หลักการพัฒนาตนเอง แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คืออะไร

แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง

เรียบเรียงโดย

วชิรวัชร  งามละม่อม

Wachirawachr  Ngamlamom

ความต้องการในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้เพิ่มพูนความรู้  ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ  ไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล รวมทั้งสามารถดำรงอยู่ในสังคมหรือประสบความสำเร็จในชีวิต หน้าที่การงาน ควรมีแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาตนเอง

ความหมายการพัฒนาตนเอง

ปัจจุบันโลกเจริญก้าวหน้ามาก  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่บุคคลต้องพยายามปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ 

กรกนก  วงศ์พันธุเศรษฐ์  (อ้างถึงในเกศรินทร์  วิริยะอาภรณ์, 2545) ได้กล่าวว่า การพัฒนาตนเอง หมายถึง การขยายขอบเขตความสามารถในการใช้ความรู้ ความสามารถของบุคคลได้อย่างเต็มที่และประยุกต์ใช้ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมา เพื่อแก้ปัญหาหรือหาข้อยุติปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆ
ที่แตกต่างออกไป ในเรื่องนี้

ศศลักษณ์  ทองปานดี (2551) การพัฒนาตนเอง หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมบุคคลให้มีความรู้ ความสามารถ  มีทักษะการทำงานดีขึ้น ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน  อันจะเป็นผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และการพัฒนาบุคคลควรส่งเสริม และพัฒนาทั้งร่างกาย  อารมณ์  สังคม และสติปัญญาอย่างทั่วถึงสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

โสภณ  ช้างกลาง (2550) การพัฒนาตนเองหมายถึง การดึงเอาศักยภาพของตนเองออกมาแก้ไขปรับเปลี่ยนให้เกิดความเจริญดีขึ้นกว่าอดีต สร้างความแปลกใหม่ให้กับตนเอง เป็นการสร้างศักยภาพของตนเองให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้อย่างมีความสุข เป็นกระบวนการที่จะเพิ่มพูนความรู้ เพื่อยกระดับมาตรฐานหรือความชำนาญในการปฏิบัติงานให้สูงขึ้นและตนเองมีความเจริญก้าวหน้า

ศรีแพร  ทวิลาภากุล (2549) การพัฒนาตนเอง หมายถึง การปฏิบัติตัวของบุคคลในอันที่จะสร้างเสริมศักยภาพของตนเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพได้ทุกสถานการณ์แวดล้อม ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในชีวิตในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ให้ผู้ตอบแบบสอบถามประเมินตนเองว่ามีการพัฒนาตนเองในประเด็นต่างๆ มากน้อยเพียงใด โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ การพัฒนาตนเองโดยตนเอง และการพัฒนาตนเองโดยผู้อื่น

เกศรินทร์  วิริยะอาภรณ์  (2545) สรุปการพัฒนาตนเองได้ว่า องค์ประกอบของการพัฒนาตนเองอยู่ที่การเตรียมความพร้อมของร่างกายและจิตใจ พร้อมจะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทั้งในตนเอง
และสิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมทั้งสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 


สำหรับพุทธปรัชญานั้น พระเทพเวที  ประยุทธ์  ปยุตโต (2528, อ้างถึงในดำรงศักดิ์

ตอประเสริฐ, 2544) สรุปการพัฒนาตนเองคือ การศึกษาหรือเรียกว่าไตรสิกขาเป็นการศึกษาอบรมหรือการพัฒนาชีวิตแก่ตนเอง 3 ด้าน คือ ศีล ได้แก่  การพัฒนาพฤติกรรมทางวาจาให้สัมพันธ์ด้วยดีกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม ทางวัตถุ สมาธิ ได้แก่ การฝึกฝนพัฒนาจิตใจที่ให้มีคุณธรรมมีประสิทธิภาพมีความสุข และปัญญา  ได้แก่  การพัฒนาความรู้ความเข้าใจเป็นการพัฒนาตนเองโดยการสร้างปัญญา แก้ปัญหา รู้จักการเรียนรู้ รู้จักคิด มีความอดทน มีความขยันมีความคิดแยบคายและสภาพจิตใจที่เกื้อกูลต่อการที่จะคิดพร้อมที่จะแสวงหาและทำให้เกิดปัญญา สามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยดีไม่มีทุกข์ 

จากแนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง สรุปได้ว่า การพัฒนาตนเองเพื่อให้มีการเพิ่มพูนความรู้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ ไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล รวมทั้งสามารถดำรงตนอยู่ในสังคม หรือประสบความสำเร็จในชีวิต หน้าที่การงาน ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน  อันเป็นผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น การพัฒนาบุคคลควรส่งเสริมพัฒนาทั้งร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญาอย่างทั่วถึงสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง

ความสำคัญของการพัฒนาตนเอง

ในปัจจุบันการศึกษาเรื่องการพัฒนาตนเองเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากสภาพของโลกและเหตุการณ์ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าสู่ยุคของข่าวสารข้อมูล (Information Era) หรือที่เรียกว่าเป็นยุคของโลกคลื่นที่สาม (Third Wave) ให้เกิดการรวมตัวของทรัพยากรขึ้น เมื่อโลกอยู่ในสภาวะที่ไร้พรมแดนการแข่งขันเพื่อช่วงชิงทรัพยากรจึงมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ  ซึ่งอาจเปรียบได้ว่าเป็นสงครามข่าวสารในด้านข้อมูลความรู้ จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปโดยไม่พยายามก้าวให้ทันจะกลายเป็นผู้ล้าหลังและเสียประโยชน์ในเวลาอันรวดเร็ว  ดังนั้น การพัฒนาตนเองเพื่อให้เรียนรู้ได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์เพื่อความอยู่รอดของชีวิตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น (ศศินา ปาละสิงห์, 2547) 

องค์ประกอบในการพัฒนาตนเอง

องค์ประกอบในการพัฒนาตนเองด้านต่างๆ ดังนี้

1.  บุคลิกท่าทาง นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะกิริยาท่าทางคือการสื่อสารที่สำคัญซึ่งจะทำให้ผู้อื่นรู้ถึงจิตใจตลอดจนความนึกคิดของบุคคลผู้นั้น ดังนั้น กริยาท่าทางหรือบุคลิกภาพที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิกกลุ่ม จึงทำให้ผู้อื่นยกย่องและเชื่อถือไว้วางใจ

2.  การพูด นับเป็นการสื่อสารที่จะทำให้ผู้อื่นปฏิเสธหรือยอมรับในตัวผู้พูดได้เช่นกัน ซึ่งการพูดในที่นี้รวมทั้งการพูดคุยแบบธรรมดาและการพูดแบบเป็นทางการ การพูดที่จะประสบความสำเร็จนั้น
มีหลักการเบื้องแรกที่สำคัญ คือการระมัดระวังมิให้คำพูดออกไปเป็นการประทุษร้ายจิตใจผู้ฟัง 

3.  พัฒนาคุณสมบัติทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นเป็นทางที่จะทำให้ผู้อื่นยอมรับและยกย่อง บุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนอื่น ย่อมจะทำให้ได้รับความสนับสนุนและร่วมมือ

4.  พัฒนาคุณสมบัติเฉพาะตัว ทำให้ได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่ ดังนั้นนอกจากความรู้ ความสามารถแล้ว คุณสมบัติเฉพาะตัวบางประการก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้บุคคลได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เป็นผู้มีคุณธรรม ได้แก่ เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตและประพฤติตนอยู่ภายใต้ คุณธรรม ความดี ตามบรรทัดฐานของสังคมนั้นๆ

ทฤษฏีเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง

มนุษย์ทุกคนมีความต้องการในการพัฒนาตนเอง ต้องการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง  เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงาน  เพื่อความมั่นคงในรายได้ 

ทฤษฏีเกี่ยวกับการพัฒนา บอยเดล (Boydell, 1985 อ้างถึงใน เกศรินทร์ วิริยะอาภรณ์, 2545) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ได้กำหนดขอบเขตเนื้อหาสาระสำคัญของทฤษฎีการพัฒนาตนเอง แบ่งเป็น 4 ด้าน สรุปได้ ดังนี้

1. ด้านสุขภาพ สิ่งสำคัญในการพัฒนาตนเอง บุคคลจะต้องมีสุขภาพจิตที่ดีและร่างกายจะต้องแข็งแรง แยกเป็น 3 ระดับ

1.1 ระดับความคิด ไม่ดื้อรั้นดันทุรัง แต่จะต้องยึดมั่นในความคิดเห็นและความเชื่อที่มั่นคงและต่อเนื่อง ในเวลาเดียวกันก็สามารถมีชีวิตอยู่กับความคลุมเครือขัดแย้งได้

1.2 ระดับความรู้สึก รับรู้ ยอมรับความรู้สึก มีความสมดุลทั้งภายในและภายนอกอย่างมั่นคง

1.3 ระดับความมุ่งมั่นคุณค่าของโภชนาการในเรื่องอาหารการกินสุขภาพที่แข็งแรง มีรูปแบบชีวิตที่ดี

2.  ด้านทักษะ จะต้องการพัฒนาทักษะทางสมอง และการสร้างสรรค์ความคิดในหลายรูปแบบ รวมทั้งความทรงจำ ความมีเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะประกอบด้วย 3 ระดับ คือ

2.1 ระดับความคิด ทักษะทางใจและการคิดคำนึงที่ดี เช่น ความรู้สึกในเรื่องงาน ความทรงจำที่มีเหตุผล การสร้างสรรค์ มีความคิดริเริ่ม 

2.2 ระดับความรู้สึก ทักษะด้านสังคม ด้านศิลปะและการแสดงออก ต้องนำความรู้สึกของตนเข้าร่วมกับแต่ละสถานการณ์ และสามารถถ่ายทอดความรู้สึกได้

2.3 ระดับความมุ่งมั่น มีทักษะทางเทคนิค ทางกายภาพ สามารถกระทำได้อย่างศิลปิน มิใช่เป็นผู้ที่มีความชำนาญเท่านั้น

3. ด้านการกระทำให้สำเร็จ การกระทำหรือการปฏิบัติสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงโดยกล้ากระทำด้วยตัวเองโดยไม่ต้องรอคำสั่ง หรือไม่รอคอยให้เกิดขึ้นเอง มี 3 ระดับ คือ 

3.1 ระดับความคิด มีความสามารถที่จะเลือก และเสียสละได้

3.2 ระดับความรู้สึก มีความสามารถในการจัดการเปลี่ยนสภาพจากความไม่สมหวัง ไม่เป็นสุขให้เป็นความเข้มแข็ง

3.3 ระดับความมุ่งมั่น สามารถลงมือริเริ่มการกระทำได้ ไม่รอคอยให้เกิดขึ้นเอง

4. ด้านเอกภาพของตนเอง เป็นการยอมรับข้อดี และข้อเสียของตนเองด้วยความพอใจในความสามารถและยอมรับข้อบกพร่องของตนเองและพยายามแก้ไขให้ดีที่สุด มี 3 ระดับ คือ 

4.1 ระดับความคิด มีความยอมรับ รู้จักและเข้าใจตนเอง

4.2 ระดับความรู้สึก ยอมรับตนเองแม้แต่ความอ่อนแอ และยินดีในความเข้มแข็งของตนเอง

4.3 ระดับความมั่นคง มีแรงผลักดันตนเอง มีเป้าหมายภายใน มีจุดประสงค์ในชีวิต

กระบวนการในการพัฒนาตนเอง

การพัฒนาตนเองให้ประสบความสำเร็จ ควรจะมีกระบวนการตามขั้นตอนซึ่ง (สุวรี เที่ยวทัศน์, 2542) ได้กล่าวถึงกระบวนการในการพัฒนาตนเอง สรุปดังนี้

1. สำรวจตัวเอง การที่คนเราจะประสบความสมหวังหรือไม่ สาเหตุที่สำคัญ คือ จะต้องมีการสำรวจตนเองเพราะตนเองเป็นผู้กระทำตนเอง คนบางคนไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตเนื่องจากบุคคลมีจุดอ่อนหรือคุณสมบัติที่ไม่ดี การที่จะทราบว่า ตนมีคุณสมบัติอย่างไร ควรจะได้รับการสำรวจตนเอง ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น เพื่อจะได้มีชีวิตที่สมหวังต่อไป

2. การปลูกคุณสมบัติที่ดีงาม โดยคุณสมบัติของบุคคลสำคัญของโลกเป็นแบบอย่าง ซึ่งคุณสมบัติของบุคคลไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด แต่สามารถเกิดขึ้นได้

3. การปลูกใจตนเอง เป็นสิ่งสำคัญ เพราะบุคคลที่มีกำลังใจดี ย่อมมุ่งมั่นดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของชีวิตที่กำหนดไว้

4. การส่งเสริมตนเอง คือการสร้างกำลังกายที่ดี สร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง และสร้างกำลังความคิดของตนให้เป็นเลิศ

5. การดำเนินการพัฒนาตนเอง เป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างตนเองให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้

6. การประเมินผล เพื่อจะได้ทราบว่าการดำเนินการพัฒนาตนเองตามที่บุคคลได้ตั้งเป้าหมายไว้ดำเนินการไปได้ผลมากน้อยเพียงไร จึงจำเป็นต้องอาศัยการวัดผลและการประเมินผล

เอกสารอ้างอิง

เกศรินทร์ วิริยะอาภรณ์. (2545). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา             
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดำรงศักดิ์ ตอประเสริฐ. (2544). ความต้องการพัฒนาตนเองของข้าราชการตำรวจระดับชั้นประทวน กองตำรวจสันติบาล 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระเทพเวที ประยุทธ์ ปยุตโต. (2528). การพัฒนาตนเองตามแนวพุทธศาสนา. วารสารวิชาการ 2(4): 37.

ศรีแพร ทวิลาภากุล. (2549). การพัฒนาตนเองของข้าราชการ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศินา ปาละสิงห์. (2547). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการพลเรือน สายสามัญ สังกัด ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศศลักษณ์ ทองปานดี. (2551). การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทพาวเวอร์ปั๊ม จำกัด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โสภณ ช้างกลาง. (2550). ความต้องการพัฒนาตนเองของข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดน ระดับชั้นประทวน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวรี เที่ยวทัศน์. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

หลักในการพัฒนาตนเองมีอะไรบ้าง

1. เอาชนะความคิดด้านลบในตัวคุณ ... .
2. เอาชนะความกลัวอย่างกล้าหาญ ... .
3. มองโลกให้กว้างและตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ... .
4. อย่าให้คำวิจารณ์มาทำลายเป้าหมายชีวิตของคุณ ... .
5. อย่าเสียเวลากับการเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น ... .
6. ปรับตัวและเปิดใจรับความคิดต่าง ... .
7. จงคบคนที่ทำให้ชีวิตของคุณดีขึ้น ... .
8. จงเป็นผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอ.

ขั้นตอนในการพัฒนาตนเองมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

5 ขั้นตอนในการพัฒนาตนเองด้วย Growth Mindset.
รับรู้เสียง/คำพูดลบในหัว ... .
บอกตัวเองว่าเรามีทางเลือก ... .
พูดกับตัวเองด้วยคำพูดเชิงบวก ... .
ลงมือทำเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ... .
ตรวจสอบและปรับแผน.

ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาตนเอง

1.ขั้นตอนการพัฒนาตนโดยวิธีการควบคุมตนเอง กำหนดพฤติกรรมเป้าหมาย ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ด้วยตนเองให้ชัดเจนสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของตน 2.กำหนดเงื่อนไขการเสริมแรง หรือการลงโทษตนเอง 3. เลือกเทคนิคด้วยตนเอง เพื่อควบคุมพฤติกรรม ได้เหมาะสมกับตน 4. ใช้เทคนิคการควบคุมตนเอง ตามวิธีการและขั้นตอนของเทคนิคที่นำมาใช้

ข้อใดคือหลักสำคัญในการพัฒนาตนเองเพื่อความเป็นผู้มีจิตอาสา

โดยสรุปกระบวนการพัฒนาตนเองเพื่อความเป็นผู้มีจิตอาสานั้น ผู้ที่มุ่งหวังจะพัฒนาตนเองควรต้องเรียนรู้ ฝึกฝนตนเองเป็นหลักใน 3 ส่วน/ด้าน ได้แก่ด้านแรกคือการพัฒนาจิตใจหรือการพัฒนาภายในโดยอาศัยหลักธรรม หรือหลักปฏิบัติทางศาสนาซึ่งในที่เน้นหลักธรรมหรือหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนาซึ่งมีค าสอนและปฏิบัติครอบคลุม เป็นองค์รวมทั้งทางด้าน ...