การประกันภัยเป็นการผลิตในขั้นใด

กิจกรรมทางด้านศรษฐศาสตร์

1. การผลิต (Production) เป็นการสร้างสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยให้เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เช่น ประโยชน์จากรูปร่าง ประโยชน์จากสถานที่ ประโยชน์จากเวลา ประโยชน์จากกรรมสิทธิ์
2.ปัจจัยการผลิต
-ที่ดิน หมายถึงที่ดินและทรัพยากรที่อยู่ในดินและเหนือพื้นดิน ค่าตอบแทนคือ ค่าเช่า 

-แรงงาน หมายถึง แรงงานที่เกิดจากกำลังกายและสติปัญญาของมนุษย์ ค่าตอบแทนคือ ค่าจ้าง หรือเงินเดือน
-ทุน หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับแรงงาน เช่น เครื่องจักร ค่าตอบแทนคือ ดอกเบี้ย
-ผู้ประกอบการ ผู้ที่นำเอาปัจจัยการผลิต มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ ค่าตอบแทนคือ กำไร
3.ขั้นการผลิต
-การผลิตขั้นปฐมภูมิ เป็นการผลิตขั้นแรกโดยนำทรัพยากรธรรมชาติ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แรงงาน เช่น การประมง การเกษตร
-การผลิตชั้นทุติยภูมิ เป็นการนำเอาผลผลิตขั้นต้น มาแปรสภาพเป็นสินค้าได้แก่ หัตถกรรม และอุตสาหกรรม
-การผลิตชั้นตติยภูมิ เป็นการผลิตในรูปบริการ เช่น การขนส่ง การท่องเที่ยว การประกันภัย
4.การกำหนดราคาและปริมาณการผลิต ผู้ผลิต อาจคาดคะเนผลผลิตจากการคาดคะเนอุปสงค์และอุปทานของสินค้าในตลาด
- อุปสงค์ (Demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ขึ้นกับราคาสินค้ากฎทั่วไปของอุปสงค์ คือ อุปสงค์แปรผันโดยอ้อมหรือผูกพันกับราคาสินค้าและบริการ

- อุปทาน (Supply) เป็นปริมาณความต้องการที่จะขายสินค้าและบริการ ซึ่งจะขึ้นกับราคาของสินค้าและบริการกฎทั่วไปของอุปทาน คือ อุปทานจะแปรผันโดยตรงกับราคาสินค้าและบริการ
5.ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพ
-ราคาสินค้าแพงนั้น เกิดขึ้นเมื่อ อุปสงค์มากกว่าอุปทาน (ภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน)
-ราคาสินค้าถูกลง   เกิดขึ้นเมื่อ อุปทานมากกว่าอุปสงค์ (ภาวะอุปทานส่วนเกิน)
6.การบริโภค (Consumption) หมายถึงการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการชนิดของการบริโภค
-สินค้าคงทน ได้แก่ สินค้าที่เก็บไว้ใช้ได้นานเป็นปี เข่น ปากกา นาฬิกา กระเป๋า
-สินค้าไม่คงทน ได้แก่ สินค้าที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปภายใน 1 ปี เช่น อาหาร น้ำมัน เชื้อเพลิง กระดาษ
ถ้ารายได้ต่ำ ความสามารถในการบริโภคจะถูกจำกัดลง และถ้ามีรายได้สูง ความสามารถในการบริโภคจะสูงขึ้น
7.การกระจาย (Distribution) หมายถึงการจำนวนจ่ายแจกสินค้าและบริการ แบ่งเป็น
-การกระจายสินค้าและบริการ ไปสู่ผู้บริโภค
-การกระจายรายได้ เป็นการกระจายผลตอบแทนไปสู่ปัจจัยการผลิต
8.การแลกเปลี่ยน (Exchange) หมายถึง การนำสินค้าและบริการไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการอื่น หรือแลกเปลี่ยนกับสื่อกลาง จึงแบ่งออกเป็น
-การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า
-การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อเงินตราหรือใช้สื่อกลาง
-การแลกเปลี่ยนแบบใช้สินเชื่อ เช่น เช็ค ตั๋วแลกเงิน ดราฟท์

การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์

การประกันภัยเป็นการผลิตในขั้นใด

การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ (Product Liability Insurance) การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ผลิต ผู้บรรจุ**บห่อ ผู้นำเข้า/ส่งออก ผู้ขายส่งหรือขายปลีก ซึ่งมีความรับผิดต่อสินค้าที่จำหน่ายไป หากทำให้ผู้ซื้อได้รับความเสียหายจากการบริโภคหรือใช้สินค้านั้น รวมทั้งผู้ผลิตผสมหรือปรุงผิดสัดส่วน ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้การประกันภัยความรับผิดประเภทนี้จะไม่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค หรือการใช้ในร้านหรือสำนักงานของผู้เอาประกันภัย หรือความบาดเจ็บที่เกิดแก่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย

วัตถุที่เอาประกัน คือ ตัวผลิตภัณฑ์ (Product) เป็นสิ่งที่ถูกผลิต (manufactured) ยกตั้ง (erected) ติดตั้ง (installed) ซ่อมแซม (repaired) ให้บริการ (serviced) ดูแลรักษา (treated) ขาย (sold) หรือกระจายการจำหน่าย (distributed) โดยผู้เอาประกันภัย (รวมถึง**บห่อของสิ่งเหล่านั้นด้วย) ภายหลังจากที่ออกจากสถานประกอบการและไม่อยู่ในการครอบครองหรือควบคุมของผู้เอาประกันภัยแล้ว

ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ของเล่นเด็ก ชิ้นส่วนของเครื่องบิน เครื่องมือทางการแพทย์ ยา สารเคมี เฟอร์นิเจอร์ ยานยนต์และชิ้นส่วน และสินค้าที่มีอายุใช้งานนาน เป็นต้น

การประกันภัยเป็นการผลิตในขั้นใด

ความคุ้มครองเบื้องต้น

-

การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ ให้ความคุ้มครองสำหรับการบาดเจ็บทางร่างกาย (Bodily Injury) หรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน (Property Damage) ที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมาย โดยการบาดเจ็บทางร่างกายหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินนั้นต้องเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ และเกิดขึ้นภายในอาณาเขตความคุ้มครองของกรมธรรม์

 

  1. ให้ความคุ้มครองการบาดเจ็บทางร่างกายหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาเอาประกันภัยนั้น (Occurrence Coverage Trigger) แม้การเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอาจเกิดขึ้นหลังจากที่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นหมดอายุแล้ว
  2. ให้ความคุ้มครองการบาดเจ็บทางร่างกายหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกิดขึ้นครั้งแรกภายในระยะเวลาเอาประกันภัยนั้น (Claim-made Trigger) แม้การบาดเจ็บทางร่างกายหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เป็นสาเหตุของการเรียกร้องดังกล่าวอาจเกิดขึ้นก่อนระยะเวลาเอาประกันภัยนั้นก็ตาม

 

ในการพิสูจน์ความคุ้มครอง ผู้ที่บาดเจ็บหรือได้รับความเสียหาย ต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ให้ได้ว่าการบาดเจ็บหรือเสียหายดังกล่าวเกิดจากหรือเป็นผลมาจากความบกพร่องในตัวผลิตภัณฑ์ของผู้เอาประกันภัย

การประกันภัยเป็นการผลิตในขั้นใด

ข้อยกเว้น

-

  1. ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดแก่ตัวผลิตภัณฑ์ (Physical Damage to The Product) ข้อยกเว้นนี้มีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้รับประกันภัยต้องมาชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมแซมหรือจัดหาผลิตภัณฑ์ทดแทน อันเนื่องมาจากการออกแบบ หรือการผลิต หรือการทำงานที่ผิดพลาดของผู้เอาประกันภัยเอง
  2. ค่าใช้จ่ายในการเรียกผลิตภัณฑ์นั้นคืน (Recall expenses) ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ได้จำหน่ายออกไปแล้วมีข้อบกพร่องเกิดขึ้น อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ ผู้ผลิตมักเรียกผลิตภัณฑ์เหล่านั้นคืน เพื่อแก้ไขหรือซ่อมแซมข้อบกพร่องดังกล่าว โดยการเรียกคืนนั้นอาจกระทำโดยความสมัครใจของผู้ผลิตเอง หรือโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาจสูงมาก เนื่องจากการประกันภัยความรับจากผลิตภัณฑ์ไม่ได้มีความตั้งใจจะให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายชนิดนี้ จึงได้ระบุยกเว้นไว้ชัดเจนในกรมธรรม์
  3. การรับประกันคุณภาพหรือสัญญาที่ผู้เอาประกันภัยได้ให้ไว้กับผู้บริโภค รวมถึงการที่ผลิตภัณฑ์ไม่สามารถใช้งานได้ถึงระดับหรือในแบบที่ผู้เอาประกันภัยอ้าง
  4. ความเสียหายที่เกิดจากความบกพร่องของผลิตภัณฑ์ที่ผู้เอาประกันภัยทราบอยู่ก่อนจะมีการเอาประกันภัยขึ้น ข้อยกเว้นนี้มีขึ้นเพื่อป้องกันการทุจริตของผู้เอาประกันภัย เพราะหากผู้เอาประกันภัยทราบอยู่ก่อนแล้วว่าผลิตภัณฑ์ที่จะเอาประกันภัยมีข้อบกพร่องที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียหายแก่ผู้บริโภค จึงตัดสินใจทำประกันภัย การบาดเจ็บหรือเสียหายที่เกิดขึ้นก็ไม่ถือเป็นอุบัติเหตุ ไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้

การประกันภัยเป็นการผลิตในขั้นใด

ความแตกต่างระหว่าง Product Liability Insurance กับ Public Liability Insurance

-

Public Liability Insurance เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความรับผิดที่เกิดขึ้นภายในสถานประกอบการหรือเนื่องจากการดำเนินงานของผู้เอาประกันภัย แต่ Product Liability Insurance เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความรับผิดเนื่องจากตัวผลิตภัณฑ์ หลังจากที่ผลิตภัณฑ์ได้ออกจากสถานประกอบการไปแล้วและอยู่ภายใต้การควบคุมหรือการใช้ของบุคคลอื่น (ที่มิใช่ผู้เอาประกันภัย)

การผลิตในขั้นที่ 3 คือข้อใด

3. การผลิตขั้นที่สามหรือขั้นตติยภูมิ เป็นการผลิตในลักษณะของการบริการ เช่น การขนส่งการค้าส่ง การค้าปลีก การธนาคาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผลผลิตมีการ เคลื่อนย้ายจากการผลิต ขั้นที่หนึ่งไปขั้นที่สอง และไปสู่ผู้บริโภคมีความสะดวกรวดเร็วมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ

การผลิตในขั้นที่ 2 คือข้อใด

2. การผลิตขั้นที่สองหรือขั้นทุติยภูมิ (secondary production) เป็นการผลิตที่ต้อง อาศัยผลผลิตอื่นมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต กรรมวิธีการผลิตมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ต้องใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบการผลิตมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการผลิตในด้านอุตสาหกรรม เช่น การผลิต อาหารกระป๋องต่างๆ การผลิตเหล็กเส้น เหล็กแผ่น การต่อเรือ ...

ขั้นตอนการผลิตมีอะไรบ้าง

ปัจจุบันเราสามารถแบ่งลาดับขั้นในการผลิตออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. การผลิตขั้นแรกหรือขั้นปฐมภูมิ(primary production) 2. การผลิตขั้นที่สองหรือขั้นทุติยภูมิ(secondary production) 3. การผลิตขั้นที่สามหรือขั้นตติยภูมิ(tertiary production) Page 7 Page 8 1. การผลิตขั้นแรกหรือขั้นปฐมภูมิ

การผลิตขั้นสุดท้ายคืออะไร

3. ผลผลิต (Output/Product) หมายถึง ผลลัพธ์จากกระบวนการแปรสภาพ หรือผลลัพธ์สุดท้ายที่เราต้องการจากระบบการผลิต ซึ่งก็คือ ผลิตภัณฑ์ (Products) ในระบบการผลิตจะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไปไม่ได้ เพราะจะส่งผลให้ระบบไม่สมบูรณ์ และไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ออกมาให้ได้