สามีซื้อบ้าน ภรรยา มีสิทธิ์

หนี้แบบไหนที่เราต้องใช้แทนคู่ของเรานะจดทะเบียนแต่งงานกันแล้วเจอปัญหาคาใจเรื่อง “หนี้” เรื่องใหญ่ แต่เข้าใจได้ไม่ยาก


“ถ้าคุณติดหนี้ ฉันต้องใช้แทนมั้ยเนี่ย” คำถามนี้ปันโปรคาดว่าน่าจะเจอบ่อยในคู่ที่แต่งงานแล้วค่ะ ก็ในเมื่อคนที่ติดหนี้มันดันไม่ใช่เรา แล้วเราต้องไปรับผิดชอบด้วยเหรอ? แล้วถ้าสมมติว่า เราไม่ได้จดทะเบียนกัน แบบนี้ยังต้องจ่ายแทนกันไหม ปัญหานี้เรียกได้ว่าค่อนข้างซับซ้อนอยู่พอควร แต่ก็โชคดีที่มีกฎหมายรองรับชัดเจน วันนี้ปันโปรหาคำตอบมาให้พร้อมแล้วค่ะ

สามีซื้อบ้าน ภรรยา มีสิทธิ์


สินส่วนตัว VS สินสมรส


• สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรส เช่น บ้าน ที่ดิน เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย ของหมั้น เงินฝาก มรดกตกทอด (ที่ระบุว่าไม่ใช่สินสมรสจะถือว่าเป็นสินส่วนตัว) ฯลฯ

สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจดทะเบียนสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส เงินรางวัลจากลอตเตอรี่ ค่าเช่า หรือดอกเบี้ยที่ได้รับจากทรัพย์สินส่วนตัว รวมทั้งทรัพย์สินส่วนตัว และมรดก ที่ระบุว่าเป็นสินสมรสตั้งแต่ตอนจดทะเบียนสมรส

ตัวอย่าง

ถ้าสามีเอาเงินที่ได้มาหลังจากการแต่งงาน ไปซื้อบ้านแถวสุขุมวิทแล้วใส่ชื่อเมียน้อย คนเป็นภรรยาสามารถเรียกร้องคืนได้ เพราะมีสิทธิ์ครึ่งหนึ่งในสินสมรส (เพราะเงินที่ได้หลังจากแต่งงานถือเป็นสินสมรส) แต่...ถ้าไปเช็กแล้วว่า เงินที่สามีซื้อบ้านให้เมียน้อย เป็นเงินก่อนแต่ง (เป็นสินส่วนตัว) ภรรยาจะไปท้วงว่าเป็นสินสมรสไม่ได้ค่ะ

  • สามีซื้อบ้าน ภรรยา มีสิทธิ์

  • สามีซื้อบ้าน ภรรยา มีสิทธิ์

ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1474 “สินสมรสได้แก่ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส” เอาง่าย ๆ หลังจากแต่งงานจดทะเบียนกันปุ๊บ ทรัพย์สินเงินทองทั้งหมดที่ทั้งสองฝ่ายหามาได้หลังจากแต่งจะเป็นสินสมรส ถ้ามีการหย่า หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต สินสมรสจะถูกแบ่งครึ่งให้ทั้งสองฝ่ายเท่า ๆ กัน


ชีวิตแต่งงานที่ผูกพันมากกว่า "รัก"


อย่างที่ปันโปรได้อธิบายไปเรื่อง "สินสมรส" ก่อนและหลังแต่งงาน (จดทะเบียนสมรส) กับส่วนหนี้สินก็คล้ายกัน ที่จะต้องแยกแยะระหว่าง หนี้ที่เกิดก่อนแต่งงานและหลังแต่ง โดยเราจะไปไขข้อข้องใจกันว่าตามกฎหมายแล้วคู่สมรสจะต้องร่วมชดใจอย่างไรบ้าง

หนี้สินก่อนแต่งงาน

ในที่นี้ปันโปรขออธิบายเป็นตัวอย่างง่าย ๆ เราเป็นผู้หญิง ก่อนที่เรากับสามีจะจดทะเบียนกัน ฝ่ายผู้ชายมีหนี้ติดตัวมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้บ้าน หรือหนี้ที่เกิดจากการทำธุรกิจ พอจดทะเบียนไปแล้ว ผ่านไปหนึ่งปี ผู้ชายเขาชำระหนี้บัตรต่อไม่ได้

ธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้จะไปเรียกร้องหนี้ส่วนนี้จากสินส่วนตัวของฝ่ายชาย ถ้าสินส่วนตัวไม่เพียงพอ ก็จะไปเรียกร้องจากสินสมรสของฝ่ายชาย (ครึ่งหนึ่งของสินสมรส) โดยเราฝ่ายหญิงไม่ต้องรับผิดชอบภาระหนี้ส่วนนี้ เพราะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจะจดทะเบียนสมรสกัน

สรุป    คู่สมรสไม่ต้องชดใช้หนี้ติดตัว แต่เมื่อหลังแต่งงาน 1 ปี กฏหมายจะบังคับยึดทรัพย์จากสินสมรสครึ่งหนึ่งที่เป็นของอีกฝ่ายเท่านั้น

สามีซื้อบ้าน ภรรยา มีสิทธิ์

หนี้สินหลังแต่งงาน

หลังจากตกลงปลงใจจดทะเบียนสมรสกันแล้ว หนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากนี้จะเรียกว่า "หนี้ร่วม" ป.พ.พ. มาตรา 1490 ได้บัญญัติเรื่อง หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน สามีภรรยาต้องร่วมรับผิดชอบใน หนี้สิน ร่วมกัน ต้องชำระหนี้จากสินสมรส และสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย แม้เจ้าหนี้จะฟ้องบังคับคดีแค่คนเดียว แต่สามารถยึดสินสมรสได้ทั้งหมด คู่สมรสอีกฝ่ายจะขอกันส่วนไม่ได้ 

** หมายเหตุ แต่ถ้าใครไม่จดทะเบียนสมรสถือว่าโชคดีไปนะคะ เพราะหนี้สินที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่กินกันฉันสามีภรรยา โดยที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะถือว่าไม่ใช่หนี้ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันค่า

สามีซื้อบ้าน ภรรยา มีสิทธิ์


 ข้อกฏหมายสำคัญของ"หนี้ร่วม"


ป.พ.พ. มาตรา 1489

บัญญัติเอาไว้ว่า ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย

ป.พ.พ. มาตรา 1490

บัญญัติเอาไว้ว่า หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้น ให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส ดังต่อไปนี้ค่ะ

(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ

ตัวอย่าง ค่าใช้จ่ายในการซื้อของกินของใช้ในบ้าน, ค่าเทอมของลูก, ค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ ของคู่สมรส และลูก

** หมายเหตุ หนี้ตามข้อนี้เน้นบุคคลที่อยู่ในครอบครัวเป็นหลัก เช่น พ่อ แม่ ลูก และจำนวนหนี้ต้องพอสมควรแก่อัตภาพ ฉะนั้น ไม่ว่าสามีหรือภรรยาเป็นผู้ไปก่อขึ้น แม้จะไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภรรยาที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส

ตัวอย่าง หนี้ค่าจ้างต่อเติมซ่อมแซมบ้านที่เป็นสินสมรส, หนี้ที่กู้ยืมมาเพื่อไถ่ถอนบ้าน

(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน

ตัวอย่าง สามีหุ้นกับภรรยากู้เงินไปเปิดร้านทอง หนี้ค่าวัสดุสร้างร้านทองที่ยังค้างชำระถือเป็นหนี้ร่วม

หมายเหตุ หนี้ตามข้อนี้อาจเกิดขึ้นจากฝ่ายสามีหรือภริยาเพียงฝ่ายเดียวเป็นผู้ไปก่อขึ้นก็ได้

(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบัน

ตัวอย่าง สามีกู้เงินไปทำธุรกิจโรงแรมตั้งแต่ก่อนแต่งงาน โดยภรรยาได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ยืม (แม้ไม่ได้นำเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายเกี่ยวกับเรื่องภายในครอบครัว ถือเป็นหนี้ร่วมค่ะ) 

ปันโปรขอยกตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ค่ะ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2734/2545

จำเลยที่ 1 นำเงินที่กู้มาได้ไปใช้ในการซ่อมแซมบ้านป้า เพราะป้าดูแลจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่เล็กรวมทั้งดูแลบุตรของจำเลยที่ 1 ด้วย การนำเงินกู้ไปซ่อมแซมบ้านของป้าก็เพื่อประโยชน์และความผาสุกของบุตรทั้งสามคนของจำเลยทั้งสอง กรณีจึงเป็นหนี้เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1) จึงเป็นหนี้ร่วมที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีต้องร่วมรับผิดด้วย

สามีซื้อบ้าน ภรรยา มีสิทธิ์


ข้อยกเว้นจากหนี้ที่ไม่ได้ก่อร่วมกัน


ใครที่แต่งงานแล้วอย่าเพิ่งปาดเหงื่อ เพราะหนี้ร่วมมักเป็นหนี้สินที่ทั้ง 2 คนมีส่วนได้ส่วนเสียกับ เงิน ที่ได้มา แต่ถ้าอีกฝ่ายแอบไปสร้างหนี้ แล้วครอบครัวไม่ได้เห็นชอบ หรือไม่ได้ใช้เงินก้อนนั้นด้วย แม้ตามกฎหมายจะไม่ได้ระบุคำว่า "หนี้ส่วนตัว" ไว้เฉพาะเจาะจง แต่ตามกฎหมาย "ป.พ.พ. มาตรา 1490 ได้บัญญัติเรื่อง หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน" ดังนั้นถ้าอะไรที่ไม่ใช่หนี้ร่วม ให้ถือว่าเป็น "หนี้ส่วนตัว" คู่สมรสจึงไม่ต้องชดใช้แม้จะจดทะเบียนกันแล้วก็ตาม

ตัวอย่างประเภทของหนี้ส่วนตัว

  • หนี้บัตรเครดิตที่นำมาใช้จ่ายในเรื่องส่วนตัว
  • หนี้การพนัน
  • หนี้ที่เกิดขึ้นขณะที่แยกกันอยู่กับภรรยาหรือสามี
  • หนี้ที่เกิดจากการกู้ไปให้บุคคลอื่น ด้วยความพิศวาสเสน่หา 
  • ภาระหนี้ที่เกิดจากการค้ำประกันให้บุคคลอื่น

คู่สมรสเสียชีวิตขณะมีหนี้ส่วนตัว

โดยปกติตอนที่คู่สมรสเสียชีวิต สินสมรสจะแบ่งกันคนละครึ่ง เจ้าหนี้เขาจะมีสิทธิ์ทวงเงินที่แบ่งกันเสร็จแล้ว ภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากคู่สมรสเสียชีวิต ถ้าหนี้มีมากเกินกว่าจำนวนมรดก เจ้าหนี้มีสิทธิ์รับเพียงส่วนที่เป็นมรดกเท่านั้น จะเรียกร้องเกินกว่านั้นไม่ได้ หากเกินจำนวนและเกินระยะเวลา 1 ปี ไม่มีสิทธิ์มาเรียกย้อนหลังจากคู่สมรสแล้วนะคะ

เคสจากข่าวดัง

สามีซื้อบ้าน ภรรยา มีสิทธิ์

ยกตัวอย่างกรณีที่เป็นข่าวดัง หนุ่ม ศรราม เทพพิทักษ์ และ ติ๊ก บิ๊กบราเธอร์ กรณีที่ติ๊กติดหนี้การพนันออนไลน์และการกู้เงินต่าง ๆ เพื่อมาโปะหนี้นั้น จริง ๆ แล้วทางหนุ่มไม่จำเป็นต้องจ่ายหนี้แทน เพราะการติดหนี้การพนัน และการกู้เงินเพื่อใช้ส่วนตัว (ไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งจำเป็นในครอบครัว) ถือเป็น “หนี้ส่วนตัว” ไม่ใช่หนี้ร่วมกันค่ะ


💰   สรุปเรื่องหนี้สินระหว่างสามีภรรยา 💰

• หนี้สินที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่กินกันฉันสามีภรรยา โดยที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะถือว่าไม่ใช่หนี้ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

• หากแต่งงานกันแล้ว ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปเล่นการพนันแล้วเป็นหนี้ ถือว่าเป็นหนี้ส่วนตัวค่ะ

• ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ให้เช็กก่อนว่า หนี้ที่ผู้ตายเหลือไว้ให้เรานั้นเป็น "หนี้ส่วนตัว" หรือ "หนี้ร่วม" ถ้าเป็น "หนี้ส่วนตัว" ของผู้ตาย ก็ไม่ต้องชดใช้แทนค่ะ

via GIPHY

ข้อมูลจาก : 1 2 3