นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ข้อดีข้อเสีย

สวัสดีครับ พี่ลาเต้ มีข่าวการศึกษาที่น่าสนใจมาฝากกันอีกแล้วหละครับ...คราวนี้เป็นข้อเสียของมาตราการเรียนฟรี 12 ปี...ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น...ไปอ่านกันเลย...

 

จากนโยบายเรียนฟรี 12 ปี ที่รัฐบาลให้การอุดหนุนเงินใช้จ่ายรายหัวให้กับนักเรียนระดับชั้น ป.1 ถึง ม.6 รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า นโยบายเรียนฟรี 12 ปี ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดีเสมอไป เนื่องจากนโยบายดังกล่าวเป็นการให้เงินอุดหนุนอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งๆ ที่บางครอบครัวมีฐานะดีและมีกำลังที่จะสามารถจ่ายค่าเรียนหรือค่าเครื่องแต่งกายได้ แต่กลับไม่ต้องจ่าย และได้รับการอุดหนุนจากรัฐอย่างไม่สมเหตุสมผล ซึ่งแม้นโยบายเรียนฟรี 12 ปี จะก่อให้เกิดประโยชน์กับครอบครัวที่ยากจน แต่ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายให้กับครอบครัวผู้มีฐานะดี

 

นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ข้อดีข้อเสีย

 

ตนเสนอว่าการให้เงินอุดหนุนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น รัฐอาจจะจัดให้เฉพาะค่าเล่าเรียนอย่างเท่าเทียมกันทุกครอบครัว แต่ค่าใช้จ่ายในส่วนของเครื่องแบบ หนังสือแบบเรียน หรือค่าเรียนคอมพิวเตอร์นั้น ควรพิจารณาให้เงินอุดหนุนตามฐานะของครอบครัวเด็กแต่ละคน แล้วนำเอาเงินส่วนที่เคยอุดหนุนให้กับครอบครัวฐานะดี มาจ่ายให้กับครอบครัวยากจนเพิ่มเติมมากกว่า

 

          ได้อ่านข่าวนี้ พี่ลาเต้ ก็เห็นด้วยเลยนะครับ...เพราะอย่างน้อยก็อยากให้ความช่วยเหลือต่างๆ ไปถึงนักเรียนที่เดือดร้อนจริงๆ...

 

 

พพี่ลาเต้ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐพ

 

 

นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ข้อดีข้อเสีย

  • #การศึกษา

22/11/50 13:37 น.

7,125

views

Facebook Twitter Line

นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ข้อดีข้อเสีย

พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

BEAMKING Member 22 พ.ย. 50 21:40 น. 1

การศึกษาล้มเหลว 555+

แก้ไขล่าสุด:
0 0
ถูกใจ ตอบกลับ เมนู

  • แจ้งลบ
  • แก้ไข
  • ปักหมุด
  • ลบความเห็น
  • ลบความเห็น

นิกส์ 28 พ.ย. 50 21:01 น. 3

ตอบค.ห.สอง เขาไม่ได้เรียนfreeครับ แต่ให้เรียนfee อืมเรียนฟรีก็ดีนะ พ่อแม่บางคน ซึ่งมีไม่มาก(คิดในแง่ดี)จะได้ไม่อ้างว่า ไม่มีเงิน เลยให้ลูกออก

เคยได้ยินมาตลอดเกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปี แต่คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่าในปีแต่ละปีนั้นรัฐจ่ายอะไรให้กับการศึกษาของลูกเราบ้าง และแต่ละปี เด็กจะได้รับการสนับสนุนเท่าไหร่ เรามาดูกันค่ะ

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ซึ่งแต่ละปีการศึกษาจะมีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนใน 5 หมวด ได้แก่

ค่าเล่าเรียน แบ่งเป็น

ก. การศึกษาในระบบ ที่เด็กนักเรียนจะได้รับการสนับสนุนต่อหัวอยู่ที่

  • อนุบาลคนละ 1,700 บาทต่อปี
  • ประถมศึกษา คนละ 1,900 บาทต่อปี
  • มัธยมต้น คนละ 3,500 บาทต่อปี
  • มัธยม ปลาย คนละ 3,800 บาทต่อปี
  • ปวช.(ช่างอุตสาหกรรม) คนละ 6,500 บาทต่อปี,
    (พาณิชยกรรม) คนละ 4,900 บาทต่อปี,
    (คหกรรม) คนละ 5,500 บาทต่อปี
    (ศิลปกรรม) คนละ 6,200 บาทต่อปี
    (เกษตรกรรมทั่วไป) คนละ 5,500 บาทต่อปี
    (เกษตรกรรมปฏิรูป) คนละ 11,900 บาทต่อปี
  • ปวช.คนละ 4,240 บาทต่อปี

หมายเหตุ :

  1. มีการเพิ่มการอุดหนุนแก่นักเรียนอนุบาล 3 ขวบในโรงเรียนเอกชน
  2. ปรับเพิ่มอัตราอุดหนุนให้โรงเรียนดอกชนอีกร้อยละ 10
หนังสือเรียน

กระทรวงศึกษาธิการฯ จะจัดสรรงบประมาณค่าหนังสือเรียนให้สถานศึกษาเป็นผู้บริหารจัดการเอง แต่ต้องกำหนดวิธีการให้ถูกต้องตามระเบียบของราชการ และให้มีการทำระบบหนังสือยืมเรียนเพื่อส่งต่อให้นักเรียนรุ่นต่อรุ่น หากหนังสือขาดหรือหายก็ต้องมีคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาคัดเลือกหนังสือใหม่เพิ่มเข้ามา สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่าหนังสือเรียนตามรายหัว ต่อปี โดย

  • อนุบาล คนละ 200 บาท
  • ประถมศึกษาปีที่ 1 คนละ 656 บาท
  • ประถมศึกษาปีที่ 2 คนละ 650 บาท
  • ประถมศึกษาปีที่ 3 คนละ 653 บาท
  • ประถมศึกษาปีที่ 4 คนละ 707 บาท
  • ประถมศึกษาปีที่ 5 คนละ 846 บาท
  • ประถมศึกษาปีที่ 6 คนละ 859 บาท
  • มัธยมศึกษาปีที่ 1 คนละ 808 บาท
  • มัธยมศึกษาปีที่ 2 คนละ 921 บาท
  • มัธยมศึกษาปีที่ 3 คนละ 996 บาท
  • มัธยมศึกษาปีที่ 4 คนละ 1,384 บาท
  • มัธยมศึกษาปีที่ 5 คนละ 1,326 บาท
  • มัธยมศึกษาปีที่ 6 คนละ 1,164 บาท
  • ปวช.คนละ 2,000.00 บาท
อุปกรณ์การเรียน

ในส่วนนี้พ่อแม่สามารถนำใบเสร็จจากการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ของลูกมาเป็นหลักฐานในการเบิกเงินสดได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วหลายๆ โรงเรียนจะจัดสรรให้นักเรียนตามงบประมาณที่ได้แล้ว ได้แก่ แบบฝึกหัด สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ เครื่องมือเรขาคณิต วัสดุฝึกด้านคอมพิวเตอร์ (เช่น แผ่นซีดี) กระดาษ A4 สีเทียน ดินน้ำมัน เป็นต้น

สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่าอุปกรณ์การเรียนตามรายหัว มีดังนี้

  • อนุบาล คนละ 200 บาทต่อปี
  • ประถมศึกษา คนละ 390 บาทต่อปี
  • มัธยมต้น คนละ 420 บาทต่อปี
  • มัธยมปลาย คนละ 460 บาทต่อปี
  • ปวช.คนละ 460 บาทต่อปี
เครื่องแบบชุดนักเรียน

กระทรวงศึกษาธิการจัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำบัญชีจ่ายเงินสดให้แก่ผู้ปกครองนักเรียนตามเกณฑ์ค่าใช้จ่ายรายหัว โดยผู้ปกครองและนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดซื้อเครื่องแบบนักเรียนด้วยตนเอง และให้นำใบเสร็จรับเงินที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าเงินสดนั้น มาเป็นหลักฐานแสดงกับสถานศึกษา โดยมีการตรวจสอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและภาคี 4 ฝ่ายอีกชั้นหนึ่ง

สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่าเครื่องแบบนักเรียนตามรายหัว ดังนี้

  • อนุบาล คนละ 300 บาต่อปี
  • ประถมศึกษา คนละ 360 บาทต่อปี
  • มัธยมต้น คนละ 450 บาทต่อปี
  • มัธยมปลาย คนละ 500 บาทต่อปี
  • ปวช.คนละ 900 บาทต่อปี

ทั้งนี้ เครื่องแบบนักเรียนจำกัดให้เด็ก คนละ 2 ชุดต่อปี ตามราคามาตรฐาน หากพ่อแม่ซื้อเครื่องแบบนักเรียนที่มีราคาสูงกว่าก็ต้องจ่ายส่วนต่างนั้นไป

ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษา สำหรับบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้เองตามวัตถุประสงค์ใน 4 กิจกรรม ได้แก่