เปลี่ยนบัตรประชาชน เป็นนางสาว ต้องใช้อะไรบ้าง

ข้อ 5  ให้ยกเลิกความตามข้อ 120 ของระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำ ทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 120 กรณีนายทะเบียนได้รับคำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้าน หรือทะเบียนบ้านกลางตามข้อ 115 หรือขอดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรแล้วพบว่า มีรายการบุคคลที่มีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์มีคำนำหน้านามว่าเด็กชายหรือเด็กหญิง ให้นายทะเบียนแก้ไข รายการคำนำหน้านามของบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้าน หรือทะเบียนบ้านกลาง เป็นนายหรือนางสาว แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องมีคำร้องใหม่ เมื่อสำนักทะเบียนกลางตรวจสอบรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน หรือทะเบียนบ้านกลาง ที่จัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ พบรายการบุคคลใดที่มีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์และมีคำนำหน้านามว่า เด็กชายหรือเด็กหญิง ให้ดำเนินการแก้ไขคำนำหน้านามของบุคคลนั้นเป็นนายหรือนางสาว แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องมีคำร้อง”

ทำไมเราถึงเลือกประเด็นเกี่ยวกับการทำบัตรประชาชน อายุ 15 ใช้อะไรบ้างมาพูดคุย ทั้งนี้ ต้องย้อนเตือนความจำกันเสียก่อนว่า ในปัจจุบันถือว่าเป็นขอกำหนดที่มีการระบุไว้เกี่ยวกับการทำบัตรประชาชน โดยให้ผู้ที่มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต้องทำบัตรประชาชน ดังนั้นเมื่อน้อง ๆ หนู ๆ ต้องทำบัตรตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ประกอบกับอายุบัตรที่มีการขยายระยะเวลาเป็น 8 ปี ส่งผลให้เมื่ออายุครบ 15 จึงต้องเปลี่ยนบัตรใหม่ ดังนั้นในครั้งนี้เพื่อเป็นการให้รายละเอียดและข้อมูลสำหรับทุกท่านที่ต้องทำบัตรประชาชน อายุ 15 ใช้อะไรบ้างและต้องทำอย่างไรนั้น เราจึงพร้อมนำเสนอบทความของเราในครั้ง ดังนั้นไปดูกันเลย

  • แหล่งยืมเงินด่วนถูกกฎหมาย ได้จริง โอนเข้าบัญชี
  • หาเงินออนไลน์ไม่ต้องลงทุน

 

ทำบัตรประชาชน อายุ 15 ใช้อะไรบ้าง ทำไมต้องทำใหม่

 

เปลี่ยนบัตรประชาชน เป็นนางสาว ต้องใช้อะไรบ้าง
เปลี่ยนบัตรประชาชน เป็นนางสาว ต้องใช้อะไรบ้าง

แม้ว่าในปัจจุบันทุกท่านจะสามารถพาบุตรหลานไปทำบัตรประชาชนได้ตั้งแต่เขามีอายุ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ก็อาจจะมีบางกรณีที่เมื่อทำบัตรใบแรกแล้วบัตรยังไม่หมดอายุแต่มีความจำเป็นต้องดำเนินการทางธุรกรรม หรือทางเอกสารที่มีความสำคัญ อย่างเช่น การสมัครเรียน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้น้องวัยรุ่น อายุ 15 – 16 ปีคงอยากจะเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจาก ด.ช. หรือ ด.ญ. ไปเป็น นาย หรือ นางสาว ดังนั้นเพื่อเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำบัตรประชาชน อายุ 15 ต้องทำบัตรใหม่หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ

สำหรับกรณีที่น้อง ๆ มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้วนั้น แต่บัตรประชาชนอาจจะยังไม่หมดอายุ ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากวันที่ทำบัตรใบแรกนั้น อาจจะล่าช้ากว่าวันเกิด ส่งผลให้เมื่อน้อง ๆ มีอายุครบ 15 ปีตามกฎหมายนั้นจะสามารถใช้คำนำหน้าขื่อตนเอง ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ใช้คำว่า “เด็กชาย” หรือ “เด็กหญิง” ไปเป็นคำนำหน้าใหม่ที่ใช้ว่า “นาย” และ “นางสาว” ได้ โดยการเปลี่ยนในทางกฎหมายสามารถดำเนินการใช้ได้ทันทีโดยไม่เกี่ยวข้องกับบัตรประชาชน ทั้งนี้สำหรับการทำบัตรประชาชนใหม่นั้นกฎหมายไม่ได้บังคับให้เปลี่ยนบัตรก่อนวันหมดอายุ แต่ทุกท่านสามารถดำเนินการเปลี่ยนบัตรประชาชนใหม่ได้ก่อนบัตรเดิมหมดอายุ 60 วัน โดยสรุปแล้วการเปลี่ยนบัตรประชาชนให้คำนำหน้าชื่อตรงกับความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ควรทำนั่นเอง

 

ทำบัตรประชาชน อายุ 15 ใช้อะไรบ้าง

โดยเมื่อเราทราบสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงบัตรประชาชนใหม่กันไปแล้ว ในประเด็นนี้จะเป็นข้อมูลของเอกสารและสิ่งที่ทุกท่านต้องเตรียม เพื่อนำไปใช้ในการขอทำบัตรประชาชน อายุ 15 ใช้อะไรบ้างก็ไม่ต้องกังวลเพราะเราเตรียมให้เรียบร้อย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • การทำบัตรประชาชน กรณีปกติ เมื่อทุกท่านมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้วนั้น ท่านสามารถดำเนินการขอทำบัตรประชาชนใหม่ได้ทันทีแม้บัตรเดิมจะยังไม่หมดอายุ ทั้งนี้เพื่อเป็นการทำเอกสารยืนยันตัวตนของทางราชการให้มีความชัดเจนและตรงกับสภาพความเป็นจริง ที่ผู้ถือบัตรมีอายุเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถนำ บัตรประชาชนใบเดิม พร้อมทั้งสำเนาทะเบียนบ้าน เข้าติดต่อเพื่อขอทำบัตรประชาชน อายุ 15 ได้ทันทีด้วยตัวของท่านเอง โดยไม่ต้องมีผู้ปกครองหรือเอกสารอื่น ๆ รับรองเหมือนตอนที่ทำบัตรประชาชนอายุ 7 ปี
  • การทำบัตรประชาชน กรณีย้ายที่อยู่ กรณีที่ผู้ถือบัตรประชาชนมีการย้ายที่อยู่ ก็สามารถดำเนินการขอเปลี่ยนบัตรประชาชนได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้บัตรใบเก่าหมดอายุ โดยสามารถนำบัตรประชนใบเดิม พร้อมทะเบียนบ้าน และผู้ปกครองไปดำเนินการด้วย เนื่องจากเป็นกรณีที่มีการย้ายที่อยู่ ทั้งนี้การขอทำบัตรประชาชน อายุ 15 กรณีย้ายที่อยู่นั้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 100 บาท โดยสามารถเข้าดำเนินการได้ที่สำนักออกบัตรประชาชนทุกแห่งทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องกลับไปภูมิลำเนา

 

ทำบัตรประชาชน อายุ 7 ปี กรณีทำบัตรครั้งแรก

ถือว่าเป็นการทบทวนความจำ สำหรับขั้นตอนการดำเนินการทำบัตรประชาชนสำหรับน้อง ๆ ที่มีอายุรบ 7 ปีบริบูรณ์ โดยต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย อายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งต้องดำเนินการทำบัตรประชาชนภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่มีอายุครบ 7 ปี หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท ทั้งนี้สามารถเข้าติดต่อเพื่อทำบัตรประชาชน อายุ 7 ปีได้โดยนำ เอกสารดังนี้เข้าติดต่อเจ้าหน้าที่

  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สูติบัตร หรือหลักฐานทางราชการอื่น ๆ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรนักเรียน หนังสือเดินทาง ซึ่งสามารถแสดงได้ว่าบุคคลที่ทำบัตรนั้นเป็นบุคคลเดียวกันกับชื่อในทะเบียนบ้าน
  • หากไม่มีเอกสารในข้างต้น ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น บิดา มารดา ให้การรับรอง
  • การขอมีบัตรประชาชน ครั้งแรกเมื่อมีอายุมาก หรือมีอายุเกิน 20 ปี หากไม่มีหลักฐานข้างต้น ให้นำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนและให้การรับรอง
  • ทั้งนี้ บุคคลที่น่าเชื่อถือ หมายถึง บุคคลใด ๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคงและมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี โดยอาจจะเกี่ยวข้องเป็นญาติหรือไม่ก็ได้

 

เพียงเท่านี้ เราก็เชื่อว่าทุกท่านคงจะคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับขอทำบัตรประชาชน อายุ 15 ใช้อะไรบ้างกันไปพอสมควร พร้อมทั้งยังได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีการทำบัตรใหม่สำหรับลูกหลานที่มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์อีกด้วย

ทำบัตรประชาชนอายุ 15 ปีต้องใช้อะไรบ้าง

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ทุกกรณี) - ใบสูติบัตร (กรณีอายุ 15 ปี ถ้ามี).
พิมพ์ บ.ป.1 พิมพ์ลายนิ้วมือ (3 นาที).
ถ่ายรูปด้วยระบบ VDO (3 นาที).
พิมพ์บัตรฯด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (2 นาที).
ออกใบเสร็จ ค่าธรรมเนียมส่งมอบบัตรฯ (2 นาที).

เปลี่ยนบัตรประชาชน เป็นนางสาว ได้ตอนไหน

บัตรประชาชนเด็กนี้จะมีอายุแค่ 8 ปี เมื่อมีอายุครบ 15 ปี ต้องเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจากเด็กชายเด็กหญิงเป็นนายและนางสาว ก็ต้องทำบัตรประชาชนใหม่อีกครั้ง

ทําบัตรประชาชนต้องพาผู้ปกครองไปไหม

คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่ต้องการทำบัตรประชาชนให้ลูกหากมีคุณสมบัติครบตรงตามเงื่อนไขก็สามารถพาบุตรหลานไปทำบัตรประชาชนได้ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องกลับไปที่ภูมิลำเนาที่เด็กมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแต่อย่างใด โดยสำนักงานเขตจะเปิดให้บริการวันจันทร์ – วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น.

ต่อบัตรประชาชน 2565 ใช้อะไรบ้าง

1. ให้ไปติดต่อแจ้งขอทำบัตรประชาชนใหม่ ณ สำนักงานเขต / ที่ว่าการอำเภอ / เทศบาล ภายใน 60 วัน (หากเกินเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ 200 บาท) 2. เอกสารหลักฐาน ดังนี้ - สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) - เอกสารราชการที่มีรูปถ่ายของเจ้าของบัตร เช่น ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง เป็นต้น