วิธี การ ดำเนิน งาน โครง งาน

    ระยะที่ ๒  ดำเนินการทำโครงงาน โดยมีกิจกรรม ดังนี้

    . จัดอบรมแกนนำนักเรียนในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยและโรงเรียนเครือข่ายทั้ง ๕ โรงเรียน จำนวน ๑๖๐ คน แล้วเชิญชวนให้ช่วยกันลดปัญหาโลกร้อนด้วยการเก็บกล่องเครื่องดื่มที่บริโภคแล้วส่งไปผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)

    ๒. นำเสนอโครงงานในการประชุมผู้ปกครองเครือข่ายประจำปีการศึกษา ๒๕๕๐ ของโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย เพื่อขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการเก็บกล่องเครื่องดื่มหลังบริโภค และขอข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้ปกครอง

    . รณรงค์ให้นักเรียนโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยและนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายเชิญชวนบุคคลในครอบครัว เก็บกล่องเครื่องดื่มหลังบริโภค นำมาทำให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะนำไปผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยทำตามวิธีการในแผ่นพับที่นักเรียนแกนนำจัดทำเผยแพร่ และนำมาให้แกนนำทั้ง ๘ คน ไปส่งต่อให้ชมรมผู้ผลิตต่อไป

    ๔.จัดกิจกรรมยกย่องครอบครัวและโรงเรียนเครือข่ายที่บริจาคกล่องเครื่องดื่มที่อยู่ในสภาพที่พร้อมแล้วได้มากที่สุดโดยมอบเป็นเกียรติบัตรและเงินรางวัล เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้บุคคลทั่วไปในการทำเรื่องดีๆ มีน้ำใจ โดมีคนดีเป็นแบบอย่าง

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2550

จัดทำโดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
Copyright(C)2007 Satrisisuriyothai School. All rights reserv
ed.

วิจัยบทที่ 3  คลิกเพื่อดาวโหลดไฟล์ สำเร็จรูป

บทที่ 3

วิธีดำเนินงานโครงงาน

        ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การสร้างเว็บบล็อกด้วย WordPress เรื่องแท็บเล็ต นี้ ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

3.1 ขอบเขตในการจัดทำโครงการ

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3.3 วิธีสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3.4 วิธีดำเนินการทดลอง
3.5 สะสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

3.1 ขอบเขตในการจัดทำโครงการ

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษา1ชั้น ปีที่ 3 และคณาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ สาขานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ในภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556 จำนวนคณาจารย์ 10 ท่าน และ นิสิต 10 ท่าน จำนวนทั้งสิ้น 20 ท่าน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 และคณาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ สาขานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ในภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556 โดยสุ่ม จำนวนนิสิตและคณาจารย์ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 ท่าน

–        จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การสร้างเว็บบล็อกด้วย WordPress เรื่อง แท็บเล็ต

–        วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่

–       เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

–       เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ www.wordpress.com

–       เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น www.facebook.com www.hotmail.com www.google.com

–       โปรแกรมตัดต่อและตกแต่งรูปภาพ เช่นAdobe Photoshop CS4 และ PhotoScape2.0

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับชั้นการทำงาน การมีคอมพิวเตอร์และแท็บเล็ตใช้ในการทำงาน

ตัวแปรตาม ได้แก่ เจตคติต่อวิชาโครงงานเทคโนโลยีการศึกษา:การศึกษาอิสระ 3 ด้าน คือ ด้านคุณประโยชน์ ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรม

ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556  ใช้เวลาในการทดลอง  11  ชั่วโมง

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

3.2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3.2.2 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ http://www.wordpress.com

3.2.3 เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น http://www.facebook.com http://www.hotmail.com

3.2.4 โปรแกรมตัดต่อและตกแต่งรูปภาพ เช่นAdobe Photoshop CS5 และ PhotoScape2.0

3.2.5 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ศึกษาในหน้าเว็บเพจ เว็บบล็อก

3.2.6 แบบสอบถามเรื่องการสร้างเว็บบล็อก เรื่อง แท็บเล็ต

3.2.7 แบบทดสอบ เรื่อง แท็บเล็ต

3.3 วิธีสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจะกล่าวถึงหลักการ ขั้นตอนการเขียนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหรือรวบรวมข้อมูล ว่านิสิตนักศึกษาคาดว่าจะสร้างเครื่องมือแต่ละชนิดประกอบด้วยขั้นตอนใดบ้าง มีหลักการใดบ้าง กำหนดว่าจะสร้างจำนวนเท่าใด ต้องการจริงเท่าใด มีลักษณะอย่างไร เช่น สร้างแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ สร้างจำนวน 10 ข้อ ต้องการจริง 5 ข้อ เป็นต้นและการหาคุณภาพเครื่องที่ใช้ในการวิจัยนั้น จะใช้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือกี่คน ทดลองกับใคร จำนวนเท่าใด  จะใช้สูตรใดในการหาค่าอำนาจจำแนก หาความยาก หาค่าความเชื่อมั่น และมีการกำหนดเกณฑ์คุณภาพเครื่องมือที่ระดับใด ซึ่งในการเขียนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นขั้นตอนโครงร่างที่นิสิต นักศึกษาจะคาดว่าทำและปฏิบัติตามขั้นตอนที่เขียนไว้เท่านั้น  แต่หลังจากนิสิตทำแล้วซึ่งจะเขียนเป็นโครงการนั้น นิสิตต้องปรับเปลี่ยนข้อความใหม่  ซึ่งพบข้อบกพร่องมากในโครงการ กล่าวคือ นิสิต นักศึกษาไม่มีปรับเปลี่ยนยังคงใช้ข้อความเดิมที่เขียนไว้ในเค้าโครงการ แท้จริงและถูกต้องนั้น เมื่อนิสิต  นักศึกษาทำการสร้างจริง ตรวจสอบและทดลองไปใช้จริงแล้ว ผลที่ได้จะแตกต่างกัน ดังนั้นข้อความก่อนทำกับหลังต้องการแตกต่างกัน ตรงที่ต้องมีการนำเสนอผลการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและการทดลองใช้ว่า ได้ผลอย่างไร มีการปรับปรุงอะไรบ้าง เข้าเกณฑ์กี่ข้อ นำไปใช้จริงกี่ข้อ  นิสิต นักต้องพึงระวังในการเขียนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเค้าโครงวิทยานิพนธ์  สำหรับหลักการ  เกณฑ์การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้
1)   ก่อนลงมือเขียนขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  นิสิต ศึกษาควรศึกษารูปแบบการสร้างเครื่องมือชนิดนั้น ๆ ให้เข้าใจเพื่อความถูกต้องในการเขียน

2)   ในขั้นการศึกษาเอกสารและงานวิจัย นิสิตนักศึกษาควรระบุชื่อเอกสารที่ค้นคว้าให้ครบและชัดเจน ว่าเป็นของใคร ชื่อหนังสือ พ.ศ. ที่พิมพ์ เช่น ศึกษาเอกสารการสร้างแบบสอบถามจากหนังสือการวิจัยเบื้องต้นของบุญชม ศรีสะอาด (2545: 90-100)

3)  กรณีที่เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ขั้นตอนการสร้างนิสิต นักศึกษา ควรสร้างตารางวิเคราะห์รายละเอียด (เนื้อหา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง) และระบุจำนวนข้อที่สร้างขึ้นและต้องการจริงเท่าใด

4)  การเลือกผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงนั้น นิสิต นักศึกษาควรเลือกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นอย่างแท้จริง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้พิจารณาให้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุงเครื่องมือ ดังนั้นการเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญ จะทำให้เครื่องมือมีคุณภาพด้วย ผู้เชี่ยวชาญควรมี 2 ประเภท ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผล

5)  ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการตรวจสอบเครื่องมือนักศึกษาต้องเขียนระบุตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่งหรือหน้าที่การงาน สถานที่ทำงาน เช่น รศ.ดร.บุญชม ศรีสะอาด อาจารย์ภาควิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผลและกรณีเครื่องมือที่สร้างมีมากกว่า 1 ชนิดแต่ใช้คณะผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม การเขียนอธิบายในขั้นตอนการสร้างไม่ต้องเขียนรายละเอียดอีก ระบุข้อความ ผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม ในขั้นตอนการสร้างเครื่องมือเท่านั้นพอ เช่น นำเครื่องมือไปให้ผู้เชี่ยวชาญชุดเดิมตรวจสอบความถูกต้อง

6)  นิสิต นักศึกษาต้องเขียนขั้นตอนการสร้างให้ชัดเจน ถูกต้อง เช่น กระบวนการสร้าง อธิบายค่าอำนาจจำแนก วิธีหาความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรง เพื่อให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจง่ายกรณีที่ใช้เครื่องมือคนอื่นสร้างไว้มาใช้ ต้องระบุว่าเป็นของใคร สร้าง พ.ศ.ใดและที่สำคัญเครื่องนั้นต้องทันสมัย มีความสอดคล้องกับเรื่องที่ทำและไม่ควรเกิน 5 ปี

7)  เครื่องมือแต่ละชนิดที่สร้างขึ้น ควรเขียนแสดงตัวอย่างลักษณะของเครื่องมือที่ใช้วัด อธิบายวิธีการตรวจให้คะแนน เกณฑ์การให้คะแนนอย่างชัดเจน พร้อมทั้งระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน เช่น มากที่สุด ให้ 5 คะแนน หรือ คะแนนความคิดคล่องในการคิด พิจารณาคำตอบที่เป็นไปได้ในเงื่อนไขของข้อสอบถือว่าเป็นคำตอบที่เป็นไปได้ ให้คำตอบละ 1 คะแนน

8)   การหาคุณภาพเครื่องมือเป็นรายข้อ (อำนาจจำแนก ความยาก) ให้ทดลองใช้ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างไม่น้อยกว่า 50 คน แล้วคัดเลือกข้อที่ดีไว้ใช้แล้วจึงหาคุณภาพทั้งฉบับ (ความเชื่อมั่น)

9) การเขียนขั้นทดลองใช้ นิสิต นักศึกษาควรระบุให้ชัดเจนว่ากลุ่มที่ใช้ทดลองเป็นใคร จำนวนเท่าใดและทดลองวันที่เท่าใด

ตัวอย่าง   การเขียนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีขั้นตอนการเขียนดังนี้

1. กำหนดจุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

2. ศึกษาเอกสาร ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ (เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย) จากหนังสือของ
3. วางแผนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้น ว่าจะสร้างกี่ข้อ มีกี่ด้าน แต่ละด้านมีกี่ข้อ

4. สร้าง..(ระบุชื่อเครื่องมือ)บอกลักษณะของเครื่องมือเป็นแบบใด  มีกี่ระดับ  มีกี่ด้านอะไรบ้าง สร้างขึ้นจำนวน…ข้อและต้องการจริง จำนวน…ข้อ (อาจจะสร้างตารางวิเคราะห์รายละเอียดหรือไม่สร้างก็ได้)

5. นำ(ระบุชื่อเครื่องมือ)ที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ (ระบุด้าน) พิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรง(เชิงประจักษ์) โดยพิจารณาว่าข้อความของเครื่องมือที่สร้างขึ้นนั้น  วัดได้(จุดประสงค์ นิยามศัพท์เฉพาะหรือเนื้อหาหรือไม่)แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญให้คะแนน อาจจะเป็น +1 เมื่อแน่ใจวัดได้ตรงในด้านนั้น 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าวัดได้ในด้านนั้น และ -1 เมื่อแน่ใจว่าวัดได้ไม่ตรงในด้านนั้น  และให้ระบุจำนวนผู้เชี่ยวว่ามีกี่คน ระบุตำแหน่งหน้าที่ สถานที่ทำงาน  และระบุผลการตรวจสอบ ผลการตรวจสอบคุณภาพของ…(ระบุชื่อเครื่อง)…ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนเป็นรายข้อแล้วคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง พบว่า ได้ดัชนีความสอดคล้องระหว่าง…..ถึง….

6. แก้ไข…(ระบุชื่อเครื่อง).. ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำไปทดลองใช้(Try out) กับ …..(ระบุว่าเป็นกลุ่มใด) … ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน…คน

7. วิเคราะห์คุณภาพของ…(ระบุชื่อเครื่องมือ)…วิเคราะห์..(ระบุชื่อเครื่องมือ)..โดยคำนวณหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยใช้….(ระบุสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์)…. ซึ่งได้ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อตั้งแต่.ถึง…..(ได้ค่าความยากเป็นรายข้อตั้งแต่….ถึง…..(ถ้ามี))และหาค่าความเชื่อมั่นของ..(ระบุชื่อเครื่องมือ)…โดยใช้ (ระบุสถิติที่ใช้)…ปรากฏว่าได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ

8. จัดพิมพ์..(ระบุชื่อเครื่องมือ)…ฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้จริง (พร้อมแสดงตัวอย่างเครื่องมือ)

  1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้างเครื่องมือ
  2. ศึกษาทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  3. วางแผนการสร้าง (เครื่องมือ)
  4. สร้างเครื่องมือ
  5. ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงของ (เครื่องมือ)
  6. นำ (เครื่องมือ) ที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้  (Try – out)
  7. วิเคราะห์คุณภาพของ (เครื่องมือ)
  8. จัดพิมพ์ และ นำไปใช้จริง

3.4 วิธีดำเนินการทดลอง

3.4.1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน

3.4.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องแท็บเล็ต ว่ามีเนื้อหามากน้อย

เพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป

3.4.3 ศึกษาการสร้างเว็บบล็อกที่สร้างจากเว็บไซต์ WordPress จากเอกสารที่ครูประจำวิชากำหนด และจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่นำเสนอเทคนิค วิธีการสร้างเว็บบล็อก

3.4.4 จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาผ่านเว็บบล็อกของตัวเอง โดย ได้นำไฟล์ข้อมูลไปฝากไว้ที่เว็บไซต์ชื่อ http://www.slideshare.net

3.4.5 ปฏิบัติการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การสร้างเว็บบล็อกด้วยWordpress เรื่องแท็บเล็ต โดยการสมัครสมาชิก และสร้างบทเรียนที่สนใจตามแบบเสนอโครงร่างที่เสนอไว้แล้ว ทั้งนี้ ได้นำเสนอบทเรียนผ่านเว็บบล็อกที่ http://piyakorn.wordpress.com/

3.4.6 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ โดยแจ้งให้ครูที่ปรึกษาโครงงานเข้าไปตรวจ

ความก้าวหน้าของโครงงานผ่านเว็บไซต์ www.facebook.com/ ปิยากร พจนารุ่งฤกษ์ ซึ่งครูที่ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนามา

ปรับปรุง แก้ไขให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น อีกทั้งได้สร้างเครือข่ายสังคมโดยใช้เว็บไซต์ Facebook เพื่อให้เพื่อนๆ

มาช่วยให้ข้อเสนอแนะ และสื่อสารกันหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาเว็บบล็อกดังกล่าว

3.4.7 จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยนาเสนอในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์และนำฝากข้อมูลไฟล์ดังกล่าวไว้ที่เว็บ http://www.slideshare.net แล้วนำมาเชื่อมโยงผ่านเว็บบล็อกที่สร้างขึ้น

3.4.8 ประเมินผลงาน โดยการนำเสนอผ่านเว็บบล็อก ที่ชื่อ piyakorn แล้วให้ครูที่ปรึกษา

ประเมินผลงาน และให้เพื่อนๆ ผู้สนใจเข้าร่วมประเมิน โดยการสร้างกล่อง Like Box เพื่อให้คลิก Like และ คอมเม้นในหน้าเว็บบล็อก

3.4.9 นำเสนอผ่านเว็บบล็อก ที่ชื่อ piyakorn เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาหาความรู้ต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ทำการศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยดำเนินการดังนี้

1.วิเคราะห์การสร้างเว็บบล็อกด้วยwordpress เรื่อง แท็บเล็ต จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน จากแบบประเมินบทเรียนการดำเนินการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ประเมินสื่อ โดยแปลความหมายข้อมูลที่เป็นค่าเฉลี่ย ดังต่อไปนี้ (ไชยศ เรืองสุวรรณ.2548 : 178) แบบประเมินนี้เป็นมาตราส่วนประมานค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ ดังนี้

มีคุณภาพมากที่สุด     เท่ากับ  4.50 – 5.00

เหมาะสมมากที่สุด     เท่ากับ  3.50 – 4.49

เหมาะสมปานกลาง    เท่ากับ  2.50 – 3.49

เหมาะสมพอใช้         เท่ากับ  1.50 – 2.49

เหมาะสมปรับปรุง      เท่ากับ  1.00 – 1.49

2.วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับเนื้อหาและข้อสอบของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ การสร้างเว็บบล็อกด้วยwordpress เรื่อง แท็บเล็ต จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน จากแบบประเมินความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับเนื้อหาและข้อสอบ แล้วนำไปเทียบกับเกณฑ์การแปลความหมายตามวิธีของโรวิเนลลีและแฮมเลิดัน ดังนี้

0.50 – 1.00 แสดงว่า มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา

ต่ำกว่า 0.50 แสดงว่า มีความสอดคล้องต่ำ ต้องปรับปรุงแก้ไข

3.วิเคราะห์แบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การดำเนินการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การสร้างเว็บบล็อกด้วยwordpress เรื่อง แท็บเล็ต ตามความเป็นจริง โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำค่าเฉลี่ยที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์การแปลความหมายตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) ดังนี้

ค่าเฉลี่ย                 ความหมาย

4.51 – 5.00        ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

3.51 – 4.50        ความพึงพอใจในระดับมาก

2.51 – 3.50        ความพึงพอใจในระดับปานกลาง

1.51 – 2.50        ความพึงพอใจในระดับน้อย

1.00 – 1.50        ความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด

3.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1.  สถิติที่ใช้ในการวัดคุณภาพเครื่องมือ

1.1 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโปรแกรมบทเรียน โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย  (X :  Arithmetic Mean) ร้อยละ (Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D. : Standard Deviation)  ของคะแนนที่ได้จากแบบฝึกหัดในโปรแกรมบทเรียนแต่ละหน่วยและคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนทั้งหมด

1.2 การวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน โดยใช้วิธีการหาดัชนีประสิทธิผล  E.I. (The Effectiveness Index) (เผชิญ  กิจระการ  2545  :  30-31)

1.3 วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน  โดยการตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์  ดังนี้

มากที่สุด          กำหนดให้                  5        คะแนน

มาก               กำหนดให้                  4        คะแนน

ปานกลาง         กำหนดให้                  3        คะแนน

น้อย              กำหนดให้                  2        คะแนน

น้อยที่สุด         กำหนดให้                  1        คะแนน

แล้วนำคะแนนไปหาค่าเฉลี่ย และกำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายค่าเฉลี่ย ดังนี้ (บุญชม  ศรีสะอาด. 2545 : 103)

ค่าเฉลี่ย                                ระดับความพึงพอใจ

4.51 – 5.00                              มากที่สุด

3.51 – 4.50                              มาก

2.51 – 3.50                              ปานกลาง

1.51 – 2.50                              น้อย

1.00 – 1.50                              น้อยที่สุด