พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

             จากรูปจะเห็นว่า B P และ E ล้วนแต่มีลูกศรชี้เข้า หากันและกัน  ซึ่งหมายถึงต่างก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่นนักศึกษาที่เข้าไป เรียนในชั้นเรียนซึ่งเพื่อนนักศึกษา ส่วนมากขยันตั้งใจเรียน ฉะนั้นเมื่อสภาพแวดล้อม (E) เป็นเช่นนี้ก็ส่งผล ให้นักศึกษาเชื่อ (P) ว่าความขยัน และการตั้งใจเรียนเป็นบรรทัดฐานของกลุ่มนี้ ซึ่งมีผลให้นักศึกษามี พฤติกรรม (B) ซึ่งแสดงถึงความขยัน และ ตั้งใจเรียนไปด้วย และพฤติกรรมซึ่งแสดงความขยันและตั้งใจ เรียนของนักศึกษาก็ทำหน้าที่เป็นสภาพแวดล้อม (E) ให้กับนักศึกษาคนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

การพัฒนาตนเป็น กระบวนการของ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเราเอง ให้ไปสู่ภาวะที่ ดีกว่าและ เป็นที่ต้องการ มากกว่า แต่กระบวนการ ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องง่ายทั้งนี้เพราะพฤติกรรมมนุษย์นั้นซับซ้อน มีองค์ประกอบ และปัจจัย เกี่ยวเนื่องจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็น ที่ผู้ศึกษา จะต้องทำความรู้จักสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเพื่อที่จะได้จัดการ ให้มีอิทธิพล เชิงบวก หรือหลีกเลี่ยง หากมีอิทธิพลเชิงลบต่อ การพัฒนาตนเอง การศึกษาปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม จะช่วยให้เข้าใจ พฤติกรรมมนุษย์ ได้ดียิ่งขึ้น

ปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม ประกอบด้วย

  • ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ
    1. พันธุกรรม
    2. การทำงานของระบบในร่างกาย
    3. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
    4. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)

ความหมายของพฤติกรรมมนุษย์
พฤติกรรม (Behavior) คือ กริยาอาการที่แสดงออกหรือปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อเผชิญกับสิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาการแสดงออกต่าง ๆ เหล่านั้น อาจเป็นการเคลื่อนไหวที่สังเกตได้หรือวัดได้ เช่น การเดิน การพูด การเขียน การคิด การเต้นของหัวใจ เป็นต้น ส่วนสิ่งเร้าที่มากระทบแล้วก่อให้เกิดพฤติกรรมก็อาจจะเป็นสิ่งเร้าภายใน (Internal Stimulus) และสิ่งเร้าภายนอก (External Stimulus)

สิ่งเร้าภายใน ได้แก่ สิ่งเร้าที่เกิดจากความต้องการทางกายภาพ เช่น ความหิว ความกระหาย สิ่งเร้าภายในนี้จะมีอิทธิพลสูงสุดในการกระตุ้นเด็กให้แสดงพฤติกรรม และเมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นในสังคม สิ่งเร้าใจภายในจะลดความสำคัญลง สิ่งเร้าภายนอกทางสังคมที่เด็กได้รับรู้ในสังคมจะมีอิทธิพลมากกว่าในการกำหนดว่าบุคคลควรจะแสดงพฤติกรรมอย่างใดต่อผู้อื่น

สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง ๕ คือ หู ตา คอ จมูก การสัมผัส
สิ่งเร้าที่มีอิทธิพลที่จะจูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ได้แก่ สิ่งเร้าที่ทำให้บุคคล เกิดความพึงพอใจที่เรียกว่า การเสริมแรง (Reinforcement) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด คือ การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือ สิ่งเร้าที่พอใจทำให้บุคคลมีการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น เช่น คำชมเชย การยอมรับของเพื่อน ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) คือ สิ่งเร้าที่ไม่พอใจหรือไม่พึงปรารถนานำมาใช้เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาให้น้อยลง เช่น การลงโทษเด็กเมื่อลักขโมย การปรับเงินเมื่อผู้ขับขี่ยานพาหนะไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น

มนุษย์โดยทั่วไปจะพึงพอใจกับการได้รับการเสริมแรงทางบวกมากกว่าการเสริมแรงทางลบ
วิธีการเสริมแรงทางบวก กระทำได้ดังนี้
๑. การให้อาหาร น้ำ เครื่องยังชีพ เป็นต้น
๒. การให้แรงเสริมทางสังคม เช่น การยอมรับ การยกย่อง การชมเชย ฯลฯ
๓. การให้รางวัล คะแนน แต้ม ดาว เป็นต้น
๔. การให้ข้อมูลย้อนกลับ ( Information Feedback ) เช่น การรับแจ้งว่าพฤติกรรมที่กระทำนั้น ๆ เหมาะสม
๕. การใช้พฤติกรรมที่ชอบกระทำมากที่สุดมาเสริมแรงพฤติกรรมที่ชอบกระทำน้อยที่สุดเป็นการวางเงื่อนไข เช่น เมื่อทำการบ้านเสร็จแล้วจึงอนุญาตให้ดูทีวี เป็นต้น

องค์ประกอบพื้นฐานของพฤติกรรม

ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ
ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา
ปัจจัยพื้นฐานด้านสังคมวิทยา

  • แรงจูงใจ (Motivation)
  • การรับรู้ (Perception)
  • การเรียนรู้
  • เจตคติและความคิดรวบยอด ( Attitude and Concept )
  • การตัดสินใจ (Decision Making)

ที่มา http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/


พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 52,379 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 17,291 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 31,434 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 404,539 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 96,582 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 334,583 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 79,129 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 280,194 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 56,307 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 31,208 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 127,347 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 191,486 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 20,797 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 143,790 ครั้ง

พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์

เปิดอ่าน 80,093 ครั้ง