ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ doc

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ doc

ประวัติของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

        นับแต่โบราณมนุษย์ได้มีความพยายามคิดค้นหาตัวช่วยหรือเครื่องมือที่ช่วยในการคํานวณ ตัวอย่างเครื่องมือที่ช่วยในการคํานวณที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่ ลูกคิด (abacus) ซึ่งถูกคิดค้นกว่าเมื่อ 5,000 ปีมาแล้วจากนั้นก็ได้มีความพยายามคิดค้นเครื่องมือใหม่ ๆ มาช่วยในการคํานวณมากมาย จนกระทั่งได้มีการคิดค้นเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น โดยอาจแบ่งยุคของคอมพิวเตอร์ได้ 5 ยุค ดังนี้

 1. คอมพิวเตอร์ยุคแรก (1940-1956) เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกมีขนาดใหญ่ เนื่องจากถูกสร้างจากหลอดสุญญากาศ (vacuum tube) นอกจากนี้ยังใช้กําลังไฟสูงและเกิดความร้อนมาก ทําให้เครื่องร้อนจัดแม้จะมีระบบระบายความร้อนแล้ว หน่วยความจําเป็นดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) สื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือบัตรเจาะรู การสั่งงานใช้ภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งเป็นรหัสตัวเลขฐานสอง (binarydigit) ที่มนุษย์เข้าใจได้ยาก 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ doc

ภาพที่ 1 คอมพิวเตอร์ยุคแรก

ที่มา : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/index01.htm

 2. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (1956-1963) เป็นยุคที่หันมาใช้ทรานซิสเตอร์ (transistor) แทนหลอดสุญญากาศ ทําให้กินไฟน้อยลง มีความร้อนน้อยลงมาก และมีขนาดเล็กลง รวมถึงมีประสิทธิภาพการทํางานดีขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสํารองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาขึ้นไปเป็นภาษาสัญลักษณ์ ได้แก่ ภาษาแอสแซมบลี (assembly) และภาษาระดับสูงที่คนสามารถเข้าใจได้ง่าย เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ทําให้การเขียนโปรแกรมสามารถทําได้ง่ายขึ้น

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ doc

 ภาพที่ 2 หลอดสูญญากาศ

ที่มา : http://www.chakkham.ac.th/technology/computer/web02.htm

 3. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (1964-1971) เป็นยุคที่มีการคิดค้นแผงวงจรรวม (integrated circuit: IC) ขึ้น ซึ่งมีผลให้คอมพิวเตอร์ทํางานเร็วขึ้นเป็นอย่างมาก แผงวงจรรวมเป็นชิป (chip) ขนาดเล็กที่ทํางานได้เทียบเท่าทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว ทําให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทํางานเร็วขึ้นแต่มีขนาดเล็กลง ผู้ใช้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางแป้นพิมพ์ (keyboard) และจอภาพ (monitor) ทําให้การป้อนข้อมูลและการเขียนโปรแกรมทําได้ง่ายขึ้น ในยุคนี้เป็นยุคที่มีภาษาระดับสูงถูกพัฒนาขึ้นมากมาย เช่น ภาษาอาร์พีจี (RPG) ภาษาเบสิก (BASIC) เป็นต้น

ภาพที่ 3 ไอซี

ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/patumnafang/2012/08/27/entry-1

 4. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (1971-1984) มีการพัฒนาแผงวงจรรวมขนาดใหญ่ (Large-ScaleIntegration : LSI) และจากนั้นก็มีการพัฒนาเป็น แผงวงจรขนาดใหญ่มาก (Very Large-Scale Integartion :VLSI) โดยชิปตัวเดียวมีความสามารถเทียบเท่าทรานซิสเตอร์นับล้านตัว ทําให้เกิดไมโครโปรเซสเซอร์

(microprocessor) ตัวแรกของโลกขึ้นคือ Intel 4004 ที่ผลิตโดยบริษัทอินเทล คอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น และราคาถูกลงจนคนทั่วไปสามารถหาซื้อได้ มีการใช้

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer : PC) กันอย่างแพร่หลาย ด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาไปอย่างมากเช่นกัน มีภาษาคอมพิวเตอร์ที่เขียนได้ง่ายขึ้น เช่น ภาษาซี (c) ภาษาปาสคาล (pascal) มีการพัฒนา

ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (database)

 5. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (1985-ปัจจุบัน) จากยุคที่ 4 ซึ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกิดผู้ผลิตคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น มีการแข่งขันสูง ราคาของคอมพิวเตอร์จึงถูกลง มีการพัฒนาส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphic User Interface : GUI) ซึ่งทําให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ง่ายขึ้น ความก้าวหน้าด้านการสื่อสารข้อมูลก็มีมากขึ้น ทําให้เกิดการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ กลายเป็นระบบอินเทอร์เน็ต (internet) ด้านฮาร์แวร์เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง เป็นอุปกรณ์ที่พกพาได้ง่าย เช่น แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ เช่น นาฬิกาอัจฉริยะ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ เป็นต้น

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ doc

ภาพที่ 4 คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

ที่มา : http://bcom57233.blogspot.com/2014/07/blog-post.html

ประเภทของคอมพิวเตอร์

       คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถจําแนกตามขนาดและประสิทธิภาพในการทํางานของเครื่องได้เป็น4 ประเภท คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) และไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)

 1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพในการคํานวณและประมวลผลสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้แก้ปัญหาที่ซับซ้อนและต้องการความอย่างรวดเร็ว เช่น งานควบคุมทางอวกาศ งานควบคุมขีปนาวุธ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ และการพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลาย ๆ วัน เป็นต้น

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ doc

ภาพที่ 5 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 

ที่มา : https://sites.google.com/a/pccpl.ac.th/computertech/

 2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ตัวเครื่องอาจมีลักษณะเป็นตู้และต้องมีห้องเครื่องโดยเฉพาะ มีหน่วยความจําขนาดใหญ่มาก สามารถให้บริการผู้ใช้จํานวนหลายร้อยคนที่ใช้โปรแกรมที่แตกต่างกันพร้อม ๆ กันได้ มักใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงสําหรับเป็นศูนย์บริการข้อมูลต่าง ๆ เช่น ธนาคาร และบริษัทข้ามชาติ เป็นต้น

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ doc

ภาพที่ 6  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 

ที่มา : http://chay-1234.blogspot.com/2010/11/mainframe-computer.html

 3. มินิคอมพิวเตอร์ เดิมเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (midrange computer) แต่ปัจจุบันขนาดของเครื่องเล็กลงและมีขนาดใกล้เคียงกับไมโครคอมพิวเตอร์ แต่มีความเร็วสูงกว่า ส่วนใหญ่จะนําไปใช้เป็นศูนย์กลางของข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) ขององค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือเครื่องแม่ข่ายนั่นเอง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ doc

 ภาพที่ 7 มินิคอมพิวเตอร์

ที่มา : https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/index2.htm

 4. ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer) มักเรียกสั้น ๆว่า พีซี (PC) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่นิยมใช้งานส่วนตัวหรืองานสํานักงานทั่วไป แบ่งได้หลายลักษณะตามขนาด ได้แก่ เดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์ (desktop computer) โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ (notebookcomputer) แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (tablet computer) และคอมพิวเตอร์มือถือ (handheld computer)

           4.1 เดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์ เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาสําหรับวางบนโต๊ะหรือใต้โต๊ะ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นแบบแนวตั้ง (vertical model) หรือแบบทาวเวอร์ (tower model) อุปกรณ์รับเข้าและอุปกรณ์ส่งออก เช่น เมาส์ (mouse) คีย์บอร์ด (keyboard) และเครื่องพิมพ์ (printer) จะอยู่ภายนอกตัวเครื่อง

           4.2 โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถระดับเดียวกับเดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์ แต่มีขนาดเล็ก น้ําหนักเบาสามารถนําติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ ได้ การทํางานของโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี และพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากการเสียบปลั๊กไฟโดยตรง อุปกรณ์รับเข้าทั้งคีย์บอร์ดและแผ่นสัมผัส (touch surface)อยู่รวมกับตัวเครื่อง ส่วนอุปกรณ์ส่งออกซึ่งได้แก่จอภาพจะเชื่อมต่อกับตัวเครื่องด้วยบานพับ

           4.3 แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตพีซี (tablet PC) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ น้ําหนักเบา พกพาสะดวก รับข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านจอสัมผัส(touch screen) โดยใช้ปากกาดิจิทัล (digital pen) หรือปลายนิ้ว แทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ การทํางานของแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรีเช่นเดียวกับโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์แต่ใช้ได้นานกว่า

           4.4 คอมพิวเตอร์มือถือ หรือเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (personal digitalassistant) เรียกสั้น ๆ ว่า พีดีเอ (PDA) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด สามารถพกพาไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้เกือบทุกที่ เหมาะสําหรับการกําหนดนัดหมาย การเก็บที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงการเล่นเกมต่าง ๆ ได้รับความนิยมอยู่ช่วงหนึ่งก่อนจะถูกแทนที่ด้วยสมาร์ทโฟน

 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

       ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารทําให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจําวันของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ จนกล่าวได้ว่ามีการนําไปใช้ในทุกวงการหรือสายงานเลยทีเดียว ซึ่งในหัวข้อนี้จะขอยกตัวอย่างดังนี้

 1. เทคโนโลยีกับภาครัฐ

จะเห็นได้ว่าภาครัฐมีความตระหนักถึงความจําเป็นในการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งาน เช่น การบันทึกข้อมูลประชาชนในงานทะเบียนราษฎร์ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเกิด ตาย การย้ายที่อยู่ หรือการทําบัตรประชาชน โดยมีโครงการสมาร์ทการ์ด (smart card) ซึ่งอยู่ในโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) ตั้งแต่ปี 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริการในภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้

มีหน่วยงานในภาครัฐอีกหลายแห่งได้รับการผลักดันในมีบริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น กรมสรรพากรเปิดบริการ (e-revenue) ให้ยื่นแบบเสียภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

 2. เทคโนโลยีกับธุรกิจ

แวดวงธุรกิจเป็นแวดวงที่มีการแข่งขันสูง ยิ่งในยุคสารสนเทศที่ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วยิ่งทําให้ธุรกิจต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนําเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในการดําเนินงาน เช่น นําระบบโปรแกรมบัญชีมาใช้งานแทนการลงบัญชีในสมุด นําโปรแกรมประมวลผลคํามาใช้แทนการเขียนหรือพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีด การนําโปรแกรมนําเสนอมาช่วยนําเสนองานแก่ลูกค้าหรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว มีหลายธุรกิจที่นําเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริการลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น

           2.1 เทคโนโลยีกับสายการบิน

สายการบินนับว่าเป็นธุรกิจที่นําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินงานมากที่สุดอย่างหนึ่ง นับตั้งแต่การสํารองที่นั่งโดยสาร ซึ่งช่วยให้ผู้โดยสารสามารถสํารองที่นั่งได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งสามารถ เช็คที่นั่ง ซื้อบริการเสริม หรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ํา (low cost airline) ที่พยายามลดต้นทุนการสํารองที่นั่งโดยใช้แรงงานคน รวมถึงค่านายหน้าที่ต้องจ่ายให้กับตัวแทน (agent) ทําให้มีการผลักดันให้ผู้โดยสารจองที่นั่งผ่านเว็บด้วยตนเอง เห็นได้จากโปรแกรมส่งเสริมการขายต่าง ๆ รวมทั้งการเปิดจองที่นั่งล่วงหน้าหลาย ๆ เดือนก็เป็นกลยุทธในการสร้างรายได้ให้กับสายการบินเช่นกัน นอกจากนี้ยังช่วยลดเอกสารที่เป็นกระดาษทั้งในสํานักงานรวมถึงมีการออกตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (e-ticket) ให้ผู้โดยสารผ่านทางอีเมลอีกด้วย

           2.2 เทคโนโลยีกับสถาบันการเงิน

สถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดําเนินงานและให้บริการลูกค้ามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน นับตั้งแต่การนําเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine :ATM) มาให้บริการแก่ลูกค้า สําหรับในประเทศไทยธนาคารไทยพาณิชย์ธนาคารแรกที่นําเครื่องฝากและถอนเงินอัตโนมัติหรือเอทีเอ็มมาใช้ในปี 2526 และต่อมาธนาคารอื่น ๆ ก็นํามาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบันมีการพัฒนาระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (e-banking) ซึ่งทําให้ลูกค้าของธนาคารสามารถทําธุรกรรมทางการเงิน เช่น การจ่ายค่าบริการสินค้า โอนเงิน ซื้อของ ผ่านทางเว็บไซต์ของทางธนาคาร หรือผ่านทางโมบายแอพพลิเคชั่นได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อย่างไรก็ตามยังมีข้อควรระวังในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานซึ่งผู้ใช้ควรศึกษาหาความรู้และติดตามข่าวสารเพื่อป้องกันตนเองด้วย

           2.3 เทคโนโลยีกับการธุรกิจนําเข้าและส่งออกสินค้า

การนําเข้าและส่งออกสินค้า หรือ อิมพอร์ตเอ็กซ์พอร์ต (import/export) มีการปรับปรุงบริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ เช่น กรมศุลกากรมีระบบ e-tracking ซึ่งใช้ติดตามสถานะการผ่านพิธีการศุลกากรทางอินเตอร์เน็ตว่าอยู่ในสถานะใด เช่น ข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ใบขนสินค้าขาออก ข้อมูลบัญชีสินค้าและข้อมูลใบกํากับการขนย้ายสินค้า เป็นต้น เป็นการอํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการไม่ว่าจะอยู่แห่งใดก็สามารถสอบถามข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาไปรษณีย์ไทยได้นําระบบติดตามและตรวจสอบสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์มาให้บริการผ่านทางเว็บไซต์ http://track.thailandpost.co.th/ ซึ่งทําให้ผู้ส่งสิ่งของทางไปรษณีย์ ไม่ว่าจะเป็น จดหมายลงทะเบียน พัสดุภัณฑ์ EMS ที่กังวลใจว่าเอกสารหรือสิ่งที่ส่งไปสูญหายหรือไม่ สามารถนําเลขที่ใบเสร็จมากรอกลงในเว็บเพื่อตรวจสอบได้ว่าของที่ส่งอยู่ไหนสถานะหรือส่งมาถึงที่ใด

 3. เทคโนโลยีกับการแพทย์

มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานกับทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย ทั้งการพัฒนาเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษา เช่น เครื่องตรวจวัดคลื่นหัวใจ เครื่องตรวจวัดคลื่นสมอง เครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ที่สามารถตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายโดยสร้างภาพ 3 มิติของอวัยวะภายใน ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดซึ่งสามารถผ่าตัดผ่านกล้อง ช่วยให้คนไข้มีแผลเล็กลงและฟื้นตัวได้ไวขึ้น นอกจากนี้มีการสร้างฐานข้อมูลประวัติคนไข้ ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบประวัติการเจ็บป่วยเบื้องต้น การแพ้ยา กลุ่มเลือด ฯลฯ ทําให้การตรวจรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 4. เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์

กล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเป็นผลมาจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็ทําความการจัดเก็บ วิเคราะห์ วิจัย เพื่อค้นหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น จะเห็นว่าหลังมีการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ให้ทันสมัยขึ้น มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิจัยหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆมากมาย เช่น การถอดรหัสพันธุกรรมที่มีความซับซ้อนด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้หากใช้มนุษย์หรือเครื่องช่วยคํานวณธรรมดา

 5. เทคโนโลยีกับการศึกษา

สถานศึกษาต่าง ๆ ได้ให้ความสําคัญในการนําเทคโนโลยีมาช่วยในการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ซึ่งทําให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองได้ และยังมีภาพและเสียงจากระบบมัลติมีเดียช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียนมากขึ้นนอกจากนั้นยังสามารถให้ผู้เรียนทําแบบฝึกหัดทบทวนบทเรียนด้วยตนเอง มีการให้คะแนนเพื่อประเมินตนเองหรือแม้กระทั่งการสร้างบทเรียนออนไลน์ ทําให้สามารถศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวรู้จักกันดีในชื่อ e-learning นั่นเอง

 เทคโนโลยีสมัยใหม่

     ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ได้มีผลทําให้การดําเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยม หรือมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

 1. Internet of Things

Internet of Things หรือเรียกย่อ ๆ ว่า IoT คือเทคโนโลยีที่เชื่อมอุปกรณ์และ เครื่องมือต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยที่มนุษย์สามารถสั่งการ ควบคุมการใช้งานต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่าย เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องใช้สํานักงาน เครื่องใช้ในชีวิตประจําวัน โดยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ดังนี้

          1.1 ประยุกต์ใช้ IoT ในบ้าน เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น ทีวี ตู้เย็น หม้อหุงข้าว โทรศัพท์ แอร์ เครื่องทําน้ําอุ่น กล้องวงจรปิด เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น ขณะขับรถกลับบ้านสามารถที่จะใช้มือถือสั่งเปิดแอร์ที่บ้านก่อนที่จะกลับถึงบ้าน หรือตู้เย็นอัจฉริยะที่สามารถตรวจสอบสิ่งของภายในตู้เย็นและสามารถแจงข้อมูลได้โดยทันที

          1.2 ประยุกต์ใช้ IoT กับอุปกรณ์สวมใส่ เป็นอุปกรณ์ส่วนบุคคลแบบสวมใส่ เช่น หูฟัง แว่นตานาฬิกา สายรัดข้อมือ กําไล เป็นต้น ยกตัวอย่าง นาฬิกาสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับโทรศัพท์มือถือ การสั่งงานด้วยเสียง แจ้งเตือนการโทรเข้า หรือข้อความต่าง ๆ 

          1.3 ประยุกต์ใช้ IoT ในการดูแลเมือง เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการบริหารจัดการในระดับเมือง เช่น การจัดการจราจร น้ํา ขยะ พลังงาน เป็นต้น 

          1.4 ประยุกต์ใช้ IoT ทางการแพทย์ เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพ ทางการแพทย์ เช่น สายรัดข้อมือใช้วัดอัตราการเต้นของหัวใจ และวัดความดันโลหิต การคํานวณการเดิน การวิ่งการออกกําลังกาย การรับประทานอาหาร

 2. การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing) เป็นลักษณะการทํางานที่ผู้ให้บริการแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ตในรูปของบริการแบบใดแบบหนึ่ง อาทิ การให้บริการซอฟต์แวร์ หรือ Software as a Service (SaaS) เช่น Google app ซึ่งให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านอินเทอร์เน็ตผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องของตนเอง แต่ใช้บริการซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์หรือ บริการระบบจัดเก็บข้อมูล หรือ data Storage as a Service (dSaaS) ซึ่งให้บริการพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล บางครั้งเรียกว่าเว็บสําหรับฝากไฟล์ ข้อดีคือ ไม่จําเป็นต้องกลัวข้อมูลสูญหาย สามารถกําหนดให้เป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะได้ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้ เป็นบริการฟรีไม่เสียค่าบริการ มีพื้นที่เก็บข้อมูล โดยไม่จําเป็นต้องซื้ออุปกรณ์จัดเก็บไฟล์ข้อมูล จําพวกแฟลชไดรฟ์ เมมโมรี่การ์ดหรือ อื่น ๆ และปลอดภัยจากไวรัส โดยจะขอยกตัวอย่างบริการที่เป็นระบบคลาวด์ ดังนี้

             2.1 Google Drive เป็นการบริการของ Google มีพื้นที่ให้ใช้บริการฟรี 15 GB โดยสามารถเพิ่มพื้นที่สําหรับเก็บข้อมูลได้แต่ต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือน สามารถใช้งานได้บนเว็บไซต์ และอุปกรณ์แท็บเล็ต โดยสามารถเข้าไปแชร์ไฟล์ และโฟลเดอร์ได้อย่างอิสระ ประกอบด้วยGoogle doc ใช้สําหรับ สร้างเอกสาร แก้ไข พิมพ์ ร่วมกันหลาย ๆ คนGoogle Spread sheets ใช้สําหรับ เก็บและแบ่งปันรายการ ติดตามโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลและติดตามผลลัพธ์ด้วยเครื่องมือแก้ไข สเปรดชีตที่มีประสิทธิภาพของเรา ใช้เครื่องมือเช่น สูตรขั้นสูงแผนภูมิในตัว ตัวกรองและตารางเปลี่ยนแกนเพื่อดูข้อมูลของคุณในมุมมองใหม่ๆGoogle Presentation ใช้สําหรับ สร้างสไลด์ที่สวยงามด้วยเครื่องมือแก้ไขงานนําเสนอ ซึ่งสนับสนุนสิ่งต่างๆ เช่น การฝังวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนสไลด์แบบไดนามิก เผยแพร่งานนําเสนอของคุณทางเว็บ เพื่อให้ทุกคนสามารถดู หรือแบ่งปันงานนําเสนอแบบส่วนตัวได้Google Form ใช้สําหรับสร้างแบบสอบถาม หรือใช้สําหรับรวบรวมข้อมูล ผู้ใช้สามารถนําไปปรับประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบอาทิ เช่น การทําแบบฟอร์มสํารวจความคิดเห็น การทําแบบฟอร์มสํารวจความพึงพอใจ การทําแบบฟอร์มลงทะเบียน และการลงคะแนนเสียง

            2.2 Google Photo เป็นบริการที่สามารถจัดเก็บรูปและวีดีโอ โดยมีเงื่อนไขว่ารูปภาพทุกรูปต้องมีขนาดไม่เกิน 16 ล้านพิกเซล ถ้ารูปไหนมีความละเอียดเกินกว่านี้จะลดเหลือ 16 ล้านพิกเซล ส่วนวีดีโอก็สามารถจัดเก็บได้ในความละเอียดสูงสุดคือ Full HD หรือ 1080p

           2.3 Dropbox เป็นบริการที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลได้ฟรี 2 GB แต่มีความสามารถในการส่งข้อมูลที่รวดเร็ว เข้าถึงและแบ่งบันอย่างง่ายดาย ได้ทุกที่ สามารถใช้ได้ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต และบนเว็บ

           2.4 iCloud เป็นบริการของบริษัท แอปเปิ้ล มีพื้นที่ให้บริการทั้งหมด 5 GB สามารถเข้าใช้งานได้โดยอุปกรณ์ของ แอปเปิ้ล เช่น ไอแพด ไอโฟน และคอมพิวเตอร์ แต่จะต้องมี apple ID ถึงจะใช้งานได้

           2.5 Box เป็นบริการที่เน้นกลุ่มผู้ใช้ ทั้งบุคคลทั่วไปและองค์กร โดยมีพื้นที่เริ่มต้นให้มากถึง 10 GBและรองรับไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่สุดไม่เกิน 250 MB

           2.6 One drive เป็นบริการของบริษัท ไมโครซอฟต์ สามารถเข้าใช้งานได้บนทุกระบบปฏิบัติการโดยมีพื้นที่เริ่มต้นให้มากถึง 7GB ผู้ใช้ต้องมีที่อยู่ อีเมล ของ ไมโครซอฟต์ ไม่ว่าจะเป็น Hotmail windowslive หรือ outlook

           2.7 Flickr เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการฝากไฟล์รูปภาพ และไฟล์วีดีโอของ yahoo.com โดยสมัครสมาชิกได้ฟรี ให้พื้นที่เก็บข้อมูลสูงถึง 1TB

ข้อดีในการใช้งานคลาวด์เทคโนโลยี

• มีบริการที่ไม่ต้องเสียค่าบริการให้เลือกใช้

• สามารถเก็บข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น รูปภาพ วีดีโอ เอกสารต่าง ๆ

• สามารถเข้าไปจัดการเอกสารได้ พร้อม ๆ กัน

• ค้นหาข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว

• ใช้งานได้กับทุก ๆ อุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน

• มีแอปพลิเคชั่นรองรับการใช้งาน

• ข้อมูลปราศจากไวรัส

ข้อจํากัดของการใช้งานคลาวด์เทคโนโลยี

• หากไม่เสียค่าบริการจะมีพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลจํากัด ต้องจ่ายเงินเพิ่มหากต้องการพื้นที่เพิ่ม

• มีความเร็วในการ ดาวน์โหลด และ อัพโหลด จํากัด

• มีการกําหนดขนาดของรูปภาพ ไม่สามารถเก็บข้อมูลภาพขนาดใหญ่ได้

• เกิดความเสี่ยงหากว่า ไฟล์ข้อมูลเป็นไฟล์ที่สําคัญ

3. เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ

เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D printing technology) เป็นการนําวัสดุต่าง ๆ เช่น พลาสติก มาขึ้นรูปชิ้นงาน หรือในลักษณะการสร้างโมเดลเสมือนจริง เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติมีพัฒนาการยาวนานกว่า30 ปี แต่พึ่งได้รับความนิยมเมื่อเร็ว ๆ นี้เนื่องจากมีการพัฒนาให้เข้าถึงผู้ใช้ทั่วไปได้มากขึ้น มีผู้คนหลากหลายกลุ่มงานได้นําเอาเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D printer) มาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ กัน ช่วยให้สามารถพิมพ์ภาพ

สามมิติให้มีรูปร่างเหมือนจริง ส่งผลให้วงการอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ นําเครื่องพิมพ์สามมิติมาใช้ในการสร้างต้นแบบ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ การบินและอวกาศ การแพทย์การทหาร สถาปัตยกรรม และการก่อสร้าง เป็นต้น

 4. ราสพ์เบอร์รีพาย

ราสพ์เบอร์รีพาย (Raspberry Pi) เป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์ (computer board) แบบเปลือย มีขนาดเท่าบัตรเครดิต ราคาถูก ไม่มีคีย์บอร์ดและจอภาพ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์สําหรับการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

 5. Stick computer

เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่ย่อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ให้มีขนาดเล็กลงเท่าแฟลชไดรฟ์ เพื่อให้สะดวกสําหรับพกพา ใช้งานง่าย เพียงเสียบเข้ากับช่อง เอชดีเอ็มไอ (HDMI) บนจอโทรทัศน์ ก็สามารถทํางานได้ไม่ต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป