เพราะเหตุใดมนุษย์จึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เพียงลำพัง

นักเทววิทยาชาวเยอรมัน พอล ทิลลิช (Paul Tillich) ถือเป็นหนึ่งในผู้ที่พยายามจะจำแนกความแตกต่างระหว่างความโดดเดี่ยว (Loneliness) และความสันโดษ (Solitude) ออกจากกัน คำกล่าวของเขาที่ว่า “ความโดดเดี่ยวนั้นคือการแสดงออกถึงความเจ็บปวดของการดำรงอยู่ และความสันโดษนั้นคือการแสดงออกถึงชัยชนะของการอยู่เพียงลำพัง” สอดพ้องกับแนวคิดของฮันนาห์ อาเรนท์ (Hannah Arendt) นักทฤษฎีการเมืองคนสำคัญของศตวรรษที่ 20

อาเรนท์กล่าวไว้ในตอนท้ายของงานเล่มสำคัญ The Origins of Totalitarianism ว่า “สิ่งที่ทำให้ความโดดเดี่ยวเป็นสิ่งที่เรายากจะรับได้ก็คือการสูญเสียตัวตนของเราไป ซึ่งสามารถตระหนักได้ยามที่เราอยู่เพียงลำพัง…” อย่างไรก็ตามความโดดเดี่ยวของอาเรนท์นั้นไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวเอง แต่เป็นสิ่งที่รัฐแบบเผด็จการสร้างขึ้น ภายหลังจากทำลายชีวิตทางการเมืองและชีวิตส่วนตัวของประชาชนที่ไร้พลัง  จนต้องจมอยู่กับความเปลี่ยวดายและไม่รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันกับโลกใบนี้

เพราะเหตุใดมนุษย์จึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เพียงลำพัง

ฮันนาห์ อาเรนท์ (Hannah Arendt) นักทฤษฎีการเมืองคนสำคัญของศตวรรษที่ 20

ก่อนหน้าทิลลิชและอาเรนท์เกือบ 2 ศตวรรษ ก็ยังมีนักคิดชาวสวิสที่มีชื่อว่า โยฮันน์ เกออร์ก ซิมเมอร์มันน์ (Johann Georg Zimmermann) ผู้เขียน Solitude (1784-1785) หนังสือความยาวกว่า 1600 หน้าที่พยายามวิเคราะห์ลงไปในความสันโดษ

เพราะเหตุใดมนุษย์จึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เพียงลำพัง

โยฮันน์ เกออร์ก ซิมเมอร์มันน์ (Johann Georg Zimmermann) นักปรัชญาชาวสวิตเซอร์แลนด์

ซิมเมอร์มันน์ได้ลากเส้นแบ่งระหว่างด้านบวกและลบในการใช้ชีวิตเพียงลำพัง ซึ่งเขาเล็งเห็นว่า ความโดดเดี่ยวในทางลบนั้นจะทำให้ผู้โดดเดี่ยวเกลียดชังสังคม มนุษย์ เบื่อหน่าย เกียจคร้าน ในขณะที่การถือสันโดษหรือความโดดเดี่ยวในเชิงบวกนั้นทำให้เราเป็นอิสระ สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และในเวลาเดียวกันก็สามารถเข้าใจหรือสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

ความสันโดษของซิมเมอร์มันน์คล้ายคลึงกับความคิดของอาเธอร์ โชเพนเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer) นักปรัชญาชาวเยอรมันในศตวรรษถัดมาที่ได้กล่าวไว้ว่า “การที่คนเราจะสามารถเป็นตัวเองได้อย่างแท้จริงก็คือการที่เราต้องเป็นอิสระจากคนอื่น” ซึ่งความคิดนี้ต้องเรียกว่าสามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงสมัยเอเธนยุครุ่งเรืองเลยทีเดียว

ความโดดเดี่ยวในเชิงบวก

อริสโตเติล (Aristotle) เป็นหนึ่งในนักปรัชญาชาวกรีกที่มองการถือสันโดษเป็นเรื่องที่ดี เขามีเชื่อว่า ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่ผ่านการขบคิด และชีวิตที่จะผ่านการขบคิดได้ก็ต้องอยู่ในภาวะที่สันโดษ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลความคิดของคนในสังคม ผู้นำทางทหาร หรือบรรดาผู้มีอำนาจต่างๆ  

หากเป็นยุคกลาง (medeaval age) การปลีกวิเวกออกมาเพียงลำพังจะถือว่าเป็นหนึ่งในหนทางเข้าใกล้พระเจ้า ความโดดเดี่ยวเปลี่ยวเหงาในยุคกลางนั้นถึงจะมี ก็อาจไม่นับว่าสำคัญเทียบเท่ากับการไม่รู้สึกถึงความห่างไกล หรือการไม่รู้สึกถึงพระองค์

จวบจนมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา (Renaissance) เพทราร์ค (Petrarch) กวีและนักเขียนชาวอิตาลีก็ยังได้เขียนหนังสือเรื่อง De vita solitaia  (136-56) ออกมาเพื่อสรรเสริญยกย่องความสันโดษ ความคิดของเพทราคคล้ายคลึงกับความเชื่อของเราหลายคนในปัจจุบัน การออกจากเมืองไปใช้ชีวิตอยู่ในชนบทจะทำให้เราค้นพบตัวเราเอง และเป็นอิสระจากการครอบงำของคนอื่นๆ

เมื่อก้าวเข้าสู่โลกสมัยใหม่ นักปรัชญาคนสำคัญอย่างเรอเน่ เดการ์ต (René Descartes) ถึงกับประกาศชัดว่า ความสันโดษนั้นเป็นภาวะสำคัญจำเป็นสำหรับการขบคิด เราจะสามารถเข้าใกล้สัจจธรรมได้มากอย่างที่สุดในภาวะที่เราอยู่เพียงลำพังจริงๆ จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดที่เดอการ์ตส์มักจะพูดถึงการออกเดินทางเสาะหาพื้นที่สุขสงบเพื่อหลบหนีความวุ่นวายของผู้คนและชีวิตในเมืองใหญ่ เพื่อมองหาความสันโดษที่ซ่อนตัวอยู่ในธรรมชาติและสังคมชนบท

หากคำถามสำคัญที่ติดตามมาก็คือ เราจะสามารถอยู่เพียงลำพังได้แบบไหน หรือ อย่างไรจึงเรียกว่าเป็นชีวิตที่สันโดษ?

ดังที่เราทราบว่า เฮนรี เดวิด ทอโร (Henry David Thoreau) นักปรัชญาชาวอเมริกัน ผู้ใช้ชีวิตอย่างสันโดษที่บึงวอลเดนเป็นเวลา 2 ปี 2 เดือน 2 วัน จนกลายมาเป็นต้นตอบ่อเกิดของผลงานชิ้นสำคัญที่ชื่อ Walden นั้นก็ไม่ได้ตัดขาดจากมิตรสหายและครอบครัวแต่อย่างใด เขายังคงวางเก้าอี้ 3 ตัวเพื่อต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยือน หรือบ่อยครั้งที่เดินเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อพูดคุยทักทายชาวบ้าน และนำเรื่องราวต่างๆ ที่เขาได้ยินมามาเขียนหนังสือ

เช่นเดียวกับราล์ฟ วัลดู อีเมอร์สัน (Ralph Waldo Emerson) นักปรัชญาชาวอเมริกันที่เสนอความคิดซึ่งดูจะสุดลิ่มทิ่มประตูยิ่งกว่าธอโรหลายขั้น ว่า เราไม่เพียงแต่ต้องโดดเดี่ยวตัวเองออกมาจากสังคมคนรู้จัก แต่เรายังจำเป็นต้องหยุดอ่านเขียนหนังสือ เพื่อใช้ชีวิตใต้แสงเดือนแสงดาว ซึ่งแน่นอนว่าไม่เพียงแต่ธอโรเพื่อนของเขาที่ทำไม่ได้ แต่อีเมอร์สันเองก็ไม่สามารถทำได้ เพราะอย่างน้อยเขาก็ยังเขียนหนังสือไปจนกระทั่งโรคความจำเสื่อมมาพรากความสามารถของเขาไปในช่วงบั้นปลายชีวิต ซึ่งเขายุติการพบปะผู้คนจริงๆ ก็ภายหลังจากรู้สึกอับอายจากโรคความจำเสื่อมที่ทำให้เขาทำอะไรน่าขัน

ถ้าจะนับว่า มีบุคคลที่สามารถถือสันโดษได้อย่างแท้จริงก็คงจะมีเพียงเซนต์แอนโธนี (Anthony the Great) นักบวชคนแรกในตำนานความเชื่อของชาวคริสต์ที่จาริกไปในทะเลทรายฟากฝั่งตะวันออกของประเทศอียิปต์เพียงลำพังเป็นเวลานานนับสิบๆ ปี โดยมีเพียงฝูงสุกรเท่านั้นที่ติดตามเขาไป

ความสันโดษที่สาบสูญ

ไม่เพียงแต่ในโลกปัจจุบันที่มนุษย์เกือบทุกคนถูกบังคับให้ต่อเชื่อมกันด้วยเทคโนโลยี เมื่อในที่ทำงานคุณกลายเป็นพื้นที่ประเมินความสามารถ คุณสามารถถูกจับจ้องสอดส่องด้วยกล้องวงจรปิด กระทั่งวิทยาการล่าสุดยังทำให้บริษัทของคุณสามารถมอนิเตอร์การทำงานผ่านโปรแกรมต่างๆ ที่คุณเปิดใช้ในแต่ละวันได้ แม้กระทั่งแต่ฟรีแลนซ์ การต่อเชื่อมผ่านระบบการส่งข้อความต่างๆ ทำให้คุณถูกดึงเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสังคมเฉพาะกิจต่างๆ

มันเป็นความโดดเดี่ยวเช่นที่อาเรนท์กล่าวถึง ว่าโลกเผด็จการได้ทำการขจัดความสันโดษในการมีชีวิตส่วนตัวออกไป และความเป็นส่วนตัวกลายเป็นสิ่งที่เดียวจะรับประกันความมีเสรีภาพของคุณ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องพูดถึงเฉพาะโลกปัจจุบัน แม้แต่ผู้ที่มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 18 อย่าง ฌ็อง-ฌาคส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) ก็ยังประสบปัญหาจากการที่สังคมยังตามไปหลอกหลอนเขาแม้แต่ในท่ามกลางธรรมชาติ

ดังที่เราทราบว่า Reveries of the Solitary Walker เป็นงานเขียนสุดท้ายในชีวิตของรุสโซ (ซึ่งความโด่งดังของมันได้แปลเปลี่ยนความหมายของคำว่า reveries ที่แต่เดิมหมายความเพียง ‘ความฟุ้งฝัน’ ให้มีความหมายเป็น ‘การครุ่นคิด’) ที่เขียนขึ้นมาเพื่อสรรเสริญความสันโดษ การเชื้อชวนให้มนุษย์เรากลับเข้าไปอยู่ร่วมกับธรรมชาติอีกครั้ง

เพราะเหตุใดมนุษย์จึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เพียงลำพัง

ฌ็อง-ฌาคส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) นักปรัชญาชาวสวิตเซอร์แลนด์ ผู้เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้แก่การปฏิวัติฝรั่งเศส 1789

สำหรับรุสโซแล้วการอยู่เพียงลำพังถือเป็นจุดเริ่มต้นและปลายทางของชีวิตมนุษย์ เพียงแต่เมื่อเขาเริ่มต้นเขียนบทแรกมันก็แสดงให้เห็นว่า ไม่มีความสงบใดๆ ในจิตใจเขานอกจากความอาฆาตมาดร้ายที่เขามีต่อโลกและโลกมีต่อเขาอย่างหาที่เปรียบมิได้

“ในตอนนี้ข้าพเจ้าอยู่เพียงลำพังบนโลกใบนี้ ไม่มีพี่น้อง เพื่อนบ้าน มิตรสหาย และสมาคมใดๆ นอกจากตัวข้าพเจ้าเอง มนุษย์ที่อัธยาศัยดีที่สุด น่ารักใคร่ที่สุดถูกขจัดออกออกไปจากคนทั้งหลาย พวกเขาพุ่งรบด้วยความเกลียดชังอันถูกกลั่นกรองแล้วจะทำร้ายจิตใจอันบอบบางของข้าพเจ้า ซึ่งพวกเขาได้กระชากดึงเชือกทุกเส้นที่ได้ขึงรั้งข้าพเจ้าเอาไว้กับพวกเขาจนปริขาด ข้าพเจ้ารักมนุษย์แม้จะพวกเขาจะเป็นเช่นนั้น พวกเขาไม่มีหนทางใดที่จะยับยั้งสกัดกั้นความอาทรที่ข้าพเจ้ามี แม้ตอนนี้พวกเขาจะเป็นสิ่งแปลกปลอม ไร้ตัวตน เพราะพวกเขาจักต้องเป็นเช่นนั้น แต่ข้าพเจ้าก็ถอนตัวออกมาจากพวกเขา จากทุกสิ่งอย่าง แล้วข้าพเจ้าจะกลายเป็นอะไรเล่า?”

การอ่านความหมายระหว่างบรรทัด ทำให้เราค้นพบว่า Reveries of the Solitary Walker เปรียบเหมือนการประกาศสงครามกับมวลมนุษย์ชาติ หรือ Rousseau V.S. Mankind ความสงบบนผิวหน้าของข้อเขียนนำไปสู่การรบพุ่งอย่างดุเดือดราวกับยุทธการป่าล้อมเมือง

ความยุ่งยากยอกย้อนของการมีชีวิตสันโดษจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าแบบแผนหรือวิธีปฏิบัติ แต่อาจอยู่ที่การมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวเราและคนอื่นๆ ซึ่งถึงที่สุดแล้ว เราไม่อาจอยู่เพียงลำพัง หรือเป็นดังเช่นที่อาเรนท์กล่าวไว้ว่า สุดท้ายแล้วการปลีกวิเวกอาจสร้างความโดดเดี่ยวขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในยามที่เขาไม่สามารถเชื่อมั่นหรือวางใจในมนุษย์คนอื่นๆ จนนำไปสู่ความชังมนุษย์ (misanthropy) หรือกลัวมนุษย์ (anthropophoby) ซึ่งรุสโซถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดกรณีหนึ่ง

เพราะเหตุใดมนุษย์จึงไม่สามารถดำรงชีวิตได้เพียงลำพัง

อริสโตเติ้ล นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของกรีกได้กล่าวไว้ว่า "มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Human being is social animal)" เพราะมนุษย์มีการอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเป็นหมวดหมู่ มิได้ใช้ชีวิตอยู่เพียงคนเดียวตามลำพังแต่อย่างใด เนื่องจากมนุษย์ต้องทำกิจกรรมร่วมกันอยู่ตลอดเวลา ต้องพึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน และแต่ละชีวิตต่างก็ต้องการที่จะเสริม ...

เพราะเหตุใด มนุษย์จึงต้องอยู่รวมกันเป็นสังคม (Social)

สาเหตุที่มนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมก็เพราะ 1. ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 2. เพื่อให้มีความเป็นทนุษย์ที่สมบูรณ์ (ด้วยการสร้างวัฒนธรรม) 3. เพื่อความอยู่รอดของมนุษย์

ลักษณะสําคัญของสังคมเป็นอย่างไร

ความสำคัญของสังคม มนุษย์จำเป็นต้องอยู่กันเป็นกลุ่ม มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์นั้นมิได้มีมาแต่ กำเนิด แต่เกิด จากการที่มนุษย์ได้เป็นสมาชิกของสังคม ทำให้มนุษย์เรียนรู้แบบแผนต่าง ๆ โดยเฉพาะัสังคม มนุษย์คือ ครอบครัว ความรู้จากแบบแผนมนุษย์ รุ่นก่อนจากสภาพแวดล้อมครอบครัว จากสถาบันที่ตนได้สัมผัส