แบบฝึกหัด คํา สรรพนาม ป. 4 พร้อม เฉลย

ทำแบบทดสอบเรื่อง คำสรรพนาม

๑.คำสรรพนามแบ่งออกเป็นกี่ชนิด

    ก. ๕ ชนิด

    ข. ๖ ชนิด

    ค. ๗ ชนิด

    ง. ๘ ชนิด

๒. สรรพนามที่ใช้แทนนามที่แบ่งเป็นส่วน ๆ เรียกว่า

    ก. อนิยมสรรพนาม

    ข. นิยมสรรพนาม

    ค. วิภาคสรรพนาม

    ง. ประพันธสรรพนาม

๓. คำสรรพนามที่ใช้เชื่อมข้อความเรียกว่าอะไร

    ก. วิภาคสรรพนาม

    ข. ประพันธสรรพนาม

    ค. ปฤจฉาสรรพนาม

    ง. นิยมสรรพนาม

๔. เขาชอบบ้านที่อยู่ในป่า คำว่า ที่ เป็นสรรพนามชนิดใด

    ก. วิภาคสรรพนาม

    ข. ประพันธสรรพนาม

    ค. ปฤจฉาสรรพนาม

    ง. นิยมสรรพนาม

๕. คำในข้อใด เป็นได้ทั้งสรรพนามบุรุษที่ ๒ และ ๓

    ก. ฉัน

    ข. ผม

    ค. คุณ

    ง. ท่าน

๖. ข้อใดมีปฤจฉาสรรพนามและสรรพนามบุรุษที่ ๑

    ก. วันนี้ฉันต้องไปไหน

    ข. ใครๆก็รักฉัน

    ค. เธอไม่เข้าใจอะไร

    ง. ผู้ใดจะไปกับฉันก็ได้

๗. ข้อใดมีสรรพนามบุรุษที่ ๒

    ก. ท่านไม่มาหาแม่

    ข. อาตมาจะแสดงธรรมที่นี่

    ค. อย่ามาหากระผมเลย

    ง. คุณแจ่มใสขึ้นมาก

๘. ข้อใดเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓

    ก. นี่เธอตัดผมใหม่อีกแล้วนะ

    ข. เธอจะไปกับเราไหม

    ค. เขาทำไมถึงได้มาช้านัก

    ง. เมื่อไรๆ แกไม่เคยเปลี่ยนเลยนะยายทราย

๙. นั่นมีราคาแพง นั่น เป็นคำสรรพนามชนิดใด

    ก. นิยมสรรพนาม

    ข. อนิยมสรรพนาม

    ค. ปฤจฉาสรรพนาม

    ง. ประพันธสรรพนาม

๑๐. อะไร ในข้อใดเป็นอนิยมสรรพนาม

    ก. อะไรตกลงมาบนหลังคา

    ข. เธอพูดอะไรฉันไม่ได้ยิน

    ค. อะไรคุณก็ไม่กินสักอย่าง

    ง. วันนี้เธอทำอาหารอะไร

๑๑. ข้อใดมีสรรพนามใช้ชี้ระยะ

    ก. โน่นเป็นวัดเก่า

    ข. ผมไม่รู้ว่าใครทำ

    ค. อะไรกัดตะกร้า

    ง. คุณมาหาใคร

๑๒. ข้อใดเป็นปฤจฉาสรรพนาม

    ก. อะไรๆก็สู้น้ำพริกไม่ได้

    ข. รถคันนี้เพิ่งประกอบเสร็จ

    ค. วันนี้ใครไม่รับประทานอาหาร

    ง. ใครๆก็ต้องตายทั้งนั้น

๑๓. ข้อใดเป็นสรรพนามไม่ชี้เฉพาะเจาะจง

    ก. ใครมากดออดที่ประตูบ้าน

    ข. อะไรๆก็ดูดีไปหมด

    ค. นั่นเธอมาแล้ว

    ง. เขาค่อยๆก้าวเข้ามาในห้อง

๑๔. ข้อใดเป็นสรรพนามที่ใช้ชี้ระยะ

    ก. โน่นเรือด่วนกำลังมาลิบๆ

    ข. คนที่สวมเสื้อสีขาวนั่นเป็นน้องของฉัน

    ค. ก๋วยจั๊บนี้เป็นของใคร

    ง. นกคุณยังไม่แต่งตัวอีกหรือ

๑๕. ข้อใดเป็นสรรพนามชี้ระยะ

    ก. กินนี่ให้หมด

    ข. ใครน่ะเห็นแต่ไกล

    ค. นั่นมาแต่เช้าเชียว

    ง. นักเรียนวิ่งเล่นกัน

๑๖. มัน ในข้อใดเป็นคำสรรพนาม

    ก. มันไม่อยู่ที่เดิม

    ข. เขาชอบกินมันเผา

    ค. คนอ้วนมีมันมาก

    ง. แหมกำลังคุยมันๆ

๑๗. เขาไม่ยอมรับประทานอะไรเลย คำว่า อะไร เป็นสรรพนามชนิดใด

    ก. วิภาคสรรพนาม

    ข. นิยมสรรพนาม

    ค. อนิยมสรรพนาม

    ง. ปฤจฉาสรรพนาม

๑๘. ใคร ในข้อใดเป็นอนิยมสรรพนาม

    ก. ใครจะไปกับฉันก็ได้

    ข. ใครล่ะบอกเธอ

    ค. ใครไม่ได้ส่งการบ้าน

    ง. เธอจะไปบ้านใคร

๑๙. ข้อใดมีสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค

    ก. ใครแต่งเรื่องรามเกียรติ์

    ข. น้ำฝนที่รองเอาไว้ใช้ดื่มไม่ได้

    ค. เธอทำอะไรอยู่

    ง. ข้อสอบวิชานี้ยากจริงๆ

๒๐. สรรพนามในข้อใดที่ทำหน้าที่เป็นกรรม

    ก. คุณอรพรรณเขาไม่ค่อยตรงเวลาเลย

    ข. หลวงปู่แหวนท่านไม่ใคร่ได้พักผ่อน

    ค. พระคุณเจ้าไปไหนมาคะ

    ง. คุณพ่อตีมันเสียงดังสนั่น

คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก เช่น คำว่าฉัน เรา ดิฉัน กระผม คุณ ท่าน ใต้เท้า เขา มัน สิ่งใด ผู้ใด นี่ นั่น ใคร

บุรุษสรรพนามเป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึง (บุคคลที่ 3) แบ่งเป็นชนิดย่อยได้ 3 ชนิด คือ สรรพนามบุรุษที่ 1 สรรพนามบุรุษที่ 2 และสรรพนามบุรุษที่ 3

คำสรรพนามป4มีอะไรบ้าง

๒. คำสรรพนาม คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามเมื่อไม่ต้องการกล่าวซ้ำ แบ่งเป็น ๓ ชนิด ดังนี้ - สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้แทนผู้พูด - สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้แทนผู้ฟัง - สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ถูกกล่าวถึง

คํากริยามีกี่ประเภท ป.4

คำกริยา (อ่านว่า กริ - ยา หรือ กะ - ริ - ยา) คือ คำที่ใช้บอกอาการ หรือบอกสภาพของคน สัตว์ พืช และสิ่งของ คำกริยามีทั้งหมด ๕ ชนิด ได้แก่ อกรรมกริยา สกรรมกริยา วิกตรรถกริยา กริยานุเคราะห์ และกริยาสภาวมาลา โดยในระดับชั้น ป.๔ น้อง ๆ จะได้ศึกษา ๒ ชนิดก่อน นั่นคือ "อกรรมกริยา และสกรรมกริยา" ค่ะ

คําสรรพนาม ป.6 มีกี่ประเภท

คำสรรพนาม.
บุรุษสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้เรียกบุคคล แบ่งได้ ๓ ลักษณะ ได้แก่ ... .
ปฤจฉาสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แสดงคำถาม มักใช้คำว่า ใคร อะไร ที่ไหน.
วิภาคสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้ชี้ซ้ำหรือแยกส่วนคำนามที่อยู่ด้านหน้า มักใช้คำว่า ต่าง บ้าง กัน.

คำ7ชนิดมีอะไรบ้าง

ชนิดของคำ.
คำนาม.
คำสรรพนาม.
คำกริยา.
คำวิเศษณ์.
คำบุพบท.
คำสันธาน.
คำอุทาน.