Asymmetric Business Models คืออะไร

Digital Business Model โมเดลการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล!

276

SHARES

ShareTweet

เมื่อต้องเผชิญกับ Digital Disruption ควบคู่กับการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ทำให้ธุรกิจดำเนินการต่างไปจากเดิม จึงทำให้เกิดโมเดลที่เรียกว่า Digital Business Model คือการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจโดยการใช้ดิจิทัลเข้ามาเสริมเพื่อรับมือกับคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่าธุรกิจปัจจุบันนี้จะทำควบคู่กับแพลตฟอร์มออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียหรือการใช้ E-Commerce เป็นตัวช่วยในการขายที่ทำให้สะดวกสบายมากขึ้นสำหรับลูกค้า และยังสามารถ Record data โดยการจดจำพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อนำไปคาดการณ์ยอดขายในอนาคต​ (Sales forecast) อีกทั้งยังพัฒนาแพลตฟอร์มให้ใช้งานง่าย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย

Asymmetric Business Models คืออะไร

Digital Business Model แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

1. Freemium
การที่แพลตฟอร์มเปิดให้ใช้บริการโดยมีเงื่อนไขบางประการ อย่างเช่น มีข้อจำกัดในการใช้ฟังก์ชันในแอปพลิเคชัน โดยสามารถซื้อบริการเสริมหากต้องการใช้ฟังก์ชันนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น Youtube โดยปกติแล้วผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มได้ฟรี แต่หากต้องการข้ามโฆษณาก็สามารถจ่ายเพิ่มเพื่ออัพเกรดเป็นพรีเมียมได้เช่นกัน

2. Subscription
ระบบสมัครสมาชิกที่มาแทนการซื้อขาย นั่นหมายความว่าหากเราต้องการเข้าถึงแพลตฟอร์มนั้น ๆ จะต้องสมัครสมาชิกเสียก่อน ตัวอย่างเช่น Netflix บริการสตรีมมิ่งที่นำเสนอความบันเทิง หากต้องการเข้าถึงแพลตฟอร์มนี้จะต้องสมัครสมาชิกก่อน โดยมีการคิดค่าบริการตามแพ็คเกจ

3. Peer-To-Peer, two-sided marketplace
แพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อผู้ขายและผู้ซื้อโดยมีตัวกลางเป็นสินค้าหรือการบริการไม่ว่าจะเป็นการเช่าหรือซื้อก็ตาม ตัวอย่างเช่น Airbnb แพลตฟอร์มที่ให้บริการเช่าสถานที่โดยไม่มีสถานที่เป็นของตัวเองเลยเพราะเป็นตัวกลางที่ให้ผู้ให้เช่ามาลงสถานที่และเปิดบริการให้ผู้เช่ามาเลือกจองสถานที่นั่นเอง

4. E-Commerce
ผู้ให้บริการที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขายสินค้าเสมือนกับการขายสินค้าผ่านคนกลางทั่วไปที่ย้ายมาวางไว้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Lazada, Shopee, Amazon นั่นเอง

5. On-demand
เป็นการบริการที่นำระบบเข้ามาใช้เพื่อประหยัดเวลามากขึ้นและสามารถใช้บริการได้เมื่อต้องการ ตัวอย่างเช่น Netflix บริการเช่าหนังที่สามารถเข้าชมเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ หรือ Grab Food ที่ให้บริการสั่งอาหารมาส่งตามสถานที่เพื่อประหยัดเวลาในการไปต่อคิวซื้อเอง

6. Ad-Supported
เว็บไซต์ที่ให้เข้าถึงได้ฟรีไม่ว่าจะเป็น content, article โดยบริษัทเหล่านี้จะอยู่ได้ด้วยการขายโฆษณา ตัวอย่างเช่น Google ที่สามารถใช้เสิร์ชหาข้อมูลฟรี แต่หากสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่ามีโฆษณาแฝงอยู่ในหน้าเว็บไซต์นั้น นั่นจึงเป็นแหล่งที่มารายได้ของ Google นั่นเอง

7. Open Source
โมเดลนี้ทำให้สามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์ได้ฟรี และสามารถเข้ามาแก้ไข ดัดแปลงได้ ตัวอย่างเช่น Red Hat เปิดให้บริการซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาแก้ไข หรือเผยแพร่ต่อได้ และใช้ได้ฟรี โดยมีรายได้จากค่าสมัครสมาชิก (Premium Subscription) และการฝึกอบรม

ในทางกลับกันหากทุกแพลตฟอร์มใช้โมเดลเดียวกันจะทำให้คู่แข่งในตลาดยิ่งสูงขึ้น ทั้งนี้แบรนด์จึงต้องสร้างเอกลักษณ์และมีจุดยืนที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริการที่ดีกว่าเพื่อสร้าง Customer Experience หรือการสร้าง Customer Relationship ในระยะยาวนั่นเอง

ที่มา
https://innolytics-innovation.com/digital-business-model/
https://www.kreezalid.com/blog/78489-peer-to-peer-marketplace
https://fourweekmba.com/digital-business-models/



#digitalmarketingdigital marketing

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่กำลังเกิดขึ้นได้นำมาสู่ความท้าทายที่สำคัญสำหรับสถาบันการเงินในระยะข้างหน้า รูปแบบของระบบการชำระเงินที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ส่งผลให้ทั่วโลกและไทยต่างกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่งผลให้สถาบันการเงินต้องปรับตัวในสองมิติที่สำคัญ ​คือ การรับมือกับการแข่งขันจากผู้ให้บริการที่มิใช่สถาบันการเงินที่จะเข้ามาแข่งขันในระบบชำระเงินมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สถาบันการเงินต้องปรับตัวอย่างมากจากรูปแบบของธุรกิจที่เปลี่ยนไปสู่ Platform business model ซึ่งความท้าทายทั้งสองประการนี้ ทำให้ความได้เปรียบที่สถาบันการเงินเคยมีจากการเป็นผู้ให้บริการหลักในระบบการชำระเงินถูกสั่นคลอนลง เนื่องจากผู้เล่นใหม่เหล่านี้ล้วนเป็นธุรกิจที่เติบโตมาจากการแข่งขันที่ขับเคลื่อนด้วย Platform แทบทั้งสิ้น ในท้ายที่สุดแล้ว สถาบันการเงินที่สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจชำระเงินไว้ได้จะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจสถานการณ์การแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไปและนำบทเรียนจากธุรกิจชั้นนำของโลกที่เคลื่อนไปสู่การแข่งขันด้วย Platform มาใช้กับธุรกิจของตนได้อย่างรวดเร็วที่สุดนั่นเอง

เมื่อยุค Digital Transformation เริ่มเข้ามามีบทบาทในโลกธุรกิจ การปรับ Business Model สู่การเป็นองค์กรดิจิทัลให้ทันโลก มุ่งเน้นเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหัวใจหลัก เป็นหมากสำคัญในการบริหารธุรกิจไปโดยปริยาย

ในที่นี้ยุค Digital Transformation คืออะไร ? พิมพ์นิภา บัวแสง นักวิเคราะห์จาก Economic Intelligence Center (EIC) กล่าวอธิบายไว้ว่า “ยุค Digtal Transformation เป็นยุคสมัยที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากการมีระบบคลังเก็บข้อมูล Cloud, Big Data, Internet of Things (IoT), สมาร์ทโฟน, ดีไวซ์, โซเชียลมีเดีย และเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมากมาย

โดยหัวใจหลัก ๆ ของยุค Digital Transformation คือ การมุ่งเน้นนำ Digital Technology มาปรับใช้กับทุกส่วนของธุรกิจ

ตั้งแต่กระบวนการทำงาน, สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์, การตลาด, วัฒนธรรมองค์กร และการกำหนดเป้าหมายการเติบโตในอนาคต เพื่อให้ธุรกิจปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกทุกวันนี้” พิมพ์นิภา เธอขยายความเอาไว้คร่าว ๆ ในนิตยสารการเงินการธนาคาร ฉบับเดือนมกราคม 2018 ที่ผ่านมา

หัวข้อในบทความ

สรุปว่า Age of Digital Transformation เป็นยุคทอง หรือแค่ยุคลองของ ?

นอกเหนือจาก Business Model โมเดลธุรกิจหารายได้ เงินทุนหมุนเวียน การจัดหาเงินทุน และ Business Model บริหารงาน เพื่อก้าวข้าม Comfort Zone ให้ได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจมากกว่าที่เคย

แน่นอนว่า การเปลี่ยนผ่านองค์กรเข้าสู่ยุค Digital Transformation นั้นไม่มีสูตรตายตัว ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย จากสถิติสำรวจของนิตยสารธุรกิจชั้นนำระดับโลก Forbes พบว่า กว่า 84% ขององค์กรธุรกิจต้องพลาดฝัน ในยุค Digital Transformation

สำหรับเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้บริษัทฯ ล้มเหลวในการเปลี่ยนเข้าสู่ยุค Digital Transformation คือ ผู้นำองค์กรยังขาดความชัดเจนในการวิเคราะห์ให้ขาด ตรงจุดว่า ดิจิทัลจะนำมาปรับใช้ในองค์กรได้อย่างไร และไม่มีการวางแผนที่เป็นระบบให้เหมาะสมกับสภาพจริงของธุรกิจนั้นเอง

ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า มีธุรกิจที่ตื่นตัวกับยุค Digital Transformation เช่น ธุรกิจค้าปลีก, ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์และมีเดีย, อุตสาหกรรมการผลิต, อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร, การประกันภัย, ขนส่งและโลจิสติกส์,สาธารณูปโภค, การแพทย์และสุขภาพ เป็นต้น

 

ผู้เล่นรายใดบ้างที่กระโดดเข้าสู่ยุค Digital Transformation แล้ว

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ตัวอย่างกรณีน่าศึกษาในเมืองไทยเช่น นิตยสารแพรวที่ส่ง Celeb Blog ดังเป็นพลุแตกด้วย สู่ขวัญ  บูลกุล ที่หันมาทำ content วิดีโอร่วมกับนิตยสารแพรว ราวกับชุบชีวิตนิยตสารแฟชั่นในตำนานให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งในสนามใหม่

หรือแม้กระทั่งการใช้ Line Beacon โดยโรงพยาบาลสมิติเวช เข้ามาช่วยให้บริการแก่ลูกค้าโรงพยาบาลที่มาใช้บริการในโรงพยาบาล บนแนวคิดว่า “ไม่มีใครอยากมาโรงพยาบาล” เพื่อสร้างความประทับใจครั้งใหม่ ซึ่งเป็นครั้งแรกของเมืองไทยที่มีการใช้งานระบบนี้

สำหรับรายละเอียดการใช้ของ Line Beacon เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลระยะสั้นผ่าน Bluetooth Low Energy เมื่อเดินเข้าไปในพื้นที่ Line Beacon จะส่งข้อมูลที่น่าสนใจ คูปองมีความจำเป็น เชิญชวนให้ไปใช้งาน หรือเลือกประยุกต์ใช้ได้ตามความต้องการของผู้ให้บริการได้เลย

เพื่อกระโดดเข้าสู่ The golden age of Digital Transformation ยุคทองของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ เรามารู้จัก 5 Business Model ไอเดียธุรกิจแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อใช้จุดประกายในทำธุรกิจที่เรารักไปพร้อมกันเลยดีกว่า

 

#1 ลดราคาก่อน ไว้โกยกำไรทีหลัง

สำหรับ Business Model ลดราคา กวาดส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) ในอุตสาหกรรม เพื่อฟันกำไรในภายหลัง

อธิบายให้เห็นชัดเจนขึ้น เกี่ยวกับ Business Model นี้ ผู้ที่นำเทรนด์นี้ไม่ใช่ใครอื่น อีคอมเมิร์ซค่าย Amazon กำหนดเป้าหมายตลาดใหญ่

การจู่โจมตลาดและลูกค้า ด้วยการขายสินค้าในราคาที่ต่ำสุดด้วยการเจรจาร่วมกับคู่ค้าซัพพลายเออร์ลงทุน และไม่ลืมดูแลการจัดส่งให้รวดเร็ว และบริการที่ยอดเยี่ยม กลายเป็นแม่เหล็กสำคัญในการชิงเค้กก้อนโตแย่งส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

อย่างไรก็ดี รูปแบบธุรกิจของ Amazon เป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้บริษัทเติบโตคิดเป็นร้อยละ 27 ต่อปี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ขณะที่ธุรกิจ Priceline ในฟากการให้บริการห้องพัก รถเช่า และตั๋วเครื่องบินอย่างธุรกิจ OTA หรือ Online Travel Agency ที่โลดแล่นมาก ๆ ในสังเวียนออนไลน์

พูดว่า Priceline อาจจะยังไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่า Agoda และ Booking คงจะต้องร้อง “อ้อ !!” ไปตาม ๆ กัน เพราะ บริษัทนี้เป็นเจ้าของทั้งสองเว็บไซต์ดังกล่าว

ถึงจะมีคู่แข่งมากหน้าหลายตา และไม่มีโรงแรม หรือสินทรัพย์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวสักชิ้น แต่ Priceline ก็ทำธุรกิจนี้ได้ ด้วยการพัฒนาระบบจองให้ดีเยี่ยม โฆษณาให้มียอดจองกระเตื้อง พร้อมกับนำเสนอราคาที่ไม่แพง หวังเคลมผู้บริโภคให้ติดอกติดใจใช้งานบ่อย ๆ

เมื่อมียอดจองโรงแรม หรือบริการต่าง ๆ เกิดขึ้นผ่านระบบ บริษัท Priceline ก็รับค่าคอมมิชชั่นไปนอนกอดเต็ม ๆ

 

#2 เสนอขายด้วยราคาแพงที่สุด

การถือข้อมูลมหาศาล Big Data อาจจะไม่ทำให้คุณชนะในธุรกิจได้ แต่วิเคราะห์ข้อมูลให้ได้ และนำมาใช้ให้ถูกต้อง กลายเป็นอาวุธสำคัญของธุรกิจ

ดังเช่น การค้นหาลูกค้าที่มองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่มีใครสามารถให้ได้ นวัตกรรมที่เหนือระดับ เพื่อให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินเกือบครึ่งล้านเหรียญต่อปี นั่นคือสิ่งที่ Alexion Pharmaceuticals ทำ

จากสถิติผู้ป่วยชาวอเมริกันกว่า 8,000 รายที่ป่วยด้วยโรคระบบภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับเลือด Paroxysmal nocturnal hemoglobinuria (PNH) บางส่วนของคนเหล่านี้จัดให้มี บริษัท ประกันหรือรัฐบาลสหรัฐฯจ่ายเงิน $ 569,000 ต่อปี เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ยา Soliris ราคาแพงของ Alexion เพื่อมีชีวิตอยู่รอดได้

เป็นรูปแบบธุรกิจที่ยอดเยี่ยมเลยก็ว่าได้ นอกจากยาราคาแพงแล้ว Alexion ยังมีนวัตกรรมอื่น ๆ ที่ผลิตมา เพื่อบำบัดโรคอื่น ๆ และยาควบคุมภูมิคุ้มกันสำหรับคนไข้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะอีกด้วย

ช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาหุ้นของ Alexion พุ่งทะยานขึ้นร้อยละ 2,250 ต่อปี ขณะที่รายได้ของบริษัท Alexion ขยายตัว 106 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ก้าวสู่ 1,600 ล้านดอลลาร์

 

#3 ล้ำสมัย เติมความสะดวกสบาย

เมื่อระบบ AI เข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อนาคตของระบบรถยนต์ไร้คนขับที่กำลังจะเกิดขึ้นจริง ๆ เห็นว่า ล่าสุดรถยนต์ไร้คนขับของ Google ได้ทดสอบการทำงาน โดยวิ่งในถนนไปแล้วกว่า 1.5 ล้านไมล์

ร้านค้าไร้แคชเชียร์ก็เป็นอีกโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจสุด ๆ เป็นเรื่องที่น่าสนใจเลยทีเดียว  เป็นสิ่งที่น่าจับตามองไม่น้อย จากการตัดสินใจ Back to basic แบบ Online to offline (O2O)ก้าวจากโลกออนไลน์สู่โลกจริง ๆ ของยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ Amazon

หลังจากเลือกกว้านซื้อหุ้นของร้านค้าปลีกโชว์ห่วย Whole Food ที่ซื้อมาเมื่อปี 2017 เพื่อนำมาทำร้านค้าไร้แคชเชียร์ เรียกเสียงฮือฮาอย่างมากชนิดที่ตีพิมพ์ข่าวลงทุกสื่อ

การผนวกทุกอย่างที่มีเข้าด้วยกันอย่างสมูทไร้ที่ติ ตั้งแต่ระบบแอปพลิเคชัน ระบบจ่ายเงิน ระบบร้านค้า และอื่น ๆ ของอเมซอน นั่นทำให้ทั้งโลกต้องหันมาปรับตัวกันยกใหญ่อีกครั้ง

 

#4 ทดลองใช้ก่อน พอใจค่อยซื้อ

เคยไหมก่อนจะซื้อสินค้าอะไรสักชิ้น ต้องยืนทดลองสินค้าเป็นเวลานานสองนาน จะซื้อก็ไม่กล้าซื้อ โดยเฉพาะเครื่องสำอางใหม่ ๆ ที่ไม่เคยใช้ หากซื้อไปก็หวั่นใจ กลัวว่าใช้ไปหน้าจะพัง

เป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย สำหรับ Business Model ขายเครื่องสำอางออนไลน์ แบบให้เทสก่อน ชอบซื้อทีหลัง

สำหรับการใช้งาน อีคอมเมิร์ซแหวกแนวภายใต้ชื่อ Birchbox ถูกใจใช้ดีแล้วค่อยซื้อ ก็ไม่ยากเย็นเลย ทาง Birchbox จะส่งกล่องมาให้ที่บ้านของสมาชิก

คล้ายกับการรอของขวัญจากซานต้าครอสยังไงอย่างนั้น เพราะก่อนที่จะได้รับสินค้าสมาชิกต้องกรอกข้อมูลสำคัญของตนเองให้ครบครันก่อน เช่น สภาพผิว สีผม การแต่งตัว สไตล์การแต่งหน้า ข้อมูลทุกอย่างต้องแน่น เพื่อให้ทาง Birchbox ส่งสินค้ามาให้ทดลอง 4-5 ชิ้นต่อเดือน เฟ้นหาเครื่องสำอางตามข้อมูลที่ลูกค้าระบุไว้ข้างต้น (ค่าสมัครสมาชิกประมาณ 10 ดอลลาร์/เดือน) คือถ้าสนใจก็กลับมาซื้อบนแพลตฟอร์ม Birchbox ได้

ถ้าถูกใจใช้ดีก็ไปคอมเมนต์บอก หรือถ้าใช้แล้วไม่โอเคก็บอกได้ สมาชิกก็จะได้รับแต้มพิเศษเพื่อแลกสินค้าขนาดปกติ หรือแนะนำเพื่อนมาใช้ก็จะได้สิทธิพิเศษอื่น ๆ มากมาย

โดยแนวคิดดังกล่าวเกิดจาก Hayley Barna และ Katia Beauchamp สองสาวพนักงานออฟฟิศที่รักการแต่งหน้าเป็นชีวิตจิตใจ ประสบความสำเร็จอย่างมากในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา

 

#5 เข้าถึง เข้าใจผู้บริโภคอย่าง Exclusive

สำหรับ Business Model นี้ ขอยกตัวอย่างธุรกิจ Hukkster ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายให้สิทธิพิเศษกับลูกค้าตั้งแต่เปิดเข้ามาหน้าเว็บไซต์

ช้อปปิ้งให้ฟินเหมือนหาคู่รัก แปลกยังไงก็แค่ช่องทางอีคอมเมิร์ซช้อปปิ้งแล้วมีส่วนลด ด้วยแคมเปญที่สนุกยิ่งกว่า ด้วยการกดรับส่วนลดสูงสุด 70% แบบ Real Time สำหรับซื้อสินค้า ช่วยกระตุ้นยอดขาย

Hukkster ก่อให้เกิดการช้อปปิ้งคล้าย ๆ กับแอปพลิเคชันหาคู่ Tinder ยังไงอย่างนั้น เห็นว่าลูกค้าที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของ Hukkster ติดหนึบชนิดที่ต้องติดตามโปรโมทชั่นใหม่ ๆ อยู่ทุกวันผ่านอีเมล และการแจ้งเตือนผ่านมือถือ

แม้จะเป็นเว็บไซต์ขายของ แต่ Hukkster มีรายได้หลักจากพาร์ทเนอร์ที่ยินดีจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สำหรับปรับแต่งอีเมลการแจ้งเตือนการขายที่ดีกว่า

นอกจากนี้ยังมีคอนเทนต์สายไลฟ์สไตล์จาก Popsugar ที่สามารถดึงดูดให้ผู้ชมดูวิดีโอบนเฟสบุ๊คเพจได้นานถึง 30 วินาที หรือนานมากกว่านั้น โดยผู้บริหารเลือกเล่าเรื่องให้เด็ดตั้งแต่ 2-3 วินาทีแรกที่วิดีโอเริ่ม

เรียกได้ว่า Popsugar นำเสนอข้อมูลทุกอย่างที่คุณอยากรู้แบบเข้าใจแล้ว ยังมีกิจการเสิร์ชเอ็นจิ้นด้านการช้อปปิ้งอย่าง ShopStyle เข้ามาช่วยเสริมแกร่งให้แบรนด์ปังดังแรง ด้วยจำนวนผู้ชมกว่า 41 ล้านคน และเพจที่มียอดวิวรวมกว่า 234 ล้านครั้งต่อเดือน

 

ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของ Business Model ในยุค Digital Transformation เท่านั้น เมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึง แล้วคุณล่ะพร้อมแค่ไหน ?