฟ้าไม่เกิดการชำรุดหรือเสียหายจากการติดตั้ง หรือ การใช้งาน หรือ สภาพที่การใช้งานของสายไฟฟ้าหรือฉนวนที่หมดอายุ

2. การกั้น หรือ ส่วนการกั้น หรือ การใส่ตู้ หรือ ฝาครอบที่ปลอดภัย การกั้นถือเป็นการป้องกันอันตรายการสัมผัสโดยตรง เช่น เต้ารับไฟฟ้า ต้องมีม่านนิรภัยที่ป้องกันอันตรายจากเด็ก หากเด็กมีการแหย่โลหะเข้ารูใดรูหนึ่งของเต้ารับ ม่านนิรภัยจะปิดไม่สามารถที่จะแหย่เข้าไปได้ ซึ่งม่านนิรภัยของเต้ารับจะทำงานก็ต่อเมื่อมีการเสียบพร้อมกันทั้ง 3 รู ม่านนิรภัยจึงจะเปิดได้

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

3. สิ่งกีดขวางหรือการทำรั้วกั้น เครื่องกั้นและเครื่องหมายเป็นสิ่งที่กั้นไม่ให้เข้าถึงส่วนหรือพื้นที่ที่อันตราย หรือเป็นการบ่งชี้ด้วยเครื่องหมายให้ทราบถึงส่วนหรือพื้นที่ที่อันตรายไม่ให้เข้าถึงนั้นเอง

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

4. อยู่ในระยะที่ไม่สามารถเอื้อมถึงได้

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

5.การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

6.การใช้อุปกรณ์ป้องกัน เพื่อตัดกระแสไฟฟ้ารั่ว

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

การสัมผัสโดยอ้อม (Indirect Contact)

         คือ การที่ส่วนใดๆของร่ายกายสัมผัสถูกอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า นั้นเกิดการชำรุด ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้านั้น จึงเป็นการสัมผัสโดยอ้อมทางไฟฟ้า เช่น ตู้เย็นที่มีการใช้งานมานาน เกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว หากมีการไปจับส่วนที่เป็นโลหะหรือส่วนที่มีความชื้นและมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ณ จุดนั้น ก็จะทำให้เกิดการสัมผัสกระแสไฟฟ้าโดยอ้อมนั้นเอง

การป้องกันอันตรายจากการสัมผัสโดยอ้อม

  1. การต่อสายไฟของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ลงดิน การต่อลงดินเป็นการป้องกันอันตรายจากกระไฟฟ้าขั้นพื้นฐานที่ดี ถูกต้องตามหลักการทางวิศวกรรมฯ
  2. ติดตั้งเครื่องปลดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ เป็นการป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้าโดยการตัดต่อวงจร ป้องกันการลัดวงจรและป้องกันกระแสไฟเกิน ถือเป็นการป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าได้ส่วนหนึ่ง
  3. ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉนวนหุ้มสองชั้น เป็นการป้องกันการสัมผัสทางไฟฟ้าระหว่างเครื่องใช้ไฟฟ้าและผู้ใช้ฯ ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉนวน 2 ชั้น เช่น เครื่องเป่าผม สว่าน เป็นต้น
  4. ใช้แรงดันไฟฟ้าระดับต่ำพิเศษ เป็นการใช้ระดับแรงดันที่ไม่เกินอันตรายทางไฟฟ้า เพราะมีระดับแรงดันที่ต่ำ เช่น ระบบไฟฟ้าของสระว่ายน้ำ หรือ อาจเป็นระบบไฟฟ้าชนิดพิเศษ Isolated transformer เช่นใน ระบบไฟฟ้าภายในห้องผ่าตัด
  5. ใช้เครื่องตัดไฟรั่วหรืออุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว เป็นการป้องกันอันตรายทางไฟฟ้าได้ดีระดับขั้นที่ 2 หลังจากมีการต่อลงดิน โดยการใช้เครื่องตัดไฟรั่วจะสามารถป้องกันชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างดี

4. กำหนดมาตรการป้องกัน และควบคุมทางกฎหมาย ข้อบังคับ หรือ ระเบียบการทำงาน ดังนี้

(อย่าลืม! การตั้งระดับ บทลงโทษ ประกอบด้วย)

  • ใช้เครื่องป้องกันวงจรไฟฟ้าที่ถูกต้องและเหมาะสม
  • ป้องกันอย่าให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
  • ไม่เดินสายหรือติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใกล้แหล่งกำเนิดความร้อน
  • ต่อสายให้แน่นสนิท
  • ใช้ผู้ชำนาญการในการติดตั้งอุปกรณ์ เดินสายไฟ
  • เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน
  • ไม่มีเชื้อเพลิงใกล้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ตรวจสอบเป็นประจำ
  • เมื่อพบอาการผิดปกติต้องรีบแก้ไข และหาสาเหตุ

5. ส่วนผสมในการเกิด เปลวเพลิง เรื่องนี้ขอตอกย้ำเพียงรูป สำหรับท่าน จป.

6. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำหรับผู้ที่ถูกไฟฟ้าช็อก หรือ ไฟดูด

  1. การตั้งสติ อันดับแรก คือ การตัดกระแสไฟฟ้าที่จุดนั้นโดยรวดเร็วที่สุด โดยการสำรวจรอบๆ ว่ายังคงมีต้นเหตุ คือ กระแสไฟฟ้า หรือ สายไฟ หรือ ตัวนำที่ไปสัมผัสกับส่วนมีไฟหรือไม่ ต้องหาไม้หรือฉนวน เขี่ยเอาสายไฟ หรือ ตัวนำที่สัมผัสอยู่นั้นๆ ออกให้ห่างก่อน หากสามารถเลือกทำได้ก่อน ต้องตัดกระแสไฟฟ้าจุดที่มีปัญหา หรือ ที่ควบคุมในบริเวณนั้นออกก่อน เพราะบ่อยครั้ง พบว่าผู้เข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่ได้ระวังตรงจุดนี้ กลับถูกกระแสไฟฟ้าดูดเสียชีวิตไปด้วย ส่วนนี้จึงจำเป็นต้องป้องกันอันตรายไฟฟ้าดูดของผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือก่อน
  2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช็อกให้เร็วที่สุด เพื่อการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือหากอยู่ในที่ๆ ปลอดภัยแล้ว ก็ไม่ควรเคลื่อนย้าย ถ้าไม่ทราบอาการ หรือ ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ เพราะการเคลื่อนย้ายอาจทำให้ผู้ป่วยอัมพาตได้ ก็ควรปฐมพยาบาลที่บริเวณที่ปลอดภัยนั้นได้ โดยต้องพยายามตรวจดูให้ละเอียดถึง สภาพที่หน้างานที่ได้รับบาดเจ็บ เพราะอาจเกิดร่วมกับผู้ป่วยที่ถูกไฟฟ้าดูดได้เช่น อาจพลัดตกจากที่สูง อาจมีการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือ กระดูกส่วนต่างๆ เช่น กระดูกคอ กระดูกแขนขา กระดูกสันหลังหักร่วมด้วย เพราะ ฉะนั้นต้องให้ความเอาใจใส่และระมัดระวังในจุดนี้โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ เพราะถ้าทำไม่ถูกต้องอาจเกิดความพิการอัมพาตตามมาได้
  3. ตรวจดูหัวใจว่าหยุดเต้นหรือไม่ เพราะ กระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ไหลผ่านหัวใจอาจทำให้คลื่นหัวใจหยุดเต้นได้ โดยใช้นิ้วมือคลำดูจากการเต้นของชีพจรบริเวณคอ ถ้าหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อมๆกับการผายปอด
  4. หลังจากช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นแล้ว ให้นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ดังนั้น จป. อย่างเราๆ จำเป็นต้องจดจำตำแหน่งห้องไฟฟ้า ตำแหน่งของ Circuit Breaker: CB และการแนะนำให้ผู้ปฏิบัติงาน จดจำตำแหน่งห้องไฟฟ้าและตำแหน่างของตู้ไฟที่ควบคุมในแต่ละพื้นที่ให้ดีด้วย

7. ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจเป็นอันตราย

      กระแสไฟฟ้าที่จะไหลผ่านร่างกายมนุษย์ อันดับแรกจะขึ้นอยู่กับจุดหรืออวัยวะที่สัมผัสกับกระแสไฟฟ้า และไหลผ่านร่างกายไปสู่อวัยวะอีกส่วน  ดังนั้นจึงเป็นส่วนสำคัญสำหรับการใช้อวัยวะหรือการใช้มือขวาเป็นมือหลัก เป็นมือถนัด เพราะจะเป็นการลดความเสี่ยงในการไม่ให้มีกระแสไหลผ่านหัวใจ ที่เป็นฝั่งซ้ายมือนั้นเอง จากการวิจัยหาทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าที่จะผ่านร่ายกาย   ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่จะไหลผ่านเข้าสู่ร่ายการมนุษย์ของแต่ละคนจะไม่เท่ากันจะขึ้นอยู่กับสภาพที่แวดล้อมต่าง และที่สำคัญคือ อิมพีแดนซ์ภายในร่ายกายของแต่ละคน ดังภาพที่ประกอบ

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าที่จะผ่านร่ายกาย

8. สัญลักษณ์ความปลอดภัย

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

 บทความโดย

อาจารย์ เตชทัต บูรณะอัศวกุล :

คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี :

Email address : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้า มีอะไรบ้าง

1. ก่อนปฏิบัติงานต้องตรวจดูเสียก่อนว่า เครื่องมือ และอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานไฟฟ้า ชำรุด แตก หัก หรือเปล่า 2. ก่อนปฏิบัติงาน เช่น การต่อสายไฟ ควรยกสะพานไฟ (Cut Out) ออกเสียก่อน 3. ขณะทำงานไม่ควรหยอกล้อกันเป็นอันขาด 4. ไม่ควรเสี่ยงอันตรายเมื่อไม่มีความแน่ใจ หรือใช่ตัวช่วยในการเข้าถึงพื้นที่เสี่ยง

ความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ามีกฎระเบียบอะไรบ้าง

การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้า ห้ามจับสายไฟขณะที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ห้ามใช้อุปกรณ์ขณะมือเปียก ไม่ควรเดินเหยียบสายไฟ อย่าแขวนสายไฟบนของมีคม เพราะของมีคมอาจบาดสายไฟชำรุดและก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้

ข้อใดเป็นข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยขณะติดตั้งไฟฟ้า

answer choices. ปิดสวิตช์ไฟขณะที่จะปฏิบัติงานเกี่ยวไฟ สวมถุงมือหนัง เมื่อรู้ว่าเสี่ยงต่อการถูกไฟฟ้าดูด ใส่รองเท้าทุกครั้ง

ความปลอดภัยในการทํางาน มีอะไรบ้าง

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ