รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน
การประเมินความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน ระยะที่ 2: แผนงานวิจัย: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ จิราพร ระโหฐาน ,มนรัตน์ ใจเอื้อ ,ประภัสสร คำสวัสดิ์ ,อังสุมาลิน จำนงชอบ ,วิตติกา ทางชั้น ,ลินจง โพชารี ,ธันยวิช วิเชียรพันธ์ การประเมินความสุขจากการท่องเที่ยว ,การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ,ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ,การท่องเที่ยวโดยชุมชน ,Tourism development ,Community based tourism ,วิจัย ,Research ,สกสว. ,สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ,TSRI ,Thailand Science Research and Innovation

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน

เอกสารดิจิทัล {{biblio_data.digital.length}}

  • {{value.file_name_original}} ({{value.file_size}}) จำนวนดาวน์โหลด : {{value.dwn_num | number}}

  • {{value.file_name_original}}
    • {{v.file_name_original}} ({{v.file_size}}) จำนวนดาวน์โหลด: {{v.dwn_num | number}}

  • {{value.file_name_original}}

    ปรับ Speed ความเร็วของเสียง

    {{controlsAudio[value.doc_id]}}

Video

  • {{value.file_name_original}} ({{value.file_size}}) ( จำนวนดาวน์โหลด: {{value.dwn_num | number}} )

รายการที่เกี่ยวข้อง

บทคัดย่อ:

แผนงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนาแนวทางการตลาดที่เหมาะสมสำหรับสินค้าการท่องเที่ยวเชิง ประสบการณ์ท้องถิ่น (Local Experience) ของประเทศไทย ภายใต้โครงการ The LINK” มีวัตถุประสงค์ใน การศึกษา 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายภายใต้โครงการ The LINK 2) เพื่อศึกษา ศักยภาพของสินค้า ความพร้อมการบริการทางการท่องเที่ยว และการจัดการวัฒนธรรมเพื่อรองรับการ ท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น ของเมืองรองภายใต้โครงการ The LINK และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทาง การตลาดสินค้าและบริการการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น ของประเทศไทย ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การศึกษาจากเอกสารงานวิจัย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม การประชุมกลุ่ม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น ทั้งระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติ ภาคเอกชน ภาคองค์กรชุมชน และ ภาคประชาชน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิจัยข้อที่ 1 ภาพรวมของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกลุ่ม Local Experience ที่เดินทางมา ท่องเที่ยวประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว FIT เพศชาย ช่วงอายุ 25 – 34 ปี มักมาเที่ยวซ้ า เพื่อพักผ่อน ในช่วง Holiday เฉลี่ย 15 – 20 วัน มีความเป็นส่วนตัวและยืดหยุ่นสูง Beach and Leisure Holiday ยัง ได้รับความนิยมสูงสุด แต่ในขณะเดียวกัน City Tour, Cultural Tour, และ Study Tour ก็ได้รับความนิยม เพิ่มมากขึ้น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแบบ active ก าลังเติบโต หลีกหนีกลุ่ม Mass Tourism สนใจการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่เกาะหรือสถานที่ที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก มุ่งสัมผัส ประสบการณ์จริง มองหาสินค้าทางการท่องเที่ยวที่มีความแปลกใหม่ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น ปั่น จักรยาน เดินป่า ด าน้ า พายเรือ สนใจ Gastronomy เพิ่มขึ้น มีแนวโน้มจัดการเดินทางด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น มองหารีสอร์ทขนาดเล็กที่มีความเป็นท้องถิ่นที่สะอาดและปลอดภัย แต่จะต้องมีสิ่งอ านวยความสะดวกขั้น พื้นฐานที่ดีต้องการข้อมูลทางการท่องเที่ยวที่ชัดเจน เพื่อการวางแผนการท่องเที่ยวในเชิงลึกมากขึ้น มีความ เต็มใจจ่ายเพื่อกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงลึกในราคาที่สูงแต่สมเหตุสมผล ผลการวิจัยข้อที่ 2 ศักยภาพของสินค้าและความพร้อมการบริการทางการท่องเที่ยว พบว่า จ.สุโขทัย มีศักยภาพและมีความพร้อมในการจัดการการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก จ.แม่ฮ่องสอน มีศักยภาพอยู่ในระดับ มากและมีความพร้อมในการจัดการการท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง จ.เลย จ.ชุมพร จ.พังงา จ.ตราด จ.ตรัง มีศักยภาพอยู่ในระดับมาก และมีความพร้อมในการจัดการการท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง การจัดการวัฒนธรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นได้ข้อสรุปว่า ผู้ท าหน้าที่จัดการ วัฒนธรรมมี 4 ลักษณะ ดังนี้1) ชุมชนเป็นผู้จัดการวัฒนธรรม 2) ผู้ประกอบการซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นเป็น ผู้จัดการวัฒนธรรม 3) ผู้ประกอบการซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นร่วมกับคนในท้องถิ่นเป็นผู้จัดการวัฒนธรรม 4) ผู้ประกอบการซึ่งเป็นคนนอกท้องถิ่นเป็นผู้จัดการวัฒนธรรมท้องถิ่น และแนวทางการจัดการวัฒนธรรมเพื่อ รองรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นของเมืองรอง ภายใต้โครงการ The LINK ได้แนวทาง 9 ประเด็น ได้แก่ 1) การก าหนดเป้าหมายของการจัดการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น 2) การสร้างความพร้อมของ ผู้จัดการวัฒนธรรม 3) การพัฒนาศักยภาพผู้จัดการวัฒนธรรม 4) การจัดการรวมรวมองค์รู้วัฒนธรรม 5) การ ธ จัดการถ่ายทอดองค์ความรู้วัฒนธรรม 6) การจัดการวัฒนธรรมให้คงอยู่ 7) การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิง ประสบการณ์ท้องถิ่น 8) การจัดการสื่อสารข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว และ 9) การส่งเสริมและสนับสนุนจาก หน่วยงานภายนอก ผลการวิจัยข้อที่ 3 การพัฒนาแนวทางการตลาดสินค้าและบริการการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ ท้องถิ่น ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ มี 12 แนวทาง ได้แก่ 1) การวางแผนการด าเนินงานให้เป็นระบบ และบูรณาการการท างานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ และชุมชนท้องถิ่น 2) สร้างความรู้ความเข้าใจการท่องเที่ยวในรูปแบบ Local Experience ร่วมกัน ทั้งชุมชน บริษัททัวร์ หน่วยงาน พัฒนาและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีความรู้ และแนวทางการบริหารจัดการไปในทิศทางเดียวกัน 3) เตรียมความพร้อมพัฒนาศักยภาพผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และจัดระบบการท างานร่วมกัน โดยการหาคนกลางเพื่อ เชื่อมแนวความคิดระหว่าง ททท. ต่างประเทศ กับ ททท. ในประเทศ และท้องถิ่นเพื่อการจัดการไปในทิศทาง เดียวกัน 4) การท าความเข้าใจทิศทางการการตลาด ได้แก่ 4.1) การท่องเที่ยวในยุคของการมีส่วนร่วม 4.2) โลกาภิวัฒน์ที่ขัดแย้ง 4.3) สังคมสร้างสรรค์5) การท าความเข้าใจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ 5.1) การร่วมมือสร้าง 5.2) ชุมชนนิยม 5.3) การสร้างบุคลิกลักษณะเฉพาะ 6) การจัดการตลาดด้าน ผลิตภัณฑ์ สินค้าประสบการณ์ท้องถิ่นเน้นระดับกิจกรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกัน มากกว่าการน าเสนอตัวแหล่ง ท่องเที่ยว 7) การจัดการตลาดด้านราคา การก าหนดราคาการให้บริการเหมาะสมกับระดับการให้บริการ เน้น คุณค่าต่อความรู้สึก ความคุ้มค่าได้สัมผัสความเป็นท้องถิ่น 8) การจัดการตลาดด้านช่องทางการจัดจ าหน่าย การน าเสนอบริการให้แก่นักท่องเที่ยวให้รับรู้ถึงคุณค่าและคุณประโยชน์ของบริการในการเข้าถึงประสบการณ์ ท้องถิ่น 9) การจัดการตลาดด้านการส่งเสริม ดึงกลุ่มสื่อมวลชนและบล๊อคเกอร์มาร่วมโครงการและลงส ารวจ แหล่งท่องเที่ยวเพื่อใช้ช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ Social Network 10) การจัดการตลาดด้านบุคคล การคัดเลือก การฝึกอบรม การจูงใจ ผู้ให้บริการมีความสามารถ มีทัศนคติที่ดีสามารถตอบสนองต่อ นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าถึงประสบการณ์ท้องถิ่น 11) การจัดการตลาดด้านกายภาพและการน าเสนอ การ น าเสนอกิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยวสัมผัสถึงความเป็นท้องถิ่นเชิงลึกผ่านกลไกการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการ ท่องเที่ยว 12) การจัดการตลาดด้านกระบวนการ สร้างกระบวนการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ โดย เริ่มตั้งแต่การหาข้อมูล การสื่อความหมาย การจัดโปรแกรม การเดินทาง และการบอกต่อ