ข้อใดคือทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้น ของมาสโลว์

ทฤษฎีความต้องการลำดับขั้นของมาสโลว์

เป็นทฤษฎีที่เป็นทีนิยมอย่างมาก และแพร่หลายสุดๆ ทั้งสายจิตวิทยาและการบริหาร ผมเชื่อว่าทุกคนรู้จักมาสโลว์ด้วยกันทั้งนั้น ทฤษฎีดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบระบบการให้รางวัลได้อย่างดีเยี่ยม แต่เชื่อหรือไม่ว่า ส่วนใหญ่นำไปใช้แล้วกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก

มาสโลว์แบบความต้องการออกเป็น 5 ลำดับขั้น ประกอบด้วย

ขั้นที่ 1: ความต้องการพื้นฐานด้านกายภาพ
หมายถึง ความต้องการด้านปัจจัย 4 ที่มีผลต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค

ขั้นที่ 2: ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
หมายถึง ความต้องการที่จะมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน คือ ขอให้ได้งานที่มั่นคง ไม่เสี่ยงอันตราย

ขั้นที่ 3: ความต้องการความรัก และการมีสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น
หมายถึง การได้รู้จักคนอื่น การได้มีส่วนร่วมในสังคม การมีคนรัก

ขั้นที่ 4: ความต้องการได้รับการยอมรับนับถือ
หมายถึง ความต้องการมีความภาคภูมิใจในตนเอง การได้รับการยอมรับนับถือ

ขั้นที่ 5: ความต้องการที่จะได้พัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตน
หมายถึง ความต้องการในการพัฒนาตนเอง เติบโต ไปสู่ระดับสูงสุดที่ตนเองสามารถทำได้

มาสโลว์ได้วางเงื่อนไขเอาไว้ 2 ข้อในแนวคิดนี้ก็คือ

1. ความต้องการทั้ง 5 ขั้นจะเกิดขึ้นตามลำดับ จาก 1 ไปถึง 5 เสมอ
2. ตราบเท่าที่คนคนนั้นยังไม่รู้สึกว่าความต้องการในลำดับขั้นต่างๆ ได้รับการเติมเต็มแล้วละก็ จะยังไม่มีการก้าวข้ามไปยังความต้องการลำดับขั้นต่อไป

นั่นหมายความว่า... หากคนเรายังไม่มีครบปัจจัย 4 ก็จะยังไม่เกิดความต้องการมั่นคงปลอดภัย และถ้าเรายังไม่เกิดความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการความรักก็จะยังไม่เกิด และเมื่อความรักยังไม่เกิด ความต้องการการนับถือตนเองก็จะยังไม่มี และหากความต้องการการนับถือตนเองยังไม่ได้รับการเติมเต็ม คนเราก็จะยังไม่คิดที่จะพัฒนาตนอย่างสุดความสามารถ

เงื่อนไขข้อที่ 2 นี่แหละครับ ที่หลายๆ องค์การมักจะมองข้ามไปเสมอ... และเป็นเหตุให้ระบบการให้รางวัลไม่ประสบความสำเร็จ

มีหลายๆ ที่เขาสอนสั่งกันว่า เราไม่ควรที่จะให้รางวัลที่เป็นเงินบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะนั่นจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Overjustification หรือก็คือ การที่คนเราคิดว่าเหตุของการมีพฤติกรรมนั้นเป็นเพราะ เราได้รางวัล... เช่น ขยันทำงานเพราะว่าอยากำได้รางวัลคือเบี้ยขยัน เป็นต้น

เลยทำให้องค์การเหล่านั้นพยายามให้รางวัลในรูปของสิ่งที่ไม่ใช่เงิน (non-monetary rewards) เช่น ใบประกาศเกียรติคุณ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็สอดคล้องกับแนวคิดของมาสโลว์ดี เพราะมนุษย์เรามีความต้องการการได้รับการยอมรับ ดังนั้นการได้ใบประกาศก็เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าได้รับการยอมรับ... แต่แล้วก็ต้องมากลุ้มใจว่า ทำไมให้แล้วไม่ได้ผล

คำตอบที่มักถูกมองข้ามไปก็คือ ก็เป็นเพราะความต้องการขั้นต้น อย่างเช่น ปัจจัย 4 ยังไม่ได้รับการเติมเต็มไงล่ะครับ... พนักงานรายวันรายได้วันละ 203 บาท ถ้าให้เทียบระหว่างเงินรางวัล 300 บาท กับใบประกาศใบหนึ่ง เขาจะอยากได้อะไร?!?

ปรากฏการณ์ Overjustification หรือการที่คนเราจะไปคิดว่าทำพฤติกรรมนั้นเพียงเพื่อหวังเงินรางวัลจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ เราให้รางวัลที่สูงค่าเกินไป ในการที่จะกระตุ้นให้คนเรามีพฤติกรรมอย่างง่ายๆ หรือพูดง่ายๆ คือให้รางวัลแบบ ขี่ช้างจับตั๊กแตนนั่นเอง

แต่การให้เบี้ยขยัน 300-500 บาท เพื่อแลกกันการที่มาทำงานทุกวันไม่หยุดหรือสาย หรือพูดง่ายๆ คือ ให้เฉลี่ยวันละ 10 บาท ผมว่าไม่น่าจะเกิดปรากฏการณ์ Overjustification หรอกนะครับ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที


  • ตอนที่ 1 : แนวคิดเรื่องการเกิดพฤติกรรม
  • ตอนที่ 2 : ทำไมการให้รางวัลจึงไม่ได้ผลตามต้องการ
  • ตอนที่ 3 : ทฤษฎีความต้องการลำดับขั้นของมาสโลว์
  • ตอนที่ 4 : ERG Theory ของ Clayton P. Alderfer
  • ตอนที่ 5 : Self-determination Theory (SDT) และ Cognitive Evaluation Theory (CET) ของ Deci และ Ryan (ตอนแรก)
  • ตอนที่ 6 : Self-determination Theory (SDT) และ Cognitive Evaluation Theory (CET) ของ Deci และ Ryan (ตอนที่สอง)
  • ตอนที่ 7 : Self-determination Theory (SDT) และ Cognitive Evaluation Theory (CET) ของ Deci และ Ryan (ตอนที่สาม)

ข้อใดคือทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้น ของมาสโลว์

ทฤษฎีอันโด่งดังทางด้านจิตวิทยาที่มีมานานที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของมนุษย์ (Motivation) กับแนวคิดที่เกี่ยวกับลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs) ได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1943 ในเอกสารที่ชื่อทฤษฎีแรงจูงใจของมนุษย์ (A Theory of Human Motivation) โดยเรามักจะคุ้นหูในชื่อว่า “ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์” (Maslow’s Hierarchy of Needs) ที่มนุษย์ทุกคนต้องเติมเต็มความต้องการในระดับพื้นฐานให้ได้ ก่อนที่จะเติมเต็มความต้องการในระดับที่มากกว่าในขั้นต่อไป

อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) นักจิตวิทยาระดับโลกผู้คิดค้นแนวคิดดังกล่าวเชื่อว่า คนเรามีความปรารถนาหรือความต้องการที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์แบบในชีวิต (Self-actualized) กันทุกคน ซึ่งนับเป็นจุดสูงสุดของชีวิตโดยกว่าจะไปถึงจุดนี้ได้นั้น ก็จำเป็นต้องได้รับการเติมเต็มในขั้นต่างๆให้ได้ก่อน โดยมาสโลว์ก็ได้สรุปลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs) ไว้ 5 ขั้นด้วยกัน

ข้อใดคือทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้น ของมาสโลว์

Maslow’s Hierarchy of Needs

ข้อใดคือทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้น ของมาสโลว์

ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological)

ถือเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานที่สุดเพื่อความอยู่รอดและการดำรงชีพของมนุษย์ทุกๆคน โดยหากมนุษย์ไม่ได้รับการตอบสนองเหล่านี้ ก็อาจทำให้มนุษย์ไม่สามารถใช้ชีวิตหรือทำงานออกมาได้ดี ตัวอย่างเช่น ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศหายใจ เสื้อผ้า ที่พักอาศัย และยังรวมไปถึงความต้องการทางเพศเพื่อการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์มนุษย์อีกด้วย

ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety)

เมื่อมนุษย์ได้รับความต้องการขั้นพื้นฐานแล้ว ก็มีความต้องการที่มากขึ้นและมีความสลับซับซ้อนที่เพิ่มขึ้น ที่เรียกว่าความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในการใช้ชีวิตรวมถึงการวางแผนสำหรับอนาคต ตัวอย่างเช่น ความมั่นคงทางการเงิน การทำงาน เศรษฐกิจ ความปลอดภัยด้านสุขภาพ ทรัพย์สิน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ในการทำประกันภัยด้านต่างๆ และการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย

ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love/Belonging)

มนุษย์ทุกคนต้องการเป็นที่รัก และได้รับการยอมรับในกลุ่มเพื่อน ครอบครัว คนรัก เพื่อนร่วมงาน ผู้คนในสังคม กลุ่มกิจกรรมต่างๆ โดยในขั้นนี้จะมีความเกี่ยวข้องความสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ เพราะพื้นฐานของมนุษย์นั้นไม่อยากอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่อยากมีความกังวล และไม่อยากถูกทอดทิ้ง

ขั้นที่ 4 ความเคารพนับถือ (Esteem)

เมื่อความต้องการทั้ง 3 ขั้นได้รับการเติมเต็มอย่างเต็มที่แล้ว ในขั้นที่ 4 คือการได้รับความเคารพนับถือจากผู้คนรอบข้าง เพื่อให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่รู้สึกอ่อนแอหรือต่ำต้อย ตัวอย่างเช่น การมีร่วมในกิจกรรมเด่นๆ การจบการศึกษาดีๆ การเป็นส่วนหนึ่งของทีมกีฬา การหางานอดิเรกทำต่างๆ เพื่อให้คนรอบข้างได้เห็นว่าตัวเองมีทักษะหรือความสามารถมากแค่ไหน

ขั้นที่ 5 ความสมบูรณ์แบบ (Self-actualization)

จุดสูงสุดของความต้องการนั้น คือ ความสมบูรณ์แบบในชีวิตหรือเรียกได้ว่าอยากเป็นทุกๆอย่างที่อยากเป็นในฐานะมนุษย์คนนึงที่สามารถจะเป็นได้ โดยมาสโลว์เชื่อว่ามนุษย์นั้นสามารถพัฒนาขีดความสามารถและใช้มันอย่างเต็มที่ เพื่อไปสู่ความสมบูรณ์แบบมากที่สุด โดยการที่จะมาสู่ในขั้นนี้ได้นั้นมนุษย์ต้องได้รับการตอบสนองจากทั้ง 4 ขั้นอย่างดีที่สุดก่อน

ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) ถือเป็นแนวคิดที่ถูกทำมาปรับใช้กับการทำการตลาดให้กับสินค้าหรือบริการ การทำธุรกิจในแบบต่างๆอย่างแพร่หลาย รวมถึงนำมาปรับใช้กับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งถือว่ายังเป็นแนวคิดที่สำคัญที่ยังสามารถนำมาใช้ได้ในยุคปัจจุบัน


ความต้องการมนุษย์ 5 ขั้นตอนของมาสโลว์มีอะไรบ้าง

ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs).
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological) ... .
ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety) ... .
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love/Belonging) ... .
ขั้นที่ 4 ความเคารพนับถือ (Esteem) ... .
ขั้นที่ 5 ความสมบูรณ์แบบ (Self-actualization).

ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์คืออะไร

Maslow's hierarchy of needs หรือ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ จากนักจิตวิทยาชื่อ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นแนวคิดทางจิตวิทยา ว่าด้วยเรื่องของมนุษย์ ว่าจะถูกกระตุ้นให้สนองความต้องการขั้นพื้นฐานในลำดับต้น ก่อนที่จะพัฒนาความต้องการออกไปจากด้านล่างสู่ด้านบน ซึ่งจะเป็นความต้องการด้านกายภาพ (Physiological) ความ ...

ข้อใดคือระดับที่ 5 ของความต้องการมนุษย์จากทฤษฏีมาสโลว์

5. ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตน (Self-actualization) เป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์และความต้องการนี้ยากต่อการบอกได้ว่าคืออะไร เราเพียงสามารถกล่าวได้ว่า ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเป็นความต้องการที่มนุษย์ต้องการจะเป็น ต้องการที่จะได้รับผลสำเร็จในเป้าหมายชีวิตของตนเอง และต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต

ทฤษฎี มาสโลว์ มีกี่ข้อ

ทฤษฎีมาสโลว์ คือ ทฤษฎีความต้องการที่แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น ในลักษณะของพีระมิดที่เรียกว่า Maslow's Hierarchy of Needs คือ Physiological Needs, Safety Needs, Love and Belonging Needs, Esteem Needs, และ Self Actualization ตามลำดับ