วันสําคัญทางพระพุทธศาสนาต่างกับวันเทศกาลสําคัญอย่างไร

          เทศกาล สำคัญดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลออกพรรษา เทศกาลวันสารท หรือเทศกาลลอยกระทง เป็นเทศกาลที่สะท้อนให้เห็นหลักธรรมหรือคติธรรมทางพระ พุทธศาสนาหลายประการ เช่น ความอดทน ความเสียสละ ความสามัคคี ความกตัญญูกตเวที ความมีน้ำใจ ความเมตตากรุณา เป็นต้น

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7

ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ

1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี

2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

หลักธรรมที่เกี่ยวข้อง

พละ หรือ พละ 5 คือ กำลัง ห้า ประการได้แก่

1. ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย

2. วิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน

3. สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ

4. สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน

5. ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย

พละทั้งห้านี้ เป็นหลักธรรมที่ผู้เจริญวิปัสสนาพึงรู้ ศรัทธาต้องปรับให้สมดุลกับปัญญา วิริยะต้องปรับให้สมดุลกับสมาธิ ส่วนสติพึงเจริญให้มากเนื่องเป็นหลักที่มีสภาวะปรับสมดุลของจิตภายในตัวเองอยู่แล้ว เป็นหลักธรรมที่คู่กับอินทรีย์5 คือศรัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ โดยมีความเหมือนความแตกต่างและความเกี่ยวเนื่องคือ พละ5เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นแก่จิตในปัจจุบันที่ทำให้เกิดมีขึ้น ส่วนอินทรีย์คือพละ5ที่สะสมจนตกผลึก เหมือนกับนิสัย หรือสันดาน เช่นผู้มีสมาธิทรีย์มากก็อาจทำสมาธิได้ง่ายกว่าผู้มีน้อยกว่า ผู้มีปัญญินทรีย์มากก็มีปกติเป็นคนฉลาด พละ5อาจเกิดขึ้นได้ดีและสั่งสมเป็นอินทรีย์ได้ไวคือผู้ทีบวชรือประพฤติพรหมจรรย์ และผู้ปฏิบัติโมเนยยะปฏิบัติ

วันอัฏฐมีบูชา

ความสำคัญ

วันอัฏฐมีคือวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เป็นวันที่ชาวพุทธต้องมีความเสียใจและสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง จึงเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล

หลักธรรมที่เกี่ยวข้อง

ความหมายของสุจริต 3

สุจริต 3 แปลว่า ความประพฤติชอบ 3 ประการ ได้แก่

1. กายสุจริต ได้แก่ ความประพฤติชอบทางกาย มี 3 ประการ คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ และเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

2. วจีสุจริต ได้แก่ ความประพฤติชอบทางวาจา มี 4 ประการ คือ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบและเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3. มโนสุจริต ได้แก่ ความประพฤติชอบทางใจ มี 3 ประการ คือ ไม่โลภ ไม่พยาบาท และมีความเห็นถูกต้อง

คุณประโยชน์ของความสุจริต

1. พ้นจากความเดือดร้อน

2. มีแต่คนสรรเสริญ

3. มีความสุขทางโลก

4. มีความสุขทางธรรม 


วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชามีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ 3 ประการคือ

1. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย

2. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทา ในวันนั้น

3. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

หลักธรรมที่เกี่ยวข้อง

จักร 4 หลักธรรม 4 ประการที่นำบุคคลไปสู่ความเจริญประกอบด้วย
1.ปฏิรูปเทสวาสะ หมายถึง การอยู่ในประเทศอันเหมาะสม
2. สัปปุริสูปสังเสวะ หมายถึง การคบสัตบุรุษ การเข้าไปคบกับคนดี ผู้มีสัปปุริสธรรม7
3. อัตตสัมมาปณิธิ หมายถึง การตั้งตนไว้ชอบ ตั้งอยู่ในสุจริต 3 ได้แก่ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
4. ปุพเพกตปุญญตา หมายถึง ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ก่อน

วันธรรมสวนะ

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)

ความสำคัญของวันพระ

จากพุทธานุญาตให้มีตัวแทนสงฆ์รูปหนึ่งสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญาอันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยมีภิกษุผู้สวดทบทวน เมื่อสวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่าแสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นนี้สืบต่อๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ

1. เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวนและเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฏการณ์เด่นชัดเมื่อครั้งพุทธกาล คือเมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกันภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่า วันสามัคคีอุโบสถ

2. การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหายและทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ วันอุโบสถนั้น นอกเหนือจากเป็นวันสำคัญของทางคณะสงฆ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นวันประชุมฟังธรรมของเหล่าพุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้

หลักธรรมที่เกี่ยวข้อง

สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อตรูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้ เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

เทศกาลสำคัญ

เทศกาลสงกรานต์

หลักธรรมและคติธรรมที่เกี่ยวเนื่องในเทศกาลสงกรานต์

1.การทำพิธีบังสุกุลอัฐิบรรพบุรุษ สะท้อนให้เห็นถึงหลักธรรม เรื่องความกตัญญกตเวทีที่ลูกหลานมีต่อ บรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว

2. การรดน้ำญาติผู้ใหญ่และผู้ที่ตนเองนับถือ นอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงหลักธรรมเรื่องความกตัญญกตเวที ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเคารพและการมีสัมมาคารวะต่อกันอีกด้วย สังคมไทยถือว่าการรู้จักเคารพผู้ที่ควรเคารพนั้นเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่ง ผู้ที่รู้จักเคารพผู้ที่ควรเคารพ เรียกว่า เป็นคนมีสัมมาคารวะ ซึ่งคนประเภทนี้ย่อมได้รับความยกย่องนับถือ และย่อมประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

เทศกาลวันเข้าพรรษา

หลักธรรมที่เกี่ยวข้อง

ความอดทด หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม

ความเสียสละ หมายถึง ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน สามารถทำได้ 2 วิธี

คือ เสียสละวัตถุหรือสิ่งของ และเสียสละอารมณ์หรือกิเลสที่เป็นเหตุให้จิตใจเศร้าหมอง ความเสียสละเป็นหลักธรรมที่สำคัญข้อหนึ่งที่ช่วยให้เกิดความสงบสุขในสังคม

ความสามัคคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความรักใคร่ปรองดองกัน เป็นหลักธรรมสำคัญที่สามารถนำความสุขและความเจริญมาสู่หมู่คณะได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีคำกล่าวว่า สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี