บริการ นําเข้าสุนัขจากต่างประเทศ

MisterDogClub  ���ӹҭ㹡�ù�����عѢ���������ҧ���ԧ ������عѢ��������Ҷ֧��ا෾� �е�ͧ�ա���ʴ��͡��âͧ���������ҧ�Ѵਹ

��͹���س�й��عѢ������������㹻������ �س���繵�ͧ��Һ��͹���
- �Թ�ҧ�Ҩҡ������˹

- ���� / �ѹ��� / �� / ����ѵԡ�éդ�Ѥ�չ
- ��˹ѡ�عѢ ���͢�Ҵ�ç

��������͡��Ѻ �Ѵ�������ԡ�����ͪ��������Ңͧ����ö���ѵ������§����Ҩҡ��ҧ����������ҧ�дǡʺ�� �ѧ���

1.�Ѵ������͡��ù���ҫ�����������һ���ҳ����ѹ���͹��������Ңͧ�ѵ������§�鹷ҧ���͵��᷹����ҧ��������ͼ�ҹ���͹��ѵԨҡ�������ѵ�� ��С�˹��ѹ������Թ�ҧ�Ҷ֧�ͧ�ѵ������§�ͧ�س

2.��ԡ���Ѻ�ѵ������§��ҹ�Ըա�õ�Ǩ������ͧ��й������֧��ҹ���ͷ���ѡ����¢ͧ�س

3.�ҡ�عѢ�������Թ�ҧ�Ҿ�����Ѻ�س  ��������͡��Ѻ�պ�ԡ�èѴö�Ѻ�س������������Թ�ҧ��ШѴ��ԡ�ü�ҹ�Ըա�õ�Ǩ�ѵ��������ͧ �������ԡ���觶֧ʶҹ���ѡ�ͧ�س

�е�ͧ�ա������ǧ˹�����͵��������͡����Ӥѭ������� ����֧��ԡ���Ѻ�ҡ�ѵ������§�ͧ��ҹ ���͹�������ҹ�ѧ���ѡ����

บริการ นําเข้าสุนัขจากต่างประเทศ

 woody  �������ͺ���� �ҡ�͹�͹������ѧ����Թ�ҧ�ҡ�ا෾ � �����ԡ�âͧ���

ขั้นตอนการนำเข้าส่งออกสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของคุณ

  1. การส่งสุนัขและแมวจากประเทศไทยไปต่างประเทศทำได้โดย
    เจ้าของสุนัขและแมวเตรียมเอกสารพื้นฐาน คือ ใบรับรองการฉีดวัคซีนโรคกลัวน้ำที่รับรองโดยสัตวแพทย์ ฉีดมาแล้วอย่างน้อย 30 วัน บางประเทศเท่านี้ก็พอแล้ว สัตว์ต้องมีอายุอย่างน้อย 4 เดือน
  2. ถามกรมปศุสัตว์ของประเทศปลายทางว่าต้องใช้เอกสารใดอีก เพราะแต่ละประเทศต้องการไม่เหมือนกันถามได้จากสถานทูต หรือถามจากผู้นำเข้า เอกสารอื่นที่บางประเทศต้องการเพิ่ม เช่น ผลการตรวจเลือดหาเชื้อพิษสุนัขบ้า (จากห้องแลบในยุโรปเขาไม่รับผลเลือดจากห้องแลบของไทยส่งเลือดไปตรวจโดยผ่าน โรงพยาบาลสัตว์บางแห่ง) หมายเลขไมโคชิพ ใบเพ็ดดิกรี หลักฐานการขึ้นทะเบียนสัตว์กับสมาคม
  3. ส่งเอกสารที่จำเป็นของแต่ละประเทศไปให้ผู้นำเข้า ส่งทางแฟกซ์หรืออี-เมล์ ผู้นำเข้านำเอกสารไปขอใบ Import permit
  4. ให้ผู้นำเข้าส่งใบ Import permit มาให้เรา ทางแฟกซ์หรืออี-เมล์
  5. เรานำใบ Import permit และ สุนัข แมว ไปตรวจสุขภาพและทำเรื่องส่งออกที่สนามบินสุวรรณภูมิ ที่เขตปลอดอากร เพื่อขอใบ Export permit และใบรับรองสุขภาพสัตว์ (ขั้นตอนที่ 5 กับ 7 นี้ ถ้าเจ้าของสัตว์ไม่เดินทางไปด้วย ควรมีตัวแทน shipping ช่วยเดินเรื่องให้ เพราะต้องมีกำหนดเที่ยวบินด้วย)
  6. เมื่อได้รหัสเที่ยวบินแล้ว เราต้องส่งรหัสนี้ไปให้ผู้นำเข้าไปติดต่อ confirm กับสายการบินก่อนจึงจะส่งออกได้
    นำสุนัขส่งออก ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 2499001

เนื่องจากส่วนหนึ่งของลูกค้าของโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อเป็นลูกค้าชาวต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อเมริกา ประเทศในกลุ่มEU เป็นต้น ซึ่งในหลายครั้งลูกค้าได้เข้ามาปรึกษาเรื่อง ที่ลูกค้าต้องย้ายไปยังต่างประเทศหรือกลับประเทศของตนเอง แต่สิ่งที่สำคัญเหนืออื่นใดนั้นคือต้องการนำสัตว์เลี้ยงแสนรักของพวกเขา เหล่านั้นไปด้วย ซึ่งในส่วนนี้ทำให้ลูกค้าต้องการความช่วยเหลือ และคาดหวังกับทางโรงพยาบาลว่าจะทราบรายละเอียดทุกอย่าง

จากจุดเริ่มต้นเริ่มต้นดังกล่าวทางโรงพยาบาลจึงเริ่มทำงานในส่วนของการส่ง สัตว์เลี้ยงไปยังต่างประเทศตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้ากลุ่มนี้ซึ่งในส่วนของลูกค้ามีทั้งลูกค้าเก่า และลูกค้าใหม่ หรือแม้แต่ลูกค้าจากต่างจังหวัดก็มาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
แบ่งโซนประเทศที่มีการเดินทางและนำสัตว์เลี้ยงเข้าประเทศได้ดังต่อไปนี้

  1. โซน เอเชีย
  2. โซนยุโรป (EU countries)
  3. โซนอเมริกา และแคนาดา
  4. โซนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
  5. โซนแอฟริกา
    กฏเกณฑ์แต่ละประเทศนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปโดยเฉพาะประเทศที่เป็นเกาะและประเทศที่ปราศจากโรคพิษสุนัขบ้าก็จะมีความเข้มงวดกว่า

การเตรียมตัวสัตว์เลี้ยงก่อนเดินทาง

การเตรียมตัวสัตว์เลี้ยงก่อนเดินทาง สิ่งแรกก่อนสิ่งอื่นใดคือลูกค้าคงต้องทราบประเทศที่เขาจะเดินทางไปเพื่อที่ จะหารายระเอียดเกี่ยวกับกฎของการนำสัตว์เลี้ยงเข้าประเทศนั้นๆ โดยปกติลูกค้าสามารถค้นหากฎและแนวทางการเตรียมตัวคร่าวๆได้จากอินเตอร์เนต และบางประเทศสามารถติดต่อสอบถามไปยังสถานทูตเกี่ยวกับ รายละเอียดคร่าวๆของประเทศนั้นได้
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเดินทาง
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเดินทาง คือ ตัวสัตว์ อายุ สุขภาพ การถ่ายพยาธิ การป้องกันเห็บหมัด การฝัง microchipหรือ การทำ tattoo ประวัติวัคซีนทั้งหมดโดยเฉพาะวัคซีนพิษสุนัขบ้า จึงทำให้ต้องมีการตรวจ rabies titer ในหลายประเทศเพื่อยืนยันว่าตัวสัตว์ปราศจากโรคพิษสุนัขแน่นอน โดยการตรวจจะต้องส่งตรวจกับlaboratory ที่ approved ซึ่งโดยปกติจะมีรายชื่อ laboratory ที่สามารถค้นได้จากอินเตอร์เนต หรือ laboratory ในประเทศปลายทาง ซึ่งทางโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อได้ใช้บริการของ laboratory ของประเทศอังกฤษซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และใบรับรองสุขภาพ (health certificate)

ตัวอย่างกฏของแต่ละประเทศ

ประเทศญี่ปุ่น นั้นมีกฎที่เข้มงวดและละเอียดที่สุด ต้องมีเวลาเตรียมตัวสัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 7-12 เดือน สิ่งที่ประเทศญี่ปุ่นต้องการคือ การฝัง microchip การวัคซีนพิษสุนัขบ้าอย่างน้อยสองเข็มห่างกันอย่างน้อย 30 วัน ต้องการตรวจ rabies titer และต้องอยู่ภายในประเทศไทย 180วันนับตั้งแต่วันที่ตรวจเลือด และยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆอีก
ประเทศไต้หวัน มีกฎระเบียบปลีกย่อยคือนอกจากต้องตรวจ rabies titer แล้วสัตว์เลี้ยงจะต้องตรวจไข้หวัดนก (avian flue) ทำวัคซีนไข้หวัดนกก่อนออกเดินทาง และต้องอยู่ในประเทศ 6 เดือนนับตั้งแต่วันตรวจ rabies titer
ประเทศจีน เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ ไม่ค่อยยุ่งยากต้องการวัคซีนพิษสุนัขบ้าและใบรับรองสุขภาพ

ประเทศในยุโรปที่อยู่ภายใต้กฎ EU ต้องการ microchip ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าอย่างน้อยหนึ่งเข็มอย่างน้อย 30 วันแต่ไม่เกิน 1 ปีก่อนออกเดินทาง การตรวจ rabies titer ตัวอย่างประเทศที่ต้องอยู่ในประเทศอย่างน้อย 3 เดือนนับจากวันที่ตรวจ rabies titer เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน เนเธอแลนด์ ซึ่งในแต่ละประเทศของยุโรปก็จะมีกฎปลีกย่อยลงไปอีก เช่น ประเทศอังกฤษไม่ใช้กฎ EU ไม่ต้องการ microchip ไม่ต้องการการฉีดวัคซีน แต่สัตว์จะถูกกักกันที่ quarantine ของประเทศอังกฤษเป็นเวลา 6 เดือน เช่นเดียวกับประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ สัตว์จะได้รับวัคซีนและmicrochipที่นั่นแต่ในกรณีที่อาจต้องนำสัตว์ไปประเทศ อื่นๆที่อยู่ภายใต้กฎ EU ก็จำเป็นที่จะต้องทำตามกฎ EUด้วย ประเทศสวีเดนต้องทำตามกฎ EU และต้อง quarantine ที่สวีเดน 4 เดือนเป็นต้น

ประเทศตะวันออกกลาง ก็ไม่เคร่งครัดนัก แต่ต้องการให้ทำวัคซีนวัคซีนพิษสุนัขบ้าหนึ่งเข็ม ระยะเวลา 30 วันก่อนออกเดินทางและต้องมีใบรับรองสุขภาพ (health certificate)

ประเทศอเมริกาโดยปกติไม่เข้มงวดนักเนื่องจากยังประเทศที่ไม่ปลอดจากโรคพิษ สุนัขบ้า และโดยปกติไม่ต้องการการทำ microchip เนื่องจากใช้ระบบที่แตกต่างกันกับเอเชียและยุโรป ยกเว้นฮาวายที่ต้องการการตรวจ rabies titer เนื่องจากเป็นเขตที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า และการตรวจจะต้องส่งไปตรวจที่อเมริกาเท่านั้น

ประเทศแคนาดาเหมือนอเมริกาแต่ต้องการรายละเอียดปลีกย่อยเรื่องวัคซีนคือ ในแมวจะต้องทำวัคซีนป้องกันโรค Chlamydia ซึ่งทางโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อก็มีบริการวัคซีนชนิดนี้รวมอยู่ในโปรแกรม วัคซีนอยู่แล้ว
ประเทศไทย ในขณะนี้ก็เริ่มมีการใช้กฎเรื่องสัตว์เลี้ยงทุกตัวที่จะต้องการเดินทางออก นอกประเทศ ต้องได้รับการทำวัคซีนพิษสุนัขบ้าอย่างน้อยหนึ่งเข็ม ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วันแต่ไม่เกิน 1 ปีก่อนเดินทางและต้องฝัง microchip และก่อนออกเดินทางเจ้าของต้องนำสัตว์เลี้ยงไปตรวจสุขภาพเพื่อออกใบอนุญาตออก เดินทางนอกราชอาณาจักรซึ่งทางสายการบินต้องการเอกสารนี้ในการดินทาง

พบกับบริการที่มีคุณภาพที่โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อทั้ง 5 สาขาที่
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สุขุมวิท 55 โทร. 0-2712-6301 ต่อ 200
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาลาดพร้าว โทร.0-2934-1407-9
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาปิ่นเกล้า โทร.0-2433-7550
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาแจ้งวัฒนะ โทร.0-2962-7028
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาศรีนครินทร์ โทร.0-2398-4314-5

รายละเอียดเพิ่มติมด้านล่างนี้เป็นของกรมปศุสัตว์
การนำสุนัขไปต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับ ประเทศปลายทางเป็นสำคัญ จึงให้ผู้เลี้ยงสัตว์ ติดต่อสถานทูตของประเทศนั้นๆ ก่อนการเดินทาง และ สำคัญ คือ ต้องผ่านกระบวนการตรวจทางภาคพื้น ที่ สนามบินสุวรรณภูมิ โดย มีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้

  1. ประเทศญี่ปุ่น หรือ กลุ่ม EU และ สหรัฐอเมริกา ต้องตรวจ ระดับภูมิคุ้มกันของโรคพิษสุนัขบ้า ก่อนเดินทางทุกครั้ง
  2. Rabies titer โดยต้องส่งตรวจเฉพาะ lab ในต่างประเทศเท่านั้น (ไม่ยอมรับ Lab ในประเทศไทย ดังนั้น เมืองไทย ไม่สามารถออกใบรับรอง rabies titers ได้) และ บางประเทศต้องส่งตรวจล่วงหน้า 3 เดือน ก่อนการเดินทาง
  3. ต้องมีใบรับรองสุขภาพสัตว์ ประวัติวัคซีน ประวัตการป้องกันเห็บหมัด โดยเฉพาะกลุ่ม EU และ ประเทศ America
  4. เอกสารไมโครชิพ และ ประวัติการฝังไมโครชิพ
  5. ส่วนการนำ แมวเข้า มาที่ประเทศไทย เมื่อเอกสารพร้อม ให้ยื่นที่ด่านสุวรรณภูมิ โดย ด่านฯ จะให้กักแมว เอาไว้ที่บ้าน 3 เดือน (ไม่ได้กักที่ด่านสนามบิน เป็นการอนุโลมให้เจ้าของสัตว์ดูแลสัตว์เลี้ยงเอง)

ขั้นตอนการส่งสุนัขและแมวออกนอกราชอาณาจักร

มีหนังสืออนุญาตให้นำเข้าสัตว์จากประเทศปลายทาง ( Import permit) พร้อมเงื่อนไขการนำเข้า
( Requirement) ซึ่งต้องมีรายละเอียด ดังนี้
-ชนิดของสัตว์ เพศ พันธุ์ อายุของสัตว์ที่อนุญาตให้นำเข้า
– ชนิดของวัคซีนและระยะเวลาการฉีดวัคซีน
– การตรวจรับรองเพิ่มเติม เช่น ระดับภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องไม่ต่ำกว่า 5 IU/ml. ผลการตรวจโรคไข้หวัดนก เป็นต้น (แล้วแต่ประเทศปลายทางกำหนด)
– สัญลักษณ์ประจำตัวสัตว์ เช่น รอยสัก , ไมโครชิพ
– ข้อห้ามอื่น ๆ ห้ามตัดหู , ตัดหาง

ผู้มีความประสงค์ส่งออกสัตว์
จะต้องติดต่อขออนุญาต ณ ด่านกักกันสัตว์ที่ประสงค์จะส่งออกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน เช่น ท่าอากาศยานกรุงเทพ เชียงใหม่ , ภูเก็ต ฯลฯ โดยกรอก คำร้องแบบ ร.1/1 พร้อมยื่นเอกสารประกอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน , หรือสำเนา หนังสือเดินทาง
– สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีบริษัท , ห้างหุ้นส่วน)
– หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรผู้มอบและผู้รับมอบ
– สมุดรับรองกรณีการฉีดวัคซีนพร้อมสำเนา

ผู้ส่งออกจะควรนำสัตว์เลี้ยงมาตรวจสุขภาพสัตว์ก่อนการส่งออก ประมาณ 2-3 วัน .เนื่องจากบางครั้งอาจต้องรอคิวนานอาจทำให้ขึ้นเครื่องบินไม่ทัน

เมื่อเอกสารประกอบคำร้องถูกต้อง ครบถ้วน และสัตว์มีสุขภาพดี
ด่านกักกันสัตว์จะออก ใบอนุญาตส่งออกสัตว์ไปต่างประเทศ (แบบ ร.9) และหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์
(Health Certificate) เพื่อนำไปแสดงต่อศุลกากร เจ้าหน้าที่สายการบิน และสัตวแพทย์ประเทศปลายทาง
ค่าธรรมเนียมการส่งออก
– สุนัข ตัวละ 50 บาท
– แมว ตัวละ 50 บาท

ขั้นตอนการนำสุนัขหรือแมว เข้าในราชอาณาจักร

  1. ยื่นคำร้องขออนุญาตนำสัตว์เข้าในราชอาณาจักร (แบบ ร.1/1)
    ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ณ ด่านกักกันสัตว์ที่จะนำเข้า เช่น ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ,
    เชียงใหม่ โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้
    – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน
    – หรือสำเนาหนังสือเดินทาง
    – สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีบริษัท, ห้างหุ้นส่วน)
    – หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรผู้มอบและผู้รับมอบ
  2. ด่านกักกันสัตว์จะพิจารณาอนุญาต โดยออกหนังสือ Import permits และเงื่อนไขการนำเข้า (requirement)
    ให้แก่ผู้ยื่นคำร้องใช้เวลาดำเนินการ 2 วัน และผู้นำเข้าจะต้องนำไปแสดงต่อสัตวแพทย์ต้นทาง ให้ทำการตรวจและรับรองสุขภาพสัตว์
  3. เมื่อสัตว์มาถึงด่านกักกันสัตว์ (ท่าเข้า)ผู้นำเข้าจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ประจำด่านกักกันสัตว์ นำเอกสารใบรับรองสุขภาพสัตว์พร้อมกับสำเนาImport permit มาแสดง เมื่อสัตวแพทย์ได้ตรวจเอกสารถูกต้อง ประกอบกับสัตว์มีสุขภาพดี ด่านกักกันสัตว์จะออกใบแจ้งอนุมัตินำเข้า (ร.6) และ ใบอนุญาตนำเข้า (ร.7) พร้อมทั้งเก็บเงินค่าธรรมเนียมการนำเข้า
  4. สัตวแพทย์จะทำบันทึกสั่งกักสัตว์ไว้ดูอาการ ณ สถานที่กักกันสัตว์ ที่กรมปศุสัตว์รับรอง เป็นระยะเวลา
    ไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยในระหว่างการกักกันจะมีการตรวจสอบสุขภาพและผู้นำเข้าหรือเจ้าของจะเป็น ผู้ควบคุมดูแลรับผิดชอบและออกค่าใช้จ่ายของทั้งหมด
  5. ผู้นำเข้าจะต้องนำใบ ร.6 และ ร.7 ไปแสดงต่อศุลกากรเพื่อเสียภาษีการนำเข้า (ถ้ามี))
    ค่าธรรมเนียมการนำเข้า
    – สุนัข ตัวละ 100 บาท
    – แมว ตัวละ 100 บาท