Etching ใช้กับกรรมวิธีการพิมพ์ภาพชนิดใด

จากที่ได้เล่าไปแล้ว 2 แบบด้วยกัน คือ ภาพพิมพ์แกะไม้ และภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (เทคนิค”ภาพพิมพ์”ที่คนไม่ค่อยรู้จัก แต่ใกล้ตัวกว่าที่คิด : แกะไม้ ซิลค์สกรีน)  ซึ่งมีความใกล้ตัว คุ้นหู และสามารถทำได้ง่าย  แต่อีก 2 เทคนิคที่กำลังจะพูดถึงนั้นยากขึ้น  อันตรายขึ้น (เพราะมีกรดเข้ามาเกี่ยวข้อง)  และทำเองยากมาก ต้องใช้เครื่องพิมพ์ และต้องเรียนรู้ก่อน  แต่ก็เป็นอีกเทคนิคที่ศิลปินนิยมนำมาทำงานศิลปะเพราะได้ชิ้นงานออกมาคุ้มค่ากับกระบวนการนั่นเอง

Lithograph หรือ ภาพพิมพ์หิน

ความจริงแล้วมันก็ตรงตัวคือ ใช้หินปูนเป็นแม่พิมพ์ (เป็นแผ่นหินหนาๆ) แต่ปัจจุบันน้อยลงมาก อาจจะเพราะแผ่นหินปูนดูแลยาก สามารถแตกหักได้ ไม่ค่อยสะดวกในการใช้  จึงมีการนำแผ่นอลูมิเนียมบางๆ มาพัฒนาเป็นแม่พิมพ์แทน  ซึ่งวิธีการทำภาพพิมพ์หินนี้เริ่มยากขึ้นแล้วเพราะมีการใช้กรดเข้ามาเกี่ยวข้อง  ถ้าจะให้เล่าวิธีการทำก็ต้องขอเวลากันสักอาทิตย์นึงเพราะยุ่งยากจริงๆ

Etching ใช้กับกรรมวิธีการพิมพ์ภาพชนิดใด
แม่พิมพ์หินปูน

ความยากและท้าทายของมันคือ การจะทำงานออกมาได้ดี มันต้องขึ้นอยู่กับทุกปัจจัยในกระบวนการ  แม่พิมพ์ต้องดี ดินสอที่เขียนก็ต้องดี  ต้องวาดลงน้ำหนักให้ได้พอดี  ต้องกะปริมาณกรดให้พอดี (ถ้าจริงจังหน่อยก็จะมีการทดลองก่อนว่าควรใช้กรดเท่าไหน แล้วบันทึกไว้) เรียกได้ว่าเยอะ แต่เนื้องานที่ออกมาจะตรงกับที่เราต้องการได้มากที่สุด  ถ้าทำพังก็อย่าไปเครียดกับมันมาก ถือว่าเป็นสีสันและประสบการณ์กันไป

ข้อเสียของมันก็คือเมื่อเราทำแม่พิมพ์ออกมาแล้ว ต้องพยายามพิมพ์รวดเดียวให้จบไปเลย อย่างเช่นอยากได้งานสัก 20 ชิ้น ก็พิมพ์ 20 ชิ้นรวดเดียวไปเลย เพราะแม่พิมพ์ที่ทำออกมาดูแลยาก ถ้าเก็บแล้วนำกลับมาพิมพ์อีกครั้งคุณภาพก็จะไม่เท่าครั้งแรก แต่ความท้าทายของมันก็คือต้องมานั่งลุ้นทุกครั้งที่พิมพ์นี่แหละ ว่าจะพังไม่พัง ฮ่าๆ

Etching ใช้กับกรรมวิธีการพิมพ์ภาพชนิดใด

Lion Devouring a Horse (1844) – Eugène Delacroix  ตัวอย่างภาพพิมพ์หินแบบเขียนด้วยดินสอไข จะคล้ายๆ การดรออิ้งด้วยดินสอ

Etching ใช้กับกรรมวิธีการพิมพ์ภาพชนิดใด

F. Champenois Imprimeur-Éditeur (1897) – Alphonse Mucha  ตัวอย่างงานภาพพิมพ์หินแบบพิมพ์หลายสี

ไปลองดูวิธีทำภาพพิมพ์หินเล่นๆ กันดีกว่า

นาทีที่ 1.05  ยกตัวอย่างเวลาเขียนเพลท (ใช้ดินสอไขเขียน)  โดยพยายามอย่าให้มือโดนเพลท เพราะว่าจะทำให้เปื้อนและตอนพิมพ์ก็จะติดไปด้วย

นาทีที่ 2.15  เป็นการสาธิตวิธีพิมพ์  ที่ต้องพิถีพิถันมาก เพราะพังไม่พังก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้

เกร็ดความรู้เล็กๆ : กรดที่ใช้ในภาพพิมพ์หินคือกรดฟอสฟอริก

Etching หรือ ภาพพิมพ์โลหะ

เป็นเทคนิคที่ยาก ซับซ้อน  และยังคงมีกรดเข้ามาเกี่ยวข้อง หลักการของมันก็คือ ใช้กรดกัดส่วนที่เราต้องการให้เป็นร่อง (กัดลึกไม่ลึกขึ้นอยู่กับระยะเวลาและปริมาณกรด)  หากต้องการพิมพ์ก็อัดหมึกลงไป และเข้าเครื่องพิมพ์ ฟังดูยากไปหมด  แต่ข้อดีของมันก็คือ เมื่อเราทำแม่พิมพ์เสร็จแล้ว ถ้าดูแลรักษาดีๆ ก็สามารถใช้พิมพ์เท่าไรก็ได้ตามที่ต้องการ  เพราะส่วนใหญ่จะใช้แผ่นทองแดงเป็นแม่พิมพ์ ที่ราคาค่อนข้างสูงแต่ทนทานพอสมควร  งานที่ได้ออกมาจะแม่นยำกว่าภาพพิมพ์หิน

มาดูตัวอย่างการทำภาพพิมพ์โลหะเล่นๆ กัน

Etching ใช้กับกรรมวิธีการพิมพ์ภาพชนิดใด
ภาพจาก flickr.com

ตัวอย่างงานภาพพิมพ์โลหะแบบสีเดียว  สังเกตว่าลักษณะเส้นจะคมๆ เหมือนการดรออิ้งด้วยปากกา

Etching ใช้กับกรรมวิธีการพิมพ์ภาพชนิดใด
ภาพจาก wikimedia

ตัวอย่างภาพพิมพ์โลหะแบบหลายสี  หากจะพิมพ์หลายสีก็ต้องทำแม่พิมพ์หลายอัน เพราะเทคนิคนี้จำเป็นต้องพิมพ์ครั้งเดียวให้จบ (เนื่องจากกระดาษที่ใช้พิมพ์ต้องแช่น้ำก่อน ถ้าพิมพ์ไม่จบแล้วแช่น้ำอีกรอบ จะพิมพ์ไม่ตรงที่เดิมแน่ๆ จ้า)

เกร็ดความรู้เล็กๆ  : การพิมพ์ธนบัตร หรือแบงค์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็ใช้เทคนิคภาพพิมพ์โลหะ นั่นคือแกะส่วนที่ต้องการให้เป็นร่องลงไป เมื่อถึงเวลาพิมพ์ ก็อัดหมึกลงไปในช่อง  และมาพิมพ์ลงธนบัตรอีกที  เป็นสาเหตุที่ทำไมเวลาเราลูบๆ ไปที่ธนบัตรแล้วรู้สึกนูนๆ  (เพราะหมึกที่เคยอยู่ในร่องโลหะย้ายมาอยู่บนธนบัตรแทนนั่นแหละ)

ถ้าจะอธิบายสองเทคนิคนี้ให้เข้าใจจริงๆ คงยากมากๆ เพราะปกติแล้วใช้เวลาเรียนกันนานพอสมควรกว่าจะได้ผลงานที่ดีออกมาได้  แต่ถ้าใครอยากดูภาพผลงานเพิ่มเติม หากลองไปศึกษาดูก็จะจับสไตล์ และเสน่ห์ของงานภาพพิมพ์ได้ไม่ยาก

ประเภทของการพิมพ์

1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
1.1 ศิลปภาพพิมพ์ ( GRAPHIC ART ) เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็น งานวิจิตรศิลป์
1.2 ออกแบบภาพพิมพ์ ( GRAPHIC DESIGN ) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอก เหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรต่างๆ ภาพโฆษณา ปฏิทิน ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์

2. แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
2.1 ภาพพิมพ์ต้นแบบ ( ORIGINAL PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธี การพิมพ์ที่ถูก สร้างสรรค์และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน และเจ้าของผลงาน จะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น บอกลำดับที่ในการพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ และ วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ด้วย
2.2 ภาพพิมพ์จำลองแบบ ( REPRODUCTIVE PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์ หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

3. แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ 
3.1 ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะ เหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
3.2 ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะ ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม

4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ 
4.1 แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ
4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร
4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT )
4.4 แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

Leave a comment