ร้านค้า แผงลอย เสียภาษีไหม

วิชาภาษี 101 เปิดร้านอาหารต้องมีภาษีอะไรบ้าง? ทำความเข้าใจเรื่องภาษีขั้นพื้นฐานที่ง่ายกว่าที่คิด ร้านไหนๆ ก็เข้าใจได้!

ร้านค้า แผงลอย เสียภาษีไหม

28 ก.ย. 2022 · โดย Wongnai for Business

เรื่องของ ‘ภาษี’ ที่คนทำธุรกิจร้านอาหารต้องรู้!  

เรื่องของ "ภาษี" ง่ายกว่าที่คิด! สำหรับคนที่ทำร้านอาหาร เรื่องภาษีนั้นถือว่าเป็นทักษะสำคัญที่ควรรู้ เพราะหากทำความเข้าใจได้แล้ว ก็จะสามารถจัดการเรื่องภาษีได้ง่ายๆ ในทุกๆ ปีอย่างไม่มีปัญหา Wongnai for Business ขอสรุปข้อมูลเรื่องของ ‘ภาษี’ ที่คนทำร้านอาหารต้องรู้! ตอบคำถามที่พบบ่อยในแวดวงคนทำร้านอาหาร มาติดตามหาคำตอบไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ

คนทำร้านอาหารทุกคนต้องเสียภาษีหรือเปล่า?

ต้องทำความเข้าใจว่า เราทุกคนจะต้องเสียภาษีอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะทำอาชีพไหน โดยเราอาจจะเสียภาษีตั้งแต่ในรูปแบบของภาษี ณ ที่จ่าย เข่น การซื้อของตามห้างร้าน การนั่งทานอาหารตามร้าน เป็นต้น

ร้านค้า แผงลอย เสียภาษีไหม

เขยิบขึ้นมาอีกนิดสำหรับคนที่มีรายได้ในทุกๆ อาชีพ ภาษีที่จะต้องจ่ายก็คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเกณฑ์ของกรมสรรพากรคือถ้ามีรายได้เกิน 150,000 ต่อปีก็มีโอกาสต้องเสียภาษีเพิ่ม ที่บอกว่ามีโอกาสต้องเสียเพิ่มเพราะว่า เราสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ มาลดหย่อนได้อีกมากมาย จนบางครั้งก็อาจจะไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มนั่นเองครับ

ช่วงเวลายื่นตรวจสอบภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ

  • ครั้งที่1 ภ.ง.ด.94 (ภาษีกลางปี) ยื่นภายในเดือนกันยายน
    สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th (ยื่นออนไลน์อาจยื่นได้ถึงต้นเดือนตุลาคม)
  • ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
    สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์  (จะได้รับสิทธิขยายเวลายื่นภาษีไปอีก 8 วัน)
ร้านค้า แผงลอย เสียภาษีไหม

กรณีที่รายได้ไม่ถึง 150,000 ต่อปี ต้องยื่นไหม คำตอบคือยื่นครับ โดยกรรมสรรพากรจะเก็บเป็นประวัติรายได้เอาไว้ แต่เราไม่จำเป็นต้องเสียภาษีเลยสักบาทเดียวครับ

เป็นร้านเล็กๆ ต้องยื่นไหม? ถ้าไม่ยื่นมีโอกาสจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ไม่ว่าร้านเล็กหรือร้านใหญ่ มีรายได้มากหรือน้อย ก็ควรต้องยื่นภาษีในทุกๆ ปีครับนะครับ แต่จะต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่านั่นอีกเรื่องหนึ่ง และสำหรับร้านที่มีรายได้เกิน 1,800,000 ต่อปี นั้นจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ภายใน 30 วัน และต้องทำการยื่นภาษีแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของรอบเดือนถัดไปด้วยครับ 

ร้านค้า แผงลอย เสียภาษีไหม

ส่วนร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน ควรยื่นไหม หรือปล่อยเลยตามเลย

สำหรับร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน หากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะไม่เป็นปัญหาใดๆ แต่หากกรมสรรพากรตรวจสอบแล้วพบว่ารายได้ต่อปีเกินจากนั้น อาจมีการเรียกเก็บย้อนหลังไปตามระเบียบ และการหลบหลีกหรือไม่ยื่นเลยนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะยิ่งนานไป หากกรมสรรพากรตรวจสอบพบก็อาจโดนเรียกเก็บค่าปรับแถมมาด้วย

สรุป : เจ้าของร้านอาหารทุกร้านต้องยื่นตรวจสอบภาษี แต่จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการคำนวณรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษีของแต่ละคน จ่ายเพิ่มมากหรือน้อยก็แล้วแต่คน หรือไม่ต้องจ่ายเพิ่มเลยก็มีครับ

การเข้าร่วมเดลิเวอรีต้องเสียภาษีด้วยไหม?

สำหรับร้านอาหารที่ทั้งเปิดหน้าร้านและเดลิเวอรีนั้น เวลายื่นตรวจสอบภาษีจะต้องนำรายได้ทั้ง 2 ช่องทางมารวมกันด้วยนะครับ โดยกรมสรรพากรนั้นจะมีฐานข้อมูลร้านเดลิเวอรี รวมถึงรายได้ในแต่ละเดือน จากการที่แพลตฟอร์มเดลิเวอรีต้องยื่นเสียภาษีในทุกๆ เดือนอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะเปิดหน้าร้านด้วย หรือขายผ่านแอปเดลิเวอรีอย่างเดียวก็จำเป็นต้องยื่นภาษีในทุกๆ ปีเช่นกันครับ 

ร้านค้า แผงลอย เสียภาษีไหม

วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับร้านอาหาร

1สำหรับร้านค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา

  • ลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายในฐานะบุคคลธรรมดา : เจ้าของร้านสามารถลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เป็นจำนวนเงิน 60,000 บาทโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ รวมถึงค่าลดหย่อนสำหรับครอบครัว ค่าการทำประกัน และการลงทุน หรือ ค่าเงินบริจาค โดยเจ้าของร้านควรที่จะเช็คจดบัญชีรายได้ และรายจ่าย เพื่อเช็คสิทธิสำหรับตัวเอง
  • ลดหย่อนภาษีจากการเข้าร่วมโครงการของรัฐ : สำหรับการเข้าร่วมโครงการของรัฐก็ช่วยให้ร้านนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้ โดยร้านจะต้องหมั่นติดตามโครงการต่าง ๆ ของรัฐอยู่เสมอเพื่อที่จะไม่พลาดโอกาสดี ๆ ในการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นให้กับร้าน

2สำหรับร้านค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือบริษัท

1. ลดหย่อนภาษีจากค่าเสื่อม และค่าสึกหรอ

ได้แก่

  • ค่าคอมพิวเตอร์ รวมทั้งค่าอุปกรณ์ และค่าโปรแกรมต่าง ๆ สามารถนำมาคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของต้นทุนในวันที่ได้มา โดยทยอยหักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี
  • ค่าระบบ และอุปกรณ์ POS ที่ใช้ในการคิดเงินค่าสินค้า และบริการ สามารถเอาเงินที่ลงทุนในระบบต่าง ๆ มาลดหย่อนภาษีได้
  • ค่าเสื่อมของอาคาร ที่เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจร้านอาหาร สามารถนำมาคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 25% ของต้นทุน โดยต้นทุนส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี

2. ลดหย่อนภาษีจากค่าจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

ร้านอาหารสามารถนำค่าจ้างผู้สูงมาลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าหากมีการจ้างพนักงานผู้สูงอายุที่มีเงื่อนไขดังนี้

  • มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • เป็นลูกจ้างบริษัทอยู่ก่อนแล้วหรือขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน
  • ค่าจ้างจะต้องไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท
  • มีการจ้างงานผู้สูงอายุไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด
  • ผู้สูงอายุต้องไม่เป็นและไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จ้างหรือบริษัทในเครือ

3. ลดหย่อนภาษีจากค่าอบรมพนักงาน

หากทางร้านมีการส่งพนักงานไปเข้าคอร์สฝึกอบรมต่าง ๆ รายจ่ายที่ใช้ในการอบรมสามารถนำมาหักรายจ่ายได้ถึง 2 เท่า เช่น ค่าฝึกอบรม ค่าลงทะเบียน ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทางที่สถานฝึกอบรมเรียกเก็บ โดยจะต้องมีใบเสร็จรับเงินของสถานฝึกอบรม และ จัดทำรายงานค่าใช้จ่าย

4. ลดหย่อนภาษีจากการทำประกันความคุ้มครอง

หากทางร้านมีการทำประกันความคุ้มครองให้กับพนักงาน หรือ ธุรกิจ เช่น ประกันวินาศภัย ประกันอัคคีภัย และประกันภัยพิบัติ รายจ่ายที่ใช้ในส่วนนี้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์ของกรมสรรพากรได้

5. ลดหย่อนภาษีจากการเข้าร่วมโครงการของรัฐ

นอกจากการลดหย่อนจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว การเข้าร่วมโครงการของรัฐ เช่น โครงการคนละครึ่ง และ โครงการช็อปดีมีคืน ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้โดยเจ้าของร้านควรหมั่นเช็คสิทธิและติดตามข่าวสารจากกรมสรรพากรอยู่เสมอเพื่อประโยชน์สูงสุดของธุรกิจ