ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร

ฝุ่นละออง PM10 ที่มีอนุภาคใหญ่กว่า 10 ไมครอน ฝุ่นละอองชนิดนี้จะติดอยู่ที่บริเวณโพรงจมูก หรือปากเท่านั้น ไม่สามารถผ่านเข้าไปถึงหลอดลมของเราได้

ส่วน “PM2.5” หรือฝุ่นละอองชนิดละเอียดที่มีอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอน สามารถผ่านเข้าขนจมูก โพรงจมูก ลำคอ หลอดลมใหญ่ จนกระทั่งหลุดเข้าไปในถุงลม และปอดของเราได้ง่าย ซึ่งสามารถสร้างอันตรายต่อสุขภาพเราได้หลายโรคเลยทีเดียว

ในปัจจุบันประชาชน 9 ใน 10 คนกำลังเผชิญกับคุณภาพอากาศที่มีมลพิษเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก World Health Organization (WHO) กำหนดไว้ ทั้งนี้ WHO ยังอัพเดทสถานการณ์ว่าในแต่ละปีมีผู้คนประมาณ 7 ล้านคนเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศอีกด้วย

มลพิษทางอากาศที่มีอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในปีพ.ศ. 2561 มีพื้นที่ 28 แห่งจาก 53 แห่ง (ใน 29 จังหวัด) ที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินมาตรฐานในบรรยากาศของประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์และพื้นที่เมืองทั้ง 53 แห่ง ยังมีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินค่าตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลกซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร
ประชาชนใช้ผ้าปิดจมูกเพื่อปกป้องตัวเองจากฝุ่นละอองในเมืองหลวง © Chanklang Kanthong / Greenpeace

PM2.5 ที่คุกคามพวกเรามาจากไหน?

PM2.5 มาจากทั้งแหล่งกำเนิดปฐมภูมิ เช่น การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การเผาในที่โล่งและอุตสาหกรรมการผลิต และแหล่งกำเนิดแบบทุติยภูมิ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศโดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น ดังนั้น การปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนจากแหล่งกำเนิดต่างๆ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลและการผลิตทางอุตสาหกรรม เมื่อเกิดการรวมตัวกันในบรรยากาศจะมีผลต่อการก่อตัวของ PM2.5 ขั้นทุติยภูมิอีกด้วย

ฝุ่น PM2.5 ทำร้ายตัวเราอย่างไร?

ฝุ่น PM2.5 ถูกพิจารณาว่าเป็นมลพิษที่มีผลกระทบกับสุขภาพมากที่สุดในบรรดามลพิษทางอากาศโดยทั่วไป เนื่องด้วยขนาดที่เล็กมาก  PM2.5 สามารถเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ได้ และจากนั้นก็ไปทั่วร่างกาย เป็นสาเหตุของผลกระทบด้านสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาวมากมาย จากข้อมูล State of Global Air ระบุว่า  PM2.5 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประเทศไทยประมาณ 37,500 ราย นี่คือวิกฤตด้านสาธารณสุขโดยที่เด็ก คนสูงวัยและกลุ่มประชากรเสี่ยงในสังคมได้รับผลกระทบมากที่สุด

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของ เส้นผมมนุษย์สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและกระแสเลือดโดยตรง ส่งผล อันตรายต่อกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง

จากการศึกษาโดย Institute for Health and Evaluation, University of Washington สนับสนุนโดย ธนาคารโลก พบว่า มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆเนื่องจากมีส่วนประกอบของสาร เคมีหลายชนิดทั้งที่เป็นสารระคายเคืองไปจนถึงสารก่อมะเร็งจึงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งปอด และโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง สำหรับก๊าซโอโซนเป็นสารระคายเคืองปอด ทำให้ปอดติดเชื้อง่าย จึงเป็นปัจจัยร่วมอันก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การเข้าถึงอากาศสะอาดเป็นสิทธิของทุกคน กรีนพีซเรียกร้องให้กรมควบคุมมลพิษยกระดับค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไปของประเทศไทยให้เป็นไปตามเป้าหมายสูงสุดตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก เพื่อปกป้องสุขภาพและชีวิตของประชาชน

PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองอนุภาคเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและกระแสเลือดโดยตรง ส่งผลอันตรายต่อกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย โดยที่คุณไม่รู้ตัว และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง หรือร้ายแรงที่สุดอาจถึงขั้นเป็นมะเร็ง ซึ่งจะเห็นได้ว่า PM 2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพของร่างกายเราทั้งภายนอก และภายใน

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร

ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร ?

PM 2.5 เกิดมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม การเผาป่า เผาขยะ ควันท่อไอเสียรถ การเผาเชื้อเพลิง การก่อสร้างต่างๆ การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การเผาในที่โล่ง เป็นต้น

ซึ่งแน่นอนว่าในกรุงเทพฯ เป็นจุดที่มีการก่อสร้างหรือการจราจรที่เยอะมาก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่สงผลเสียต่อสุขภาพของคนกรุง กรุงเทพฯ จึงเป็นจุดที่ได้รับผลกระทบและรุนแรงมากที่สุดจากฝุ่น PM 2.5 นั่นเอง

ผลกระทบต่อร่างกายจาก ฝุ่น PM 2.5 มีดังนี้

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร

ผลกระทบทางสุขภาพ

  • เกิดอาการไอ จาม หรือภูมิแพ้
  • ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ฝุ่นอยู่แล้ว จะยิ่งถูกกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น
  • เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
  • เกิดโรคหลอดเลือด
  • เกิดโรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอด

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร

ผลกระทบทางผิวหนัง

  • มีผื่นคันตามตัว
  • ปวดแสบปวดร้อน มีอาการระคายเคือง
  • ทำร้ายเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวอ่อนแอ เหี่ยวย่นง่าย
  • โรคเยื่อบุตาอักเสบ
  • เป็นลมพิษ ถ้าเป็นหนักมากอาจเกิดลมพิษบริเวณทั่วร่างกาย

จะเห็นได้ว่า มลพิษที่เราหายใจเข้าไปจะเป็นปัญหาโดยตรงกับ ปอด หรือ ระบบทางเดินหายใจ แต่ฝุ่น PM 2.5 ยังสามารถซึมผ่านเข้าสู่เส้นเลือด รวมทั้งผ่านเข้าทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่ในโพรงจมูก และผ่านเข้าไปยังสมองโดยตรง หลังจากที่ฝุ่นจิ๋วเข้าไปยังสมองจะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในสมอง มีการหลั่งสารอักเสบชนิดต่าง ๆ ทำให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บ เกิดภาวะสมองเสื่อมเร็วกว่าปกติอีกด้วย

วิธีป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM 2.5

หน้ากากอนามัย รุ่น N95

ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดอนุภาคที่เล็กมากๆ จึงทำให้หน้ากากอนามัยแบบธรรมดาทั่วไป ไม่สามารถที่จะป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้อย่างแน่นอน แนะนำว่าควรจะเป็นหน้ากากอนามัยรุ่น N95 จะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดเนื่องจากหน้ากากรุ่นนี้ทำมาเพื่อป้องกันมลพิษโดยเฉพาะ

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร

เครื่องฟอกอากาศ

ฝุ่น PM 2.5 ลอยไปทั่วอากาศ การใช้เครื่องฟอกอากาศก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณของฝุ่นจิ๋วนี้ ให้น้อยลงได้ในระดัยนึง ซึ่งมีก็หลากหลายราคาแตกต่างกันไป เราอาจเลือกแบรนด์ที่ได้รับมาตรฐาน และมีคุณภาพ เพื่อประสิทธิภาพในการกรองอากาศ

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร

หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอก

จริงอยู่ว่ากิจวัตรประจำวันของคนเราต้องมีการออกไปข้างนอกบ้านเพื่อทำงาน หรือเรียน อะไรต่างๆนานา แต่ถ้าวันไหนไม่มีธุระแล้วเลือกที่จะอยู่ในบ้าน นั่นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณในการสูดดมฝุ่นเข้าไปในร่างกายของเรา

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร

ถึงแม้ว่าการป้องกันฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยหน้ากากอนามัย N95 หรือเครื่องกรองอากาศ จะเป็นวิธีที่ดีแล้ว แต่นั่นก็ไม่สามารถป้องกัน หรือทำให้เราหลีกเลี่ยงเจ้าฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ได้ 100%