คุณค่าด้านเนื้อหามีความสำคัญกับการศึกษาวรรณคดีอย่างไร

          คำนมัสการมาตาปิตุคุณ  บิดามารดา  เป็นผู้มีพระคุณแก่เราโดยตรง  เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเราโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน  ตั้งแต่เราเกิดมาท่านก็ให้ความรักความเมตตาเอาใจใส่ดูแลห่วงใยโดยบริสุทธิ์ใจ  คอยแนะนำตักเตือนชี้ทางที่ดีให้แก่เรา  เมื่อเราทุกข์หรือเจ็บไข้ได้ป่วย  ท่านก็ทุกข์ด้วย  แม้จะต้องทำงานด้วยความเหนื่อยยากก็ยอมสู้ทน  กวีจีงกล่าวสรรเจริญพ


คุณค่าด้านเนื้อหามีความสำคัญกับการศึกษาวรรณคดีอย่างไร

           วรรณคดีเป็นมรดกที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ  สามารถสะท้อนภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยนั้นๆ  ในเนื้อเรื่องกวีมักสอดแทรกแนวคิด  คติสอนใจและปรัชญาชีวิตไว้  ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้  ความประทับใจมีความรู้สึกร่วมไปกับกวี  ดังนั้นวรรณคดีจึงมีคุณค่าทั้งในด้านประวัติศาสตร์  สังคม  อารมณ์และคติสอนใจ  รวมทั้งมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์ด้วย

           นอกจากวรรณคดีจะเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของคนในชาติแล้ว  วรรณคดียังเป็นเครื่องเชิดชูอารยธรรมของชาติและยังมีคุณค่าเป็นหลักฐานทางโบราณคดีได้อีกด้วย  ทำให้คนในชาติสามารถรับรู้เรื่องราวในอดีต  การอ่านวรรณคดีจึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้อ่านมีอารมณ์สุนทรีย์และเข้าใจความจริงของโลกมากยิ่งขึ้น 


คุณค่าด้านเนื้อหามีความสำคัญกับการศึกษาวรรณคดีอย่างไร
         วรรณคดีเป็นดังกระจกเงาสะท้อนภาพสังคมและวัฒนธรรม  ผู้อ่านจึงควรอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาเรียนรู้เรื่องราว  ความเป็นมา  ความคิด  และค่านิยมของสังคมแต่ละสมัย การวิจักษ์และวิจารณ์วรรณคดีทำให้นักเรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์  รู้จักสังเกต  ได้ความรู้และประสบการณ์จากวรรณคดี  วรรณคดีจึงมีความสำคัญทั้งในด้านเนื้อหาที่ให้ข้อคิดคติเตือนใจและด้านสังคมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม  รวมทั้งเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งด้วย



      ๑.๒.๕  กลวิธีในการแต่ง  พิจารณาวิธีในการเลือกใช้ถ้อยคำและการนำเสนอว่า    ผู้แต่งนำเสนออย่างไร  เช่น   เสนออย่างตรงไปตรงมา  เสนอโดยตีความจากสัญลักษณ์หรือความเปรียบ  นำเสนอโดยการสร้างภาพพจน์ให้เหนือความเป็นจริงเพื่อดึงดูดความสนใจ  เป็นต้น  ควรพิจารณาว่า  วิธีการต่างๆ  เหล่านั้นชวนให้น่าสนใจน่าติดตามหรือน่าประทับใจอย่างไร

          จะมีสิ่งใดที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นเกราะป้องกันภาษาประจำชาติจากการถูกคุกคาม นอกเสียจากว่าคนไทยจะมีจิตสำนึก ตระหนักถึงคุณค่าของการมีภาษาประจำชาติ และสนองตอบต่อพระราชดำรัสแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในด้านการใช้ภาษาไทยเพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งสมบัติอันล้ำค่าของชาติ คู่เอกราชของไทยตลอดไป