ธุรกิจเชิงพาณิชย์ มีอะไรบ้าง

Shipping เมื่อพูดถึงเรื่องการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) เรามักจะคิดว่าเป็นการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์แบบออนไลน์ระหว่างผู้จัดจำหน่ายกับลูกค้าเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวคิดนี้จะมีความถูกต้องอยู่บ้าง แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถแบ่งโมเดลทางธุรกิจอีคอมเมิร์ซออกได้เป็น 7 ประเภทเชียวนะ

แต่ละประเภทก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน Yalelogistics รวบรวมข้อมูลมาให้คุณแล้ว

1. B2B (Business-to-Business)

หมายถึง ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการให้กับธุรกิจด้วยกัน หรือ E-commerce ที่ครอบคลุมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของสินค้าหรือบริการ ที่ดำเนินการระหว่าง บริษัทผู้ผลิต(B) และ(to) ผู้ค้าส่งแบบดั้งเดิม (B) หรือ ‘ทำธุรกิจโดยขายสินค้า/บริการ ให้กับลูกค้า ที่เป็นลูกค้าองค์กร ไม่ใช่คนธรรมดาเป็นรายบุคคล’ ยกตัวอย่างธุรกิจ B2B ได้แก่

  • บริษัทผลิตสินค้าขายส่ง รับจ้างผลิตสินค้า OEM
  • บริษัทเอเจนซี บริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจ/ด้านกฎหมายให้องค์กร
  • บริษัทซอฟต์แวร์ประเภทองค์กรอาคารสำนักงานให้เช่า
  • บริษัทให้บริการ Shipping
  • แพคเกจทัวร์สำหรับองค์กร เป็นต้น                                                                                                                                                                                                    

2 . B2C (Business-to-Consumer)

หมายถึง ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการ เป็นการดำเนินการระหว่าง บริษัทผู้ผลิต(B) และ(to) ผู้บริโภครายบุคคล(C) เป็นประเภทธุรกิจ E-commerce ที่มีความโดดเด่นในการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจแบบออนไลน์ ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค สอดคล้องกับการค้าปลีกของอีคอมเมิร์ซ

ปัจจุบันการค้าประเภทนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่าย และมีร้านค้าออนไลน์หลายแห่งบนแพลตฟอร์มโซเชียลมิเดีย โดยปกติเราจะคุ้นเคยกับบริษัท B2C กันดีเพราะเป็นสินค้า/บริการที่เข้าถึงผู้บริโภครายบุคคล ยกตัวอย่างธุรกิจ B2C ได้แก่

  • ประเภทสินค้า อาทิ  เสื้อผ้าแฟชั่น , ร้านอาหาร, ขายน้ำดื่ม, ขายสบู่แชมพู เป็นต้น
  • ประเภทบริการ อาทิ อพาร์ทเมนต์, สปา, ฟิตเนส, สถาบันกวดวิชา, บริษัททัวร์, Shipping เป็นต้น

3 . C2B (Consumer-to-Business)

หมายถึง ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการ เป็นการดำเนินการระหว่างลูกค้ากับธุรกิจ E-commerce ประเภทนี้ คือการติดต่อจาก ลูกค้า(C) เข้ามาหา ธุรกิจ(B) เป็นที่นิยมมากในการวางแผนเพื่อที่จะสามารถทำให้บริการหรือผลิตภัณฑ์ของตน สามารถขายให้กับบริษัทที่กำลังหาบริการหรือผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ตัวอย่างธุรกิจ C2B ได้แก่ เว็บไซต์ที่นักออกแบบเสนอโลโก้ให้บริษัท เป็นต้น ในปัจจุบันมีอีกแพลตฟอร์มหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมมากในการค้าประเภท C2B คือตลาดที่ขายภาพถ่าย, สื่อ, องค์ประกอบในการออกแบบที่ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ เช่น IStockphoto หรือ Pixabay เป็นต้น

4 . C2C (Consumer-to- Consumer)

หมายถึง ผู้บริโภคกับผู้บริโภค คือการทำธุรกิจที่ติดต่อกันโดยตรงระหว่าง ‘ลูกค้ารายย่อยที่ซื้อขายกันเอง’ ประเภทนี้จะครอบคลุมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของสินค้า/บริการ ที่ดำเนินการระหว่างผู้บริโภค โดยทั่วไปธุรกรรมเหล่านี้จะดำเนินการผ่านทางบุคคลที่สาม 

จุดเด่นของธุรกิจลักษณะนี้คือ แต่ละคนจะเป็นเจ้าของสินค้าและเปิดร้านค้าของตนเอง แต่เนื่องจากปริมาณสินค้ายังน้อยอยู่ จึงไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนทำ E-business ดังนั้น จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือมีตัวแทนรวบรวมเจ้าของสินค้ารายย่อยเหล่านี้ไว้ด้วยกัน แล้วจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้คอยบริการ เช่น สร้างโฮมเพจ จัดการระบบเก็บเงิน และระบบส่งของให้ คล้ายๆ กับกิจกรรมเปิดท้ายขายของตามสถานที่ต่างๆ ตัวอย่างของระบบ C2C ได้แก่ โฮมเพจของ Thai.com ที่อนุญาตให้เราเข้าไปเปิดร้านค้าย่อยบนอินเทอร์เน็ตได้

อย่างไรก็ตาม รูปแบบของ E-business ระบบ B2B และ B2C ดูเหมือนว่าจะเห็นผลมากกว่าระบบ C2C เนื่องจากระบบ มีปริมาณสินค้ามาก ทำให้มีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนต่ำ แต่ได้รับผลประโยชน์สูง เช่น ebay.com

5 . B2B2C (Business-to-Business-to-Consumer)

หมายถึง ธุรกิจกับธุรกิจ สู่ผู้บริโภค B2B2C เป็นรูปแบบอีคอมเมิร์ซ ที่รวมเอา ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) และ ธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) สำหรับการทำธุรกรรมผลิตภัณฑ์/บริการที่สมบูรณ์ B2B2C เป็นกระบวนการทำงานร่วมกัน ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วคือ การสร้างผลิตภัณฑ์/บริการ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ซึ่ง C หรือ Customer นั้น ก็คือลูกค้าตัวจริง เช่น ธุรกิจให้บริการนำเข้าสินค้า และใช้บริการ ธุรกิจขนส่ง Shipping ส่งสินค้าใปยังลูกค้าของธุรกิจให้บริการนำเข้าสินค้า เป็นต้น

โดย C ของธุรกิจ ก็อาจจะเป็น Buyer หรือฝ่ายจัดซื้อ Influencer หรือผู้ที่มีอำนาจในการกระตุ้นให้เกิดการซื้อ Decision Maker คือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจซื้อ อาจเป็นคนระดับผู้จัดการ ผู้บริหาร เจ้าของบริษัทหรือแม้แต่ CEO Gate Keeper ซึ่งหมายถึง เลขาฯ เจ้านายระดับผู้บริหารหรือ CEO แม้แต่ฝ่าย Operator ก็ถือว่าเป็น Gate Keeper ได้เช่นกัน สุดท้ายคือ User หรือผู้ใช้งานสินค้านั้นจริงๆ

ธุรกิจการให้บริการ มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างธุรกิจบริการ.
ร้านตัดผม เครื่องปรับอากาศ รักษาความปลอดภัย.
ซ่อมเครื่องไฟฟ้า โรงพิมพ์ & นำเที่ยว.
ถ่ายเอกสารฯ จัดหาพยาบาลและแม่บ้าน บริการทำความสะอาด.
ภัตตาคารฯ จัดส่งน้ำดื่ม คอมพิวเตอร์.
ซ่อมเครื่องยนต์รถยนต์ บำรุงรักษารถยนต์ ซัก อบ รีด.
รับเหมาก่อสร้าง สอนใช้คอมพิวเตอร์ สอนภาษา.

การทำธุรกิจคืออะไร

ดังนั้น กล่าวโดยสรุปคือ การท าธุรกิจหรือการประกอบการธุรกิจ จึงหมายถึงการดาเนิน กิจกรรมใดๆก็ตาม ที่ก่อให้เกิดผลผลิตหรือตัวสินค้า และ/หรือ ก่อให้เกิดการบริการ ไม่ว่าจะ เกี่ยวข้องกับการเกษตร การอุตสาหกรรม การพาณิชย์ หรืออื่นๆ เพื่อมุ่งหวังให้เกิดผลก าไรจาก การด าเนินกิจกรรมเหล่านั้น เราถือว่าเป็นการประกอบการทางธุรกิจ ...

ธุรกิจอุตสาหกรรมคืออะไร

กิจการอุตสาหกรรม (Manufacturing Firm) หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทหนึ่ง ที่มีวัตถุประสงค์ในการแปรสภาพ วัตถุดิบ โดยการใช้แรงงานคนหรือใช้เครื่องจักร เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าสำเร็จรูป สำหรับจำหน่ายให้กับลูกค้าโดยตรง หรือ จำหน่ายให้กับธุรกิจอื่นที่จะนำไปจำหน่ายต่ออีกทอดหนึ่ง

กิจการอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง

ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร.
ธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อประหยัดพลังงาน ผลิตพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด.
ธุรกิจอุตสาหกรรมฐานเทคโนโลยีชีวภาพ.
ธุรกิจอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข.
ธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์.
ธุรกิจอุตสาหกรรมวัสดุก้าวหน้า.