วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.2 เล่ม 1 pdf

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้

ตั้งค่าคุกกี้ ยอมรับทั้งหมด

คูมือครูรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี เลม ๑ ตามมาตรฐานการเรียนรูและตัวชี้วัด กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๒

คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เล่ม ๑ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จัดทำโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

คำชี้แจง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทำตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีจุดเน้นเพื่อต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ ทัดเทียมกับนานาชาติ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาที่หลากหลาย มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ และทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไปนี้ โรงเรียนจะต้องใช้ หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) สสวท. จึงได้จัดทำคู่มือครู ประกอบหนังสือเรียนที่เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรเพื่อให้โรงเรียนได้ใช้สำหรับจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เล่ม ๑ นี้ สสวท. ได้พัฒนาขึ้นเพื่อ นำไปใช้เป็นคู่มือครูคู่กับหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เล่ม ๑ ตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ภายในคู่มือครูประกอบด้วยโครงสร้างหลักสูตร แนวความคิดต่อเนื่อง แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาในหนังสือเรียน ซึ่งเป็นตัวอย่างการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และเชื่อมโยงกับชีวิตจริง ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ การคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหา และการนำไปใช้ ในการจัดทำคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเล่มนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ครูผู้สอนจากสถาบันต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ ครูและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่จะช่วยให้การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หากมี ข้อเสนอแนะใดที่จะทำให้คู่มือครูสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วย จะขอบคุณยิ่ง (ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์) ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

ส่วนหน้า เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ คุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ ความสอดคล้องของบทเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ และตัวชี้วัด รายการวัสดุอุปกรณ์ประกอบหนังสือเรียน แนะนำการใช้คู่มือครู หน่วยที่ 1 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 2 สารละลาย บทที่ 1 องค์ประกอบของสารละลายและปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้ บทที่ 2 ความเข้มข้นของสารละลาย หน่วยที่ 3 ร่างกายมนุษย์ บทที่ 1 ระบบอวัยวะในร่างกายของเรา หน่วยที่ 4 การเคลื่อนที่และแรง บทที่ 1 การเคลื่อนที่ บทที่ 2 แรงในชีวิตประจำวัน ภาคผนวก บรรณานุกรม คณะผู้จัดทำ ก ค จ ช ป ฝ ล ส 1 22 23 67 96 97 200 201 256 390 394 สารบัญ

ก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเองมากที่สุด เพื่อให้ได้กระบวนการและ ความรู้จากการสังเกต การสำรวจตรวจสอบ การทดลอง แล้วนำผลที่ได้มาจัดระบบเป็นหลักการ แนวคิด และองค์ความรู้ การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มีเป้าหมายที่สำคัญดังนี้ 1. เพื่อให้เข้าใจหลักการ ทฤษฎีและกฎที่เป็นพื้นฐานในวิชาวิทยาศาสตร์ 2. เพื่อให้เข้าใจขอบเขตของธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์และข้อจำกัดในการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ 3. เพื่อให้มีทักษะที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์ และสภาพแวดล้อมในเชิงที่มี อิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน 5. เพื่อนำความรู้ ความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและการดำรงชีวิต 6. เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการ ทักษะในการสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ 7. เพื่อให้เป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง สร้างสรรค์ เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

ข สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทั้งด้านความรู้ในเนื้อหา และกระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการต่าง ๆ มีทักษะ สำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการลงมือปฏิบัติอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของผู้เรียน โดยกำหนดสาระสำคัญดังนี้ ▪ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตในสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ การดำรงชีวิตของพืช พันธุกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิต ▪ วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของสาร การเปลี่ยนแปลงของสาร การเคลื่อนที่ พลังงาน และคลื่น ▪ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ (Earth and Space Science) เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของเอกภพ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ เทคโนโลยีอวกาศ ระบบโลก การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา กระบวนการเปลี่ยนแปลง ลมฟ้าอากาศ และผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ▪ เทคโนโลยี (Technology) • การออกแบบและเทคโนโลยี (Design and Technology) เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิต ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อ แก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่าง เหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม • วิทยาการคำนวณ (Computing Science) เรียนรู้เกี่ยวกับการคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา เป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการ แก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

ค สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน การเปลี่ยนแปลงแทนที่ใน ระบบนิเวศ ความหมายของประชากร ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนำ ความรู้ไปใช้ประโยชน์ เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำ ความรู้ไปใช้ประโยชน์ เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สารพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้าง และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิด สารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่ แบบต่าง ๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง สสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 1.1 มาตรฐาน ว 1.2 มาตรฐาน ว 1.3 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ว 2.1 มาตรฐาน ว 2.2 มาตรฐาน ว 2.3

ง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซี ดาวฤกษ์ และ ระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อวกาศ เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกและ บนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม สาระที่ 4 เทคโนโลยี เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนา งานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่าง เหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม มาตรฐาน ว 3.2 มาตรฐาน ว 4.1 มาตรฐาน ว 3.1 มาตรฐาน ว 4.2

จ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • เข้าใจลักษณะและองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์สิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ การดำรงชีวิตของพืช การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของยีนหรือโครโมโซม และตัวอย่างโรคที่เกิด จากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ประโยชน์และผลกระทบของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ ปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบนิเวศ และการถ่ายทอดพลังงานในสิ่งมีชีวิต • เข้าใจองค์ประกอบและสมบัติของธาตุ สารละลาย สารบริสุทธิ์ สารผสม หลักการแยกสาร การเปลี่ยนแปลงของสาร ในรูปแบบของการเปลี่ยนสถานะ การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี สมบัติทางกายภาพ และการใช้ ประโยชน์ของวัสดุประเภทพอลิเมอร์ เซรามิก และวัสดุผสม • เข้าใจการเคลื่อนที่ แรงลัพธ์และผลของแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุ โมเมนต์ของแรง แรงที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน สนาม ของแรง ความสัมพันธ์ของงาน พลังงานจลน์ พลังงานศักย์โน้มถ่วง กฎการอนุรักษ์พลังงาน การถ่ายโอนพลังงาน สมดุล ความร้อน ความสัมพันธ์ของปริมาณทางไฟฟ้า การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน พลังงานไฟฟ้า และหลักการเบื้องต้นของ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ • เข้าใจสมบัติของคลื่นและลักษณะของคลื่นแบบต่าง ๆ แสง การสะท้อน การหักเหของแสง และทัศนอุปกรณ์ • เข้าใจการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ การเกิดฤดู การเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม การขึ้นและตกของดวงจันทร์ การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ และความก้าวหน้าของโครงการสำรวจ อวกาศ • เข้าใจลักษณะของชั้นบรรยากาศ องค์ประกอบและปัจจัยที่มีผลต่อลมฟ้าอากาศ การเกิดและผลกระทบของพายุฟ้า คะนอง พายุหมุนเขตร้อน การพยากรณ์อากาศ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก กระบวนการเกิดเชื้อเพลิง ซากดึกดำบรรพ์และการใช้ประโยชน์ พลังงานทดแทนและการใช้ประโยชน์ ลักษณะโครงสร้างภายในโลก กระบวนการ เปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนผิวโลก ลักษณะชั้นหน้าตัดดิน กระบวนการเกิดดิน แหล่งน้ำผิวดิน แหล่งน้ำใต้ดิน กระบวนการเกิดและผลกระทบของภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย • เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยี ได้แก่ ระบบทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่าง เทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเพื่อเลือกใช้เทคโนโลยี โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และทรัพยากรเพื่อออกแบบและสร้าง ผลงานสำหรับการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันหรือการประกอบอาชีพ โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม รวมทั้ง เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย รวมทั้งคำนึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา คุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่3

ฉ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • นำข้อมูลปฐมภูมิเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ ประเมิน นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศได้ตามวัตถุประสงค์ ใช้ทักษะ การคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริง และเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารอย่างรู้เท่าทันและรับผิดชอบต่อสังคม • ตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหาที่เชื่อมโยงกับพยานหลักฐาน หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดและควบคุม ตัวแปร คิดคาดคะเนคำตอบหลายแนวทาง สร้างสมมติฐานที่สามารถนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ ออกแบบและลงมือ สำรวจตรวจสอบโดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม เลือกใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการเก็บ รวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัย • วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจตรวจสอบจากพยานหลักฐาน โดยใช้ความรู้และ หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการแปลความหมายและลงข้อสรุป และสื่อสารความคิด ความรู้จากผลการสำรวจตรวจสอบ หลากหลายรูปแบบ หรือใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างเหมาะสม • แสดงถึงความสนใจ มุ่งมั่น รับผิดชอบ รอบคอบ และซื่อสัตย์ ในสิ่งที่จะเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่จะ ศึกษาตามความสนใจของตนเอง โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่ให้ได้ผลถูกต้อง เชื่อถือได้ ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่ง ความรู้ต่าง ๆ แสดงความคิดเห็นของตนเอง รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบ เมื่อมี ข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม • ตระหนักในคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ความรู้และกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ แสดงความชื่นชม ยกย่อง และเคารพสิทธิในผลงาน ของผู้คิดค้น เข้าใจผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ต่อสิ่งแวดล้อมและต่อบริบทอื่น ๆ และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทำโครงงานหรือสร้างชิ้นงานตามความสนใจ • แสดงถึงความซาบซึ้ง ห่วงใย มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ และความหลากหลายทาง ชีวภาพ

ช สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ มาตรฐาน ว 1.2 1. ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของ อวัยวะที่เกี่ยวข้องในระบบหายใจ 2. อธิบายกลไกการหายใจเข้าและออก โดยใช้แบบจำลอง รวมทั้งอธิบาย กระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊ส 3. ตระหนักถึงความสำคัญของระบบ หายใจโดยการบอกแนวทางในการ ดูแลรักษาอวัยวะในระบบหายใจให้ ทำงานเป็นปกติ • ระบบหายใจมีอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จมูก ท่อลม ปอด กะบังลม และกระดูกซี่โครง • มนุษย์หายใจเข้า เพื่อนำแก๊สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อ นำไปใช้ในเซลล์ และหายใจออกเพื่อกำจัดแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย • อากาศเคลื่อนที่เข้าและออกจากปอดได้ เนื่องจากการ เปลี่ยนแปลงปริมาตรและความดันของอากาศภายใน ช่องอกซึ่งเกี่ยวกับการทำงานของกะบังลม และกระดูก ซี่โครง • การแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในร่างกาย เกิดขึ้นบริเวณถุงลมในปอดกับหลอดเลือดฝอย ที่ถุงลม และระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเนื้อเยื่อ • การสูบบุหรี่ การสูดอากาศที่มีสารปนเปื้อน และการเป็น โรคเกี่ยวกับระบบหายใจบางโรค อาจทำให้เกิดโรคถุงลม โป่งพอง ซึ่งมีผลให้ความจุอากาศของปอดลดลง ดังนั้นจึง ควรดูแลรักษาระบบหายใจ ให้ทำหน้าที่ปกติ 4. ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของ อวัยวะในระบบขับถ่ายในการกำจัด ของเสียทางไต 5. ตระหนักถึงความสำคัญของระบบ ขับถ่ายในการกำจัดของเสียทางไต โดยการบอกแนวทางในการปฏิบัติ ตนที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำหน้าที่ ได้อย่างปกติ • ระบบอวัยวะขับถ่ายมีอวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ โดยมีไตทำหน้าที่กำจัด ของเสีย เช่น ยูเรีย แอมโมเนีย กรดยูริก รวมทั้งสารที่ ร่างกายไม่ต้องการออกจากเลือด และควบคุมสารที่มีมาก หรือน้อยเกินไป เช่น น้ำ โดยขับออกมาในรูปของปัสสาวะ • การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม เช่น รับประทาน อาหารที่ไม่มีรสเค็มจัด การดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เป็น แนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำหน้าที่ได้อย่างปกติ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ซ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ 6. บรรยายโครงสร้างและหน้าที่ของ หัวใจ หลอดเลือด และเลือด 7. อธิบายการทำงานของระบบหมุนเวียน เลือดโดยใช้แบบจำลอง • ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วย หัวใจ หลอดเลือด และ เลือด • หัวใจของมนุษย์แบ่งเป็น 4 ห้อง ได้แก่ หัวใจห้องบน 2 ห้อง และห้องล่าง 2 ห้อง ระหว่างหัวใจห้องบนและหัวใจ ห้องล่างมีลิ้นหัวใจกั้น • หลอดเลือดแบ่งเป็น หลอดเลือดอาร์เตอรี หลอดเลือดเวน หลอดเลือดฝอย ซึ่งมีโครงสร้างต่างกัน • เลือดประกอบด้วย เซลล์เม็ดเลือด เพลตเลต และพลาสมา • การบีบและคลายตัวของหัวใจทำให้เลือดหมุนเวียนและ ลำเลียงสารอาหาร แก๊ส ของเสีย และสารอื่น ๆ ไปยัง อวัยวะและเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย • เลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูงจะออกจากหัวใจไปยังเซลล์ ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ขณะเดียวกัน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จาก เซลล์จะแพร่เข้าสู่เลือดและลำเลียงกลับเข้าสู่หัวใจและถูก ส่งไปแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอด 8. ออกแบบการทดลองและทดลอง ในการเปรียบเทียบอัตราการเต้น ของหัวใจ ขณะปกติและหลังทำ กิจกรรม 9. ตระหนักถึงความสำคัญของระบบ หมุนเวียนเลือด โดยการบอก แนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะ ในระบบหมุนเวียนเลือดให้ทำงาน เป็นปกติ • ชีพจรบอกถึงจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งอัตราการเต้นของ หัวใจในขณะปกติและหลังจากทำกิจกรรมต่าง ๆ จะ แตกต่างกัน ส่วนความดันเลือด ระบบหมุนเวียนเลือดเกิด จากการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด • อัตราการเต้นของหัวใจมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล คนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดจะส่งผลทำให้หัวใจสูบฉีด เลือดไม่เป็นปกติ • การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหาร การพักผ่อน และการรักษาภาวะอารมณ์ให้เป็นปกติ จึงเป็นทางเลือก หนึ่งในการดูแลรักษาระบบหมุนเวียนเลือดให้เป็นปกติ

ฌ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ 10. ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของ อวัยวะในระบบประสาทส่วนกลาง ในการควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย 11.ตระหนักถึงความสำคัญของระบบ ประสาทโดยการบอกแนวทางใน การดูแลรักษา รวมถึงการป้องกัน การกระทบกระเทือนและอันตราย ต่อสมองและไขสันหลัง • ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง จะทำหน้าที่ร่วมกับเส้นประสาท ซึ่งเป็นระบบประสาทรอบ นอกในการควบคุมการทำงานอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงการแสดง พฤติกรรม เพื่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้า • เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นหน่วยรับความรู้สึก จะเกิดกระแส ประสาทส่งไปตามเซลล์ประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบ ประสาทส่วนกลาง แล้วส่งกระแสประสาทมาตามเซลล์ ประสาทสั่งการ ไปยังหน่วยปฏิบัติการ เช่น กล้ามเนื้อ • ระบบประสาทเป็นระบบที่มีความซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ กับทุกระบบในร่างกาย ดังนั้นจึงควรป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ที่กระทบกระเทือนต่อสมอง หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด หลีกเลี่ยงภาวะเครียด และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อดูแลรักษาระบบประสาทให้ทำงานเป็นปกติ 12.ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของ อวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของเพศ ชายและเพศหญิงโดยใช้แบบจำลอง 13.อธิบายผลของฮอร์โมนเพศชายและ เพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลง ของร่างกาย เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว 14. ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของ ร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว โดย การดูแลรักษาร่างกายและจิตใจของ ตนเองในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง • มนุษย์มีระบบสืบพันธุ์ที่ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำ หน้าที่เฉพาะ โดยรังไข่ในเพศหญิงจะทำหน้าที่ผลิตเซลล์ ไข่ ส่วนอัณฑะในเพศชายจะทำหน้าที่สร้างเซลล์อสุจิ • ฮอร์โมนเพศทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะ ทางเพศที่แตกต่างกัน เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว จะมีการสร้าง เซลล์ไข่และเซลล์อสุจิ การตกไข่ การมีรอบเดือน และถ้า มีการปฏิสนธิของเซลล์ไข่และเซลล์อสุจิจะทำให้เกิดการ ตั้งครรภ์

ญ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ 15. อธิบายการตกไข่ การมีประจำเดือน การปฏิสนธิ และการพัฒนาของ ไซโกต จนคลอดเป็นทารก 16. เลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม กับสถานการณ์ที่กำหนด 17.ตระหนักถึงผลกระทบของการ ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยการ ประพฤติตนให้เหมาะสม • การมีประจำเดือน มีความสัมพันธ์กับการตกไข่โดยเป็นผล จากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิง • เมื่อเพศหญิงมีการตกไข่และเซลล์ไข่ได้รับการปฏิสนธิกับ เซลล์อสุจิจะทำให้ได้ไซโกต ไซโกตจะเจริญเป็นเอ็มบริโอ และฟีตัส จนกระทั่งคลอดเป็นทารก แต่ถ้าไม่มีการปฏิสนธิ เซลล์ไข่จะสลายตัว ผนังด้านในมดลูกรวมทั้งหลอดเลือดจะ สลายตัวและหลุดลอกออก เรียกว่า ประจำเดือน • การคุมกำเนิดเป็นวิธีป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ โดย ป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิสนธิหรือไม่ให้มีการฝังตัวของ เอ็มบริโอ ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การกินยา คุมกำเนิด มาตรฐาน ว 2.1 1. อธิบายการแยกสารผสมโดยการ ระเหยแห้ง การตกผลึก การกลั่น อย่างง่าย โครมาโทกราฟีแบบ กระดาษ การสกัดด้วยตัวทำละลาย โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 2. แยกสารโดยการระเหยแห้ ง การตกผลึก การกลั่นอย่างง่าย โครมาโทกราฟีแบบกระดาษ การสกัดด้วยตัวทำละลาย • การแยกสารผสมให้เป็นสารบริสุทธิ์ทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับ สมบัติของสารนั้น ๆ การระเหยแห้งใช้แยกสารละลายซึ่ง ประกอบด้วยตัวละลายที่เป็นของแข็งในตัวทำละลายที่เป็น ของเหลว โดยใช้ความร้อนระเหยตัวทำละลายออกไปจนหมด เหลือแต่ตัวละลาย การตกผลึกใช้แยกสารละลายที่ ประกอบด้วยตัวละลายที่เป็นของแข็งในตัวทำละลายที่เป็น ของเหลว โดยทำให้สารละลายอิ่มตัว แล้วปล่อยให้ตัวทำ ละลายระเหยออกไปบางส่วน ตัวละลายจะตกผลึกแยกออกมา การกลั่นอย่างง่ายใช้แยกสารละลายที่ประกอบด้วยตัวละลาย และตัวทำละลายที่เป็นของเหลวที่มีจุดเดือดต่างกันมาก วิธีนี้ จะแยกของเหลวบริสุทธิ์ออกจากสารละลายโดยให้ความร้อน กับสารละลาย ของเหลวจะเดือดและกลายเป็นไอแยกจาก สารละลาย แล้วควบแน่นกลับเป็นของเหลวอีกครั้ง ขณะที่ ของเหลวเดือด อุณหภูมิของไอจะคงที่ โครมาโทกราฟีแบบ

ฎ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ กระดาษเป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีปริมาณน้อยโดยใช้ แยกสารที่มีสมบัติการละลายในตัวทำละลายและการถูก ดูดซับด้วยตัวดูดซับแตกต่างกัน ทำให้สารแต่ละชนิด เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้ต่างกัน สารจึงแยกออกจากกัน ได้ อัตราส่วนระหว่างระยะทางที่สารองค์ประกอบแต่ละ ชนิดเคลื่อนที่ได้บนตัวดูดซับกับระยะทางที่ตัวทำละลาย เคลื่อนที่ได้ เป็นค่าเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิดใน ตัวทำละลายและตัวดูดซับหนึ่ง ๆ การสกัดด้วยตัวทำละลาย เป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีสมบัติการละลายในตัวทำละลาย ที่ต่างกัน โดยชนิดของตัวทำละลายมีผลต่อชนิดและ ปริมาณของสารที่สกัดได้ การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ ใช้ แยกสารที่ระเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกจากสารที่ระเหยยาก โดยใช้ไอน้ำเป็นตัวพา 3. นำวิธีการแยกสารไปใช้แก้ปัญหา ในชีวิตประจำวัน โดยบูรณาการ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ • ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการแยกสาร บูรณาการกับ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี โดยใช้กระบวนการทางวิศวกรรม สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันหรือปัญหาที่พบใน ชุมชนหรือสร้างนวัตกรรม โดยมีขั้นตอน ดังนี้ - ระบุปัญหาในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวกับการแยกสารโดยใช้ สมบัติทางกายภาพ หรือนวัตกรรมที่ต้องการพัฒนา โดย ใช้หลักการดังกล่าว - รวบรวมข้อมูลและแนวคิดเกี่ยวกับการแยกสารโดยใช้ สมบัติทางกายภาพที่สอดคล้องกับปัญหาที่ระบุ หรือ นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมนั้น - ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา หรือพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวกับ การแยกสารในสารผสม โดยใช้สมบัติทางกายภาพ โดย เชื่อมโยงความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี

ฏ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ และกระบวนการทางวิศวกรรม รวมทั้งกำหนดและควบคุม ตัวแปรอย่างเหมาะสม ครอบคลุม - วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา หรือพัฒนานวัตกรรม รวบรวมข้อมูล จัดกระทำข้อมูลและเลือกวิธีการสื่อ ความหมายที่เหมาะสมในการนำเสนอผล - ทดลอง ประเมินผล ปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหาหรือ นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ รวบรวมได้ - นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา หรือผลของนวัตกรรมที่ พัฒนาขึ้น และผลที่ได้ โดยใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสม และน่าสนใจ 4. ออกแบบการทดลองและทดลองใน การอธิบายผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย อุณหภูมิที่มีต่อ สภาพละลายได้ของสาร รวมทั้ง อธิบายผลของความดันที่มีต่อ สภาพละลายได้ของสาร โดยใช้ สารสนเทศ • สารละลายอาจมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส สารละลายประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวละลาย กรณี สารละลายเกิดจากสารที่มีสถานะเดียวกัน สารที่มีปริมาณ มากที่สุดจัดเป็นตัวทำละลาย กรณีสารละลายเกิดจากสารที่มี สถานะต่างกัน สารที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลายจัดเป็น ตัวทำละลาย • สารละลายที่ตัวละลายไม่สามารถละลายในตัวทำละลายได้อีก ที่อุณหภูมิหนึ่ง ๆ เรียกว่า สารละลายอิ่มตัว • สภาพละลายได้ของสารในตัวทำละลาย เป็นค่าที่บอกปริมาณ ของสารที่ละลายได้ในตัวทำละลาย 100 กรัม จนได้สารละลาย อิ่มตัว ณ อุณหภูมิและความดันหนึ่ง ๆ สภาพละลายได้ของ สารบ่งบอกความสามารถในการละลายได้ของตัวละลายใน ตัวทำละลาย ซึ่งความสามารถในการละลายของสารขึ้นอยู่กับ ชนิดของตัวทำละลายและตัวละลาย อุณหภูมิ และความดัน

ฐ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ • สารชนิดหนึ่งๆ มีสภาพละลายได้แตกต่างกันในตัวทำละลาย ที่แตกต่างกัน และสารต่างชนิดกันมีสภาพละลายได้ในตัวทำ ละลายหนึ่งๆไม่เท่ากัน • เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สารส่วนมากสภาพละลายได้ของสารจะ เพิ่มขึ้น ยกเว้นแก๊สเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สภาพละลายได้จะ ลดลง ส่วนความดันมีผลต่อแก๊ส โดยเมื่อความดันเพิ่มขึ้น สภาพละลายได้จะสูงขึ้น • ความรู้เกี่ยวกับสภาพละลายได้ของสาร เมื่อเปลี่ยนแปลงชนิด ตัวละลาย ตัวทำละลาย และอุณหภูมิสามารถนำไปใช้ ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำน้ำเชื่อมเข้มข้น การ สกัดสารออกจากสมุนไพรให้ได้ปริมาณมากที่สุด 5. ระบุปริมาณตัวละลายในสารละลาย ในหน่วยความเข้มข้นเป็นร้อยละ ปริมาตรต่อปริมาตร มวลต่อมวล และมวลต่อปริมาตร 6. ตระหนักถึงความสำคัญของการนำ ความรู้เรื่องความเข้มข้นของสารไป ใช้ โดยยกตัวอย่างการใช้สารละลาย ในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องและ ปลอดภัย • ความเข้มข้นของสารละลาย เป็นการระบุปริมาณตัวละลาย ในสารละลาย หน่วยความเข้มข้นมีหลายหน่วย ที่นิยมระบุ เป็นหน่วยเป็นร้อยละปริมาตรต่อปริมาตร มวลต่อมวล และมวลต่อปริมาตร • ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร เป็นการระบุปริมาตร ตัวละลายในสารละลาย 100 หน่วยปริมาตรเดียวกัน นิยม ใช้กับสารละลายที่เป็นของเหลวหรือแก๊ส • ร้อยละโดยมวลต่อมวล เป็นการระบุมวลตัวละลายใน สารละลาย 100 หน่วยมวลเดียวกัน นิยมใช้กับสารละลาย ที่มีสถานะเป็นของแข็ง • ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร เป็นการระบุมวลตัวละลายใน สารละลาย 100 หน่วยปริมาตร นิยมใช้กับสารละลายที่มี ตัวละลายเป็นของแข็ง ในตัวทำละลายที่เป็นของเหลว

ฑ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ • การใช้สารละลายในชีวิตประจำวัน ควรพิจารณาจากความ เข้มข้นของสารละลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้งาน และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน ว 2.2 1. พยากรณ์การเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็น ผลของแรงลัพธ์ที่เกิดจากแรงหลาย แรงที่กระทำต่อวัตถุในแนวเดียวกัน จากหลักฐานเชิงประจักษ์ 2. เขียนแผนภาพแสดงแรงและแรงลัพธ์ ที่เกิดจากแรงหลายแรงที่กระทำต่อ วัตถุในแนวเดียวกัน • แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ เมื่อมีแรงหลาย ๆ แรงกระทำต่อ วัตถุ แล้วแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเป็นศูนย์ วัตถุจะไม่ เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ แต่ถ้าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุมี ค่าไม่เป็นศูนย์ วัตถุจะเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ 3. ออกแบบการทดลองและทดลองด้วย วิธีที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่ มีผลต่อความดันของของเหลว • เมื่อวัตถุอยู่ในของเหลวจะมีแรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุใน ทุกทิศทาง โดยแรงที่ของเหลวกระทำตั้งฉากกับผิววัตถุ ต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่เรียกว่าความดันของของเหลว • ความดันของของเหลวมีความสัมพันธ์กับความลึกจาก ระดับผิวหน้าของของเหลว โดยบริเวณที่ลึกลงไปจากระดับ ผิวหน้าของของเหลวมากขึ้น ความดันของของเหลวจะ เพิ่มขึ้น เนื่องจากของเหลวที่อยู่ลึกกว่า จะมีน้ำหนักของ ของเหลวด้านบนกระทำมากกว่า 4. วิเคราะห์แรงพยุงและการจม การลอย ของวัตถุในของเหลวจากหลักฐาน เชิงประจักษ์ 5. เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำต่อ วัตถุในของเหลว • เมื่อวัตถุอยู่ในของเหลว จะมีแรงพยุงเนื่องจากของเหลว กระทำต่อวัตถุ โดยมีทิศขึ้นในแนวดิ่ง การจมหรือการลอย ของวัตถุขึ้นกับน้ำหนักของวัตถุและแรงพยุง ถ้าน้ำหนักของ วัตถุและแรงพยุงของของเหลวมีค่าเท่ากัน วัตถุจะลอยนิ่ง อยู่ในของเหลว แต่ถ้าน้ำหนักของวัตถุมีค่ามากกว่าแรงพยุง ของของเหลววัตถุจะจม

ฒ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ 6. อธิบายแรงเสียดทานสถิตและ แรงเสียดทานจลน์จากหลักฐาน เชิงประจักษ์ • แรงเสียดทานเป็นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ เพื่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้น โดยถ้าออกแรงกระทำต่อ วัตถุที่อยู่นิ่งบนพื้นผิวให้เคลื่อนที่ แรงเสียดทานก็จะต้าน การเคลื่อนที่ของวัตถุแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุยัง ไม่เคลื่อนที่เรียกแรงเสียดทานสถิตแต่ถ้าวัตถุกำลังเคลื่อนที่ แรงเสียดทานก็จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่ง เรียกแรงเสียดทานจลน์ 7. ออกแบบการทดลองและทดลองด้วย วิธีที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่ มีผลต่อขนาดของแรงเสียดทาน 8. เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทาน และแรงอื่น ๆ ที่กระทำต่อวัตถุ 9. ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้ เรื่องแรงเสียดทาน โดยวิเคราะห์ สถานการณ์ปัญหาและเสนอแนะ วิธีการลดหรือเพิ่มแรงเสียดทานที่ เป็นประโยชน์ต่อการทำกิจกรรมใน ชีวิตประจำวัน • ขนาดของแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุขึ้นกับ ลักษณะผิวสัมผัสและขนาดของแรงปฏิกิริยาตั้งฉากระหว่าง ผิวสัมผัส • กิจกรรมในชีวิตประจำวันบางกิจกรรมต้องการแรงเสียดทาน เช่น การเปิดฝาเกลียวขวดน้ำ การใช้แผ่นกันลื่นในห้องน้ำ บางกิจกรรมไม่ต้องการแรงเสียดทาน เช่น การลากวัตถุบน พื้น การใช้น้ำมันหล่อลื่นในเครื่องยนต์ • ความรู้เรื่องแรงเสียดทานสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจำวันได้ 10. ออกแบบการทดลองและทดลองด้วย วิธีที่เหมาะสมในการอธิบายโมเมนต์ ของแรง เมื่อวัตถุอยู่ในสภาพสมดุล ต่อการหมุน และคำนวณโดยใช้ สมการ M = Fl • เมื่อมีแรงที่กระทำต่อวัตถุโดยไม่ผ่านศูนย์กลางมวลของวัตถุ จะเกิดโมเมนต์ของแรง ทำให้วัตถุหมุนรอบศูนย์กลางมวลของ วัตถุนั้น • โมเมนต์ของแรงเป็นผลคูณของแรงที่กระทำต่อวัตถุกับ ระยะทางจากจุดหมุนไปตั้งฉากกับแนวแรง เมื่อผลรวมของ โมเมนต์ของแรงมีค่าเป็นศูนย์วัตถุจะอยู่ในสภาพสมดุลต่อ การหมุน โดยโมเมนต์ของแรงในทิศทวนเข็มนาฬิกาจะมีขนาด เท่ากับโมเมนต์ของแรงในทิศตามเข็มนาฬิกา

ณ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ • ของเล่นหลายชนิดประกอบด้วยอุปกรณ์หลายส่วนที่ใช้ หลักการโมเมนต์ของแรง ความรู้เรื่องโมเมนต์ของแรง สามารถนำไปใช้ออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นได้ 11. เปรียบเทียบแหล่งของสนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า และสนามโน้มถ่วง และทิศทางของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ที่อยู่ในแต่ละสนามจากข้อมูลที่ รวบรวมได้ 12. เขียนแผนภาพแสดงแรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้า และแรงโน้มถ่วงที่กระทำ ต่อวัตถุ • วัตถุที่มีมวลจะมีสนามโน้มถ่วงอยู่โดยรอบ แรงโน้มถ่วงที่ กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในสนามโน้มถ่วงจะมีทิศพุ่งเข้าหาวัตถุที่ เป็นแหล่งของสนามโน้มถ่วง • วัตถุที่มีประจุไฟฟ้าจะมีสนามไฟฟ้าอยู่โดยรอบ แรงไฟฟ้าที่ กระทำต่อวัตถุที่มีประจุจะมีทิศพุ่งเข้าหาหรือออกจากวัตถุ ที่มีประจุที่เป็นแหล่งของสนามไฟฟ้า • วัตถุที่เป็นแม่เหล็กจะมีสนามแม่เหล็กอยู่โดยรอบ แรงแม่เหล็ก ที่กระทำต่อขั้วแม่เหล็กจะมีทิศพุ่งเข้าหาหรือออกจาก ขั้วแม่เหล็กที่เป็นแหล่งของสนามแม่เหล็ก 13. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างขนาด ของแรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้า และ แรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ใน สนามนั้น ๆ กับระยะห่างจากแหล่ง ของสนามถึงวัตถุจากข้อมูลที่ รวบรวมได้ • ขนาดของแรงโน้มถ่วง แรงไฟฟ้า และแรงแม่เหล็กที่กระทำต่อ วัตถุที่อยู่ในสนามนั้น ๆ จะมีค่าลดลง เมื่อวัตถุอยู่ห่างจาก แหล่งของสนามนั้น ๆ มากขึ้น 14. อธิบายและคำนวณอัตราเร็วและ ความเร็วของการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยใช้สมการ v = s t และ v⃑ = s⃑ t จากหลักฐานเชิงประจักษ์ 15. เขียนแผนภาพแสดงการกระจัดและ ความเร็ว • การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุเทียบ กับตำแหน่งอ้างอิง โดยมีปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ ซึ่งมีทั้งปริมาณสเกลาร์และปริมาณเวกเตอร์ เช่น ระยะทาง อัตราเร็ว การกระจัด ความเร็ว ปริมาณสเกลาร์เป็นปริมาณที่ มีขนาด เช่น ระยะทาง อัตราเร็ว ปริมาณเวกเตอร์เป็นปริมาณ ที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เช่น การกระจัด ความเร็ว

ด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ • เขียนแผนภาพแทนปริมาณเวกเตอร์ได้ด้วยลูกศร โดย ความยาวของลูกศรแสดงขนาดและหัวลูกศรแสดงทิศทางของ เวกเตอร์นั้น • ระยะทางเป็นปริมาณสเกลาร์ โดยระยะทางเป็นความยาวของ เส้นทางที่เคลื่อนที่ได้ • การกระจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ โดยการกระจัดมีทิศชี้จาก ตำแหน่งเริ่มต้นไปยังตำแหน่งสุดท้าย และมีขนาดเท่ากับ ระยะที่สั้นที่สุดระหว่างสองตำแหน่งนั้น • อัตราเร็วเป็นปริมาณสเกลาร์ โดยอัตราเร็วเป็นอัตราส่วนของ ระยะทางต่อเวลา • ความเร็วปริมาณเวกเตอร์มีทิศเดียวกับทิศของการกระจัด โดยความเร็วเป็นอัตราส่วนของการกระจัดต่อเวลา มาตรฐาน ว 2.3 1. วิเคราะห์สถานการณ์และคำนวณ เกี่ยวกับงานและกำลังที่เกิดจาก แรงที่กระทำต่อวัตถุ โดยใช้สมการ W = Fs และ P = W t จากข้อมูลที่รวบรวมได้ 2. วิเคราะห์หลักการทำงานของ เครื่องกลอย่างง่าย จากข้อมูลที่ รวบรวมได้ 3. ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้ ของเครื่องกลอย่างง่าย โดยบอก ประโยชน์และการประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน • เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุ แล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ โดยแรง อยู่ในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่จะเกิดงาน งานจะมีค่ามาก หรือน้อยขึ้นกับขนาดของแรงและระยะทางในแนวเดียวกับ แรง • งานที่ทำในหนึ่งหน่วยเวลาเรียกว่า กำลัง หลักการของงาน นำไปอธิบายการทำงานของเครื่องกลอย่างง่าย ได้แก่ คาน พื้นเอียง รอกเดี่ยว ลิ่ม สกรู ล้อและเพลา ซึ่งนำไปใช้ ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

ต สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ 4. ออกแบบและทดลองด้วยวิธีที่ เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่มี ผลต่อพลังงานจลน์และพลังงาน ศักย์โน้มถ่วง • พลังงานจลน์เป็นพลังงานของวัตถุที่เคลื่อนที่ พลังงานจลน์จะ มีค่ามากหรือน้อยขึ้นกับมวลและอัตราเร็ว ส่วนพลังงาน ศักย์โน้มถ่วงเกี่ยวข้องกับตำแหน่งของวัตถุ จะมีค่ามากหรือ น้อยขึ้นกับมวลและตำแหน่งของวัตถุ เมื่อวัตถุอยู่ในสนาม โน้มถ่วง วัตถุจะมีพลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์และ พลังงานศักย์โน้มถ่วงเป็นพลังงานกล 5. แปลความหมายข้อมูลและอธิบาย การเปลี่ยนพลังงานระหว่างพลังงาน ศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์ของ วัตถุโดยพลังงานกลของวัตถุมีค่า คงตัวจากข้อมูลที่รวบรวมได้ • ผลรวมของพลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์เป็น พลังงานกล พลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์ของวัตถุ หนึ่ง ๆ สามารถเปลี่ยนกลับไปมาได้ โดยผลรวมของพลังงาน ศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์มีค่าคงตัว นั่นคือพลังงานกล ของวัตถุมีค่าคงตัว 6. วิเคราะห์สถานการณ์และอธิบาย การเปลี่ยนและการถ่ายโอนพลังงาน โดยใช้กฎการอนุรักษ์พลังงาน • พลังงานรวมของระบบมีค่าคงตัวซึ่งอาจเปลี่ยนจากพลังงาน หนึ่งเป็นอีกพลังงานหนึ่ง เช่น พลังงานกลเปลี่ยนเป็น พลังงานไฟฟ้า พลังงานจลน์เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน พลังงานเสียง พลังงานแสง เนื่องมาจากแรงเสียดทาน พลังงานเคมีในอาหารเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ไปใช้ในการทำงาน ของสิ่งมีชีวิต • นอกจากนี้พลังงานยังสามารถถ่ายโอนไปยังอีกระบบหนึ่งหรือ ได้รับพลังงานจากระบบอื่นได้ เช่น การถ่ายโอนความร้อน ระหว่างสสาร การถ่ายโอนพลังงานของการสั่นของ แหล่งกำเนิดเสียงไปยังผู้ฟัง ทั้งการเปลี่ยนพลังงานและการ ถ่ายโอนพลังงาน พลังงานรวมทั้งหมดมีค่าเท่าเดิมตามกฎการ อนุรักษ์พลังงาน

ถ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ มาตรฐาน ว 3.2 1. เปรียบเทียบกระบวนการเกิด สมบัติ และการใช้ประโยชน์ รวมทั้งอธิบาย ผลกระทบจากการใช้เชื้อเพลิง ซากดึกดำบรรพ์ จากข้อมูลที่รวบรวม ได้ • เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพของ ซากสิ่งมีชีวิตในอดีต โดยกระบวนการทางเคมีและธรณีวิทยา เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ได้แก่ ถ่านหิน หินน้ำมัน ปิโตรเลียม ซึ่งเกิดจากวัตถุต้นกำเนิด และสภาพแวดล้อมการเกิดที่ แตกต่างกัน ทำให้ได้ชนิดของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ที่มี ลักษณะ สมบัติ และการนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกัน สำหรับปิโตรเลียมจะต้องมีการผ่านการกลั่นลำดับส่วนก่อน การใช้งาน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เนื่องจากต้องใช้เวลานานหลายล้านปี จึงจะเกิดขึ้นใหม่ได้ 2. แสดงความตระหนักถึงผลจากการ ใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ โดย นำเสนอแนวทางการใช้เชื้อเพลิง ซากดึกดำบรรพ์ • การเผาไหม้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์จะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้แก๊สบางชนิดที่ เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เช่น แก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์และไนตรัสออกไซด์ ยังเป็นแก๊ส เรือนกระจก ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ของโลกรุนแรงขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ โดยคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น เลือกใช้พลังงานทดแทน หรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่ลดการใช้ เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ 3. เปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดของ พลังงานทดแทนแต่ละประเภทจาก การรวบรวมข้อมูลและนำเสนอ แนวทางการใช้พลังงานทดแทนที่ เหมาะสมในท้องถิ่น • เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญใน กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เนื่องจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ มีปริมาณจำกัดและมักเพิ่มมลภาวะในบรรยากาศมากขึ้น จึงมี การใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล พลังงานคลื่น พลังงาน

ท สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ความร้อนใต้พิภพ พลังงานไฮโดรเจน ซึ่งพลังงานทดแทน แต่ละชนิดจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน 4. สร้างแบบจำลองที่อธิบายโครงสร้าง ภายในโลกตามองค์ประกอบทางเคมี จากข้อมูลที่รวบรวมได้ • โครงสร้างภายในโลกแบ่งออกเป็นชั้นตามองค์ประกอบทาง เคมี ได้แก่ เปลือกโลก ซึ่งอยู่นอกสุด ประกอบด้วย สารประกอบของซิลิกอนและอะลูมิเนียมเป็นหลัก เนื้อโลกคือ ส่วนที่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไปจนถึงแก่นโลก มีองค์ประกอบ หลักเป็นสารประกอบของซิลิกอน แมกนีเซียมและเหล็ก และแก่นโลกคือส่วนที่อยู่ใจกลางของโลก มีองค์ประกอบ หลักเป็นเหล็กและนิกเกิล ซึ่งแต่ละชั้นมีลักษณะแตกต่างกัน 5. อธิบายกระบวนการผุพังอยู่กับที่ การกร่อนและการสะสมตัวของ ตะกอนจากแบบจำลอง รวมทั้ง ยกตัวอย่างผลของกระบวนการ ดังกล่าวที่ทำให้ผิวโลกเกิดการ เปลี่ยนแปลง • การผุพังอยู่กับที่ การกร่อน และการสะสมตัวของตะกอน เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ที่ทำให้ผิวโลก เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นภูมิลักษณ์แบบต่าง ๆ โดยมีปัจจัย สำคัญ คือ น้ำ ลม ธารน้ำแข็ง แรงโน้มถ่วงของโลก สิ่งมีชีวิต สภาพอากาศ และปฏิกิริยาเคมี • การผุพังอยู่กับที่ คือ การที่หินผุพังทำลายลงด้วยกระบวนการ ต่าง ๆ ได้แก่ ลมฟ้าอากาศกับน้ำฝน และรวมทั้งการกระทำ ของต้นไม้กับแบคทีเรีย ตลอดจนการแตกตัวทางกลศาสตร์ซึ่ง มีการเพิ่มและลดอุณหภูมิสลับกัน เป็นต้น • การกร่อน คือ กระบวนการหนึ่งหรือหลายกระบวนการที่ ทำให้สารเปลือกโลกหลุดไป ละลายไปหรือกร่อนไปโดยมี ตัวนำพาธรรมชาติคือ ลม น้ำ และธารน้ำแข็ง ร่วมกับปัจจัย อื่น ๆ ได้แก่ ลมฟ้าอากาศ สารละลาย การครูดถู การนำพา ทั้งนี้ไม่รวมถึงการพังทลายเป็นกลุ่มก้อน เช่น แผ่นดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิด

ธ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ • การสะสมตัวของตะกอน คือ การสะสมตัวของวัตถุจากการ นำพาของน้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง 6. อธิบายลักษณะของชั้นหน้าตัดดิน และกระบวนการเกิดดิน จากแบบ จำลอง รวมทั้งระบุปัจจัยที่ทำให้ดิน มีลักษณะและสมบัติแตกต่างกัน • ดินเกิดจากหินที่ผุพังตามธรรมชาติผสมคลุกเคล้ากับ อินทรียวัตถุที่ได้จากการเน่าเปื่อยของซากพืชซากสัตว์ ทับถมเป็นชั้น ๆ บนผิวโลก ชั้นดินแบ่งออกเป็นหลายชั้น ขนานหรือเกือบขนานไปกับผิวหน้าดิน แต่ละชั้นมีลักษณะ แตกต่างกัน เนื่องจากสมบัติทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ และ ลักษณะอื่น ๆ เช่น สี โครงสร้าง เนื้อดิน การยึดตัว ความ เป็นกรด-เบส สามารถสังเกตได้จากการสำรวจภาคสนาม การเรียกชื่อชั้นดินหลักจะใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่ ได้แก่ O, A, E, B, C, R • ชั้นหน้าตัดดิน เป็นชั้นดินที่มีลักษณะปรากฏให้เห็น เรียงลำดับเป็นชั้นจากชั้นบนสุดถึงชั้นล่างสุด • ปัจจัยที่ทำให้ดินแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะและสมบัติแตกต่าง กัน ได้แก่ วัตถุต้นกำเนิดดิน ภูมิอากาศ สิ่งมีชีวิตในดิน สภาพภูมิประเทศ และระยะเวลาในการเกิดดิน 7. ตรวจวัดสมบัติบางประการของดิน โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมและ นำเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์ ดินจากข้อมูลสมบัติของดิน • สมบัติบางประการของดิน เช่น เนื้อดิน ความชื้นดิน ค่าความ เป็นกรด-เบส ธาตุอาหารในดิน สามารถนำไปใช้ในการ ตัดสินใจถึงแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยอาจนำไปใช้ ประโยชน์ทางการเกษตรหรืออื่น ๆ ซึ่งดินที่ไม่เหมาะสมต่อ การทำการเกษตรเช่น ดินจืด ดินเปรี้ยว ดินเค็ม และดินดาน อาจเกิดจากสภาพดินตามธรรมชาติ หรือการใช้ประโยชน์ จะต้องปรับปรุงให้มีสภาพเหมาะสม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ 8. อธิบายปัจจัยและกระบวนการเกิด แหล่งน้ำผิวดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน จากแบบจำลอง • แหล่งน้ำผิวดินเกิดจากน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นโลกไหลจาก ที่สูงลงสู่ที่ต่ำด้วยแรงโน้มถ่วง การไหลของน้ำทำให้พื้นโลก เกิดการกัดเซาะเป็นร่องน้ำ เช่น ลำธาร คลอง และแม่น้ำซึ่ง

น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ร่องน้ำจะมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ น้ำฝน ระยะเวลาในการกัดเซาะ ชนิดดินและหิน และลักษณะ ภูมิประเทศ เช่น ความลาดชัน ความสูงต่ำของพื้นที่ เมื่อน้ำ ไหลไปยังบริเวณที่เป็นแอ่งจะเกิดการสะสมตัวเป็นแหล่งน้ำ เช่น บึง ทะเลสาบ ทะเล และมหาสมุทร • แหล่งน้ำใต้ดินเกิดจากการซึมของน้ำผิวดินลงไปสะสมตัวใต้ พื้นโลก ซึ่งแบ่งเป็นน้ำในดินและน้ำบาดาล น้ำในดินเป็นน้ำที่ อยู่ร่วมกับอากาศตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ส่วนน้ำบาดาล เป็นน้ำที่ไหลซึมลึกลงไปและถูกกักเก็บไว้ในชั้นหินหรือชั้นดิน จนอิ่มตัวไปด้วยน้ำ 9. สร้างแบบจำลองที่อธิบายการใช้น้ำ และนำเสนอแนวทางการใช้น้ำ อย่างยั่งยืนในท้องถิ่นของตนเอง • แหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดินถูกนำมาใช้ในกิจกรรม ต่าง ๆ ของมนุษย์ ส่งผลต่อการจัดการการใช้ประโยชน์น้ำ และคุณภาพของแหล่งน้ำ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวน ประชากร การใช้ประโยชน์พื้นที่ในด้านต่าง ๆ เช่น ภาค เกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ ลุ่มน้ำและแหล่งน้ำผิวดินไม่เพียงพอสำหรับกิจกรรมของ มนุษย์ น้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินจึงถูกนำมาใช้มากขึ้น ส่งผลให้ ปริมาณน้ำใต้ดินลดลงมาก จึงต้องมีการจัดการใช้น้ำอย่าง เหมาะสมและยั่งยืน ซึ่งอาจทำได้โดยการจัดหาแหล่งน้ำ เพื่อให้มีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต การจัดสรร และการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์และฟื้นฟู แหล่งน้ำ การป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ

บ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ 10. สร้างแบบจำลองที่อธิบายกระบวนการ เกิดและผลกระทบของน้ำท่วม การกัดเซาะชายฝั่ง ดินถล่ม หลุมยุบ แผ่นดินทรุด • น้ำท่วม การกัดเซาะชายฝั่ง ดินถล่ม หลุมยุบ แผ่นดินทรุด มีกระบวนการเกิดและผลกระทบที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจสร้าง ความเสียหายร้ายแรงแก่ชีวิต และทรัพย์สิน • น้ำท่วม เกิดจากพื้นที่หนึ่งได้รับปริมาณน้ำเกินกว่าที่จะ กักเก็บได้ ทำให้แผ่นดินจมอยู่ใต้น้ำ โดยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ และสภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่ • การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่ง ทะเลที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจากการกัดเซาะของคลื่นหรือลม ทำให้ตะกอนจากที่หนึ่งไปตกทับถมในอีกบริเวณหนึ่ง แนวของชายฝั่งเดิมจึงเปลี่ยนแปลงไป บริเวณที่มีตะกอน เคลื่อนเข้ามาน้อยกว่าปริมาณที่ตะกอนเคลื่อนออกไปถือว่า เป็นบริเวณที่มีการกัดเซาะชายฝั่ง • ดินถล่ม เป็นการเคลื่อนที่ของมวลดินหรือหินจำนวนมากลง ตามลาดเขา เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นหลัก ซึ่งเกิด จากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ความลาดชันของพื้นที่ สภาพธรณีวิทยา ปริมาณน้ำฝน พืชปกคลุมดิน และการใช้ประโยชน์พื้นที่ • หลุมยุบ คือ แอ่งหรือหลุมบนแผ่นดินขนาดต่าง ๆ ที่อาจเกิด จากการถล่มของโพรงถ้ำหินปูน เกลือหินใต้ดิน หรือเกิดจาก น้ำพัดพาตะกอนลงไปในโพรงถ้ำหรือธารน้ำใต้ดิน • แผ่นดินทรุดเกิดจากการยุบตัวของชั้นดิน หรือหินร่วน เมื่อ มวลของแข็งหรือของเหลวปริมาณมากที่รองรับอยู่ใต้ชั้นดิน บริเวณนั้นถูกเคลื่อนย้ายออกไปโดยธรรมชาติหรือโดยการ กระทำของมนุษย์

ป สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1 เวลา 60 ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) หน่วยที่ 1 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ 3 หน่วยที่ 2 สารละลาย บทที่ 1 องค์ประกอบของสารละลายและปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้ เรื่องที่ 1 องค์ประกอบของสารละลาย เรื่องที่ 2 สภาพละลายได้และปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้ กิจกรรมท้ายบท การใช้ตัวทำละลายอย่างถูกต้องและปลอดภัยทำได้ อย่างไร บทที่ 2 ความเข้มข้นของสารละลาย เรื่องที่ 1 ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ กิจกรรมท้ายบท นำสารละลายที่มีความเข้มข้นต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ได้ อย่างไร 14 หน่วยที่ 3 ร่างกายมนุษย์ บทที่ 1 ระบบอวัยวะในร่างกายของเรา เรื่องที่ 1 ระบบหมุนเวียนเลือด เรื่องที่ 2 ระบบหายใจ เรื่องที่ 3 ระบบขับถ่าย เรื่องที่ 4 ระบบประสาท เรื่องที่ 5 ระบบสืบพันธุ์ กิจกรรมท้ายบท ระบบของร่างกายมนุษย์กับสถานีอวกาศเหมือนหรือ ต่างกันอย่างไร 21 หน่วยการเรียนรู้

ผ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1 เวลา 60 ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) หน่วยที่ 4 การเคลื่อนที่และแรง บทที่ 1 การเคลื่อนที่ เรื่องที่ 1 ตำแหน่งของวัตถุระยะทาง และการกระจัด เรื่องที่ 2 อัตราเร็วและความเร็ว กิจกรรมท้ายบท เดินทางมาโรงเรียนได้เร็วหรือช้า บทที่ 2 แรงในชีวิตประจำวัน เรื่องที่ 1 แรงลัพธ์ เรื่องที่ 2 แรงเสียดทาน เรื่องที่ 3 แรงและความดันของของเหลว เรื่องที่ 4 แรงพยุงของของเหลว เรื่องที่ 5 โมเมนต์ของแรง เรื่องที่ 6 แรงและสนามของแรง กิจกรรมท้ายบท สร้างรถไฟ Maglev ได้อย่างไร 22 หน่วยการเรียนรู้

ฝ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้/บทเรียน กิจกรรม ตัวชี้วัด มาตรฐาน ว 2.1 หน่วยที่ 2 สารละลาย บทที่ 1 องค์ประกอบของสารละลาย และปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้ กิจกรรมที่ 2.1 ระบุตัวละลาย และตัวทำละลายได้อย่างไร • ออกแบบการทดลองและทดลองในการ อธิบายผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำ ละลาย อุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้ ของสาร รวมทั้งอธิบายผลของความดันที่ มีต่อสภาพละลายได้ของสาร โดยใช้ สารสนเทศ กิจกรรมที่ 2.2 สารละลายอิ่มตัว คืออะไร กิจกรรมที่ 2.3 ชนิดของตัวละลาย และตัวทำละลายมีผลต่อสภาพ ละลายได้ของสารอย่างไร กิจกรรมที่ 2.4 อุณหภูมิมีผลต่อ สภาพละลายได้ของสารอย่างไร กิจกรรมท้ายบท การใช้ตัวทำละลาย อย่างถูกต้องและปลอดภัยทำได้ อย่างไร หน่วยที่ 2 สารละลาย บทที่ 2ความเข้มข้นของสารละลาย กิจกรรมที่ 2.5 ระบุความเข้มข้น ของสารละลายในหน่วยร้อยละ ได้อย่างไร • ระบุปริมาณตัวละลายในสารละลาย ใน หน่วยความเข้มข้นเป็นร้อยละ ปริมาตร ต่อปริมาตร มวลต่อมวล และมวลต่อ ปริมาตร กิจกรรมท้ายบท นำสารละลายที่ มีความเข้มข้นต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ ได้อย่างไร • ตระหนักถึงความสำคัญของการนำความรู้ เรื่อง ความเข้มข้นของสารไปใช้ โดย ยกตัวอย่างการใช้สารละลายในชีวิตประจำวัน อย่างถูกต้องและปลอดภัย ความสอดคล้องของบทเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1

พ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้/บทเรียน กิจกรรม ตัวชี้วัด มาตรฐาน ว 1.2 หน่วยที่ 3 ร่างกายมนุษย์ บทที่ 1 ระบบอวัยวะในร่างกาย ของเรา กิจกรรมที่ 3.1 เซลล์เม็ดเลือดมี ลักษณะอย่างไร • บรรยายโครงสร้างและหน้าที่ของหัวใจ หลอดเลือด และเลือด กิจกรรมที่ 3.2 หัวใจทำงาน อย่างไร • อธิบายการทำงานของระบบหมุนเวียน เลือด โดยใช้แบบจำลอง กิจกรรมที่ 3.3 กิจกรรมใดมีผล ต่ออัตราการเต้นของหัวใจ มากกว่ากัน • ออกแบบการทดลองและทดลองในการ เปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจ ขณะปกติและหลังทำกิจกรรม • ตระหนักถึงความสำคัญของระบบ หมุนเวียนเลือด โดยการบอกแนวทางใน การดูแลรักษาอวัยวะในระบบหมุนเวียน เลือดให้ทำงานเป็นปกติ • ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของ อวัยวะที่เกี่ยวข้องในระบบหายใจ กิจกรรมที่ 3.4 การหายใจเข้า และการหายใจออกเกิดขึ้นได้ อย่างไร • อธิบายกลไกการหายใจเข้าและออก โดย ใช้แบบจำลอง รวมทั้งอธิบายกระบวนการ แลกเปลี่ยนแก๊ส กิจกรรมที่ 3.5 ปอดจุอากาศได้ เท่าใด • ตระหนักถึงความสำคัญของระบบหายใจ โดยการบอกแนวทางและปฏิบัติตนใน การดูแลรักษาอวัยวะในระบบหายใจให้ ทำงานเป็นปกติ กิจกรรมที่ 3.6 ทำอย่างไรเพื่อให้ ระบบหายใจทำงานอย่างเป็น ปกติ ความสอดคล้องของบทเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1

ฟ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้/บทเรียน กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยที่ 3 ร่างกายมนุษย์ บทที่ 1 ระบบอวัยวะในร่างกาย ของเรา • ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของ อวัยวะในระบบขับถ่ายในการกำจัด ของเสีย กิจกรรมที่ 3.7 ดูแลรักษาไต อย่างไร • ตระหนักถึงความสำคัญของระบบขับถ่าย โดยการบอกแนวทางและปฏิบัติตน ในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่าย ให้ทำงานเป็นปกติ กิจกรรมเสริม เราจำได้มากแค่ไหน • ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของ อวัยวะในระบบประสาทส่วนกลางในการ ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย กิจกรรมที่ 3.8 ร่างกายจะมี ปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อถูกเคาะ บริเวณหัวเข่า กิจกรรมที่ 3.9 นักเรียนตอบสนอง ได้ดีแค่ไหน • ตระหนักถึงความสำคัญของระบบประสาท โดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษา รวมถึงการป้องกันการกระทบกระเทือน และอันตรายต่อสมองและไขสันหลัง • ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของ อวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของเพศชายและ เพศหญิง โดยใช้แบบจำลอง กิจกรรมที่3.10การเปลี่ยนแปลง ของร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว เป็นอย่างไร • อธิบายผลของฮอร์โมนเพศชายและ เพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของ ร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ความสอดคล้องของบทเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1

ภ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้/บทเรียน กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยที่ 3 ร่างกายมนุษย์ บทที่ 1 ระบบอวัยวะในร่างกาย ของเรา • อธิบายการตกไข่ การมีประจำเดือน การปฏิสนธิ และการพัฒนาของไซโกต จนคลอดเป็นทารก กิจกรรมที่ 3.11 เลือกวิธีการ คุมกำเนิดอย่างไรให้เหมาะสม • เลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับ สถานการณ์ที่กำหนด กิจกรรมที่ 3.12 การตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควรส่งผลกระทบ อย่างไรบ้าง • ตระหนักถึงผลกระทบของการตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควร โดยการประพฤติตนให้ เหมาะสม กิจกรรมท้ายบท ระบบของ ร่างกายมนุษย์กับสถานีอวกาศ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร มาตรฐาน ว 2.2 หน่วยที่ 4 การเคลื่อนที่และแรง บทที่ 1 การเคลื่อนที่ กิจกรรมที่ 4.1 ระบุตำแหน่งของ วัตถุในห้องเรียนได้อย่างไร • อธิบายและคำนวณอัตราเร็วและความเร็ว ของการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยใช้สมการ v = s t และ v⃑ = s⃑ t จากหล ั กฐาน เชิงประจักษ์ • เขียนแผนภาพแสดงการกระจัดและ ความเร็ว กิจกรรมที่ 4.2 ระยะทางและ ระยะห่างระหว่างสองตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างไร กิจกรรมที่ 4.3 อัตราเร็วและ ความเร็วแตกต่างกันอย่างไร กิจกรรมท้ายบท เดินทางมา โรงเรียนได้เร็วหรือช้า ความสอดคล้องของบทเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1

ม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้/บทเรียน กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยที่ 4 การเคลื่อนที่และแรง บทที่ 2 แรงในชีวิตประจำวัน กิจกรรมที่ 4.4 การรวมแรงใน ระนาบเดียวกันทำได้อย่างไร • พยากรณ์การเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นผล ของแรงลัพธ์ที่เกิดจากแรงหลายแรงที่ กระทำต่อวัตถุในแนวเดียวกันจาก หลักฐานเชิงประจักษ์ • เขียนแผนภาพแสดงแรงและแรงลัพธ์ที่เกิด จากแรงหลายแรงที่กระทำต่อวัตถุในแนว เดียวกัน กิจกรรมที่ 4.5 แรงเสียดทาน เมื่อวัตถุไม่เคลื่อนที่และเคลื่อนที่ แตกต่างกันอย่างไร • อธิบายแรงเสียดทานสถิตและแรงเสียดทาน จลน์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ กิจกรรมที่ 4.6 ปัจจัยใดบ้างที่มี ผลต่อขนาดของแรงเสียดทาน • ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่ เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อ ขนาดของแรงเสียดทาน • เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและ แรงอื่น ๆ ที่กระทำต่อวัตถุ • ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้เรื่อง แรงเสียดทานโดยวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาและเสนอแนะวิธีการลดหรือเพิ่ม แรงเสียดทานที่เป็นประโยชน์ต่อการทำ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน ความสอดคล้องของบทเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1

ย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้/บทเรียน กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยที่ 4 การเคลื่อนที่และแรง บทที่ 2 แรงในชีวิตประจำวัน กิจกรรมที่ 4.7 น้ำมีแรงกระทำต่อ วัตถุหรือไม่ อย่างไร • เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำต่อวัตถุ ในของเหลว กิจกรรมที่ 4.8 ปัจจัยใดบ้างที่มีผล ต่อความดันของของเหลว • ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่ เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อ ความดันของของเหลว กิจกรรมที่ 4.9 แรงพยุงของของเหลว เป็นอย่างไร • วิเคราะห์แรงพยุงและการจม การลอยของ วัตถุในของเหลวจากหลักฐานเชิงประจักษ์ กิจกรรมที่ 4.10 ปัจจัยใดบ้างที่มี ผลต่อขนาดของแรงพยุงของของเหลว กิจกรรมที่ 4.11 โมเมนต์ของแรง คืออะไร • ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่ เหมาะสมในการอธิบายโมเมนต์ของแรง เมื่อวัตถุอยู่ในสภาพสมดุลต่อการหมุน และคำนวณโดยใช้สมการ M = Fl กิจกรรมที่ 4.12 ทำอย่างไรให้ไม้เมตร อยู่นิ่งในแนวระดับ • เปรียบเทียบแหล่งของสนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า และสนามโน้มถ่วง และ ทิศทางของแรงที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ใน แต่ละสนามจากข้อมูลที่รวบรวมได้ กิจกรรมที่ 4.13 สนามแม่เหล็ก เป็นอย่างไร • เขียนแผนภาพแสดงแรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้า และแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุ ความสอดคล้องของบทเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1

ร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้/บทเรียน กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยที่ 4 การเคลื่อนที่และแรง บทที่ 2 แรงในชีวิตประจำวัน กิจกรรมที่ 4.14 ขนาดของ แรงแม่เหล็กขึ้นอยู่กับอะไร • วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของ แรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้า และแรงโน้มถ่วง ที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในสนามนั้น ๆ กับ ระยะห่างจากแหล่งของสนามถึงวัตถุจาก ข้อมูลที่รวบรวมได้ กิจกรรมท้ายบท สร้างรถไฟ Maglev ได้อย่างไร • ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้เรื่อง แรงเสียดทานโดยวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาและเสนอแนะวิธีการลดหรือเพิ่ม แรงเสียดทานที่เป็นประโยชน์ต่อการทำ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน • เขียนแผนภาพแสดงแรงแม่เหล็กแรงไฟฟ้า และแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุ ความสอดคล้องของบทเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1

ล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ รายการ ปริมาณ/กลุ่ม หน่วยที่ 1 1. กล่อง 1 กล่อง 2. เครื่องมือที่ช่วยในการสังเกต เช่น ดินสอ แม่เหล็ก เครื่องชั่ง ไม้บรรทัด 1 ชุด หน่วยที่ 2 1. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต 6.5 g 2. ดีเกลือ 12 g 3. พิมเสน 7 g 4. จุนสี 36 g 5. เอทานอล 10 cm3 6. เอทานอลผสมสี 30 cm3 7. น้ำแข็ง 100 g 8. น้ำกลั่น 630 cm3 9. บีกเกอร์ขนาด 250 cm3 2 ใบ 10. บีกเกอร์ขนาด 50 cm3 3 ใบ 11. กระบอกตวงขนาด 25 cm3 1 ใบ 12. กระบอกตวงขนาด 10 cm3 1 ใบ 13. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 4 หลอด 14. ช้อนตักสารเบอร์หนึ่ง 1 คัน 15. ช้อนตักสารเบอร์สอง 2 คัน 16. แท่งแก้วคน 4 อัน 17. หลอดหยด 2 หลอด 18. เทอร์มอมิเตอร์ 1 อัน 19. ขาตั้งพร้อมที่จับ 1 ชุด 20. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด 21. เครื่องชั่ง 2–3 เครื่อง/ห้อง ตารางรายการวัสดุอุปกรณ์ประกอบหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1

ว สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ รายการ ปริมาณ/กลุ่ม หน่วยที่ 3 1. น้ำสี 1,000 cm3 2. สไลด์ถาวรเลือดของมนุษย์ 1 แผ่น 3. แบบจำลองการทำงานของปอด 1 อัน 4. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง 1 กล้อง 5. ท่อปั๊มน้ำ 2 อัน 6. ชุดอุปกรณ์วัดความจุอากาศของปอด 1 ชุด 7. ภาชนะใส่น้ำสี เช่น ขวดน้ำ 5 L 2 ใบ 8. บีกเกอร์ขนาด 2,000 cm3 2 ใบ 9. นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน 10. ค้อนยางขนาดเล็ก 1 อัน 11. เหรียญบาท 1 เหรียญ 12. เทปใส 1 ม้วน 13. กรรไกร 1 เล่ม 14. กระดาษปรู๊ฟ 2 แผ่น 15. ปากกาเคมี คละสี 3 แท่ง 16. กระดาษแข็งขนาด 9 x 9 cm 10 แผ่น ตารางรายการวัสดุอุปกรณ์ประกอบหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1

ศ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ รายการ ปริมาณ/กลุ่ม หน่วยที่ 4 1. เกลือแกง มวล 1 kg 3 ถุง 2. ของเหลวชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำ น้ำสี น้ำเชื่อม น้ำเกลือ น้ำมันพืช ขึ้นอยู่กับขนาดของภาชนะ 3. ถุงทราย มวล 500 g 3 ถุง 4. ผงเหล็ก 1 ขวด 5. แม่เหล็ก 2 เส้น 6. แท่งเหล็ก 1 แท่ง 7. แท่งแม่เหล็ก (magnetic bar) 1 แท่ง 8. แผ่นไม้ 1 แผ่น 9. เชือก 1 ม้วน 10. เชือกเส้นเล็ก 1 ม้วน 11. ถุงพลาสติก 2 ใบ 12. กระดาษทราย 1 แผ่น 13. แผ่นโฟม 2 แผ่น 14. แผ่นกระดาษลูกฟูก 1 แผ่น 15. แผ่นพลาสติกลูกฟูก 2 แผ่น 16. แผ่นพลาสติกใส 1 แผ่น 17. ภาชนะใส่น้ำ 1 ใบ 18. ภาชนะใส่น้ำก้นลึก 1 ใบ 19. ภาชนะรองรับน้ำ 1 ใบ 20. ขวดน้ำพลาสติกขนาดต่าง ๆ ขนาดละ 1 ขวด 21. ลูกแก้ว 1 ลูก 22. จุกยางที่เสียบหลอดแก้วนำแก๊ส 1 อัน 23. ลูกโป่ง 1 ใบ ตารางรายการวัสดุอุปกรณ์ประกอบหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1

ษ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ รายการ ปริมาณ/กลุ่ม หน่วยที่ 4 24. ดินน้ำมัน 2 ก้อน 25. เครื่องชั่งสปริง 3 เครื่อง 26. นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน 27. เข็มทิศ 5 อัน 28. ไม้เมตร 1 อัน 29. ไม้บรรทัด 1 อัน 30. ไม้บรรทัดวัดมุม 1 อัน 31. โปรแกรมแสดงแผนที่ เช่น Google map 1 โปรแกรม 32. วงแหวนขนาดเล็ก 1 วง 33. เทปใส 1 อัน 34. กระดาษกราฟ 2 แผ่น 35. กระดาษ A4 1 แผ่น 36. เข็มหมุด 3 อัน 37. กรรไกร 1 เล่ม 38. ผ้าขาวบาง 1 ผืน ตารางรายการวัสดุอุปกรณ์ประกอบหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1

ส สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชื่อหน่วยและจุดมุ่งหมายของหน่วยการเรียนรู้ องค์ประกอบของหน่วย ซึ่งจัดเป็นบทเรียน เรื่องของ บทเรียนนั้น และกิจกรรมท้ายบท รวมทั้งแสดงเวลาที่ใช้ ภาพรวมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แสดงความ สอดคล้องของจุดประสงค์ของบทเรียน แนวความคิด ต่อเนื่อง และรายการประเมิน ชื่อบทเรียนและสาระสำคัญ แสดงสาระสำคัญที่ นักเรียนจะได้เรียนรู้ในบทเรียน จุดประสงค์ของบทเรียน แสดงเป้าหมายหรือสิ่งที่ นักเรียนจะทำได้เมื่อเรียนจบบทเรียน ทักษะที่นักเรียนควรจะได้รับหรือฝึกปฏิบัติ เมื่อ เรียนจบในแต่ละเรื่อง แนะนำการใช้คู่มือครู

ห สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การนำเข้าสู่หน่วยการเรียนรู้ แสดงแนวทางการจัด การเรียนการสอนเมื่อเริ่มต้นบทเรียน ภาพนำบทพร้อมคำอธิบายภาพ เพื่อสร้างความสนใจ ในการเรียนในบทนี้ ทบทวนความรู้ก่อนเรียน เพื่อทบทวนความรู้ พื้นฐานของนักเรียน ที่ควรจะมีเพื่อเตรียมพร้อมใน การเรียนเรื่องนี้ รู้อะไรบ้างก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้เดิมของ นักเรียน เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังจะเรียน โดยนักเรียน ไม่จำเป็นต้องตอบถูกต้องครบถ้วน ซึ่งครูสามารถ นำไปวางแผนในการจัดการเรียนการสอน ในเรื่อง นั้น ๆ ได้ ชื่อเรื่องและแนวการจัดการเรียนรู้ของเรื่อง ภาพนำเรื่องพร้อมคำอธิบายภาพ เพื่อสร้างความสนใจ ในการเรียนในหน่วยนี้

ฬ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมการเรียนรู้ของเรื่อง แสดงแนวการจัดการ เรียนรู้ ก่อน ระหว่าง และหลังทำกิจกรรม แนวคิดคลาดเคลื่อน แสดงแนวคิดคลาดเคลื่อนและ แนวคิดที่ถูกต้องในเรื่องนั้น ๆ เฉลยคำถามระหว่างเรียนแสดงแนวคำตอบของ คำถาม ข้อสรุปที่นักเรียนควรได้ เมื่ออภิปราย และสรุปสิ่งที่ ได้เรียนรู้หลังข้อความ เพื่อให้ได้ข้อสรุป กิจกรรมเสริม ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม และ ตัวอย่างองค์ความรู้หรือทักษะที่นักเรียนควรได้รับ จากการทำกิจกรรมเสริม

อ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้เพิ่มเติมสำหรับครูที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเรื่อง แต่นอกเหนือผลการเรียนรู้ซึ่งไม่ควรนำไปใช้ในการ วัดผลประเมินผลนักเรียน เฉลยแบบฝึกหัดท้ายหน่วย พร้อมแสดงระดับความยาก (**) และง่าย (*) ของแบบฝึกหัด โดยแบบฝึกหัดท้าย หน่วยสอดคล้องกับแบบทดสอบระดับชาติ (O-NET) และนานาชาติ (PISA) สรุปกิจกรรมการเรียนรู้ของเรื่อง โดยแสดง • จุดประสงค์ • เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม • รายการวัสดุและอุปกรณ์ • การเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับครู • ข้อควรระวังในการทำกิจกรรม • ข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรม • สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ • ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม • เฉลยคำถามท้ายกิจกรรม เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท พร้อมแสดงระดับความยาก (**) และง่าย (*) ของแบบฝึกหัด

1 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยที่ 1 | ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยที่1 หน่วยการเรียนรู้นี้มีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ของวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ เพื่อตระหนักถึงลักษณะสำคัญของ วิทยาศาสตร์และลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดทาง วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เวลาที่ใช้ 2 ชั่วโมง จิตวิทยาศาสตร์ เวลาที่ใช้ 1 ชั่วโมง รวมเวลาที่ใช้ 3 ชั่วโมง องค์ประกอบของหน่วย

2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยที่ 1 | ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระสำคัญ วิทยาศาสตร์มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากศาสตร์แขนงอื่น ๆ โดยธรรมชาติของวิทยาศาสตร์จะให้ความสำคัญกับ การมองโลกในมุมมองแบบวิทยาศาสตร์ที่ว่า เราสามารถทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้โดยอาศัยกระบวนการหาหลักฐาน ลงความเห็น ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ในการสร้างแนวคิดและคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่มีความ น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความคงทนก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานเพิ่มเติมที่มีความ น่าเชื่อถือมากกว่า วิทยาศาสตร์จึงเป็นวิถีทางแห่งการเรียนรู้สิ่งรอบตัวอย่างที่ไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์และไม่ใช่แนวคิดจากความ เชื่อฟังที่สืบต่อกันมาเท่านั้น อย่างไรก็ตามวิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถให้คำตอบที่สมบูรณ์หรือตอบคำถามทุกคำถามได้ (AAAS, 1990; 1993; Lederman, 1992; McComas & Olson, 1998; NGSS, 2013) ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ยังให้ความสำคัญกับการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นกระบวนการที่มนุษย์ ใช้แสวงหาคำตอบ สร้างแนวคิดและคำบรรยายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เรียกว่า ทฤษฎี (theory) และอธิบาย ความสัมพันธ์หรือรูปแบบของสิ่งต่าง ๆ ในปรากฏการณ์ ที่เรียกว่า กฎ (law) เพื่อใช้อธิบายหรือทำนายการเกิดปรากฏการณ์ใน ธรรมชาติ เป็นกระบวนการที่มีระบบแต่ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว มักเริ่มต้นจากคำถาม มีการเก็บข้อมูลหลักฐานด้วยวิธีการต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างคำอธิบายจากหลักฐานที่ได้ จากนั้นเชื่อมโยงคำอธิบายที่ค้นพบกับผู้อื่นและสื่อสารอย่างมีเหตุผล แม้ว่า วิทยาศาสตร์จะมีลักษณะเฉพาะตัว แต่ก็ถือว่าเป็นกิจกรรมของมนุษยชาติที่ทุกคนสามารถทำได้และมีส่วนร่วมได้ทั้งใน ระดับบุคคล สังคม และองค์กรความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีการจัดระบบและแตกแขนงเป็นสาขาที่หลากหลายโดยองค์กรต่าง ๆ และมีหลักจริยธรรมในการดำเนินการร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่า องค์กรทางวิทยาศาสตร์ หรือกิจการทางวิทยาศาสตร์(AAAS, 1990;1993; NGSS, 2013) ลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า จิตวิทยาศาสตร์ ซึ่งแสดงออกได้หลาย แนวทาง เช่น วิเคราะห์และให้เหตุผลแต่ละข้อมูลก่อนการประเมินและตัดสินใจไม่แสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ต่างๆก่อน ลงมือทำหรือได้ข้อมูลเพียงพอ สืบเสาะและใช้หลักฐานสนับสนุนคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ รายงานหลักฐานเชิงประจักษ์อย่าง ครบถ้วน ไม่แอบอ้างผลงานผู้อื่น ยอมรับความเห็นหรือแนวคิดที่มีประจักษ์พยานและเหตุผล แม้ว่าความเห็นหรือแนวคิด ดังกล่าวจะแตกต่างจากตนเอง รวมทั้งเห็นคุณค่า ความสำคัญ และความสนใจต่อวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของหน่วย เมื่อเรียนจบหน่วยนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ 1. ยกตัวอย่างและอธิบายธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ 2. ยกตัวอย่างและอธิบายจิตวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์

3 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยที่ 1 | ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุดประสงค์ การเรียนรู้ของบทเรียน แนวความคิดต่อเนื่อง กิจกรรม รายการประเมิน 1. ยกตัวอย่างและอธิบาย ธรรมชาติของ วิทยาศาสตร์ 1. วิทยาศาสตร์มีลักษณะเฉพาะตัวที่ แตกต่างจากศาสตร์ความรู้แขนง อื่น ๆ ซึ่งเรียกว่า ธรรมชาติของ วิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 3 ส่วน สำคัญ ได้แก่ โลกในมุมมองแบบ วิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และ องค์กรทางวิทยาศาสตร์หรือ กิจการทางวิทยาศาสตร์ 2. โลกในมุมมองทางวิทยาศาสตร์ หรือการมองปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในมุมมองแบบวิทยาศาสตร์มี แนวคิดต่าง ๆ เช่น สิ่งต่าง ๆ สามารถทำความเข้าใจได้โดยอาศัย หลักฐานสนับสนุน การแปล ความหมาย และการลงข้อสรุปเป็น ความรู้ผ่านการคิดวิเคราะห์ อย่างเป็นเหตุเป็นผล และความรู้ ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมีหลักฐานเพิ่มเติมที่เชื่อถือได้ และนำมาสร้างคำอธิบายใหม่ 3. การสืบเสาะหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์เป็นการรวบรวมข้อมูล หลักฐานเพื่อนำมาสร้างคำอธิบาย หรือตอบคำถามในสิ่งที่สงสัย โดยใช้ กระบวนการหรือวิธีการต่างๆ ที่เป็น ระบบ แต่ไม่ตายตัว กิจกรรม 1.1 ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ พัฒนาได้อย่างไร กิจกรรม 1.2 วัตถุอะไรอยู่ใน กล่อง 1. ยกตัวอย่าง ธรรมชาติของ วิทยาศาสตร์ 2. อธิบายธรรมชาติ ของวิทยาศาสตร์ ภาพรวมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

4 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยที่ 1 | ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุดประสงค์ การเรียนรู้ของบทเรียน แนวความคิดต่อเนื่อง กิจกรรม รายการประเมิน 4. วิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมของ มนุษยชาติสามารถทำได้และมี ส่วนร่วมได้ทั้งในระดับบุคคล สังคม หรือองค์กร แตกแขนงเป็นสาขา ต่าง ๆ แต่หลักการหรือคำอธิบาย ทางวิทยาศาสตร์ไม่มีขอบเขต แบ่งแยก จึงเป็นส่วนสำคัญหนึ่ง ของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ที่ เรียกว่า องค์กรทางวิทยาศาสตร์ หรือกิจการทางวิทยาศาสตร์ 2. ยกตัวอย่างและอธิบาย จิตวิทยาศาสตร์ 1. ลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกี่ยวข้อง กับความรู้สึกนึกคิดทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า จิตวิทยาศาสตร์ 2. จิตวิทยาศาสตร์มีการนึกคิดและ แสดงออกได้หลายแนวทาง เช่น การวิเคราะห์และให้เหตุผลแต่ละ ข้อมูลก่อนการประเมินและ ตัดสินใจ การไม่แสดงความคิดเห็น ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนลงมือ ทำหรือได้ข้อมูลเพียงพอ 3. จิตวิทยาศาสตร์ยังรวมทั้งการเห็น คุณค่า ความสำคัญ ความชอบ ความสนใจต่อวิทยาศาสตร์ 1. นักเรียนสามารถ ยกตัวอย่างและ อธิบาย จิตวิทยาศาสตร์