บันทึกรูปคนอื่นผิดกฎหมายไหม

              หากคุณต้องการทำเรื่องฟ้องต่อศาลหรือให้สำนักงานร่างคำร้องทุกข์เพื่อยื่นต่อสถานีตำรวจสามารถติดต่อสำนักงานทนายนิธิพล ทางช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ได้เลยครับ ทางสำนักงานยินดีและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและดูแลคดีของคุณ

สุดท้ายนี้ กฎหมาย PDPA นั้นถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ การนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ หากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลทุกคนก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีเนื้อหาเพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยผู้อื่นจะไม่สามารถเก็บ ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนได้ โดยกฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 27 พฤษภาคม 2563

? ผลกระทบ

ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนเก็บ ใช้ และเผยแพร่ ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ และข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมโยงระบุตัวเจ้าของข้อมูลซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา (มนุษย์) ได้ และรวมถึง “ภาพถ่ายบุคคลที่เห็นหน้าชัดเจนด้วย”

หากผู้ใดนำข้อมูลดังกล่าวออกเผยแพร่โดยเจ้าของข้อมูลไม่อนุญาต เจ้าของข้อมูลมีสิทธิแจ้งความดำเนินคดีได้ โดยมีโทษทั้งทางแพ่งและอาญา

ดังนั้น จากเนื้อหากฎหมายข้างต้น การโพสภาพลง Social Media เพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจต่างๆ จึงรวมอยู่ในความหมายที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ด้วย หากภาพดังกล่าวเห็นหน้าบุคคลอย่างชัดเจนก่อนนำไปใช้ต้องได้การอนุญาตจากเจ้าของใบหน้านั้นก่อน

? โทษ

การฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้มีทั้งโทษจำคุก, ปรับ และจ่ายค่าเสียหาย โดยโทษสูงสุดคือ จำคุก 1 ปี, ปรับ 3 ล้านบาท และจ่ายค่าเสียหายสองเท่า

? การป้องกัน

หากเป็นงาน Event หรือสัมมนาต่างๆ ที่มีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก และไม่สามารถขออนุญาตรายบุคคลได้สะดวก อาจมีการตั้งป้ายแจ้งผู้เข้าร่วมงาน และแจ้งขออนุญาตถ่ายภาพและเผยแพร่ภาพภายในงาน ณ จุดลงทะเบียน โดยให้ผู้ร่วมงานลงชื่อในเอกสารลงทะเบียนนั้นก็สามารถป้องกันการกระทำอันจะเป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมายได้ค่ะ

?ข้อยกเว้น

การเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตนและกิจกรรมในครอบครัว / สื่อมวลชน ศิลปะ ตามจริยธรรมวิชาชีพ / การกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ / ป้องกันอันตรายต่อชีวิต สุขภาพ / การกระทำตามกฎหมาย / การปฏิบัติตามสัญญา เป็นต้น

Link กฎหมายฉบับเต็ม : https://ictlawcenter.etda.or.th/files/law/file/106/2487f8ffe9cf9eaf9b4decbc002eba21.PDF

ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ “กฎหมายสายย่อ”

⚠️☆☆☆”หลังจากวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป การเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ email ภาพถ่ายที่สามารถยืนยันบุคคลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีได้ ซึ่งมีโทษสูงสุดคือ จำคุก 1 ปี ปรับ 3 ล้านบาท จ่ายค่าเสียหาย 2 เท่า”☆☆☆

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เริ่มมีผลบังคับใช้ 27 พฤษภาคม 2563 นี้

ราชกิจจาฯ ประกาศใช้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษสูงสุดคือ จำคุก 1 ปี ปรับ 3 ล้านบาท จ่ายค่าเสียหาย 2 เท่า

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เริ่มมีผลบังคับใช้ 27 พฤษภาคม 2563 นี้ เนื่องจากข้อมูลของแต่ละคนย่อมเป็นสมบัติส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล ผู้อื่นจะมารับรู้หรือเอาข้อมูลไปใช้โดยพลการไม่ได้ โดยใน พ.ร.บ. นี้ระบุไว้ว่า

“มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล”

เคลียร์ให้ชัดอีกครั้ง ก่อนที่กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะมีผลบังคับใช้ เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลวันที่ 1 มิ.ย.65 นี้ โดยยังมีข้อกำหนดบางข้อที่สร้างความสับสนโดยเฉพาะข้อ “การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล” ที่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน

“PDPA” ย่อมาจาก “Personal Data Protection Act” หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่มีขึ้นเพื่อให้ภาคเอกชน และภาครัฐที่เก็บรวบรวมใช้ เปิดเผย และ/หรือ โอน “ข้อมูลส่วนบุคคล” ในไทย ให้เป็นไปตามมาตรการปกป้องข้อมูลของผู้อื่นจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว โดยต้องขอความยินยอมจาก “เจ้าของข้อมูล” ก่อนการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย

โดยข้อมูลส่วนบุคคล ณ ที่นี้ หมายถึงข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้ระบุตัวบุคคลได้ ทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น

- เลขประจำตัวประชาชน ชื่อ-นามสกุล

- ที่อยู่

- เบอร์โทรศัพท์

- อีเมล

- ข้อมูลทางการเงิน

- เชื้อชาติ

- ศาสนาหรือปรัชญา

- พฤติกรรมทางเพศ

- ประวัติอาชญากรรม

-ข้อมูลสุขภาพ

จากการเผยแพร่ข้อมูลของกฎหมาย PDPA ให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ และจะมีผลบังคับใช้เร็วๆ ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนก็จะโดนบทลงโทษทั้งทางแพ่ง ทางปกครอง และทางอาญาตามข้อกำหนดแต่ละข้อแตกต่างกันไป ซึ่งข้อกำหนดบางข้อก็เป็นที่ถกเถียงว่าจะสามารถทำได้จริงไหม

  • การถ่ายรูป - ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA?

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตอบชัดว่า กรณีการถ่ายรูป - ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป - ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

  • ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA?

ข้อนี้ก็สร้างความสับสนแก่ชาวโซเชียลทั้งหลาย ซึ่งตามหลักการของกฎหมายแล้ว สามารถโพสต์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้า และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล 

  • ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA?

การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือนหากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน

  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำ ข้อมูลส่วนบุคคล ไปใช้ไหม?

ข้อนี้ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว

(1) เป็นการทำตามสัญญา

(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ

(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิต และ/หรือ ร่างกายของบุคคล

(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ

(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป

  • ไปร่วมงานอีเวนต์ แล้วโดนถ่ายภาพ ถือว่าละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลไหม?

เมื่อมีการจัดงานอีเวนต์ หรือกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก การถ่ายภาพแล้วติดบุคคลโดยไม่ได้ขออนุญาตอาจจะไม่เข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่ทางผู้จัดงานต้องมีเอกสาร หรือข้อความ privacy policy หรือ privacy notice หรือนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อแจ้งแก่ผู้ร่วมงานว่าในงานมีการถ่ายรูป หรือบันทึกภาพ ถ้าใครไม่สะดวกอาจจะจัดพื้นที่ไม่มีการบันทึกภาพให้แก่คนร่วมงาน