ความสําคัญของภาษามีกี่ข้อ อะไรบ้าง

ความสําคัญของภาษามีกี่ข้อ อะไรบ้าง

❝ การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน การแสดงการจัดกิจกรรม ฯลฯ ไปยังผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับบริบททางการสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล ❞

ความสําคัญของภาษามีกี่ข้อ อะไรบ้าง

การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

สาระสำคัญ
              ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าในฐานะของผู้ส่งสารหรือผู้รับสาร ดังนั้นในการสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผล ผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถเลือกใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งมีคุณธรรมและมารยาทที่ดีในการสื่อสารเป็นสำคัญ

เนื้อหา
             การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน การแสดงการจัดกิจกรรม ฯลฯ ไปยังผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับบริบททางการสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล

ความสำคัญของการสื่อสาร

 ๑) การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่มีใครที่ดำรงชีวิตได้ โดยปราศจาก การสื่อสาร โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคมจึงดำเนินไปพร้อมๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
 ๒) การสื่อสารช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ ประเพณี กฎเกณฑ์ทางสังคมและความรู้ต่างๆ จำเป็นต้องรับการถ่ายทอดเพื่อให้เป็นมรดกทางสังคมตกลงใช้ร่วมกันอย่างสันติ
 ๓) การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งในการสื่อสารจำเป็นต้อง พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและต้องใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น การใช้สื่อโสตฯ หรือสื่อ  อิเล็คทรอนิกส์ในงานสาธารณสุข เป็นต้น

ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร
         ๑.  ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร  ผู้ส่งสารใช้ภาษาถ่ายทอดเรื่องราว  ความรู้  ความคิด  ความรู้สึกไปยังผู้ส่งสาร  ภาษาแบ่งออกได้  เป็น  ๒ ชนิด  คือ
               ๑.๑  วัจนภาษา  (verbal  languaye)  เป็นภาษาถ้อยคำ  อาจเป็นคำพูดหรือตัวอักษรก็ได้  การใช้วัจนภาษาจะต้องชัดเจนและถูกต้องทั้งการเขียน  การออกเสียงคำ  และการเรียงเรื่องประโยค  นอกจากนี้ยังต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมกับลักษณะของการสื่อสาร  ลักษณะงาน   สื่อ  และผู้รับสารด้วย
               ๑.๒  อวัจนภาษา  (non-verbal  languaye)  คือภาษาที่ไใม่ใช้ถ้อยคำ  แต่แฝงอยู่ในถ้อยคำ  ได้แก่  สีหน้า  สายตา  ท่าทาง  น้ำเสียง  วัตถุ  ช่องว่าง  เวลา การสัมผัส  กลิ่น  รส  ภาพและลักษณะของอักษร  เป็นต้น เราอาจใช้อวัจนภาษาเพื่อเสริม   เน้นหรือแทนคำพูดก็ได้  ผู้ใช้ภาษาต้องเลือกใช้อวัจนภาษาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ระดับภาษาในการสื่อสาร
               การใช้ภาษาต้องคำนึงถึงระดับของภาษา  ซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส  สถานการณ์และบุคคล  ระดับภาษามี  ๓  ระดับ  คือ
               ๑.  ระดับพิธีการ
เป็นระดับภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์  เช่น   ภาษาในศาล  การประชุมรัฐสภา  และในพิธีการต่าง ๆ
ตัวอย่าง  ข้าพระพุทธเจ้าของพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลอัญเชิญใต้ผ่าละอองธุลีพระบาทพระราชทาน    ปริญญาบัตร
               ๒.   ระดับทางการ
เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้ในโอกาสหรือเรื่องสำคัญ  ได้แก่ภาษาในบทความวิชาการ  เอกสารทางราชการ  สุนทรพจน์  การประชุมทางการ  ตัวอย่าง  ประธานขอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
               ๓.  ระดับกึ่งทางการ
เป็นระดับภาษาที่ใช้ปรึกษาหารือกิจธุระ  การประชุมไม่เป็นทางการ  บทความแสดงความคิดเห็น  สารคดีกึ่งวิชาการ 


วิจินตน์ ภาณุพงศ์( 2524 : 85) อธิบายความหมายของภาษาว่า “ภาษา หมายถึง เสียงพูดที่มีระเบียบและมีความหมาย ซึ่งมนุษย์ใช้ในการสื่อความคิด ความรู้สึก และในการที่จะให้ผู้ที่เราพูดด้วยทำสิ่งที่เราต้องการ และแทนสิ่งที่เราพูดถึง”
พจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.  2542 (2542 : 822)ให้ความหมายของภาษาไว้ว่า  ภาษา  หมายถึง  ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  เช่น  ภาษาไทย                อุดม    วิโรตม์สิกขดิตย์(2547 : 1-2) กล่าวว่า  ภาษา  หมายถึง  การสื่อความหมายที่ต้องมีเสียง  ความหมาย  ระบบ  กฏเกณฑ์ที่ยอมรับกันทั่วไป  หรืออีกนัยหนึ่งกล่าวว่า  ภาษาต้องมีโครงสร้าง(Structure)              
มยุเรศ  รัตนานิคม(2542 : 3) กล่าวว่า  ภาษา  หมายถึง  รหัสชนิดหนึ่งซึ่งมนุษย์ใช้สื่อความหมายระหว่างกันในการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยผ่านสื่อที่เป็นเสียงสัญลักษณ์ตามที่ได้ตกลงยอมรับกันในสังคมของผู้ใช้รหัสเดียวกันนั้น  เสียงสัญลักษณ์ดังกล่าวจะต้องมีระบบแบบแผนที่แน่นอนและมีความสัมพันธ์กันกับระบบความหมายอันเป็นความหมายที่สามารถเข้าใจตรงกันได้ในหมู่ชนนั้น ๆ



สรุป ภาษา หมายถึง สัญลักษณ์ที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มสังคมแต่ละกลุ่ม และทุกครในสังคมนั้นๆจะเข้าใจความหมายตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสังคม

อ้างอิง https://th.answers.yahoo.com 


 https://www.gotoknow.org/posts/322514



ความสำคัญของภาษา กรมวิชาการ (2545:3-6) ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อ สาร เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุรการงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิดวิจารณ์และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ ได้กล่าวถึงลักษณะสาคัญๆ อันเป็นคุณสมบัติของภาษา สรุปได้ดังนี้ (วิไลวรรณขนิษฐานันท์ (2526 : 2) 1. ภาษาประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมาย โดยนัยของคุณสมบัตินี้ ภาษาหมายถึงภาษาพูดเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ใช้บันทึกภาษาพูด 2. ภาษาเป็นเรื่องของสัญลักษณ์ ซึ่งต้องมีการเรียนรู้จึงจะเข้าใจได้ว่าสัญลักษณ์นั้นมีความหมายว่า 3. ภาษามีระบบ เช่น การเรียงลาดับเสียง หรือการเรียงลาดับคาในประโยค การจะใช้ภาษาให้ถูกต้อง จึงต้องเรียนรู้ระเบียบและกฎของภาษานั้นๆ 4. ภาษามีพลังงอกงามอันไม่สิ้นสุด จากจานวนเสียงที่มีอยู่ ผู้พูดสามารถผลิตคาพูดได้ไม่รู้จบ เราจึง ไม่อาจนับได้ว่าในภาษาหนึ่งๆ มีจานวนคาเท่าใด


ความสำคัญของภาษาไทย        
1.เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารการดำเนินชีวิตประจำวันและในการประกอบอาชีพจะมีการติดต่อสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องราว ความรู้สึก ความนึกคิด ความต้องการของแต่ละฝ่าย ซึ่งได้แก่ผู้ส่งสาร ซึ่งจะส่งสารโดยแสดงพฤติกรรมในรูปของการพูด การเขียน หรือแสดงด้วยท่าทาง ส่วนผู้รับสารจะรับสารด้วยการฟัง การดู หรือการอ่าน แต่ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารหรือรับสารก็ตาม เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้เป็นสะพานเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันคือ ภาษา     
  2.เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์ สะสม อนุรักษ์และถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมให้เป็นมรดกของชาติโดยใช้ภาษาไทยเป็นสื่อ คนรุ่นหลังจึงใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการศึกษาแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ และรับสิ่งที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ทั้งการพัฒนาสติปัญญา กระบวนการคิด การวิเคราะห์ การวิพากษ์วิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดความรู้และประสบการณ์ที่งอกงาม กลายเป็นผู้ที่มีชีวทัศน์และโลกทัศน์ที่สอดคล้องกับยุคสมัย สามารถติดตามความเจริญก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ จึงรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกปัจจุบัน ซึ่งนำมาพัฒนาประเทศชาติได้อย่างดี      
 3.เป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันในประเทศไทยนอกจากจะมีภาษาไทยกลางซึ่งเป็นภาษาประจำชาติแล้ว เรายังมีภาษาถิ่นต่างๆ ซึ่งเป็นภาษาที่ติดต่อกันเฉพาะในกลุ่ม และเมื่อกำหนดให้ภาษาไทยกลางเป็นภาษามาตรฐานเป็นภาษาที่ใช้ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารเข้าใจตรงกันทั้งในการศึกษา ในทางราชการ และในสื่อสารมวลชน การใช้ภาษาไทยกลางช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันในสังคมไทยโดยส่วนรวม      
 4.เป็นเครื่องมือในการบันทึกและถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของบรรพบุรุษในรูปของวรรณคดีและวรรณกรรมการอ่านและการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมแต่ละสมัย ทำให้ชนรุ่นหลังรับรู้และเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้แต่ง เข้าใจสภาพความเป็นอยู่ เข้าใจเหตุการณ์ เข้าใจลักษณะสังคม และสังคมของผู้คนในสมัยนั้นๆ      
 5.เป็นเครื่องมือสร้างเอกภาพของชาติการที่ประเทศไทยมีภาษาไทยกลางเป็นมาตรฐานที่ใช้ร่วมกัน มีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีอารยธรรม การใช้ภาษาไทยในการนติดต่อสื่อสารทำให้เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเกิดความผูกพันเป็นเชื้อชาติเดียวกัน ทำให้เกิดความปรองดองและร่วมมือกันที่นะพัฒนาชาติไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงต่อไป      
 6.เป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงไพเราะเมื่อผู้เขียนได้นำมาแต่งเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง เมื่อใครได้อ่านได้ฟังก็จะเกิดความรู้สึกชื่นบาน เกิดความจรรโลงใจ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอะไรก็ตามซึ่งเป็นเรื่องราวที่ช่วยให้เกิดความจรรโลงใจ และความชื่นบานนี้จำเป็นต้องอาศัยภาษาเป็นสื่อ ภาษาไทยจึงมีความสำคัญที่ช่วยให้ชีวิตคนไทยมีความสดชื่น รื่นรมย์ มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เคร่งเครียด เกิดความคิดสร้างสรรค์ และสังคมดำรงอยู่ได้ด้วยด


สรุป ความสำคัญของภาษา คือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร ทำให้คนในสังคมมีความเข้าใจในความหมายที่ตรงกัน




อ้างอิง http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content21.html

www.htc.ac.th › thai https://nungruatai11.wordpress.com/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D-3/


ระดับของภาษา

การใช้ภาษาขึ้นอยู่กับกาลเทศะ สถานการณ์ สภาวะแวดล้อม และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึ่งอาจแบ่งภาษาเป็นระดับต่างๆได้หลายลักษณะ เช่น (ภาษาระดับที่เป็นแบบแผนและไม่เป็นแบบแผน),(ภาษาระดับพิธีการ ระดับกึ่งพิธีการ ระดับไม่เป็นทางการ) ในชั้นเรียนนี้ เราจะชี้ลักษณะสำคัญของภาษาเป็น 5 ระดับ ดังนี้

1. ระดับพิธีการ ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ได้แก่ การประชุมรัฐสภา การกล่าวอวยพร การกล่าวต้อนรับ การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร การกล่าวสดุดีหรือการกล่าวเพื่อจรรโลงใจให้ประจักษ์ในคุณความดี การกล่าวปิดพิธี เป็นต้น ผู้ส่งสารระดับนี้มักเป็นคนสำคัญสำคัญหรือมีตำแหน่งสูง ผู้รับสารมักอยู่ในวงการเดียวกันหรือเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ สัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารเป็นผู้กล่าวฝ่ายเดียว ไม่มีการโต้ตอบ ผู้กล่าวมักต้องเตรียมบทหรือวาทนิพนธ์มาล่วงหน้าและมักนำเสนอด้วยการอ่านต่อหน้าที่ประชุม

2. ภาษาระดับทางการ ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมหรือใช้ในการเขียนข้อความที่ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางราชการหรือในวงธุรกิจ ผู้ส่งสารและผู้รับสารมักเป็นบุคคลในวงอาชีพเดียวกัน ภาษาระดับนี้เป็นการสื่อสารให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยยึดหลักประหยัดคำและเวลาให้มากที่สุด

3. ภาษาระดับกึ่งทางการ คล้ายกับภาษาระดับทางการ แต่ลดความเป็นงานเป็นการลงบ้าง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารซึ่งเป็นบุคคลในกลุ่มเดียวกัน มีการโต้แย้งหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นระยะๆ มักใช้ในการประชุมกลุ่มหรือการอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน ข่าว บทความในหนังสือพิมพ์ เนื้อหามักเป็นความรู้ทั่วไป ในการดำเนินชีวิตประจำวัน กิจธุระต่างๆ รวมถึงการปรึกษาหารือร่วมกัน

4. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน ๔-๕ คนในสถานที่และกาละที่ไม่ใช่ส่วนตัว อาจจะเป็นบุคคลที่คุ้นเคยกัน การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าวและการเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปจะใช้ถ้อยคำสำนวนที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยกันมากกว่าภาษาระดับทางการหรือภาษาที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม เนื้อหาเป็นเรื่องทั่วๆไป ในการดำเนินชีวิตประจำวัน กิจธุระต่างๆรวมถึงการปรึกษาหารือหรือร่วมกัน

5. ภาษาระดับกันเอง ภาษาระดับนี้มักใช้กันในครอบครัวหรือระหว่างเพื่อนสนิท สถานที่ใช้มักเป็นพื้นที่ส่วนตัว เนื้อหาของสารไม่มีขอบเขตจำกัด มักใช้ในการพูดจากัน ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรยกเว้นนวนิยายหรือเรื่องสั้นบางตอนที่ต้องการความเป็นจริง (การแบ่งภาษาดังที่กล่าวมาแล้วมิได้หมายความว่าแบ่งกันอย่างเด็ดขาด ภาษาระดับหนึ่งอาจเหลื่อมล้ำกับอีกระดับหนึ่งก็ได้)


สรุป ระดับของภาษา มี 5 ระดับ คือ 1.)ภาษาระดับพิธีการ ใช้สื่อสารในที่ประชุม ที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ 2.)ภาษาระดับทางการ ใช้กับหนังสือจดหมายทางราชการ การประชุมทางราชการ 3.)ภาษาระดับกึ่งทางการ ใช้พูดกับบุคคลกลุ่มเดียวกัน ที่สามารถลดความเป็นทางการลงได้ 4.)ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ใช้พูดกับคนคุ้นเคย รึการเขียนจดหมายหาเพื่อน 5.)ภาษาระดับกันเอง ใช้พูดกับเพื่อนและคนสนิท


อ้างอิง https://sites.google.com/site/khwamruphasathai/home/10-radab-phasa



ทักษะและเทคนิคการใช้ภาษา และลีลาในการสอน

การใช้ประโยคถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เมื่อใช้คาได้อย่างถูกต้องแล้ว ลาดับต่อไปคือ การนาคาต่าง ๆ มาเรียบเรียงเป็นประโยคให้ถูกต้องตามหลัก ไวยากรณ์ไทย การใช้ประโยคได้อย่างถูกต้องย่อมทาให้การสื่อสารแต่ละครั้งบรรลุจุดมุ่งหมาย การใช้ ประโยคไม่ถูกต้องเกิดจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้ 1. การเรียงประธาน กริยา กรรม ไม่เป็นไปตามลาดับ 2. คาเชื่อมประโยคอยู่ผิดที่ 3. การใช้คาบุพบท สันธาน หรือลักษณะนามผิด 4. การวางส่วนขยายไม่ชิดคาที่ต้องการอธิบาย การหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน แม้ว่าการใช้ภาษาพูดในภาษาเขียนจะมีจุดมุ่งหมายตรงกัน คือ เพื่อให้การสื่อสารบรรลุจุดมุ่งหมาย แต่ก็มี องค์ประกอบที่ใช้ในการสื่อสารต่างกัน ทาให้ภาษาเขียนมีกฎเกณฑ์ในการใช้ภาษาต่างจากภาษาพูด ข้อแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียนมีดังนี้ 1. การพูดมีสถานการณ์และสภาพแวดล้อมช่วยให้เข้าใจได้ดียิ่งกว่าการเขียน 2. ภาษาพูดเป็นการสื่อสารเฉพาะขณะที่พูด 3. ในการพูดอาจใช้ภาษาเฉพาะกลุ่มได้ 4. ในการพูดนั้นผู้ส่งสารและผู้รับสารมีความใกล้ชิดกัน 5. ในการพูด เราอาจพูดซ้าได้เพื่อทวนเรื่องที่ยากให้เข้าใจ 6. ภาษาเขียนไม่ควรมีข้อผิดพลาด ควรเรียบเรียงอย่างระมัดระวังและเลือกสรรถ้อยคาอย่างสุภาพ

ทักษะการอธิบายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สอนเป็นการบอกการเล่าให้เห็นตามลำดับขั้นตอนการสอนและการอธิบายควรมีการยกตัวอย่าง มี 2ทางคือ1แบบนิรนัย โดยบอกแล้วยกตัวอย่างขยายกฎหรือหลักการนั้นๆให้เข้าใจ ทฤษฎีหลักการ2.แบบอุปนัย การยกตัวอย่างรายละเอียดย่อยๆ แล้วให้เด็กคิดวิเคราะห์รวบรวมเป็นหลักการลักษณะการอธิบายใช้เวลาอธิบายไม่เกิน10 นาที ควรใช้ภาษาที่ง่ายๆที่เด็กเข้าใจง่ายควบคลุมใจความสนใจเรื่องยากไปง่ายและอธิบายตามแนวคิดของนักเรียนเราจะรู้ว่าเด็กเด็กเข้าใจหรือไม่เข้าใจและครูควรสรุปผลการอธิบายให้เด็กนักเรียนเข้าใจด้วย

ทักษะการใช้คำถามเป็นสิ่งสำคัญในการสอน เฉพาะอย่างการใช้คำถามให้เด็กคิดเห็น สติปัญญาเป็นผู้ตามต้องเข้าใจจัดประสงค์ของคำถาม และไม่ควรเป็นคำถามที่อธิบาย แต่ควรเป็นคำถามที่เน้นวิเคราะห์ประเภทคำถาม1.คำถามที่ใช้ความคิดพื้นฐาน  เป็นคำถามง่ายๆไม่ต้องคิดลึกซึ้งคำถามที่ขยายความคิด เมื่อให้เด็กมองสิ่งที่เรียนอยู่และขยายความในสิ่งที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ คำถามประเภทได้แก่ การคาดคะเน เป็นคำถามเชิงสมมุติฐาน คาดการณ์ ซึ่งคำตอบย่อมเป็นไปได้หลายอย่าง        คำถามที่ใช้การวางแผนเป็นคำถามที่เสนอแนวคิดทางโครงการหรือเสนอแผนงานใหม่–          การวิจารณ์ เป็นคำถามที่ผู้ตอบพิจารณ์เรื่องราวหรือเหตุการณ์ในจุดสำคัญ–          การประเมินค่า  ว่านักเรียนชอบสิ่งไหนมากกว่ากันเทคนิคการใช้คำถามถามด้วยความสนใจถามอยางกลมกลืนถามโดยใช้ภาษาที่พูดเข้าใจง่ายการให้นักเรียนมีโอกาสตอบหลายคนในการสอนการเลือกถาม ควรถามผู้เรียนที่อ่อนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจดังนี้การเสริมกำลังใจ หรือให้ผลย้อนกลับ ควรให้คำชมเชยกับเด็กที่ตอบคำถามการใช้คำถามหลายๆประเภทในการสอนแต่ละครั้งการใช้กิริยาท่าทางเสียงในการประกอบคำถามการใช้คำถามเชิงรุก การใช้คำถามต่อเนื่องอีก เพื่อให้ผู้เรียนได้ความรู้และขยายความคิด
เทคนิคการสอน คือ กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใดๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการหรือการกระทำนั้นๆ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น  สรุป ทักษะและเทคนิคการใช้ภาษาและลีลาในการสอน การใช้ภาษาในการสอนควรเป็นภาษาที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาที่ทำการเรียนการสอน ลีลาในการสอนแต่ละครั้งควรใช้กิริยาท่าทางและน้ำเสียงที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความเพลิดเพลินและเข้าใจเนื้อหาวิชาเรียน

อ้างอิง https://yupawanthowmuang.wordpress.com
https://nokyung22ny.wordpress.com/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99/

ความสำคัญของภาษามีกี่ข้อ

ความสำคัญของภาษา ภาษามีประโยชน์มากมาย ได้แก่ ภาษาช่วยธำรงสังคม ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา ภาษาช่วยกำหนดอนาคต ภาษาช่วยจรรโลงใจ . ภาษาช่วยธำรงสังคม สังคมจะธำรงอยู่ได้มนุษย์ต้องมีไมตรีต่อกัน ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวินัยของสังคมและประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ฐานะตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยภาษา คือ

ประโยชน์ของความสัมพันธ์ของภาษามีอะไรบ้าง

ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน

ภาษามีความสําคัญต่อมนุษย์อย่างไร

ภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารแล้ว ยังเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดของมนุษย์และเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ และที่สำคัญก็คือ ภาษาช่วยสร้างเสริมความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย เพราะภาษาเป็นถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจกันในสังคม

ความหมายของภาษามีอะไรบ้าง

1. ความหมายโดยทั่วไป ภาษา หมายถึง เครื่องมือสื่อความหมายความเข้าใจของ มนุษย์โดยวิธีใดก็ได้ ทั้งการพูด การเขียน การใช้สัญญาณ และกิริยาท่าทาง 2. ความหมายเฉพาะในแง่ภาษาศาสตร์ ภาษา หมายถึง เสียงที่มีระบบที่เราใช้ สื่อสารกัน คือ เสียงพูดนั่นเอง จึงจะถือว่าเป็นภาษาที่แท้จริงและสมบูรณ์ที่สุด ทั้งนี้เพราะ