ข้อใดเป็นภาพกราฟิกแบบ Bitmap Type

ข้อใดเป็นภาพกราฟิกแบบ Bitmap Type

Submitted by เดือน หงษาวดี on Wed, 25/12/2013 - 10:31

     ประเภทของไฟล์มีไว้เพื่อจำแนกหน้าที่และรูปแบบของไฟล์ เพื่อให้เราทราบได้ว่าไฟล์นั้นๆ มีหน้าที่อะไร ใช้ทำอะไร แต่ในที่นี้ ทางเรา จะแนะนำเฉพาะไฟล์ใช้ควบคู่กับการทำงานกราฟฟิคเท่านั้น

ประเภทของไฟล์กราฟฟิคมี 2 ประเภท คือ
1. ไฟล์กราฟฟิคประเภท Raster baseded หรือ Bitmap
2. ไฟล์กราฟฟิคประเภท Vector based

 

ภาพตัวอย่างของกราฟฟิคไฟล์ทั้งสองประเภท

 

                                                              

ข้อใดเป็นภาพกราฟิกแบบ Bitmap Type
    

                         ภาพขยายใหญ่ในแบบ raster หรือ Bitmap สังเกตุได้ว่าภาพจะแตกเป็นเสี่ยงๆ เพราะ ว่าภาพเกิดขึ้นจาก  จุดเล็กๆ มาเรียงกัน

 

                                                              

ข้อใดเป็นภาพกราฟิกแบบ Bitmap Type

             ภาพขยายใหญ่ในแบบ vector ภาพยังเฉียบคมแม้จะขยายเป็นพันๆ พันเท่า  (โปรดสังเกต : ขนาดขยายใหญ่กว่า)

 

ไฟล์กราฟฟิคประเภท Raster based หรือ Bitmap

           Bitmap เป็นภาพแบบ Resolution Dependent ประกอบขึ้นด้วยจุดสีต่างๆ ที่มีจำนวนคงที่ตายตัวตามการสร้างภาพที่มี Resolution หรือความละเอียดของภาพต่างกันไป หากขยายภาพ Bitmap จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็กๆ ซึ่งแต่ละบิตคือ ส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์

           เนื่องจาก Bitmap มีค่า Pixel จำนวนคงที่จึงทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องการขยายขนาดภาพ การเปลี่ยนขนาดภาพทำโดยเพิ่มหรือลด Pixel จากที่มีอยู่เดิม เมื่อขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ความละเอียดของภาพจึงลดลง และถ้าเพิ่มค่าความละเอียดมากขึ้นก็จะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ ่และเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำมากขึ้นตามไปด้วย ภาพที่ขยายโตขึ้นจะมองเห็นเป็นตารางสี่เหลี่ยมเรียงต่อกัน ทำให้ขาดความสวยงาม

                                                                

ข้อใดเป็นภาพกราฟิกแบบ Bitmap Type

 

             ภาพแบบ Bitmap จึงเหมาะสำหรับงานกราฟิกในแบบที่ต้องการให้แสงเงาในรายละเอียด เป็นไฟล์ที่เหมาะกับการทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย เพราะ Bitmap มี Channel พิเศษ เรียกว่า Alpha Channel ซึ่งเป็น 32 bit หรือ true color คือสีสมจริง เช่น ภาพที่นำมาใช้กับ PhotoShop จะเป็นภาพเหมือน ภาพถ่าย เพราะไฟล์ที่ได้จาก PhotoShop เป็น Bitmap ในขณะที่ไฟล์ที่สร้างจาก Illustrator จะเหมือนการ์ตูนหรือภาพเขียน เพราะเป็นไฟล์แบบ Vector นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี หรือกำหนดสีที่ต้องการความละเอียดและสวยงาม

           ไฟล์ภาพแบบ Bitmap ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล . BMP, .PCX. , .TIF, .GIF, .JPG, .MSP, .PCD เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่ใช้สร้างกราฟิกแบบนี้คือ โปรแกรม Paint ต่างๆ เช่น Paintbrush, PhotoShop, Photostyler เป็นต้น  

                                            

ข้อใดเป็นภาพกราฟิกแบบ Bitmap Type

 

 

 

 

ตารางไฟล์กราฟฟิคประเภท Raster based หรือ Bitmap

ไฟล์

มาจากคำว่า

ลักษณะการใช้งาน

BMP

Bitmap squenceถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เพื่อแสดงผลภาพกราฟฟิคโปรแกรมวินโดวส์ เป็นไฟล์ที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ในด้านการใช้งานมากนัก จะใช้เพื่อเก็บกราฟฟิคไฟล์ที่เป็นต้นแบบเสียส่วนใหญ่ และใช้ในการแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์

PCX

-

เป็นกราฟฟิคไฟล์พื้นฐานอีกชนิดหนึ่งใน PC ถูกสร้างและพัฒนาโดย Z-soft Corperation เพื่อใช้กับโปรแกรม PC Paintbrush มีรูปแบบคล้ายคลึงกับไฟล์ bitmap ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว

TIFF

Tagged Image File Formatเป็นกราฟฟิคไฟล์ที่สร้างมาเพื่อ โปรแกรมประเภทจัดหน้าหนังสือ (Desktop Publishing) สามารถเก็บข้อมูล รายละเอียดของภาพได้ค่อนข้างมาก ใช้ได้ทั้งใน Mac และ PC มีหลายเวอร์ชั่น แต่ที่นิยมใช้กันคือ เวอร์ชั่น 4 และ 5

GIF

compu surve Graphic Interchange Fileถูกสร้างขึ้นมาโดยบริษัท Compu surve ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านเครือข่ายของสหรัฐ เหมาะกับการเก็บไฟล์รูปภาพขนาดเล็ก และมีจำนวนของสีน้อย มีขนาดไฟล์เล็กเพราะสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในระบบเครือข่าย

JPG

Joint Photographic Experts Groupเป็นไฟล์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบีบอัดข้อมูลภาพ เพื่อให้มีขนาดกระทัดรัด เพื่อนำใช้งานในระบบอินเตอร์เนต นิยมมาใช้ในการแสดงผลรูปภาพบนเครือข่ายอินเตอร์เนตเช่นเดียวกับ GIF แต่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกัน

PICT

PICTureเป็นกราฟฟิคไฟล์ประเภทเดียวกับไฟล์ BMP เป็นไฟล์ที่ใช้เพื่อแสดงผลภาพกราฟฟิค บนจอภาพของ แมคอินทอช

PSD

-

คือ กราฟฟิคไฟล์ ของโปรแกรมตบแต่งรูปภาพ (Retuching) ยอดนิยม Adobe Photoshop ไฟล์ PSD นี้จะใช้กับโปรแกรม Adobe Photoshop เพื่อการแก้ไขตบแต่งรูปภาพ

PNG

-

เป็นกราฟฟิคไฟล์ชนิดล่าสุด ที่นำมาใช้แสดงผลภาพบนเวบเพจ

PDF

-

ไฟล์ PDF เป็นไฟล์เอกสารของ Adobe Acrobat ใช้ในการแสดงเอกสารในรูปแบบของกราฟฟิค ซึ่งจะต้องใช้ โปรแกรม Adobe Acrobat Reader ในการอ่าน  

 

 

คุณสมบัติและข้อดี, ข้อเสียไฟล์กราฟฟิคประเภท Raster based หรือ Bitmap

ไฟล์

คุณสมบัติของไฟล์

ลักษณะการใช้งาน

BMP

สามารถบันทึกภาพชนิดขาวดำแบบ 16 สี และภาพสีขนาด 24 บิท (True color) ได้สามารถเก็บองค์ประกอบของรูปได้ครบขนาดของไฟล์ใหญ่

PCX

บันทึกได้ตั้งแต่ภาพชนิดขาวดำแบบ 16 สี, ภาพขาวดำ 256 ระดับ (Grayscales), ภาพสีแบบ 16, 256 และ 16.7ล้านสีได้

-

-

TIFF

บันทึกภาพได้หลายชนิดทั้งภาพลายเส้น (Line-Art), ภาพ halftone, ภาพ grayscale และภาพสีตั้งแต่ 1 บิทจนถึง ภาพสี 32 บิทสามารถบันทึกข้อมูลได้หลายชนิดและบันทึกระดับสีได้สูง และมีการบีบอัดข้อมูล เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการบันทึกได้มีหลายเวอร์ชั่น ซึ่งต้องระวังในเซฟเพื่อใช้งานกับ โปรแกรมประยุกต์รุ่นเก่าๆ

GIF

เก็บข้อมูลภาพในลักษณะ 8 bit (256 สี) สามารถเก็บภาพไว้ได้หลายภาพในไฟล์เดียว จึงสามารถทำภาพเคลื่อนไหวได้, มีการบีบอัดข้อมูลแบบ LZW (Lamp Ziv-Welch),นิยมใช้งานในอินเตอร์เนต มีความสามารถพิเศษมาก เช่น การทำภาพโปร่งใส (Transparent), สามารถรอรับอินพุทจากผู้ใช้เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวภาพ, การใส่คอมเมนท์เพื่อการอ้างอิงเก็บสีได้เพียง 256 สี (สีโปร่งใส หรือ Transparent ก็นับเป็น 1 สี) และไม่เหมาะที่จะเซฟไฟล์รูปขนาดใหญ่ๆ เพราะจะมีขนาดใหญ่มาก

JPG

เก็บข้อมูลภาพในลักษณะของการบีบอัดข้อมูล สามารถเก็บภาพสีได้สูงถึง 16.7 ล้านสีเหมาะสำหรับการใช้งานบนอินเตอร์เนต เพราะมีขนาดเล็กสามารถโหลดได้รวดเร็ว แต่ให้รายละเอียดของภาพสูงคุณภาพของรูปจะลดลงเมื่อบีบอัดไฟล์ จึงไม่เหมาะแก่การนำมาแก้ไขตบแต่ง

PICT

ไม่ทราบข้อมูล แต่มีความสามารถใกล้เคียงกับไฟล์ BMPสามารถเก็บองค์ประกอบของรูปได้ครบเป็นไฟล์ของ Mac OS และไม่สามารถเซฟในโหมด CMYK เพื่อนำมาใช้งานด้านการพิมพ์ได้

PSD

สามารถบันทึกข้อมูลภาพ ได้ทุกรูปแบบมีการแบ่งเลเยอร์ เพื่อง่ายแก่การแก้ไข ในภายหลัง และสามารถบันทึกกราฟฟิคแบบ Vector ลงในไฟล์ได้มีขนาดไฟล์ที่ใหญ่

PNG

ยังไม่มีข้อมูล

-

-

PDF

ยังไม่มีข้อมูลสามารถเซฟไฟล์กราฟฟิค ทุกประเภทให้เป็น PDF ได้ (โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat) โดยยังคงลักษณะเดิมของเอกสารไว้ ไม่ว่าจะเปิดที่ใดต้องอ่านไฟล์ชนิดนี้ด้วย โปรแกรม Adobe Acrobat Reader เท่านั้น

 

 

2) ไฟล์กราฟฟิคประเภท Vector based

 

       Vector เป็นภาพประเภท Resolution-Independent มีลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรงหรือส่วนโค้ง โดยอ้างอิงตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์หรือการคำนวณเป็นตัวสร้างภาพ เป็นการรวมเอา Object ( เช่น วงกลม เส้นตรง ทรงกลม ลูกบาศก์และอื่นๆ เรียกว่ารูปทรงพื้นฐาน) ต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า Vector Graphic หรือ Object Oriented

           ลักษณะเด่นของ Vector คือ สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง คงคุณภาพของภาพไว้ได้เหมือนเดิม และยังสามารถขยายเฉพาะความกว้างหรือความสูง เพื่อให้มองเห็นเป็นภาพผอมหรืออ้วนกว่าภาพเดิมได้ด้วย และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ Bitmap ภาพแบบ Vector จึงเหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration

                                                  

ข้อใดเป็นภาพกราฟิกแบบ Bitmap Type

          ไฟล์รูปภาพแบบ Vector ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล . EPD, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น โดยมีโปรแกรมประเภทวาดรูป ( Drawing Program) เช่น CorelDraw หรือ AutoCAD เป็นโปรแกรมสร้าง ขณะที่บนแมคอินทอชใช้ Illustrator และ Freehand

           ในกรณีที่โปรแกรมที่ใช้งานอยู่ไม่สามารถอ่านไฟล์แบบ Vector ต้นฉบับได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ บันทึกไฟล์เป็นนามสกุล . EPS (Encapsulated Postscript) ไฟล์ประเภทนี้สร้างขึ้นจาก Vector ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติเป็นแบบ Vector นอกจากนี้เราสามารถบันทึกไฟล์ Bitmap ให้เป็นแบบ EPS ได้ เนื่องจากโปรแกรมกราฟิกทุกประเภทล้วนสนับสนุน ไฟล์แบบ EPS ทั้งสิ้น

           อย่างไรก็ตามอุปกรณ์แสดงผล ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix หรือ Laser รวมทั้งจอภาพ จะแสดงผลแบบ Raster Devices หรือแสดงผลในรูปของ Bitmap โดยอาศัยการรวมกันของ Pixel ออกมาเป็นรูป แม้ว่าภาพกราฟิกที่สร้างจะเป็นแบบ Vector เมื่อจะพิมพ์หรือแสดงภาพบนหน้าจอจะมีการเปลี่ยนเป็นการแสดงผลแบบ Bitmap หรือเป็น Pixel

                                                  

ข้อใดเป็นภาพกราฟิกแบบ Bitmap Type

 

 

 

ความแตกต่างระหว่างไฟล์กราฟฟิคประเภท Raster based หรือ Bitmap และ Vector

Bitmap

Vector

1. ลักษณะภาพประกอบขึ้นด้วยจุดต่างๆ มากมาย

1. ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ โดยรวมเอา Object ( เช่น วงกลม เส้นตรง) ต่างชนิดมาผสมกัน

2. ภาพมีจำนวนพิกเซลคงที่ จึงต้องการค่าความละเอียดมากขึ้นเมื่อขยายภาพ โดยจะคำนวณค่าสีทีละ pixels ทำให้ภาพแตกเมื่อขยายภาพให้ใหญ่

2. สามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังเหมือนเดิม ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง

Bitmap เป็นภาพประเภทใด

ภาพแบบ บิตแมป( Bitmap ) หรือ ราสเตอร์( Raster ) คือภาพที่เกิดจากหน่วยภาพเล็กๆมารวมกันจนเป็นภาพใหญ่คล้ายจิ๊กซอร์สามารถดูได้โดยการซูมภาพเข้าไปกล่าวคือภาพเหล่านี้ยิ่งซูม(ขยาย)ยิ่งแตก จนดูไม่รู้เรื่อง เช่นภาพนามสกุล .JPEG, . TIFF,.GIF และ PNG เป็นต้น

Bitmap มีอะไรบ้าง

คือไฟล์ภาพปกติทั่วไปที่ทุกคนรู้จัก ก็คือ JPEG, BMP, Tiff, PNG เป็นภาพที่ประกอบด้วยจุดสีต่างๆ หรือที่เรียกกันว่า Pixel ถ้าหากเราขยายภาพเกินกว่า 100% ภาพจะแตกเป็นเม็ดๆ ได้ ต่างจากไฟล์ Vector อย่างสิ้นเชิง หากต้องการใช้ไฟล์ Bitmap สำหรับงานพิมพ์ จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความละเอียด 300 dpi หรือมากกว่าเท่านั้น

ข้อใดคือข้อจำกัดของภาพแบบ Bitmap

ภาพกราฟิกส์แรสเตอร์ (อังกฤษ: raster graphics) หรือ ภาพบิตแมป (อังกฤษ: bitmap) หรือ คือภาพที่ประกอบด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัว มีข้อดีคือ เหมาะกับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี กำหนดสีที่ต้องการความละเอียดได้ง่าย ข้อเสีย คือเมื่อมีจุดสีที่คงที่นั่น ทำให้เวลาขยายภาพนั้นจะมีความละเอียดน้อยลงมาก และถ้าเพิ่มขนาดความ ...

ข้อดีของกราฟิกแบบบิตแมป (Bitmap) คือข้อใด

ยืดขยายหรือย่อชิ้นงานได้โดยไม่สูญเสียรายละเอียด แสดงผลของสีได้มากกว่า 250 สี ขนาดของไฟล์ภาพมีขนาดเล็ก ไม่เปลี่ยนแปลงสีของภาพเมื่อมีการบีบอัดข้อมูล