ลูก 3 ขวบ ท้องผูก ทํา อย่างไร ดี

ผลข้างเคียงของยา เช่น ในกลุ่มยาที่มีส่วนผสมของนํ้ามัน ถ้าเป็นเด็กที่กินยายาก หากเกิดการสำลักทำให้น้ำมันเข้าไปในปอด อาจเกิดอาการปอดอักเสบซึ่งจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ แทนที่จะรักษาแค่อาการท้องผูกซึ่งยากอยู่แล้วกลับต้องมารักษาเรื่องปอดอักเสบเสียอีกด้วย ดั้งนั้นจึงห้ามใช้ยานี้ในเด็กที่อายุตํ่ากว่า 3 ขวบ หรือยาในกลุ่มมิลค์ออฟแมกนีเซีย หากใช้มากเกินไป ไตขับถ่ายไม่ทันจนเกิดการสะสมแมกนีเซียมในร่างกาย หรือยาแลคตูโลสที่หวานทำให้เด็กกินอร่อย กินง่าย แต่ถ้าหากกินต่อเนื่องนาน 2-3 อาทิตย์ ก็จะทำให้เกิดลมท้องอืด เพราะยากลุ่มนี้ถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียในลำไส้ให้กลายเป็นสารที่ดึงนํ้าเข้ามาละลายอุจจาระ เกิดเป็นแก๊สไฮโดรเจนจำนวนมาก และขับถ่ายอุจจาระเหลวออกมา

การใช้ยาสวนหรือยาระบายเป็นการแก้ไขปัญหาและการรักษาที่ปลายเหตุ อยากให้คุณพ่อคุณแม่หมั่นสังเกตและฝึกพฤติกรรมการขับถ่ายที่ถูกวิธีเพื่อให้ลูกน้อยมีสุขอนามัยที่ดีโดย

1. คลำท้องบริเวณด้านซ้ายเหนือกระดูกเชิงกราน ว่ามีอุจจาระค้างในลำไส้หรือไม่หากคลำได้เป็นก้อนลักษณะกลมหรือแท่ง เคลื่อนได้ตามมือเรา ถ้าพบลักษณะแบบนี้แปลว่าเด็กเกิดการอั้นสะสมมานาน จนทำให้อุจจาระมาค้างอยู่ตรงลำไส้ส่วนบนได้ จะต้องช่วยทำให้เด็กขับถ่ายให้เกลี้ยง

2. สังเกตดูก้นของลูกว่ามีแผลหรือติ่งอะไรไหมเด็กเจ็บก้นหรือเปล่า ถ้ามีแผลต้องใช้ยาทาก้นยาฆ่าเชื้อ สำหรับเด็กหรือใช้วาสลีนทาก้น เพื่อช่วยให้เด็กขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

3. ฝึกให้ลูกเข้าห้องนํ้า นั่งในท่าที่ถูกต้อง คือ เท้าเหยียบเต็มพื้น ก้นแตะบนชักโครกที่มีขนาดพอดีกับขนาดก้นของเด็ก ระดับเข่าสูงกว่าสะโพก ให้นั่งเอนมาข้างหน้าเล็กน้อย การนั่งลักษณะแบบนี้จะเป็นท่าที่ทำให้ลำไส้ตั้งตรงกับรูทวาร ทำให้อุจจาระไหลลงมาได้ดี ถ้าเป็นที่โรงพยาบาลสมิติเวชจะมีห้องนํ้าสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพื่อฝึกการขับถ่ายแต่ถ้าเป็นที่บ้านคุณพ่อคุณแม่ควรซื้อฝารองชักโครกสำหรับเด็ก และถ้าหากเท้าลอย ก็จะต้องหาเก้าอี้มารองเพื่อให้เท้าเหยียบเต็มพื้น ไม่แกว่งไปแกว่งมา เวลาที่เหมาะจะฝึกให้ลูกเข้าห้องนํ้าคือหลังมื้ออาหารเช้าประมาณ 15 นาทีหรือครึ่งชั่วโมง เพราะเมื่อเราทานข้าวเข้าไปจะมีรีเฟลกซ์ไปที่ลำไส้ทำให้อยากถ่าย และในช่วงเช้าเป็นช่วงจังหวะที่ลำไส้บิดตัวแรงทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

4. อย่ากดดันเด็กจนเกินไป เพื่อช่วยป้องกันปัญหาเด็กกลัวห้องนํ้า (ToiletPhobia) คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามฝึก แต่ต้องไม่คาดคั้นว่าลูกจะต้องนั่งชักโครกให้ได้ ต้องอึให้ได้เดี๋ยวนี้วันนี้ เราต้องช่วยให้ลูกผ่อนคลาย ลองฝึกลองนั่งหลังอาหารทุกมื้อ ครั้งนี้ยังอึไม่ออกแต่แค่ผายลมก็ยังดี การฝึกเด็กไม่ใช่จะทำได้ภายในแค่วันสองวัน ส่วนใหญ่ใช้เวลา 1-3 เดือน บางครั้งถึง 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทนและใจเย็นๆ นะคะ

#ลูกมีปัญหาท้องผูก ทำอย่างไรดี "ลูกอายุเกือบ 2 ขวบแล้วและมีปัญหาท้องผูกมากมาตั้งแต่ขวบนิดๆ...

Posted by สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ on Sunday, December 8, 2013

- อาจมีอาการปวดบริเวณทวารหนัก หรือบางครั้งมีเลือดปนออกมาด้วยนําไปสู่ภาวะแทรกซ้อน ทําให้มีบาดแผลที่ทวารหนัก เมื่อเด็กเจ็บเวลาถ่าย เด็กจะกลั้นอุจจาระมากขึ้น

ปกติเด็กถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน

ความถี่ในการถ่ายอุจจาระของเด็กปกติจะแปรเปลี่ยนไปตามอายุ

- เด็กแรกเกิดอาจถ่ายมากกว่า 4 ครั้ง ใน 1 วัน เด็กที่กินนมแม่ อุจจาระจะมีลักษณะนิ่ม เละ สีเหลืองทอง ถ้ากินนมผสมจะถ่ายเป็นลํายาวนิ่มสีเขียวเทาๆ

- อายุ 4 เดือน อาจลดลงมาเหลือ 2 ครั้ง ใน 1 วัน

- เด็กอายุ 4 ขวบขึ้นไป อาจถ่ายวันละ 1 ครั้ง

แนวทางปฏิบัติเพื่อลดอาการท้องผูกในเด็ก

1. กระตุ้นให้เด็กรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยมากขึ้น เช่น มะละกอ กล้วย ส้ม เพราะใยอาหารจะช่วยเพิ่มกากอาหาร หรือปริมาณเนื้ออุจจาระและอุ้มน้ํา ทําให้อุจจาระอ่อนตัวขับถ่ายได้สะดวกขึ้น รวมทั้งดื่มน้ําอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน

2. ฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน โดยฝึกการรับประทานอาหารเมื่อท้องอิ่มจะกระตุ้นลําไส้ให้อยากถ่ายอุจจาระตามธรรมชาติ สําหรับเด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป ควรฝึกนั่งกระโถนหรือชักโครก โดยให้เท้าวางกับพื้นได้อย่างมั่นคง ผู้ปกครองควรจะอยู่ใกล้ๆ ไม่ควรดุ หรือทําโทษ เพราะจะทําให้เด็กเครียด มีความรู้สึกไม่ดีกับการขับถ่าย ให้คําชมเมื่อเด็กปฏิบัติได้ดีทุกครั้งที่รู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ ให้ถ่ายทุกครั้ง ไม่ควรกลั้นอุจจาระไว้

3. ใช้ยาระบายในกรณีที่การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการฝึกขับถ่ายไม่ได้ผล ซึ่งการใช้ยาดังกล่าวนี้จะต้องได้รับคําแนะจากแพทย์เท่านั้น

อาหารสําหรับเด็กเล็ก คือ ให้นมตามปกติ สําหรับทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไปควรผสมผักสับตุ๋นในข้าวบดละเอียด และควรเพิ่มน้ําผลไม้ โดยใช้น้ําลูกพรุนสกัดเจือจางด้วยน้ําต้มสุกอย่างละเท่าๆ กัน ค่อยๆ ป้อนทีละน้อยเริ่มจาก 15-20 ซีซี วันละครั้ง และเพิ่มปริมาณได้ตามต้องการหากขับถ่ายผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที.

ท้องผูกในเด็ก ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง เป็นเพียงอาการหนึ่งซึ่งเกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ พบว่า 95% ของอาการท้องผูกในเด็กเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและนิสัยในการขับถ่าย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีอาหารฟาสต์ฟู้ดมากมาย ทำให้เด็กรับประทานผักและผลไม้น้อยลง ร่วมกับดื่มน้ำน้อย ทำให้อุจจาระแข็ง ถ่ายแล้วเจ็บ เมื่อเจ็บก็ทำให้เด็กกลัวการขับถ่าย จึงกลั้นอุจจาระ ซึ่งถ้ากลั้นอุจจาระจนเป็นนิสัย อุจจาระอยู่ในร่างกายนานๆ ก็จะแข็งขึ้น ก้อนใหญ่ขึ้น จึงเกิดอาการท้องผูกตามมาในที่สุด

เด็กที่มีอาการท้องผูกมักมีอาการปวดท้องเป็นอาการนำ ซึ่งถ้าเป็นมากๆ ก็อาจทำให้มีอาการปวดท้องเหมือนเป็นโรคอื่นได้ เช่น เด็กบางรายที่มีอาการท้องผูกมากๆ อาจมีอาการปวดท้องมากจนเดินตัวงอเหมือนเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ดังนั้นเมื่อลูกบอกว่าปวดท้อง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่าลูกมีอาการอื่น เช่น มีไข้ ซึ่งแสดงถึงภาวะติดเชื้อร่วมด้วยหรือไม่ เพราะโดยทั่วไปแล้วอาการปวดท้องจากท้องผูกมักไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เมื่อได้ถ่ายก็จะหายปวดได้เอง

สำหรับเด็กที่มีอาการท้องผูกมากๆ มาเป็นเวลานานและปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิดผลต่อสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจและอารมณ์ได้ คือ

  • ผลต่อพัฒนาการของร่างกาย เมื่อเด็กท้องผูกมากจะรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ อาจส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักตัวน้อย ตัวเล็ก และขาดสารอาหารได้
  • ผลทางด้านจิตใจและอารมณ์ ในเด็กบางรายที่ท้องผูกมานาน อาจมีอุจจาระเล็ดออกมาภายนอก ทำให้เปื้อนติดกางเกงและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งอาจทำให้เด็กรู้สึกอายเพื่อนและรู้สึกมีปมด้อย หรือในกรณีของเด็กบางรายที่มีอาการปวดท้องแต่ไม่สามารถอธิบายอาการที่เป็นได้และคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่เข้าใจ ก็อาจทำให้เด็กเกิดปัญหาทางอารมณ์ กลายเป็นเด็กหงุดหงิด ก้าวร้าวได้

ดังนั้น หากเด็กมีอาการท้องผูกมานานหรือปวดท้องไม่หาย คุณพ่อคุณแม่ควรพามาพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติการรับประทานอาหาร ในกรณีที่จำเป็นอาจต้องทำการเอกซเรย์หรืออัลตราซาวนด์ร่วมด้วย เมื่อวินิจฉัยได้แน่ชัดแล้วว่าเป็นท้องผูก ก็อาจทำการสวนอุจจาระและแนะนำการปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน สำหรับรายที่มีอาการรุนแรงจนถึงจุดที่การปรับเปลี่ยนอาหารไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ แพทย์อาจต้องให้ยาเพื่อทำให้อุจจาระนิ่มลง ซึ่งจะช่วยให้เด็กไม่มีความเจ็บปวดเวลาถ่าย หายกลัว และสามารถถ่ายแบบธรรมชาติได้ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยลดยาลง ทั้งนี้การรับประทานยาจำเป็นต้องทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการรับประทานอาหารและการฝึกขับถ่ายให้ตรงเวลาด้วย

อย่างไรก็ดี การป้องกันไม่ให้ลูกท้องผูกก็ยังคงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด สามารถเริ่มได้จากการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งควรจะเริ่มตั้งแต่ลูกยังเล็ก คือ ในช่วงอายุก่อน 1 ขวบ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ดังนี้

  • เสริมผักและผลไม้ให้กับลูก ด้วยการทำซุปผักและน้ำผลไม้ให้ลูกรับประทาน ซึ่งจะช่วยให้ลูกขับถ่ายง่าย และยังเป็นผลดีให้การฝึกขับถ่ายทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกให้ลูกได้ชิมรสชาติและคุ้นเคยกับกลิ่นรสของผักและผลไม้ ไม่ต่อต้านการรับประทานอาหารเหล่านี้เมื่อโตขึ้น
  • ฝึกการขับถ่ายของลูกให้เป็นเวลา โดยสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ในช่วง 2 ขวบปีแรก แต่การฝึกควรทำเมื่อลูกพร้อม ให้ลองสังเกตว่าลูกมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายหรือไม่ เช่น อุจจาระแข็ง ชอบกลั้นอุจจาระ ชอบหนีไปซ่อนหรือร้องไห้ หากมีปัญหาเหล่านี้ ให้คุณพ่อคุณแม่ลองปรับเปลี่ยนอาหารที่ให้ลูกรับประทานก่อน โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้อุจจาระแข็ง เช่น ข้าวกล้อง กล้วย ช็อกโกแลต ชีส เมื่อลูกถ่ายได้ดีแล้วและไม่ต่อต้าน จึงค่อยเริ่มฝึกการขับถ่ายให้กับลูกต่อไป

เรียบเรียงโดย นพ.มิ่งเมือง วรวัฒนะกุล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

กินอะไรทำให้อุจจาระนิ่ม

7 อาหารจากธรรมชาติ แก้ท้องผูกได้ทันใจ ไม่ต้องพึ่งยาระบายหรืออาหาร....
1. แอปเปิ้ล ... .
2. ถั่ว ... .
3. โยเกิร์ต ... .
4. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ... .
5. ขนมปังโฮลวีต ... .
6. บร็อกโคลี ... .
7. เมล็ดเจีย.

ลูกถ่ายวันละ3

ลูกถ่ายเหลวแบบไหนควรปรึกษาแพทย์ 1. ถ่ายอุจจาระบ่อยและมีลักษณะเหลวเป็นน้ำ ตั้งแต่ 3 ครั้งใน 1 วัน 2. ถ่ายเหลวมีมูกเลือดปนอย่างน้อย 1 ครั้ง 3. มีอาการอาเจียนบ่อย กินผงเกลือแร่โอร์อาร์เอสไม่ได้

ไม่ถ่ายกี่วันถึงเรียกว่าท้องผูก

หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่าท้องผูกหมายถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่จริงๆ แล้วอาการท้องผูกไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการขับถ่าย ตราบใดที่คุณสามารถถ่ายได้อย่างสบายๆ ไร้กังวล ไม่ต้องเบ่ง อุจจาระนิ่มจับตัวเป็นก้อนดี แม้ 2-3 วันจะถ่ายสักครั้งก็ไม่ถือว่าผิดปกติ