สินค้า เกษตร ยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายน้ำผึ้งและพืชผลทางการเกษตร

ข้อเท็จจริง

ห้างหุ้นส่วนจำกัดประกอบกิจการขายน้ำผึ้งและสินค้าไทย โดยมิได้แปรรูปสินค้าตามรายการ

สินค้า ดังนี้

(1) น้ำผึ้งสดบรรจุขวดปิดฝา จำแนกเป็น น้ำผึ้งเมืองฝาง น้ำผึ้งป่าสัก น้ำผึ้งหลวงเดือนห้า

น้ำผึ้งหอมดอกยาวิเศษ

(2) มะตูม จำแนกเป็น มะตูมคั่วบรรจุขวด มะตูมคั่วบรรจุซองกระดาษสาใส่กล่อง มะตูมบด

เป็นผงบรรจุขวด มะตูมแผ่นแห้งบรรจุถุงพลาสติก มะตูมไข่แช่น้ำผึ้งบรรจุขวด

(3) มะไฟจีนแห้ง บรรจุขวด

(4) ยากำลังเสือโคร่ง มีลักษณะเป็นสมุนไพรจากต้นไม้ชื่อกำลังเสือโคร่ง

(5) หัวยา (ข้าวเย็น) มีลักษณะเป็นสมุนไพรจากรากไม้ใต้ดิน ชื่อหัวยา

(6) ดินสอพองบ้านหมี่ บรรจุถุงพลาสติก

(7) กระเทียมโทนแช่น้ำผึ้ง บรรจุขวด

(8) ส้มทองแช่น้ำผึ้ง บรรจุขวด

(9) กล้วยตากแช่น้ำผึ้ง บรรจุขวดการขายสินค้าตามรายการดังกล่าวได้รับ

ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 81(1)(ก)

แนววินิจฉัย

สินค้ารายการที่ 1 น้ำผึ้งสดชนิดต่าง ๆ บรรจุขวดปิดฝา หากเป็นน้ำผึ้งบริสุทธิ์ มิได้มีการ

แปรสภาพ แปรรูป หรือปรุงแต่งโดยการใส่สารปรุงรส หรือใส่สารกันเสีย หรือสารอื่นใดในทำนอง

เดียวกัน เข้าลักษณะเป็นการขายส่วนต่าง ๆ ของสัตว์หรือวัตถุพลอยได้จากสัตว์ หากมิใช่การส่งออก

ผู้ประกอบกิจการได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

สินค้ารายการที่ 2

(1) มะตูมคั่วบรรจุขวด และบรรจุซองกระดาษสาใส่กล่อง ซึ่งคำว่า “คั่ว” ตามพจนานุกรม

ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง เอาสิ่งของใส่กระเบื้อง หรือกระทะตั้งไฟให้ร้อนแล้วคนไป

จนสุก หรือเกรียม ดังนั้น การคั่วจึงถือได้ว่าเป็นการแปรรูป หรือแปรสภาพเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์

อาหารไม่ว่าจะบรรจุภาชนะ หีบห่อที่ผนึกในลักษณะที่มั่นคง หรือประทับตราเครื่องหมาย การค้าบนภาชนะ

ที่บรรจุหรือไม่ก็ตาม มะตูมคั่วดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นพืชผลทางการเกษตรตามมาตรา 81(1)(ก)

แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) มะตูมบดเป็นผงบรรจุขวด ซึ่งคำว่า “บด” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.

2525 หมายถึง ทำให้เปลือกแตก ทำให้แหลก ทำให้เป็นผง ทำให้เรียบและแน่น ดังนั้น มะตูมซึ่งบดเป็น

ผงโดยมิได้ปรุงแต่งด้วยการใส่สารปรุงรสหรือสารกันเสีย หรือสารอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อ

รักษาสภาพไว้มิให้เสีย เข้าลักษณะเป็นการขายพืชผลทางการเกษตร หากมิใช่การส่งออกผู้ประกอบ

กิจการได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ

ข้อ 2(1) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.28/2535 เรื่อง การขายพืชผลทางการเกษตร ตามมาตรา

81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2535

(3) มะตูมแผ่นแห้งบรรจุถุงพลาสติก หากนำมะตูมมาตากแห้งแล้วทำเป็นแผ่นบรรจุถุงพลาสติก

โดยมิได้ปรุงแต่งด้วยการใส่สารปรุงรสหรือสารกันเสีย หรือสารอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อ

รักษาสภาพไว้มิให้เสีย เข้าลักษณะเป็นการขายพืชผลทางการเกษตร หากมิใช่การส่งออก ผู้ประกอบ

กิจการได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ

ข้อ 2(1) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.28/2535 ฯ ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2535

สินค้ารายการที่ 3 มะไฟจีนแห้ง หากเป็นการตากแห้งหรืออบแห้งเพื่อรักษาสภาพไว้มิให้เสีย

เข้าลักษณะเป็นการขายพืชผลทางการเกษตร หากมิใช่ส่งออกผู้จำหน่ายได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม

มาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร

สินค้ารายการที่ 4-5 ยากำลังเสือโคร่งและหัวยา ซึ่งเป็นสมุนไพรทำจากต้นไม้และรากไม้

ใต้ดิน ไม่ว่าจะจัดทำเป็นห่อ หรือบดแล้วบรรจุซอง ถือเป็นการขายส่วนต่าง ๆ ของพืช ได้รับ

ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้าหากบดและบรรจุซองโดยมี

สลากกำกับที่ถือเป็นยาแล้ว ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

สินค้ารายการที่ 6 ดินสอพอง ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้อง

เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

สินค้ารายการที่ 7-9 กระเทียมโทนแช่น้ำผึ้ง ส้มทองแช่น้ำผึ้ง และกล้วยตากแช่น้ำผึ้งบรรจุ

ขวด เป็นการแปรรูปหรือแปรสภาพเป็นอาหารหรือสินค้าอื่นแล้ว มิใช่เป็นการรักษาสภาพไว้มิให้เสียเป็น

การชั่วคราวระหว่างการขนส่งหรือเพื่อการขายปลีกหรือขายส่ง ไม่เข้าลักษณะเป็นสินค้าตามมาตรา

81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.28/2535 การขาย

สินค้าดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

(4) มะตูมไข่แช่น้ำผึ้ง เป็นการแปรรูป หรือแปรสภาพเป็นอาหารหรือสินค้าอื่นแล้ว มิใช่เป็น

การรักษาสภาพไว้มิให้เสียเป็นการชั่วคราวระหว่างการขนส่ง หรือเพื่อการขายปลีกหรือขายส่ง ไม่เข้า

ลักษณะเป็นสินค้าตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 1 ของ

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 28/2535 ฯ ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2535


ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม.04)/พ.41 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2544

2. การขายพืชผลทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นส่วนใด ๆ ของพืช รวมถึงวัตถุพลอยได้จากพืชที่ยังมีสภาพเดิม และไม่ทำเป็นอุตสาหกรรม แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้

3. การขายสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนมและวัตถุพลอยได้จากสัตว์ที่อยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราว แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม

4. การขายปุ๋ย

5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์

6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์สำหรับพืชหรือสัตว์

7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

8. การขายสินค้าของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย

9. การขายสินค้าเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการสาธารณสุขในประเทศไทย ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น

10. การขายบุหรี่เฉพาะที่ผลิตโดยองค์การของรัฐบาล และผู้ขายที่มิใช่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสูบที่ผลิตสินค้าดังกล่าว

11. การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาลและสลากบำรุงกาชาดไทย

12. การขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อากรหรือแสตมป์อื่นของรัฐบาลเฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ในราคาไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้

13. การบริจาคสินค้าให้แก่

      • สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ

      • องค์การหรือสถานสาธารณะกุศล หรือแก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาอื่นนอกจากใน (ก) ตามที่รัฐมนตรีประกาศ.กำหนดในราชกิจจานุเบกษา

การให้บริการ

1. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการและเอกชน

2. การให้บริการที่เป็นงานศิลปะและวัฒนธรรมในสาขานาฏศิลป์และสาขาดุริยางค์ศิลป์และคีตศิลป์

3. การให้บริการการประกอบโรคศิลป์ การสอบบัญชี การว่าความ หรือการ ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ทั้งนี้เฉพาะวิชาชีพ อิสระที่มีกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพอิสระนั้น

4. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

5. การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มิใช่ทางธุรกิจ

6. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์

7. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน

8. การให้บริการการแข็งขันกีฬาสมัครเล่น

9. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ

10. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร

11. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศเฉพาะทางบก

12. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์

12. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ที่มิใช่เป็นการพาณิชย์หรือหารายได้

14. การให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย

15. การให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการสาธารณกุศลในประเทศไทย ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น

16. การให้บริการสีข้าว

17. การขนส่งระหว่างประเทศโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งตามกฎหมายของประเทศนั้น ยกเว้นภาษีทางอ้อมให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ตามหลักถ้อยที่ถ้อยปฏิบัติ

18. การให้บริการสื่อสารทางวิทยุเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งได้รับมอบหมาย จากรัฐบาลให้จัดบริการดังกล่าว

19. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาที่รัฐมนตรีกำหนด

การนำเข้า

1. การนำเข้าพืชผลทางการเกษตร รวมถึงวัตถุพลอยได้จากพืช การนำเข้าสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ ซึ่งรวมถึงวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ด้วยเช่นกัน การนำเข้าปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยา หรือเคมีภัณฑ์สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน

2. การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก เฉพาะสินค้าที่ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมาย ว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

3. การนำเข้าสินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยการส่งของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

4. สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากรแล้วได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยได้คืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

การส่งออก

การส่งออกสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งมีมูลค่าของฐานภาษีตั้งแต่ 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,800,000 บาท และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย

ส่งออกสินค้าเกษตร ต้อง จด VAT ไหม

1. กรณีผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว พืชผลการเกษตรที่นำเข้ายังคงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนการส่งออกพืชผลทางการเกษตรต้องถือเป็นยอดขาย โดยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.

สินค้าที่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม มีอะไรบ้าง

การยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

พืชผลทางการเกษตรเสียภาษีไหม

ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยหลักแล้วผู้ที่ขายพืช ผลทางการเกษตรที่ไม่แปรรูป เช่น ผลไม้สด ในประเทศ จะ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังสามารถยื่นขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ ไม่ว่า จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม

การยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร

การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป .28/2535ฯ)