ประชากรมีความหมายว่าอย่างไร

            ในที่นี้คำว่าประชากร ไม่ได้หมายถึง คนหรือประชาชน แต่หมายถึงสิ่งที่เราสนใจอยากรู้ข้อมูล เช่น 

ส่วนสูงของคน คำว่าประชากรก็คือ ค่าส่วนสูงของคนหลายคนมากๆ  หรือ หมายถึง หน่วยทั้งหลายที่เราสนใจ

ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาที่เรากําลังทําวิจัย ซึ่ง อาจเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ได้ ไม่จําเป็นต้องเป็นคนเสมอไป 

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยแต่ละเรื่องจะมีลักษณะที่แตกต่างกันโดยเฉพาะประชากรที่เป็นมนุษย์จะมีความแตกต่างกัน

ทั้ง สังคม อารมณ์ สติปัญญา ฐานะ การศึกษา สภาพแวดล้อม ถ้าลักษณะของประชากรยิ่งแตกต่างกันมาก

การสุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ดีก็ซับซ้อนมากขึ้น การวิจัยบางเรื่องผู้วิจัยเองก็มีข้อจํากัดหลายๆ อย่างเช่น 

ระยะเวลา งบประมาณ กําลังคน ตลอดจนนโยบายทางการบริหาร จึงทําให้ผู้วิจัยไม่สามารถจะใช้หลักการสุ่มตัวอย่าง

โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามหลักความน่าจะเป็นได้ จึงต้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น

ประเภทของประชากร

1. จำแนกตามขอบเขตของประชากร มีดังนี้

        1.1 ประชากรแบบจำกัด(Finite Population) หมายถึง ทุก ๆ หน่วยของสิ่งที่ต้องการศึกษา ที่สามารถระบุขอบเขตหรือ

นับจำนวนทั้งหมดได้อย่างครบถ้วน 

        1.2 ประชากรแบบไม่จำกัด(Infinite Population) หมายถึง ทุก ๆ หน่วยของสิ่งที่ต้องการศึกษา แต่ไม่สามารถที่จะระบุ

ขอบเขตหรือจำนวนได้อย่างครบถ้วน 

 2. จำแนกตามลักษณะของประชากร มีดังนี้

        2.1. มีลักษณะเป็นเอกพันธ์ (Homogeneity) หมายถึง ประชากรในทุก ๆ หน่วยมีคุณลักษณะโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน

        2.2 มีลักษณะเป็นวิวิธพันธ์ (Heterogeneity)หมายถึง ประชากรในแต่ละหน่วยมีคุณลักษณะและโครงสร้างที่แตกต่างกัน

ประชากร

ประชากร พุธที่ 15 ตุลาคม 2557 เวลา 00.00 น.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ นิยามคำ ประชากร ว่า หมู่คน, หมู่พลเมือง (เกี่ยวกับ จำนวน) บทนิยามดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในความหมายทั่วไป ประชากร ใช้เฉพาะคนเท่านั้น แต่ปัจจุบัน ประชากรมีความหมายกว้างขึ้น ไม่ได้ใช้เฉพาะคน ประชากรหมู ประชากรต้นไม้ ก็ใช้ได้แต่ต้องใช้ให้ถูกที่

พจนานุกรมศัพท์ประชากรศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า ประชากร (population) ในทางสถิติศาสตร์ หมายถึง จำนวนรวมทั้งหมดของคน สัตว์ หรือสิ่งของ ที่ต้องการศึกษา แต่ในทางประชากรศาสตร์ ประชากร หมายถึง กลุ่มคนที่มีอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งอาจมีนิยามแตกต่างกันไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ยังอาจใช้หมายถึงกลุ่มย่อยภายในประชากรทั้งหมดได้ด้วย เช่น ประชากรหญิง ประชากรวัยแรงงาน ประชากรนักเรียน ขนาดและโครงสร้างของประชากรถูกกำหนดโดยการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนคนกลุ่มต่าง ๆ ในประชากรนั้น ๆ โดยผ่านการเกิด (birth) การตาย (death) และการย้ายถิ่น (migration)ประชากรศาสตร์ที่กล่าวถึงข้างต้น เป็นศาสตร์ที่ศึกษาประชากรมนุษย์ ประชากรศาสตร์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า demography เนื้อหาสำคัญของประชากรศาสตร์ประกอบด้วยเรื่องการเกิด การตาย และการย้ายถิ่น อันเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดโครงสร้างและการกระจายตัวของประชากร นักประชากรศาสตร์สนใจศึกษาประชากรที่มีขนาดใหญ่พอที่ผลการศึกษาจะทำให้เห็นภาพรวมประชากรของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งได้ เช่น ประเทศ ภาค จังหวัดแหล่งข้อมูลหลักของประชากรศาสตร์ประกอบด้วย สำมะโนประชากร การจดทะเบียนชีพ และการสำรวจ

ศัพท์ทางประชากรศาสตร์ที่น่าสนใจยังมีอีกเป็นจำนวนมาก ท่านที่สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ในพจนานุกรมศัพท์ประชากรศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งเป็นผลงานที่ราชบัณฑิตยสถานเพิ่งจัดพิมพ์เผยแพร่.

แสงจันทร์ แสนสุภา

คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่

  • เห็นด้วย

    0%

  • ไม่เห็นด้วย

    0%

ความคิดเห็น

ข่าวล่าสุด

ประชากรสิ่งมีชีวิตมีความหมายว่าอย่างไร

ประชากร หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน

ประชากรศาสตร์หมายถึงอะไร

ประชากรศาสตร์ หมายถึง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และปัจจัยอื่น ๆ ลักษณะทางประชากรศาสตร์ประกอบไปด้วย เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ภูมิลำเนา ภาษา ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนบุตร สถานภาพการ ทำงาน อาชีพ และรายได้ (สันทัด เสริมศรี, 2541)

ประชากรตัวอย่างคืออะไร

ประชากร ตัวอย่าง คือ การสุ่มหน่วยตัวอย่างจากแต่ละช่วงของการสุ่ม ช่วงละหนึ่งหน่วย ใช้ใน กรณีที่หน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยเรียงกันอย่างสุ่ม มีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1หาช่วงของการสุ่ม (k) โดย k = N/n ขั้นที่ 2สุ่มหน่วยเริ่มต้น คือ หน่วยตัวอย่างที่ i.

ประชากรกลุ่มตัวอย่างมีอะไรบ้าง

กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง ประชากรบางส่วน ที่นักวิจัยเลือกที่จะเก็บข้อมูล ถือเป็นส่วนหนึ่งของประชากร และมีขนาดเล็กกว่าประชากร เพื่อสรุปผลอ้างอิงไปยัง ประชากร เช่น ถ้าต้องการทราบว่ามะม่วงในเข่งหวาน หรือไม่ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้ออาจจะขอชิมดูสัก 1-2 ลูก ดังนั้น มะม่วง 1-2 ลูก นั้นจึงจัดเป็นกลุ่มตัวอย่าง