การจดทะเบียนนิติบุคคลคืออะไร

การจดทะเบียนนิติบุคคลคืออะไร

�ԵԺؤ�� ���¶֧ �ؤ�ŷ�衮����������������Ҿ�ؤ�������ǡѺ�ؤ�Ÿ����� �ѧ��� �ԵԺؤ�Ũ֧�դ�������ö�����ǡѺ�ؤ�Ÿ����� ��

  •  ��������ö㹡�÷ӹԵԡ����ѭ��
  •  �Է��㹡������Ңͧ��Ѿ���Թ��ҧ� �� ���Թ �Թ
  • ˹�ҷ��㹡����������
  • ��������˹���١˹��
�ԵԺؤ�Ũ��բ�������੾�� �����������衮���¡�˹������ҹ�� ��Ҩж����������繹ԵԺؤ�ź�ҧ ��ͧ仴���ҡ������������������繹ԵԺؤ�ź�ҧ ����������ö�ѭ�ѵ���������繹ԵԺؤ�š��� �ԵԺؤ�ŷ�衮���ºѭ�ѵ�������ҡ��� �֧�ͧ�¡�ԵԺؤ���͡�� 2 ������ ���

1. �ԵԺؤ�ŵ���������͡�� ��� �ԵԺؤ�ŷ��ѭ�ѵ����㹻����š���������оҳԪ�� �մ��¡ѹ 5 ������ ����

  • ����ѷ�ӡѴ
  • ��ҧ�����ǹ�ӡѴ
  • ��ҧ�����ǹ���ѭ������¹
  • ��Ҥ�
  • ��ŹԸ�
2. �ԵԺؤ�ŵ����������Ҫ� ��� �ԵԺؤ�ŷ��ѭ�ѵ����㹡�������Ҫ����������繨ӹǹ�ҡ �� �Ѵ �ѧ��Ѵ ��з�ǧ ��ǧ ��� ͧ������Ҫ� �繵�
��ͨӡѴ�ͧ�ԵԺؤ��

            �»��� �ԵԺؤ���������Է�����˹�ҷ�������ǡѺ�ؤ�Ÿ����� ������Է�����˹�ҷ��ҧ���ҧ�������Ҿ��������੾�кؤ�Ÿ�������ҹ�� �ԵԺؤ�Ũ�������� �� �ԵԺؤŨзӡ�è�����¹��������� �͡�ҡ��� ��ǹ��Ҿ�ͧ�ԵԺؤ�������������ö�Ѵ�Թ���������µ���ͧ �����������ͧ�Դ����͹�ؤ�Ÿ�����

            �ԵԺؤ�Ũ��դ�������ö �Է�� ���˹�ҷ������ �ͺ�ѵ�ػ��ʧ��ͧ�ԵԺؤ�� ��ҹ�� ��Ш��ʴ��͡����Է�����˹�ҷ������¼�ҹ ���᷹�ԵԺؤ��

  �ͺ�ѵ�ػ��ʧ��ͧ�ԵԺؤ�� ��� �ش������� ���͢ͺࢵ����ӹҨ�ͧ�ԵԺؤ�� �ٴ����� ���� �ԵԺؤ�Ź�鹵������������ ��Шз��������ҧ

���᷹�ԵԺؤ�� ��� ����˹�ҷ���ʴ�ਵ��᷹��ǹԵԺؤ�� ���º����͹�繵�ǹԵԺؤ�Ź���ͧ
���᷹�ԵԺؤ�� ���͵��᷹ ��� ����˹�ҷ��᷹��ǡ�� ����ѭ�ҵ��᷹

  ��Ҿ�ԵԺؤ������������

  • ����ͨ�����¹��������� ����繹ԵԺؤ�ŵ���������͡��
  • ����;���Ҫ�ѭ�ѵԷ��Ѵ��駹ԵԺؤ�Ź���ռźѧ�Ѻ�� ����繹ԵԺؤ�ŵ����������Ҫ�   �������Ңͧ�ԵԺؤ������ ��蹷�����ѹ���ӹѡ�ҹ�˭�

  • หน้าแรก

  • News & Events

  • บทความ

  • การเงินและบัญชี

  • นิติบุคคล คืออะไร?

การจดทะเบียนนิติบุคคลคืออะไร

นิติบุคคล หมายถึง บุคคลที่กฎหมายสมมติให้มีสภาพบุคคลเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ดังนั้น นิติบุคคลจึงมีความสามารถเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เช่น

  •  ความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา
  •  สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ เช่น ที่ดิน เงิน
  •  หน้าที่ในการเสียภาษี
  •  การเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้

นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะ ตามประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ถ้าจะถามว่าอะไรเป็นนิติบุคคลบ้าง ต้องไปดูว่ากฎหมายสมมติให้อะไรเป็นนิติบุคคลบ้าง กฎหมายสามารถบัญญัติให้อะไรเป็นนิติบุคคลก็ได้ นิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติไว้มีมากมาย จึงของแยกนิติบุคคลออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน คือ นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่

  • บริษัทจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
  • สมาคม
  • มูลนิธิ

2. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน คือ นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในกฎหมายมหาชนอื่นๆซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เช่น วัด จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์การมหาชน เป็นต้น
ข้อจำกัดของนิติบุคคล

       โดยปกติ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่ก็มีสิทธิและหน้าที่บางอย่างที่โดยสภาพแล้วมีได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลจะมีไม่ได้ เช่น นิติบุคลจะทำการจดทะเบียนสมรสไม่ได้ นอกจากนี้ ด้วนสภาพของนิติบุคคลย่อมไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ด้วยตัวเอง เพราะไม่มีสมองคิดเหมือนบุคคลธรรมดา

       นิติบุคคลจะมีความสามารถ สิทธิ และหน้าที่ภายใน ขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล เท่านั้น และจะแสดงออกซึ่งสิทธิและหน้าที่ก็แต่โดยผ่าน ผู้แทนนิติบุคคล

 ขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล คือ จุดมุ่งหมาย หรือขอบเขตแห่งอำนาจของนิติบุคคล พูดง่ายๆ ก็คือ นิติบุคคลนั้นตั้งมาเพื่ออะไร และจะทำอะไรได้บ้าง

ผู้แทนนิติบุคคล คือ ผู้ทำหน้าที่แสดงเจตนาแทนตัวนิติบุคคล เปรียบเสมือนเป็นตัวนิติบุคคลนั้นเอง
ตัวแทนนิติบุคคล หรือตัวแทน คือ ผู้ทำหน้าที่แทนตัวการ ตามสัญญาตัวแทน

 สภาพนิติบุคคลเริ่มตั้งแต่

  • เมื่อจดทะเบียนตามกฎหมาย ถ้าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน
  • เมื่อพระราชบัญญัติที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้นมีผลบังคับใช้ ถ้าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน ภูมิลำเนาของนิติบุคคลได้แก่ ถิ่นที่ตั้งอันเป็นสำนักงานใหญ่

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

การจดทะเบียนพาณิชย์หรือทะเบียนนิติบุคคล

การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ คือเมื่อจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจแล้ว จะมีสถานะเป็นบุคคลธรรมดากับนิติบุคคล

ลักษณะของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา

  • เป็นการไปจดทะเบียนเพื่อแจ้งให้ได้รับรู้กันโดยทั่วไปว่าคุณได้เริ่มต้นประกอบกิจการอย่างถูกต้องและเปิดเผย มีหลักเแหล่งและสถานที่ตั้งของกิจการชัดเจน มีชื่อปรากฏอยู่ในระบบการค้าของประเทศโดยถูกต้อง
  • เรื่องภาระตามกฏหมาย การทำนิติกรรมสัญญา การชำระเงินภาษีเงินได้ ยังคงเป็นไปในนามของตัวคุณซี่งเป็นเจ้าของกิจการ
  • การไปจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจแบบนี้เราเรียกว่า จดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่คุ้นเคยกันว่าทะเบียนการค้า
  • ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ก็ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาเพียงไม่เกินชั่วโมงกับค่าธรรมเนียมเพียง 50 บาท คุณที่อยู่ต่างจังหวัดสามารถไปยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดของจังหวัดที่ตั้งกิจการ (รวมไปถึงการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ด้วย๗

ลักษณะของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

  • เมื่อจัดตั้งกิจการแล้วในทางกฏหมายถือว่าตัวธุรกิจนั้นๆ แยกออกโดยเด็ดขาดกับความเป็นบุคคลธรรมดาของเจ้าของกิจการ การกระทำใดๆ เป็นไปในนามกิจการทั้งหมด เหมือนว่ากิจการนี้เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่เกิดขึ้นมาตามกฏหมาย
  • ประเภทของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ที่เป็นนิติบุคคล โดยส่วนใหญ่มี 2 ประเภท คือ บรษัทจำกัดกับห้างส่วนจำกัด
  • สถานที่ที่จะไปยื่นขอจดทะเบียนจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด ถ้าเป็นในเขตกรุงเทพมหานครก็ไปยื่นจดทะเบียนธุรกิจซึ่งมีอยู่ 7 สำหนักงาน หรือที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าถนนนนทบุรี 1 อ.เมือง จ.นนทบุรี ส่วนในต่างจังหวัดดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th)
รูปแบบ ลักษณะ ข้อดี ข้อเสีย ธุรกิจที่เหมาะสม
บุคคลธรรมดา บุคคลทั่วไป

- จัดตั้งง่ายเหมาะกับกิจการขนาดเล็ก

-จะกำไรหรือขาดทุนเจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว

- อำนาจการตัดสินใจอยู่ในือเจ้าของ มีอิสระในการบริหารเต็มที่

- กำไรจะไม่ถูกหักภาษีของกิจการอีก

- อยากยกเลิกกิจการเมื่อไหรก็ทำได้ง่าย

- เจ้าของรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน

- การหาเงินทุนเพิ่มอาจทำได้ยาก

- พนักงานที่เก่งๆ อาจไม่อยากทำงานกิจการที่ไม่ใช่บริษัท

- กิจการมีอายุอยู่ตราบเท่าเจ้าของยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น

- กิจการที่ขายสิค้าหรือบริการง่ายๆ ไม่ซับซ้อนและมีรายได้หรือมูลค่าของกิจการไม่สูงมาก

- ไมได้มุ่งเน้นการติดต่อการทำนิติกรรมสัญญาอะไรต่างๆมากมายนัก

รูปแบบ ลักษณะ ข้อดี ข้อเสีย ธุรกิจที่เหมาะสม
ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญที่มิใช่นิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงเข้าร่วมกันเพื่อการทำกิจการเพื่อแบ่งปันกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ

- มีอำนาจในการบริหารจัดการมากพอควร

- 2 หัวดีกว่าหัวเดียวสามารถระดมทุนและความคิดของหุ้นส่วนในการบริหารงาน

- น่าเชื่อถือต่อเจ้าหนี้มากกว่า

กำไรจะรวมอยู่ในการยได้ของหุ้นส่วนโดยตรง ไม่ต้องนำไปเสียภาษีของกิจการ

- หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อมูลค่าหนี้ร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน

- กำไรต้องถูกแบ่งสรรกันระหว่างหุ้นส่วน

- การตัดสินใจล่าช้าและยากกว่ากิจกานเจ้าของคนเดียว

- อายุกิจการยาวนานได้เพียงข้อตกลง เมื่อหุ้นส่วนถอนตัวหรือเสียชีวิตลง

กิจการค้าขายโโยทั่วไปที่มีรายได้หรือมูลค่าของกิจการไม่สูงมาก

- ไม่ได้เน้นการติดต่อการทำนิติกรรมสัญญาอะไรต่างๆ มากมายนัก

รูปแบบ ลักษณะ ข้อดี ข้อเสีย ธุรกิจที่เหมาะสม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน หุ้นส่วนมีทั้งที่จำกัดความรับผิดและไม่จำกัดความรับผิดและต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

- มีกำลังเข้มแข็งกว่ากิจการเจ้าของคนเดียวเนื่องจากหลายคนร่วมลงทุน

- เมื่อขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี เนื่องจากเสียภาษีแบบนิติบุคคล

- หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัด ต้องรับผิดอย่างไม่จำกัดจำนวนต่อหนี้สิน

- มีโอกาสที่หุ้นส่วนจะมีปัญหาแตกแยกไม่ลงรอยกัน

- กิจการมีมูลค่าหรือรายได้สูง

- ต้องติดต่อและทำนิติกรรมสัญญากับคู่ค้า

รูปแบบ ลักษณะ ข้อดี ข้อเสีย ธุรกิจที่เหมาะสม
บริษัทจำกัด บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการผู้ถือหุ้นรับผิดในหนี้ต่างๆ ไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนลงทุนและต้องจดทะเบียนนิติบุคคล

- ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ

- มีจำนวนหุ้นส่วนได้ไม่จำกัด

- สามารถหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้

- จำนวนผู้ถือหุ้นที่ลดลงอาจเป็นเหตุให้เลิกบริษัทได้

- การเลิกบริษัทมีขั้นตอนยุ่งยาก

- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงเนื่องจากต้องมีผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต

- การปันผลกำไรจะถูกคิดภาษีแบบซ้ำซ้อน

- ยากในการดึงดูดแหล่งเงินทุนจากภายนอก

- กิจการมีมูลค่าหรือรายได้สูง

- ต้ิองติดต่อและทำนิติกรรมสัญญากับคู่ค้า

- ต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของกิจการ

- วางแผนการเติบโตของธุรกิจอย่างเป็นสากล

ข้อมูลจาก บมจ. ธนาคารกสิกรไทย

กฎหมายควรรู้สำหรับ SMEs

แม้จะเป็นเรื่องน่าปวดหัวสักหน่อยเวลาที่คุณต้องศึกษาและเรียนรู้เรื่องข้อกฎหมายต่างๆ แต่นี่คือความเป็นจริงของวิถีแห่งการเป็นผู้ประกอบการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราขอแนะนำข้อมูลด้านกฎหมายที่คุณจำเป็นต้องรู้

ภาษีอากรสำหรับธุรกิจ SMEs

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กิจการร้านค้าที่จดทะเบียนเป็นทะเบียนพาณิชย์ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ในครึ่งปีแรก และยื่น ภ.ง.ด. 90 อีกครั้งในครึ่งปีหลัง

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ในปีแรกเพื่อประมาณการรายได้ จากนั้นเมื่อสิ้นปีจะยื่นแบบ ภ.ง.ด. 52 พร้อมทั้งส่งงบดุล และมีการตรวจสอบบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ถ้าเป็นทเบียนพาณิชย์ที่มีรายได้ทั้งปีไม่ถึง 1,800,000 บาทต่อปีไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ แต่ถ้ามีรายได้เกิน หรือเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด) ทุกรายต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 01) เพื่อจะสามารถคำนวนภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักภาษีซื้อ

  • การออกใบกำกับภาษี

ใบกำหับภาษีเป็นเอกสารที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำขึ้นและออกให้ผู้ซื้อทุกครั้งมีการขายสินค้าหรือมีการรับเงิน หรือในกรณีที่มีการส่งมอบสินค้า โดยแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้นๆ และระบุจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากผู้ซื้อ โดยต้องส่งมอบใบกำกับภาษีตัวต้นฉบับให้ผู้ซื้อทันทีและเก็บตัวสำเนาไว้เป็นหลักฐาน

รูปแบบใบกำหับภาษีมี 2 แบบ คือ ใบกำกับภาา๊เต็มรูปแบบ และใบกำกับภาษีอย่างย่อ

กฎหมายแรงงาน

กฎหมายแรงงานถือเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรต้องทำความเข้าใจ ซึ่งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงานที่คุณควรให้ความสนใจ ไดแก่

  • กฎหมายเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน

มีประเด็นสำคัญที่คุณควรรู้คือ หลักเกณในการทำสัญญาจ้าง หน้าที่ของทั้งลูกจ้างและนายจ้าง การเลิกสัญญาจ้าง

  • สัญญาจ้าแรงงาน

มีการกำหนดคู่สัญญาเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายเจ้าหนี้ ฝ่ายลูกหนี้ กำหนดถึงสิทธิหน้าที่ และการบอกเลิกสัญญา การจ้างลูกจ้างมาทำการงานให้แก่ตนในลักษณะเป็นงานประจำ มีการจ่ายค่าจ้างเป็นรายระยะเวลาที่ชัดเจน และนายจ้างมีอำหนาจบังคับบัญชา ซึ่งถือเป็นการจ้างแรงงานที่ไม่จำเป็นต้องสัญญา เพียงแต่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงกันก็เกิดสัญญาแล้ว

  • บทบาทและหน้าที่ของทั้งลูกจ้างและของนายจ้าง

หน้าที่ของลูกจ้าง

- ต้องทำงานด้วยตนเอง ให้คนอื่นมาทำแทนไม่ได้หากนายจ้างไม่ยินยอม

- ต้องทำงานตามที่ตนรับรองไว้ได้ โดยเฉพาะลูกจ้างประเภทผู้มีฝีมือพิเศษ

- ต้องเชื่อฟังและปฎิบัติตามคำสั่งนายจ้างหากเป็นเรื่องชอบโดยกฎหมาย ต้องซื่อสัตย์ และเก็บรักษาความลัดของนายจ้างได้

หน้าที่ของนายจ้าง

- ให้สินจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งกำหนดการจ่ายอยู่ที่ตกลงกันไว้

- ออกหนังสือรับรองผลงาน และระยะเวลาที่ทำงานให้ลูกจ้าง

- หากลูกจ้างมาจากถิ่นอื่นและนายจ้างได้ออกค่าเดินทางให้เมื่อการจ้างจบลง นายจ้างก็ควรออกค่าเดินทางกลับให้ด้วย ยกเว้นว่าลูกจ้างได้ทำผิดต่อนายจ้าง

  • กฎหมายประกันสังคม

เมื่อคุณจัดตั้งธุรกิจ (ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) คุณต้องไปขึ้นทะเบียนประกันสังคมนายจ้างและลูกจ้าง ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่จังหวัดที่กิจการตั้งอยู่ และมีหน้าที่ในการนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยเงินที่นำส่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนของลูกจ้าง (ทุกคน) โดยหักนำส่งในอัตราร้อยละ 5 ของเิงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 750 บาท) และในส่วนที่สอง คือส่วนที่นายจ้างต้องจ่ายสมทบเป็นจะนวนเท่ากับจำนวนของเงินสมทบในส่วนของลูกจ้าง

ข้อมูลเพิ่มเติดูได้จากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน www.mol.go.th และ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

การจดทะเบียนนิติบุคคลมีอะไรบ้าง

จดทะเบียนบริษัทมีขั้นตอนอะไรบ้าง.
1. ตรวจและจองชื่อบริษัท เข้าไปที่ เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อสมัครสมาชิกได้ฟรี ... .
2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ... .
3. รอนายทะเบียนตรวจสอบเอกสาร ... .
4. เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อใช้จดทะเบียนบริษัท ... .
5. ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท.

ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคลคืออะไร

การดำเนินธุรกิจแบบจดทะเบียนนิติบุคคล เป็นการดำเนินธุรกิจที่แยกออกจากการเป็นบุคคลธรรมดา หากมีการดำเนินการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมสัญญา นิติกรรมสัญญา รวมถึง การชำระเงินภาษีจะเป็นไปในนามของกิจการทั้งหมด ซึ่งโดยปกติการจดทะเบียนนิติบุคคลนิยมทำคือ การจดทะเบียนบริษัทจำกัด

นิติบุคคลเป็นแบบไหน

นิติบุคคล หมายถึง บุคคลที่กฎหมายสมมติให้มีสภาพบุคคลเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ดังนั้น นิติบุคคลจึงมีความสามารถเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เช่น ความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ เช่น ที่ดิน เงิน หน้าที่ในการเสียภาษี

ทำไมถึงต้องจดทะเบียนนิติบุคคล

การจดทะเบียนบริษัท เป็นรูปแบบการทำธุรกิจที่ได้รับความนิยมด้วย 3 เหตุผลหลัก ได้แก่ 1) สร้างความน่าเชื่อให้กับธุรกิจ 2) ช่วยคุ้มครองความรับผิดชอบของเจ้าของธุรกิจ และ 3) เสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าบุคคลธรรมดา จึงทำให้ในปี 2562 มีบริษัทจดใหม่รวมทั้งสิ้น 71,485 บริษัท