ตัวอย่างโครงงานเทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์

 โครงงานออกเป็น 4 ประเภท  ตามลักษณะของกิจกรรมที่ทำ  ดังนี้

           1.โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล (Servey  research project)

เป็นโครงงานการศึกษาที่เกิดจากปัญหาความไม่รู้ ต้องการที่จะรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง  จึงดำเนินการสำรวจ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แล้วนำเอาข้อมูลนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น  แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์  แบบบันทึก เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนหรือพัฒนางาน หรือดำเนินการพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมผลงานและส่งเสริมผลผลิตให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น แล้วนำเสนอในรูปแบบต่างๆ  เช่น  ตาราง  กราฟ  แผนภูมิ  และคำอธิบายประกอบ  เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ศึกษาชัดเจนยิ่งขึ้น โดยข้อมูลนั้น อาจมีผู้จัดทำ แต่มีการแปรเปลี่ยนไปแล้ว ต้องสำรวจจัดทำขึ้นมาใหม่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ตัวอย่าง หัวข้อเรื่อง/ชื่อโครงงาน ประเภทข้อมูลสำรวจ

1.  พันธุ์ผีเสื้อในตำบล……………………...……..

2.  สมุนไพรในหมู่บ้าน……………..……………..        

3.  การใช้ยานพาหนะในอำเภอ……………………        

4.  อาชีพของประชาชนในตำบล………...….….…

5.  โครงงานสำรวจวัสดุอุปกรณ์ในชุมชน 

6.  การสำรวจราคาผลผลิตเกษตรในท้องถิ่น        

7.  การสำรวจราคาสิ้นค้าอุปโภคบริโภคในท้องถิ่น

8.  โครงงานสำรวจสถานประกอบการช่างในชุมชน

ขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

1.  กำหนดปัญหาหรือความอยากรู้              2. ตั้งสมมุติฐาน                    

3. รวบรวมข้อมูล                                      4. วิเคราะห์                 5. สรุปอภิปรายผล

           2.โครงงานประเภททดลอง  (Experimental research project) 

เป็นการศึกษาเปรียบเทียบของสิ่งของสองสิ่ง(หรือมากกว่า)หรือวิธีการทำงานสองวิธี(หรือมากกว่า)  ดำเนินการทดลองหรือพิสูจน์ความจริงตามหลักวิชาการอย่างเป็นเหตุเป็นผล หรือค้นหาข้อเท็จจริงในสิ่งที่ต้องการรู้หรือหาคำตอบของปัญหา เป็นการศึกษาที่เกิดจากปัญหา ต้องการรู้ถึงผลของการเปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล   แล้วนำผลที่ได้แต่ละอย่างมาเปรียบเทียบกัน  การทำโครงงานประเภทนี้     ผู้เรียนต้องมีกากำหนดรูปแบบในการทดลอง     โดยออกแบบในรูปผลการทดลอง เพื่อศึกษาตัวแปรหนึ่ง จะมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาอย่างไร ด้วยการควบคุมตัวแปร โดยกำหนดตัวแปรต่างๆไว้ให้ชัดเจนเพื่อจะปฏิบัติการได้ถูกต้อง   ศึกษา  ค้นคว้าและทดลอง    เพื่อนำผลที่ได้มายืนยันหลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นโครงงานที่เกิดขึ้นเพื่อยืนยันทฤษฎีหรือหลักการ เช่น  

1.  โครงงานปลูกผักลอยฟ้าไร้สารพิษ

2.  โครงงานศึกษาสูตรอาหารไก่ตอน    

3.  โครงงานการศึกษาขนมอบชนิดต่างๆ                                             

4.  โครงงานทดลองปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

5.  โครงงานการใช้ฮอร์โมนกับกิ่งกุหลาบ

6.   โครงงานศึกษาวัสดุก่อสร้างประเภทไม้     

7.  โครงงานการยืดอายุของกุหลาบตัดดอก

8.  โครงงานสารในพืชชนิดใดใช้ฆ่าแมลงสาบ                  

9.  โครงงานศึกษาสูตรน้ำยากัดกระจกจากผลไม้      

10.     โครงงานการศึกษาเครื่องดื่มที่ผลิตจากผลไม้

11.     โครงงานการปลูกพืชด้วยสารละลายจากมูลสัตว์    

12.     โครงงานการควบคุมกล้วยให้สุกอย่างมีคุณภาพ

13.     โครงงานแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้า   

14.     โครงงานควบคุมการเจริญเติบโตของไม้ประดับประเภทเถา  

ขั้นตอนการมีดังนี้

1.  กำหนดปัญหา                2. ตั้งจุดประสงค์                     3. ตั้งสมมุติฐาน                                    

4. การออกแบบทดลอง         5. รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทดลอง       6. วิเคราะห์หรือแปลผล         

7. สรุปผลการทดลอง

         3.โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์หรือการพัฒนา 

         (Developmental  research  project or  invention  project)

เป็นโครงงานเกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นใหม่  หรือหลังจากที่ได้ศึกษาทฤษฎีหรือพบเห็นผลงานของผู้อื่นแล้ว แต่ต้องการพัฒนา จึงทำการดัดแปลง สร้างแบบจำลองขึ้นเพื่ออธิบายแนวคิดบางอย่าง  โดยประดิษฐ์เป็นของเล่น เครื่องมือ เครื่องใช้  หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ แล้วศึกษาคุณภาพ หาประสิทธิภาพและอายุการใช้งาน   เช่น

1.  ถังขยะจากยางรถยนต์

2.  ผลิตภัณฑ์กระดาษสา     

3.  แบบจำลองพัดลมไอน้ำ    

4.  กระดาษจากว่านหางจระเข้ 

5.  โครงงานประดิษฐ์โคมไฟฟ้า     

6.  กระถางต้นไม้จากกระดาษใช้แล้ว        

7.  น้ำยาบ้วนปากจากสมุนไพรธรรมชาติ  

8.  ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบไม้ประเภทต่างๆ   

9.  โครงงานสร้างบ้านแบบบจำลองประหยัดไฟ      

10. โครงงานประดิษฐ์สิ่งของประดับบ้านด้วยไม้ไผ่

ขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

1. กำหนดโครงงาน     ประโยชน์    รูปแบบ/แบบ      วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ

2. ดำเนินการตามขั้นตอนปฏิบัติ     ดำเนินการปฏิบัติ     นำเสนอผลงานในรูปผลิตภัณฑ์

        4.โครงงานประเภททฤษฎีหรืออธิบาย   (Theoretical   research  project)

เป็นโครงงานที่เกิดจากปัญหาความต้องการทฤษฎีใหม่ๆหลักการหรือแนวคิดใหม่ๆ มาใช้ประโยชน์ในโอกาสอื่นๆ จึงดำเนินการสร้างทฤษฎีใหม่ๆขึ้น  มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ หรือหลักการใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือขัดแย้ง หรือขยายจากของเดิมที่มีอยู่ ซึ่งต้องผ่านการพิสูจน์อย่างมีหลักการก่อน โดยอาศัย    ทฤษฎี   หลักการ  หลักการทางวิทยาศาสตร์  หรือทฤษฎีอื่นๆตลอดจนข้อมูลอื่นๆสนับสนุนโครงงานประเภทนี้มักเป็นโครงงานทางคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์  เช่น

1.  การเกษตรทฤษฎีใหม่           

2.  การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์  

3.  การผลิตแท่งเชื้อเพลิงเขียว

        ข้อดีของการเรียนรู้แบบโครงงาน

1.  ผู้เรียนด้เลือกประเด็นที่จะศึกษา  วิธีการศึกษาและแหล่งความรู้ด้วยตนเอง

2.  ผู้เรียนมีความสนใจเพราะเป็นผู้ศึกษาหรือลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองทุกขั้นตอน

3.  การศึกษาได้เชื่อมโยงหรือบูรณาการระหว่างความรู้/ทักษะ/ประสบการณ์เดิมกับสิ่งใหม่

4.  ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตามวิธีธรรมชาติและมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

5.  ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์  และการทำงานอย่างมีแผนและรู้จักประเมินผลงานของตนเอง

6.  ฝึกให้นักเรียนได้รู้จักแก้ปัญหาในการทำงาน  และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับสภาพสังคมจริง

7.  เป็นการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้จริง

8.  ใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์  และเหตุผลในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ

         ข้อจำกัดของการเรียนรู้แบบโครงงาน

1.  ใช้เวลาในการเรียนรู้มาก  เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

2. หากขาดการเอาใจใส่  ขาดความอดทน  วางแผนการทำงานไม่ดี  ขาดทักษะ  อาจทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ 

--------------------------------------------------------------------------------------

โครงงานเทคโนโลยีสามารถแบ่งระยะการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

1. ระยะเริ่มต้นโครงงาน

2. ระยะทำโครงงาน

3. ระยะนำเสนอโครงงาน

1.ระยะเริ่มต้นโครงงาน

- เลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน โดยการสำรวจปัญหาหรือความต้องการโดย

1) สังเกตและศึกษาข้อมูลจากสถานการณ์รอบตัวหรือชุมชน เพื่อศึกษาปัญหาหรือความต้องการ

2) ติดตามข่าวเหตุการณ์สำคัญๆ และสำรวจตนเองว่าสนใจปัญหาหรือความต้องการใดเป็นพิเศษ

3) คิดเชื่อมโยงว่ามีเรื่องใดที่ต้องการจะศึกษาเพิ่มเติม

             - ตัดสินใจเลือกว่าจะแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่ตนเองสนใจ (นักเรียนจะสามารถพบข้อปัญหาหรือความต้องการจะจัดทำโครงงาน)

ตัวอย่างโครงงานเทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์

2. ระยะทำโครงงาน

- กำหนดจุดมุ่งหมาย ทำความเข้าใจปัญหาให้ชัดเจน รวบรวมข้อมูลเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เบื้องต้นด้วย 5W1H


ตัวอย่างโครงงานเทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์

          5W1H หนึ่งในเครื่องมือที่ใช้มากที่สุดในระดับสากลสำหรับการรวบรวมข้อมูล,วิเคราะห์และการนำเสนอเป็นกรอบ วิธีนี้จะใช้ในช่วงของกระบวนการนักวิเคราะห์วิศวกรที่มีคุณภาพที่จะเข้าใจและอธิบายความจริงปัญหาใด ๆ หรือปัญหาวิธีการเดียวกันสามารถที่ใช้ในการจัดระเบียบการเขียนของรายงานบทความเอกสารและแม้ทั้งหนังสือ

วิธีการพื้นฐาน

วิธีการนี้พยายามที่จะตอบคำถามพื้นฐานในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ของ: ใครอะไรเมื่อไหร่ที่ไหนทำไมและวิธีการ บางครั้งขึ้นอยู่กับบริบทที่สอง"H"อย่างไร

          What. คือเรื่องหลักของการรวบรวมข้อมูลเหตุผลและการนำเสนอ อาจจะเป็นที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ อาจต้องจะกำหนดกระบวนการที่อาจประกอบด้วยส่วนที่เหลือของเอกสาร

          Who. สิ่งแวดล้อมอื่นๆ คนหรือกลุ่มความกังวลมันอาจอธิบายเอกสารหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการหรือขั้นตอน

          When. หมายถึงเมื่อไหร่ในเวลาใดที่เกี่ยวข้อง มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งกับจุดที่เหมาะสมที่จะต้องดำเนินการ บางครั้งมันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ของการกระทำตามเงื่อนไข

          Where. เหตุการณ์หรือกระบวนการนั้น เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่ 

          Why. เหตุใดถึงทำสิ่งนั้นหรือ เพราะเหตุใดถึงเกิดเหตุการณ์นั้นๆ อาจมีการพิจารณาที่ไม่เกี่ยวข้องอาจจะเกิดจากนโยบายหรือขั้นตอน

          How. เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เมื่ออธิบายนโยบายกระบวนการหรือขั้นตอนอาจเป็นส่วนสำคัญที่สุด

5W1H สามารถนำไปใช้หัวข้อใด ๆ เพื่อรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลจากข้อมูลที่ซับซ้อนทำให้เป็นข้อมูลง่าย

ตัวอย่างโครงงานเทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์

- สืบค้นข้อมูลที่จำเป็นในการทำโครงงาน นำข้อมูลที่สืบค้นได้มาเป็นความรู้ในการทำโครงงาน (นักเรียนได้จุดมุ่งหมายของการทำโครงงานและทางเลือกในการออกแบบ)

- ระบุประโยชน์ มีคุณประโยชน์ ทำแล้วจะได้อะไร มีคุณประโยชน์อย่างไร

- เลือกวิธีการ ตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยใช้ความรู้ ใช้แหล่งเรียนรู้ที่อยู่ใกล้ตัวให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาเป็นข้อมูลสนับสนุนในการเลือกวิธีการ

- ลงมือปฏิบัติ เป็นขั้นตอนการลงมือแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ โดยการ ออกแบบและปฏิบัติการสร้างชิ้นงาน การทดสอบผลงาน การปรับปรุงแก้ไข และประเมินผลการแก้ปัญหา (นักเรียนได้ชิ้นงานและแก้ไขปัญหาให้สมบูรณ์)

                เมื่อผู้ทำโครงงานได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานแล้ว ผู้ทำจะต้องจัดทำโครงร่างของโครงงาน เพื่อเสนอต่อครู-อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน โดยมีหัวข้อในโครงร่างนำเสนอดังต่อไปนี้