พอลิเมอร์ ในชีวิตประจําวัน

IS:พอลิเมอร์ในชีวิตประจำวันและสมบัติของพิเมอร์

ตั้งกระทู้ใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่


ผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์
                รศ.ดร.นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์ (2551:148) กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ประกอบด้วย พลาสติก ยาง เส้นใย ซิลิโคน และอีกมากมาย
                รศ.ดร.สมพงศ์ จันทร์โพธิ์ศรี (2552:373) พอลิเมอร์เป็นสารผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย พลาสติก ยาง เส้นใย เป็นต้น
                นาย สำราญ พฤกษ์สุวรรณ (2549:772) กล่าวว่า พอลิเมอร์มีผลิตภัณฑ์มากมาย ได้แก่ พลาสติก ยาง
เส้นใย ซิลิโคน เป็นต้น
                รศ.เทพจำนง แสงสุนทร (2541:384) กล่าวว่า พอลิเมอร์ในชีวิตประจำวันมีหลากหลาย ตัวอย่างเช่น พลาสติก ยาง ซิลิโคน เป็นต้น
                นาย วินัย วิทยาลัย (2543:382) กล่าวว่า ตัวอย่างผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ เช่น พลาสติก ยาง เส้นใย และอีกมากมาย
                จากความคิดเห็นของนักการศึกษาดังกล่าวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของพอลิเมอร์จะสรุป ได้ว่า ผลิตภัณฑ์ของพอลิเมอร์มีมากมาย เช่น พลาสติก ยาง เส้นใย เป็นต้น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พลาสติก
รศ.ดร.นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์ (2551:148) กล่าวว่า มาจากภาษากรีก แปลว่า สามารถนำไปหลอมได้ พลาสติกเป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ มวลโมเลกุลมาก โดยแบ่งเป็นสมบัติได้
1.เทอร์มอพลาสติก เป็นพลาสติกอ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อน สามารถทำให้กลับหรือเปลี่ยนรูปได้ โดยมีโครงสร้างเป็นสายโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่น้อย เช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน
2.พลาสติกเทอร์มอเซต เป็นพลาสติกที่คงรูปแล้วหลังผ่านความร้อนหรือแรงอัดเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นตัวจะแข็งมาก โดยจะไม่อ่อนตัวและไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง โดยมีโมเลกุล เชื่อมโยงกันเป็นร่างแห อัดแน่น ไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ เช่น เมลามีน พอลิยูรีเทน เป็นต้น
รศ.ดร.สมพงศ์ จันทร์โพธิ์ศรี (2552:374) กล่าวว่า พลาสติกเป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่ปรับให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.เทอร์มอพลาสติก จะมีโครงสร้างแบบเส้นหรือแบบกิ่ง เมื่อรับความร้อนจะอ่อนตัวหรือแข็งตัวเมื่อเย็น สามารถเปลี่ยนรูปทรงได้ โดยสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง เช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน เป็นต้น
2.พลาสติก เทอร์มอเซต มีโครงสร้างแบบร่างแห ทนต่อความร้อนและความดัน ไม่สามารถนำกลับมาขึ้นรูปใหม่ได้ เช่น พอลิยูเรีย พอลิเมลามีน เป็นต้น
นาย สำราญ พฤกษ์สุวรรณ (2549:372) กล่าวว่า พลาสติกเป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์จากมอนอเมอร์ของสารประกอบโอเลฟิน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.เทอร์ มอพลาสติก เป็นพลาสติกที่มีการอ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อน อุณภูมิลดลงจะแข็งตัว แต่สมบัติจะยังคงเดิม มีโครงสร้างเป็นแบบเส้นหรือแบบกิ่ง และแบบเชื่อมโยง ตัวอย่างเช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน เป็นต้น
2.พลาสติกเทอร์มอเซต เป็นพลาสติกคงรูปหลังผ่านความร้อนสูง จะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไม่ได้ มีโครงสร้างแบบเชื่อมโยงข้ามเป็นส่วนใหญ่
รศ.เทพจำนง แสงสุนทร (2541:384) กล่าวว่า พลาสติกเป็นสารสังเคราะห์ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.เทอร์ มอพลาสติก เป็นพลาสติกที่มีการอ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อน อุณภูมิลดลงจะแข็งตัว มีโครงสร้างเป็นแบบเส้นหรือแบบกิ่ง ตัวอย่างเช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน เป็นต้น
 
2.พลาสติกเทอร์มอเซต คือ พลาสติกที่ไม่อ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อน แต่ถ้าความร้อนสูงจะแตกตัวไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก โดยเป็นพอลิเมอร์แบบตาข่าย ตัวอย่างเช่น พอลิยูเรียฟอมาดีไฮด์ พอลิเมลามีนฟอมาดีไฮด์ พอลิยูรีเทน อีเอกซ์ เป็นต้น
นาย วินัย วิทยาลัย (2543:383) กล่าวว่า พลาสติกเป็นสารจำเป็นในชีวิตประจำวันโดยจะมีสมบัติตามโครงสร้างตามการเชื่อม ต่อมอนอเมอร์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.เทอร์มอพลาสติก จะมีโครงสร้างแบบยาวหรือแบบกิ่งโดยอ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อน แข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดลง เช่น พอลิเอทิลีน พลลิโพรพิลีน เป็นต้น
2.พลาสติก เทอร์มอเซต จะมีโครงสร้างแบบต่าข่ายหรือแบบร่างแห เมื่อขึ้นรูปจะแข็งมาก ไม่สามารถคืนรูปได้ เช่น ฟีนอลมาลดีไฮ พอลิยูเรทีน เป็นต้น
จากความคิดเห็นของนักการศึกษาเกี่ยวกับพอลิเมอร์ พอจะสรุปได้ว่าพลาสติกเป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.เทอร์ มอพลาสติก เป็นพลาสติกที่อ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อนและแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดลง โครงสร้างเป็นแบบเส้นหรือแบบกิ่ง สามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรงได้ โดยมีสมบัติเหมือนเดิม เช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน เป็นต้น
2.พลาสติก เทอร์มอเซต เป็นพลาสติกที่คงรูปหลังได้รับความร้อนหรือแรงอัด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ มีโครงสร้างแบบร่างแหหรือแบบตาข่าย เช่น พอลิยูรีเทน พอลิเมลามีน อีพอกซี เป็นต้น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยาง
                รศ.ดร.นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์ (2551:152) กล่าวว่า ยางมี 2 ประเภท คือ
1.ยาง ธรรมชาติ ซึ่งได้จากน้ำยาง เป็นสารประกอบคอลลอยด์  มีชื่อสามัญว่า ไอโซปรีน ดังนั้นยางธรรมชาติ คือ พอลิไอไซปริน โดยอาจมีโครงสร้างแบบชีสคือหมู่ CH3 และ H หรือ โครงสร้างแบบทราน คือยางที่ได้จากต้นยางลัตตา ต้นยางบาราทา ต้นยางชัคเคิล
2.ยาง สังเคราะห์ โดยพอลิบิวทาไดอีน เป็นยางสังเคราะห์ชนิดแรกในโลก โดยผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชัน และต่อมาในสมัยสงครามโลก มีการผลิตยางเอสบีอาร์ ซึ่งทนต่อกันปัดถู ลัเกิดปฎิกิริยากับ O2 มากกว่ายางธรรมชาติ แต่มีความยืดหยุ่นต่ำ แต่ปัจจุบันเป็นที่นิยม
รศ.ดร.สมพงศ์ จันทร์โพธิ์ศรี (2552:378) กล่าวว่า
1.ยาง ธรรมชาติเป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากต้นยางเรียกว่า พอลิไอโซปรีน เกิดจากมอนอเมอร์ที่มีชือว่า ไอโซปรีน ซึ่งยางธรรมชาติมีสมบัติทนต่อการขัดถู แรงดึง ยืดหยุ่นดี แต่มีข้อด้อยที่แข็งและเปราะไม่ทนต่อน้ำมันเบลซิน ดังนั้นหากจะนำไปใช้ต้องผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชัน
2.ยางสังเคราะห์ เป็นยางที่มีสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อทดแทนยางธรรมชาติ เช่น พอลิบิวตาไดอีน ยางเอสบีอาร์ ยางเอบีเอส เป็นต้น
นาย สำราญ พฤกษ์สุวรรณ (2549:375) กล่าวว่า ยางแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ ยางธรรมชาติ และยางสังเคราะห์
1.ยาง ธรรมชาติ คือยางพารา หรือ พอลิไอไซปรีน มีมอนอเมอร์เป็นไอโซปรีน สมบัติของยางพารา คือ ต้านทานแรงดึงสูง ทนต่อการขัดถู เป็นฉนวนที่ดีมาก แต่ไม่ทนต่อน้ำมันละตัวทำละลายอินทรีย์ จึงต้องนำมาปรับปรุงโดยผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชัน ทำให้สายโซ่ไม่หลุดออกจากกันง่าย จึงทนต่อตัวทำละลาย ความร้อน และ แสง
2.ยางสังเคราะห์ เป็นยางที่มีความทนทานต่อน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ มีความแข็งและยืดหยุ่นน้อยกว่ายางธรรมชาติ ได้แก่ ยาง IR,SBR,BR,PR
รศ.เทพ จำนง แสงสุนทร (2541:387) กล่าวว่า ยางคือสารที่มีสมบัติยืดหยุ่น ทำให้เป็นก๊าซต่างๆได้ ยางทุกชนิดเป็นพอลิเมอร์ ได้แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.ยาง ธรรมชาติ ซึ่งได้จากต้นยางพารา เป็นพอลิเมอร์ของไอโซปรีน ที่มีมอนอเมอร์เชื่อมต่อกัน นอกจากนั้นยังมีโครงสร้างแบบพอลิไอโซปรีนแบบแทรนด้วย เช่น ยางกัตตา ยางบาราทา ยางชัคเคิล ซึ่งมีสมบัติยืดหยุ่น เพราะโครงสร้างลักษณะมันงอ ทนต่อการขัดถู ทนน้ำ แต่ไม่ทนต่อน้ำมันเบนซิน และตัวทำละลายอินทรีย์
2.ยาง สังเคราะห์ คือยางที่สังเคราะห์ขึ้นมาแทนยางธรรมชาติ เช่น พอลิบิวตะไดอีน เป็นยางสังเคราะห์ชนิดแรกที่ใช้ผลิตในเยอรมัน,พอลิคลอโรพรีน,พอลิสไตรีน-บิ วตะไดอีน (SBR) เป็นต้น
นาย วินัย วิทยาลัย (2543:386) กล่าวว่า ยางเป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งซึ่งจัดเป็นพวกสารยืดหยุ่น โดยแบ่งเป็น
1.ยาง ธรรมชาติซึ่งมาจากยางพารา ที่เป็นพอลิเมอร์ของไอโซปรีน ที่เกิดจากไอโซปรีนเป็นมอนอเมอร์ เช่น ยางกัตตา ยางพาราทา ยางชัลเคิล เป็นต้น
2.ยางสังเคราะห์ เกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในภาวะขาดแคลนยาง จึงมีการผลิตยางสังเคราะห์จากปิโตรเคมีภัณฑ์ เช่น ยางสไตรีน บิวทาไดรีน ยางคลอโรพรีน ยางบิวตาไดอีน เป็นต้น
จากความคิดเห็นของนักการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องยาง พอจะสรุปได้ว่า ยางแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.ยาง ธรรมชาติ คือยางที่ได้จากยางพารา หรือ พอลิไอโซปรีน มีมอนอเมอร์เป็นไอโซปรีน  มีสมบัติต้านทานแรงดึงสูง ทนต่อการขัดถู แต่ไม่ทนน้ำมันและสารอินทรีย์ จึงนำไปปรับปรุงโดยกระบวนการวัลคาไนเซชั่น
2.ยาง สังเคราะห์ เป็นยางที่ทนต่อน้ำมันและก๊าซได้จากการสังเคราะห์ขึ้นจากมนุษย์ เช่น พอลิบิวตาไดอีน ยางเอสบีอาร์ ยางเอสบีเอส เป็นต้น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เส้นใย
รศ.ดร.นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์ (2551:155) กล่าวว่า เส้นใยเป็นพอลิเมอร์ ชนิดหนึ่งจากธรรมชาติและการสังเคราะห์ เส้นใยธรรมชาติที่พบมากที่สุดพบในเซลลูโลสและโปรตีน เช่น ฝ้าย นุ่น ใบมะพร้าว ลินิน ปอ ใบไม้ เป็นต้น ส่วนที่พบในโปรตีน เช่น ขนสัตว์ ขนแกะ แพะ ใยไหม โครงสร้างพอลิเมอร์เป็นแบบโซ่กิ่ง เกิดจากมอนอเมอร์ทั้งไฮโมนอเมอร์ หรือ โคลิพอลิเมอร์ ทำปฎิกิริยา พอลิเมอร์ไรเซชัน เส้นใยสังเคราะห์เกิดจากการสังเคราะห์เพื่อนำมาใช้แทนเส้นใยธรรมชาติ เช่น ไนลอน,พอลิเอสเทอร์,อะไคสลิก เป็นต้น
รศ.ดร.สมพงศ์ จันทร์โพธิ์ศรี (2552:381) กล่าวว่า เส้นใยเป็นพอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างโมเลกุลนำมาทำเป็นเส้นด้าย เส้นใยด้าย โดยจำแนกเป็นเส้นใยจากธรรมชาติ ซึ่งพบในส่วนของพืชทั้งเปลือกไม้,ที่หุ้มเมล็ด,ใบไม้ ซึ่งเซลลูโลสเป็นโฮโมพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยโมเลกุลกลูโคสจำนวนมาก ที่มีโครงสร้างแบบโซ่กิ่ง นอกจากนี้ยังมีเส้นใยจากโปรตีน ใยไหม เป็นต้น ส่วนเส้นใยสังเคราะห์ที่นิยมใช้ คือ เซลลูโลสแอซีเตต ซึ่งเกิดจากเซลลูโลสทำปฎิกิริยากับกรดแอซิติก ซึ่งนำไปผลิตเส้นใย RL60,แพงสวิตซ์ และ หุ้มสายไฟ
นาย สำราญ พฤกษ์สุวรรณ (2549:379) กล่าวว่า เส้นใยเป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบสายโมเลกุลยาวมาก แบ่งเป็น เส้นใยจากธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ โดยเส้นใยธรรมชาติ แบ่งเป็น 3ประเภทย่อยๆ คือ
1.เส้นใยจากพืช คือ เซลลูโลสจากส่วนต่างๆของพืช เช่น เปลือกไม้,ที่หุ้มเมล็ด,ใบไม้ เป็นต้น
2.เส้นใยจากสัตว์ ที่มีจากโปรตีนในขนสัตว์ และ เส้นใยไหม
3.เส้น ใยจากสินแร่ ได้แก่ ใยหิน ซึ่งมีลักษณะเส้นสั้นและยาว ซึ่งทนต่อสารเคมี ไฟและความร้อนสูง ส่วนเส้นใยสังเคราะห์ เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่มีโครงสร้างของโมเลกุลขนาดยาวมาก จัดเรียงตัวเป็นระเบียบ เช่น พวกพอลิเอไมด์ พอลิเอสเทอร์ พอลิยูรีเทน  อิคริลิกไปเบส์ และเส้นใยสังเคราะห์จากธรรมชาติ เช่น เส้นใย RL60 เป็นต้น
รศ.เทพ จำนง แสงสุนทร (2541:391) กล่าวว่า เส้นใยเป็นพอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างโมเลกุลเหมาะแก่การรัดและปันเป็นเส้นด้าย โดยแบ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติ ซึ่งดูดความชื้นได้ดี ยับง่าย แห้งช้า ซึ่งได้จากเซลลูโลสธรรมชาติของพืช เช่น ฝ้าย นุ่น ป่าน และใยสัตว์ เช่น ขนแกะ ขนแพะ ขนไหม และเส้นใยจากแร่ธาตุ เช่น เส้นใยหิน ส่วนเส้นใยสังเคราะห์เป็นเส้นใยที่ทนต่อเชื้อรา ไม่ยับง่าย ไม่ดูดน้ำ เช่น พอลิเอสเทอร์ พอลิเอไมด์ พอลิอะคริไลไนไตรด์
นาย วินัย วิทยาลัย (2543:388) กล่าวว่า เส้นใยเป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน แบ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติ ซึ่งพบมากในธรรมชาติเช่น ในพืช จากเซลลูโลส ของส่วนต่างๆของพืช และเส้นใยสัตว์ ได้แก่ โปรตีน เช่น ขน ผม เล็บ ซึ่งมีคุณสมบัติโดยน้ำและทำให้ความเหนียวและแข็งลดลง และเส้นใยจากสินแร่ ได้แก่ ใยหิน ที่ทนต่อสารเคมี ทนไฟ ทนไฟฟ้า ส่วนเส้นใยสังเคราะห์ เป็นเส้นใยที่มนุษย์สร้างขึ้นจากสารอนินทรีย์หรือสารอินทรีย์ แบ่งเป็นเส้นใยพอลิเอสเตอร์ เช่น เทโทรอนในหมอน,เส้นใยพอลิเอไมด์ เช่น ไนลอน ใช้ทำเสื้อ ถุงเท้า ถุงน่อง และเส้นใยอะคริลิก เช่น ทำเสื้อผ้า ร่มชายหาด เป็นต้น
จากความคิดเห็นของนักการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเส้นใย พอจะสรุปพอเข้าใจได้ว่า เส้นใยเป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด
1. เส้นใยธรรมชาติ ซึ่งได้จากเซลลูโลสในพืช เช่น ฝ้าย นุ่น ลินิน ปอ ใบไผ่ ใบมะพร้าว ได้จากโปรตีนในสัตว์ เช่น ขนแกะ ขนแพะ ใยไหม โครงสร้างพอลิเมอร์เป็นแบบกิ่ง เกิดจากมอนอเมอร์ทั้งโฮมอนอเมอร์ และ โคลิมอนอเมอร์
2.เส้นใยสังเคราะห์ เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์โดยมนุษย์ มีโมเลกุลยาวมาก เช่น พอลิเอสเทอร์ พอลิเอไมด์ พอลิยูรีเทน อะคริลิกไฟเบอร์ เป็นต้น

พอลิเมอร์ ในชีวิตประจําวัน


สมบัติของพอลิเมอร์
                รศ.ดร.นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์ (2551:146) กล่าวว่า พอลิเมอร์แบบเส้นและแบบกิ่งสามารถยืดหยุ่น,นำกลับมาใช้ใหม่,อ่อนตัวเมื่อได้ รับความร้อน และนำมาขึ้นรูปใหม่ได้ โดยจะแตกต่างจากแบบร่างแหโดยผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์ มีพลาสติก ยาง เส้นใย ซิลิโคน โดยผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน
                รศ.ดร.สมพงศ์ จันทร์โพธิ์ศรี (2552:371) กล่าวว่า พอลิเมอร์สามารถแบ่งเป็นสมบัติทางเคมีจะขึ้นอยู่กับมอนอเมอร์ว่ามีหมู่ ฟังก์ชันเป็นแบบใด  ก็จะแสดงสมบัติทางเคมีนั้น ส่วน สมบัติทางกายภาพขึ้นอยู่กับชนิดของมอนอเมอร์และการจัดเรียงตัวของมอนอเมอร์ แบบต่างๆ รวมทั้งแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโซ่พอลิเมอร์
                นาย สำราญ พฤกษ์สุวรรณ (2549:770) กล่าวว่า โครงสร้างของพอลิเมอร์จะมีผลต่อสมบัติทางกายภาพ มวลโมเลกุลและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโซ่พอลิเมอร์มีผลต่อสมบัติของพอลิเมอร์ ด้วย สมบัติทางเคมีของพอลิเมอร์ขึ้นอยู่กับหมู่ฟังก์ชันในโซ่พอลิเมอร์ และมีสมบัติเหมือนสารอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเดียวกัน
                รศ.เทพจำนง แสงสุนทร (2541:382) กล่าวว่า สมบัติของพอลิเมอร์มีผลต่อเนื่องจากการแตกกิ่ง สายยาวที่แตกกิ่งจะเพิ่มความเหนียว เนื่องจากความซับซ้อนภายในสายจะมีผลในการลดแรงภายในโดยสมบัติของพอลิเมอร์ แบ่งเป็นสมบัติทางกายภาพ และ สมบัติทางเคมี
                นาย วินัย วิทยาลัย (2543:380) กล่าวว่า สมบัติทางกายภาพของพอลิเมอร์ขึ้นอยู่กับการยึดเหนี่ยวของโซ่พอลิเมอร์ ส่วนสมบัติทางเคมีขึ้นอยู่กับหมู่ฟังก์ชันในพอลิเมอร์
                จากความคิดเห็นของนักศึกษาดังกล่าวเกี่ยวกับสมบัติของพอลิเมอร์พอจะสรุปได้ ว่า พอลิเมอร์มีคุณสมบัติทางกายภาพขึ้นอยู่กับชนิดของมอนอเมอร์ และการยึดระหว่างโซ่พอลิเมอร์  พอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติทางเคมีจะขึ้นอยู่กับมอนอเมอร์ว่าจะมีหมู่ฟังก์ชัน เป็นแบบใดก็จะแสดงสมบัติทางเคมีตามนั้น

พอลิเมอร์ ในชีวิตประจําวัน

Lightz's 18 ก.พ. 56 เวลา 21:05 น.

0

like

997

views

Facebook Twitter

รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน

ยกเลิก